ข้อความดั้งเดิม

ไปดูหน้ารวมข้อความ >
ตอนนี้ระวังการสแกนจ่ายซื้อสินค้านะ
หลานเพื่อนผจก. เจอมากับตัว ทำงานตึก CP ลงมาซื้อน้ำ ด้วยการสแกนจ่าย

แล้วเดินไปกดเงินที่ตู้ ATM ปรากฎว่าเงินในบัญชี 70,000 โดนดูดหายไปหมดเลย

พอไปแจ้งความ ตำรวจบอกว่า มีคนมาแจ้งความเป็น 10 รายแล้ว โดนแบบเดียวกันเลย

ตำรวจบอกตามยาก เงินน่าจะถูกโอนออกไปตปท.แล้ว
ตอนนี้คือระบาดในกรุงเทพ น่ากลัว

มันเอา QR Code มาปิดทับ

ความเห็นนี้

    Joke_Air เลือกให้ข้อความนี้💬 มีความเห็นส่วนตัว

    เหตุผล

    -

    ความเห็นต่าง

    1. เรื่องที่ มิจฉาชีพ เล่นทีเผลอ แอบเอา QR code ของตัวเองไปปิดทับของร้านค้า/แม่ค้า/พ่อค้า (หรือของการรับบริจาค เป็นต้น) เพื่อให้คนสแกนจ่าย สแกนผิด อันนี้ เป็นไปได้จริง และเคยเกิดขึ้นจริง

    (คำที่ลงท้ายว่า "มันเอา QR Code มาปิดทับ" น่าจะมีมาทีหลัง เพื่อให้เรื่องราวนี้ดูสมเหตุสมผลขึ้น เพราะบางเวอร์ชั่นของเรื่องนี้ก็ไม่ได้มีคำนี้ลงท้าย https://cofact.org/article/5joqdiax6m4 )

    2. ถ้า แผงลอย/หาบเร่/อื่น ๆ จะปลอม QR code แล้วมาใช้เอง เป็นไปได้ยากอยู่ เพราะหลอกยาก ของมูลค่าน้อยจะไม่นิยมสแกนจ่าย (แต่ถ้าเป็นการขายของมูลค่ามากขึ้นมาอีก เช่นเป็นแผงขายลอตเตอรี่ อาจมีการสแกนจ่าย ก็ดูน่าทำปลอมมากขึ้นมาหน่อย) และ มีโอกาสถูกจับได้ง่าย

    3. คนสแกนจ่าย ก็ต้องเห็นได้ว่าปลอม ทั้งในหน้าจอที่ขึ้นมาให้ดูก่อนกดยืนยัน และในหน้าจอที่ชำระเงินเสร็จ ดังนั้นเรื่องนี้จึงดูมีพิรุธ เป็นไปได้ยากที่จะไม่ดูและไม่เห็นเลยตอนสแกน แล้วไปเห็นทีหลังตอนกดเอทีเอ็มทีหลัง (หรืออาจเป็นเพราะไว้ใจระบบมากเกินไป เลยสแกนแล้วกดๆๆโดยที่ไม่ดูไม่อ่านจอเลย) คุณกดATMผิดบัตรหรือเปล่า? (บางคนมีหลายบัญชี มีบัตรหลายใบ)

    4. กรณีคิวอาร์โค้ดที่ออกมาจากเครื่องคิดเงินหรือเครื่องแคชเชียร์ ซึ่งจะมียอดเงินกำกับไว้ในคิวอาร์โค้ดมาด้วย นั้น ผู้ขายไม่น่าจะคิดเงินผิดไปหลายเท่าตัว คือไม่น่าจะใส่ตัวเลขยอดเงินลงไปในคิวอาร์โค้ดเกิน จาก 70 หรือ 700 กลายเป็น 70000

    5. กรณีคิวอาร์โค้ดแบบเป็นภาพหรือเป็นแผ่น ตามที่กล่าวอ้าง ส่วนมากมันไม่ได้มียอดเงินกำกับในคิวอาร์โค้ดมาด้วย ทำให้ผู้สแกนจ่ายต้องใส่ยอดเงินเอง

    5.1 ถ้าหากมิจฉาชีพ ทำยอดเงินใส่ไว้ในคิวอาร์โค้ด 70,000 แล้วเงินในบัญชีมีไม่ถึง 70,000 ก็จะจ่ายออกไปไม่ได้ หรือต่อให้มีเงินถึง 70,000 ก็ต้องมีขึ้นมาบนจอให้กดยืนยันก่อนอยู่ดี หรือต่อให้รีบเกิน ไม่ทันได้อ่าน เผลอกดยืนยันไปแล้ว มันก็ต้องขึ้นบนจออีกรอบอยู่ดีว่าจ่าย 70,000 ไม่ใช่ไม่ขึ้นอะไรบนจอเลยแล้วไปเห็นทีหลังตอนกดเอทีเอ็ม ถ้าแบบนั้นน่าจะดูใกล้เคียงกับการโดนแอปแปลกปลอมเข้ามาแฮ็ก-ดูดเงิน ซะมากกว่า (คิวอาร์โค้ด มันไม่สามารถดูดเงินได้โดยอัตโนมัติในทันทีที่สแกนติด)

    5.2 ส่วนมากจะไม่มียอดเงินกำกับในคิวอาร์โค้ด ผู้สแกนจ่ายต้องใส่ราคาเอง ดังนั้นน่าจะเป็นการกดเลขผิดเอง
    การกดตัวเลขในแอปธนาคาร ไม่ได้มีการใส่จุดอัตโนมัติ จึงไม่ต้องกดเลขศูนย์เกิน ต่างจากเครื่องรูดบัตรที่ต้องกดเลขศูนย์เกิน 2 ครั้งให้คลุมทศนิยมสองตำแหน่ง (เช่นรูด 700 บาทถ้วน ต้องกด 70000 บนจอเครื่องรูดก็จะขึ้นเป็น 700.00)

    6. เรื่อง ชื่อของสถานที่เกิดเหตุ อาจจะเป็นการใส่ร้าย ดิสเครดิต ชื่อยี่ห้อที่กล่าวถึงหรือไม่? เพราะไม่เห็นมีข่าวนี้ในสื่อ ทั้งที่ ถ้าเหตุการณ์นี้มีจริง ก็ควรจะมีข่าวนี้ออกมา เพราะสื่อน่าจะให้ความสนใจ ในกรณีคิวอาร์โค้ดปลอม/หลอกลวง/ดูดเงิน/หลอกเอาเงินจำนวนมาก ลามไปถึงร้านขายเครื่องดื่ม และมีผู้เสียหายจำนวนมาก อย่างที่กล่าวอ้าง
    2 เดือนที่แล้ว
    0
    0