ข้อความดั้งเดิม

ดูข้อความอื่นๆ 1 ความเห็น >
อดีตสาวมุสลิม เปลี่ยนมานับถีอพุทธอย่างเข้าถึง

จากเฟสsunthorn utaithum

พุทธศาสนาไม่ใช่เทวนิยม แต่เป็นอะไรที่มีคุณค่ากว่านั้น" - เอลยานี ยูซุฟ, พุทธศาสนิกชนชาวเลบานอน

(Buddhism is Not a Religion—It’s Something Much Better.) Elyane Youssef , a Lebanese Buddhist.

ฉันถูกวิจารณ์เยอะเลย พอบอกว่าตัวเองเป็นชาวพุทธ มาฟังเหตุผลว่าทำไมพุทธศาสนาไม่ใช่เทวนิยมกันค่ะ

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าพุทธศาสนาก็เหมือนเทวนิยมอื่นๆ แต่จริงๆแล้วมันไม่ใช่ ฉันเองก็เคยเข้าใจแบบนั้น ก่อนที่จะได้รู้จักจนได้ศึกษา

อย่างแรกเลย คำว่า "Religion" ด้วยรากศัพท์แล้วหมายถึง "ระบบความเชื่อที่เน้นศรัทธาและการบูชาต่อพระผู้เป็นเจ้า" หลังจากที่ฉันได้มีโอกาสเดินทางไปที่อินเดียและเนปาล และได้มีโอกาศเที่ยวชมพุทธสถานต่างๆ ฉันได้สังเกตเห็น ว่าพุทธศาสนาไม่ใช่ระบบความเชื่อดังกล่าว ที่เน้นศรัทธาและการบูชาต่อพระผู้เป็นเจ้า

ชาวพุทธไม่ได้เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ช่วยให้รอดที่มีอำนาจบันดาลดีร้ายได้ เป็นเพียงมนุษย์เหมือนอย่างเราท่าน คือเป็นครูผู้ชี้เหตุและทางแห่งการพ้นทุกข์ก็เท่านั้น

แม้พระองค์จะเป็นผู้ทรงคุณด้วยเหตุเป็นผู้ชี้ทางให้สรรพสัตว์พ้นจากการเวียนว่ายในสังสารวัฏ แต่ก็ไม่ทรงปรารถนาให้ใครมาบูชาหรืออ้อนวอนต่อพระองค์ สิ่งเดียวที่ทรงเน้นย้ำก็คือ การได้พิจารณาคำสอนของพระองค์ก่อน ซึ่งถ้าเห็นด้วยปัญญาของตนแล้วว่าเป็นกุศล คือปฏิบัติตามแล้วเกิดเป็นความสุขความเจริญ ก็ให้น้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ แต่ถ้าเห็นว่าไม่ใช่ ก็ไม่มีการบังคับขู่เข็ญใดๆให้ต้องมาเชื่อ

ฉันได้เห็นพิธีกรรมต่างๆมากมายตามวัดและสำนักสงฆ์ต่างๆ แต่พิธีกรรมเหล่านั้นไม่ใช่เพื่อการสวดอ้อนวอนร้องขออำนาจดลบันดาลใดๆ แต่เป็นการแสดงการบูชา คือแสดงความเคารพและสำนึกคุณต่อผู้ที่ได้ชี้ให้เห็นสัจธรรมความเป็นจริงของชีวิตก็เท่านั้น ซึ่งในบทบูชาเอง ก็ล้วนเป็นการกล่าวถึงความรัก ความเมตตา ที่ทรงมีต่อสรรพสัตว์โดยไม่มีที่สุดไม่มีประมาณทั้งสิ้น

และเมื่อยิ่งมองลึกลงไป พุทธศาสนาไม่มีผู้นำสูงสุด ไม่มีศาสนจักรที่จะมามีอำนาจชี้นำ หรือชี้เป็นชี้ตายในชะตากรรมของใครได้

งั้นถ้าพุทธศาสนาไม่ใช่เทวนิยม แล้วพุทธศาสนาคืออะไร?

สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้ก็คือ พุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตรูปแบบหนึ่งเพียงเท่านั้น เป็นปรัชญาที่บอกความจริงของชีวิตตามที่มันเป็นจริง

ฉันยอมรับ และก็ไม่อายที่จะบอกด้วยว่า พุทธศาสนาสอนให้ฉันเข้าใจรากเหง้าตัวเอง คือระบบความเชื่อซึ่งฉันได้เติบโตมา รวมถึงระบบความเชื่อต่างๆที่มีอยู่บนโลกใบนี้ ก่อนฉันจะได้รู้จักพุทธศาสนา คัมภีร์ของศาสนาเดิมของฉันเป็นอะไรที่ไม่ต่างกับตำราเรียนภาษาจีนเล่มใหญ่เลย ฉันไม่เข้าใจว่าทำไมฉันต้องสวดอ้อนวอน ต้องทำนั่นทำนี่ แบบนั้นแบบนี้ หรือต้องเชื่อในสิ่งที่ผู้นำศาสนาบอก โดยไม่อาจสงสัยหรือตั้งคำถามได้ ก่อนหันมานับถือพุทธ ฉันจึงเหมือนถือศาสนาตามบรรพบุรุษไป เขาบอกให้สวดอ้อนวอนพระเจ้าก็สวดไป หวังพึ่งพาแต่กับอำนาจภายนอก โดยไม่เคยหันมาพิจารณาจิตใจของตัวเองซึ่งอยู่ข้างใน และนั่นเองที่เป็นสาเหตุให้ฉันไม่เคยเข้าใจตัวเองเลย

พุทธศาสนาสอนให้ฉันพิจารณาตนเองจากภายใน สอนอิสรภาพของจิตและการรู้ตัวอยู่เสมอ พุทธศาสนาทำให้ฉันเข้าใจโลกรอบตัวเอง ฉันเริ่มตระหนักว่าอะไรที่ฉันเองเป็นผู้กระทำ ย่อมส่งผลย้อนกลับมาหาตัวเองเสมอ ไม่ทางกาย ก็ทางความคิด หรือทางอารมณ์ ไม่ได้เกิดจากอำนาจการดลบันดาลจากพระเจ้าที่ไร้ตัวตนเลย

พุทธศาสนาสอนฉันให้เข้าใจว่า พระเจ้าไม่ได้เป็นผู้ตัดสินที่จ้องมองฉันมาจากที่ไหนสักแห่ง ความเชื่อมโยงผูกพันระหว่างฉันกับพระเจ้ามันได้จบสิ้นลงไปแล้ว ทุกอย่างไม่ได้มาจากภายนอก ทุกอย่างล้วนเกิดจากข้างใน

คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ แล้วการได้ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมในทางพุทธศาสนาดีอย่างไร?

ทุกคนไม่อาจเชื่อเหมือนกันฉันรู้ มันจึงไม่ผิดถ้าฉันจะเปิดใจ สงสัย หรือขบคิดในสิ่งต่างๆรอบตัว อันเป็นการเปิดโลกทัศน์ของคนเราให้กว้างไกลออกไป

พุทธศาสนาไม่เคยสอนให้ฉันต้องศรัทธาอย่างไม่ลืมหูลืมตา ไม่สนว่าฉันเป็นใครมาจากไหน หรือเคยนับถืออะไรมา พุทธศาสนาสนแค่ว่า อะไรคือสัจธรรมความจริง และหนึ่งในสัจธรรมนั้นก็คือ "สรรพสิ่งล้วนมีความแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา"

พุทธศาสนามิได้เล็งเห็นประโยชน์จากการที่มีคนหันมานับถือมากขึ้น แต่ประโยชน์ย่อมเกิดขึ้นกับตัวผู้ที่น้อมนำหลักธรรมในทางพุทธศาสนาไปยึดถือและปฏิบัติเองนั่นต่างหากที่คือเป้าหมายของพุทธศาสนา คือการเข้าใจชีวิต เข้าใจโลก และเข้าใจตนเอง

I get plenty of comments when I say that I am a practicing Buddhist. Here’s why Buddhism is not a religion.

