เกร็ดประวัติศาสตร์ 🌸 🌿 💐
พระนางอีเลิศ นำ #เมี่ยงคำ อาหารมอญ มาเผยแพร่ ที่นครปฐม พ.ศ. ๑๑๘๒
ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง (พระยาพาน) แห่งสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง (ราชบุรี) เมื่อพระยาศรีทรัพย์ ได้บวชเรียน และ สำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยนาลันทา เรียบร้อยแล้ว จึงได้รับมอบหมาย จากท้าวอู่ทอง (พระยาพาน) ให้มาสร้างเมืองปะถมขึ้นต่อ
แคว้นจักรนารายณ์ (นครชัยศรี) ปกครองโดยพระยาจักรนารายณ์ (อนุชา ของพระยาพาน) จนกระทั่งเมืองปะถม กลายเป็น แคว้นปะถม พระยาศรีทรัพย์ ได้อภิเษกสมรส กับ พระนางนวลจันทร์ (พระพี่นาง ของพระนางจันทร์เทวี) เป็นที่มาให้ พระยาศรีทรัพย์ ผู้ให้กำเนิดข้าวหลาม ที่เมืองคันธุลี ได้นำข้าวหลาม มาเผยแพร่ ที่แคว้นปะถม โดยมอบให้ พระนางนวลจันทร์ เป็นผู้ดำเนินการ จนกระทั่ง ข้าวหลามได้แพร่หลายไปทั่วแคว้นปะถม และ แว่นแคว้นข้างเคียงอย่างรวดเร็ว
ต่อมา พระยาศรีทรัพย์ และ พระนางนวลจันทร์ ได้ให้กำเนิดพระราชธิดา พระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า เจ้าหญิงมัญชุศรี (พระนางศิลาขาว) ได้อภิเษกสมรส กับ ขุนหะนิมิต ในเวลาต่อมา
เมื่อท้าวอู่ทอง (พระยาพาน) ทำสัญญาสันติภาพ กับ พระเจ้าสักกรดำ แห่งอาณาจักรอีสานปุระ ในปี พ.ศ. ๑๑๘๐ โดยที่พระเจ้าสักกรดำ ได้ถวายเจ้าหญิงอีเลิศ ราชธิดา ให้เป็นมเหสีฝ่ายซ้าย ของพระยาศรีทรัพย์ จนกระทั่งมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๑๑๘๑ จึงได้รับการพระราชทานพระนาม จากท้าวอู่ทอง (พระยาพาน) ว่า เจ้าชายบรมฤกษ์ ประชาชนทั่วไป เรียกพระนามว่า ขุนบรม คือ ต้นราชวงศ์ไตพวน ในเวลาต่อมา โอรสองค์ใหญ่ ของขุนบรม คือ พระลอ เป็นผู้สร้างอาณาจักรลานช้าง (หลวงพระบาง) และ โอรสอีกพระองค์หนึ่ง เป็นผู้สร้างแคว้นลานนา (เชียงใหม่) ในเวลาต่อมา
ขณะที่ พระนางอีเลิศ มาประทับที่ แคว้นปะถมนั้น พระนางอีเลิศ พบเห็น พระนางนวลจันทร์ ส่งเสริมการผลิตข้าวหลามจำหน่าย แพร่หลายทั่วไป พระนางอีเลิศ จึงนำอาหารเมี่ยงคำ ของชนชาติมอญ แห่งอาณาจักรอีสานปุระ มาเผยแพร่ ที่เมืองปะถม ด้วย จนกระทั่งเมี่ยงคำ ได้แพร่หลายออกไปรอบๆ เมืองปะถม และ เมืองใกล้เคียง เช่นเดียวกับ ข้าวหลาม
ต่อมา เมื่อเกิดสงครามแย่งนางอั่วคำ สงครามทุ่งไหหิน และ สงครามแย่งม้า ในปี พ.ศ. ๑๑๙๕ ส่งผลให้ในปี พ.ศ. ๑๑๙๖ มีผู้ลี้ภัยสงคราม เดินทางไปยัง เมืองศรีพุทธิ (ดอนธูป) และ เมืองศรีโพธิ์ (ไชยา) เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการขาดแคลนเสบียงอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ตำนานวัดศรีราชัน กล่าวว่า ประชาชน ปลูกข้าวไม่ทัน จึงไม่มีข้าว ไปถวายเพล แก่พระภิกษุสงฆ์ จึงเป็นที่มา ของอาหารเมี่ยงคำ ที่พระนางอีเลิศ คิดค้นขึ้น เพื่อเป็นอาหารแก้ความอดยาก ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย
พระนางอีเลิศ (แม่นางกาหลง) มเหสีฝ่ายซ้าย ของเจ้าพระยาศรีทรัพย์ ได้อพยพจากเมืองนครปฐม มายังเมืองศรีพุทธิ (ดอนธูป) มาตั้งพระราชวัง อยู่ที่บ้านใหญ่ ใกล้เขาจอสี เมื่อปี พ.ศ. ๑๑๙๖ เมื่อทราบว่า พระภิกษุ ไม่มีอาหารเพล จึงทำเมี่ยงคำ เครื่องปรุงตามภาพ ขึ้นมาถวายพระที่ วัดศรีราชัน โดยใช้ใบอีเลิศ (ใบชาพลู) มาเป็นตัวห่อหุ้ม เครื่องปรุงต่างๆ เมี่ยงคำ จึงขยายไปสู่ประชาชนผู้อพยพทั่วไป จึงมีการปลูก ใบอีเลิศ ไว้ที่วัดศรีราชัน จำนวนมาก แล้วขยายพันธุ์ ออกสู่บ้านเรือนประชาชน ในเวลาต่อมา
เนื่องจาก สถานการณ์ในขณะนั้น คนไทย ชิงชังคนมอญมาก จึงเรียกพระนางอีเลิศว่า แม่นางกาหลง จึงรังเกียจ ที่จะใช้ใบอีเลิศ ห่อหุ้มเมี่ยงคำ จึงใช้ใบทองหลางอ่อน มาใช้แทน และ เปลี่ยนชื่อการเรียก ใบอีเลิศ เป็นชื่อใหม่ว่า ใบชาพลู สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
🌸 🌿 🌼
Cr ข้อมูลและภาพประกอบบางส่วนจาก กลุ่มเสน่ห์โยเดีย
Cr ภาพประกอบเพิ่มเติมจาก นิตยสารชีวจิต และอินเทอร์เน็ต (ขอบคุณเจ้าของภาพ)
Posted by Onnie 🦋