Although Buddhism is known worldwide as a religion, for me it is not. Frankly, I used to perceive it as one, before knowing anything about it and delving into its culture.

To start off, the word religion means “a system of faith and worship” and “the belief in a superhuman, or god with power.” After visiting India and Nepal, and observing the Buddhist complex, I came to notice that Buddhism is neither a system of faith, nor a god-based institution.

Buddhists do not consider the Buddha as a supreme god. For them, he is a man like any other man who’s walked on the earth. Nevertheless, Buddha untangled the reasons of suffering and offered us a concrete way of getting out of them.

And although he did offer the world teachings about how to get unstuck from samsara, he insisted that he wanted no worship nor praying. All he asked for is that we must examine his teachings first, and if they do resonate with us, then we practice them. If not, however, we have the utter freedom to leave them.

Although I have watched rituals and ceremonies being held at monasteries, I’ve been told that they’re not in any way worship-based. The so-called “worship” that we might see is one that is offered as a way of showing respect and thankfulness to the man who exhibited the truth. Even the prayers that we hear are ones that read compassion, kindness and love to all sentient beings, without any exception.

If we look more closely at Buddhism, we can even ascertain that there is no leader in the culture. It insists that there is no authority in Buddhism with the power to decide who is a true Buddhist and who is not, or who is punishable and who is not.

If Buddhism isn’t a religion, what is it then?

The way I see it, Buddhism is a way of life—it’s a philosophy and a truth that simply represents how things are in life.

I must admit (and I’m not ashamed to claim it) that Buddhism has helped me understand the religion I was brought up with, as well as all the other religions in the world. Before being introduced to Buddhism, “holy books” were on par with the Chinese language to me. I couldn’t understand why I was supposed to pray, to attend religious ceremonies or to follow a spiritual leader, without true conviction or belief for what they’re saying. Before Buddhism, I was co-dependent on “God.” I constantly searched outside of myself, and I believe this is why I never found myself.

Buddhism helped me look inward. It taught me independence and self-awareness. Through it, I began to understand how the world ticks. It helped me look at myself and take responsibility for my actions, thoughts and emotions, rather than taking refuge in a supreme god.

With Buddhism, I came to finally understand that God isn’t a judgmental man who lives in the clouds. I stopped this duality between God and myself. It is not something that is outside of us or something we cannot reach—it is in us.

So you might ponder the question—why is it worth looking into Buddhism or practicing it?

I utterly believe to each their own—however, I also believe that it is never wrong to live with an open heart and an open mind which expands our knowledge and raises questions in our heads.

Unlike other religions, Buddhism doesn’t tell its followers to stick only to its teachings. Buddhists don’t care where you’re from, what you believe in or who you worship. All they care about is that you know the truth—and the truth is: “All compounded things are impermanent.”

It’s worth understanding Buddhism, because the final outcome of its purpose is not something that is beneficial to itself—the benefits are for our own sake. The benefit is that we will actually understand the truth of life, our existence and ourselves.

ความเห็นนี้

    Joke Air เลือกให้ข้อความนี้💬 มีความเห็นส่วนตัว

    เหตุผล

    การเปลี่ยนศาสนาควรเป็นสิทธิส่วนบุคคลอยู่แล้ว บางสังคมก็อนุญาตให้สามารถกระทำได้

    ความเห็นต่าง

    การเปลี่ยนศาสนาควรเป็นสิทธิส่วนบุคคลอยู่แล้ว ก็ไม่แปลกสำหรับสังคมที่ไม่ได้เคร่งศาสนาจนเกินไป ที่การเปลี่ยนศาสนาด้วยตนเองจะสามารถทำได้ หรือแม้แต่ในสังคมเคร่งศาสนาเองก็อาจจะมีการทำอย่างลับ ๆ เช่นยังนับถือศาสนาเดิมแต่เพียงในนามหรือเฉพาะในบุคลิกภาพภายนอกี่สังคมเห็นเท่านั้นแต่ในจิตใจได้ย้ายศาสนาหรือไม่มีศาสนาก็มี
    2 ปีที่แล้ว
    0
    0