1 คนสงสัย
ตอนนี้ระวังการสแกนจ่ายซื้อสินค้านะ
หลานเพื่อนผจก. เจอมากับตัว ทำงานตึก CP ลงมาซื้อน้ำ ด้วยการสแกนจ่าย

แล้วเดินไปกดเงินที่ตู้ ATM ปรากฎว่าเงินในบัญชี 70,000 โดนดูดหายไปหมดเลย

พอไปแจ้งความ ตำรวจบอกว่า มีคนมาแจ้งความเป็น 10 รายแล้ว โดนแบบเดียวกันเลย

ตำรวจบอกตามยาก เงินน่าจะถูกโอนออกไปตปท.แล้ว
ตอนนี้คือระบาดในกรุงเทพ น่ากลัว

มันเอา QR Code มาปิดทับ
ไม่ระบุชื่อ
 •  2 เดือนที่แล้ว
1 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
0 ความเห็น

ผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอม

Joke_Air เลือกให้ข้อความนี้💬 มีความเห็นส่วนตัว

เหตุผล

-

ความเห็นต่าง

1. เรื่องที่ มิจฉาชีพ เล่นทีเผลอ แอบเอา QR code ของตัวเองไปปิดทับของร้านค้า/แม่ค้า/พ่อค้า (หรือของการรับบริจาค เป็นต้น) เพื่อให้คนสแกนจ่าย สแกนผิด อันนี้ เป็นไปได้จริง และเคยเกิดขึ้นจริง

(คำที่ลงท้ายว่า "มันเอา QR Code มาปิดทับ" น่าจะมีมาทีหลัง เพื่อให้เรื่องราวนี้ดูสมเหตุสมผลขึ้น เพราะบางเวอร์ชั่นของเรื่องนี้ก็ไม่ได้มีคำนี้ลงท้าย https://cofact.org/article/5joqdiax6m4 )

2. ถ้า แผงลอย/หาบเร่/อื่น ๆ จะปลอม QR code แล้วมาใช้เอง เป็นไปได้ยากอยู่ เพราะหลอกยาก ของมูลค่าน้อยจะไม่นิยมสแกนจ่าย (แต่ถ้าเป็นการขายของมูลค่ามากขึ้นมาอีก เช่นเป็นแผงขายลอตเตอรี่ อาจมีการสแกนจ่าย ก็ดูน่าทำปลอมมากขึ้นมาหน่อย) และ มีโอกาสถูกจับได้ง่าย

3. คนสแกนจ่าย ก็ต้องเห็นได้ว่าปลอม ทั้งในหน้าจอที่ขึ้นมาให้ดูก่อนกดยืนยัน และในหน้าจอที่ชำระเงินเสร็จ ดังนั้นเรื่องนี้จึงดูมีพิรุธ เป็นไปได้ยากที่จะไม่ดูและไม่เห็นเลยตอนสแกน แล้วไปเห็นทีหลังตอนกดเอทีเอ็มทีหลัง (หรืออาจเป็นเพราะไว้ใจระบบมากเกินไป เลยสแกนแล้วกดๆๆโดยที่ไม่ดูไม่อ่านจอเลย) คุณกดATMผิดบัตรหรือเปล่า? (บางคนมีหลายบัญชี มีบัตรหลายใบ)

4. กรณีคิวอาร์โค้ดที่ออกมาจากเครื่องคิดเงินหรือเครื่องแคชเชียร์ ซึ่งจะมียอดเงินกำกับไว้ในคิวอาร์โค้ดมาด้วย นั้น ผู้ขายไม่น่าจะคิดเงินผิดไปหลายเท่าตัว คือไม่น่าจะใส่ตัวเลขยอดเงินลงไปในคิวอาร์โค้ดเกิน จาก 70 หรือ 700 กลายเป็น 70000

5. กรณีคิวอาร์โค้ดแบบเป็นภาพหรือเป็นแผ่น ตามที่กล่าวอ้าง ส่วนมากมันไม่ได้มียอดเงินกำกับในคิวอาร์โค้ดมาด้วย ทำให้ผู้สแกนจ่ายต้องใส่ยอดเงินเอง

5.1 ถ้าหากมิจฉาชีพ ทำยอดเงินใส่ไว้ในคิวอาร์โค้ด 70,000 แล้วเงินในบัญชีมีไม่ถึง 70,000 ก็จะจ่ายออกไปไม่ได้ หรือต่อให้มีเงินถึง 70,000 ก็ต้องมีขึ้นมาบนจอให้กดยืนยันก่อนอยู่ดี หรือต่อให้รีบเกิน ไม่ทันได้อ่าน เผลอกดยืนยันไปแล้ว มันก็ต้องขึ้นบนจออีกรอบอยู่ดีว่าจ่าย 70,000 ไม่ใช่ไม่ขึ้นอะไรบนจอเลยแล้วไปเห็นทีหลังตอนกดเอทีเอ็ม ถ้าแบบนั้นน่าจะดูใกล้เคียงกับการโดนแอปแปลกปลอมเข้ามาแฮ็ก-ดูดเงิน ซะมากกว่า (คิวอาร์โค้ด มันไม่สามารถดูดเงินได้โดยอัตโนมัติในทันทีที่สแกนติด)

5.2 ส่วนมากจะไม่มียอดเงินกำกับในคิวอาร์โค้ด ผู้สแกนจ่ายต้องใส่ราคาเอง ดังนั้นน่าจะเป็นการกดเลขผิดเอง
การกดตัวเลขในแอปธนาคาร ไม่ได้มีการใส่จุดอัตโนมัติ จึงไม่ต้องกดเลขศูนย์เกิน ต่างจากเครื่องรูดบัตรที่ต้องกดเลขศูนย์เกิน 2 ครั้งให้คลุมทศนิยมสองตำแหน่ง (เช่นรูด 700 บาทถ้วน ต้องกด 70000 บนจอเครื่องรูดก็จะขึ้นเป็น 700.00)

6. เรื่อง ชื่อของสถานที่เกิดเหตุ อาจจะเป็นการใส่ร้าย ดิสเครดิต ชื่อยี่ห้อที่กล่าวถึงหรือไม่? เพราะไม่เห็นมีข่าวนี้ในสื่อ ทั้งที่ ถ้าเหตุการณ์นี้มีจริง ก็ควรจะมีข่าวนี้ออกมา เพราะสื่อน่าจะให้ความสนใจ ในกรณีคิวอาร์โค้ดปลอม/หลอกลวง/ดูดเงิน/หลอกเอาเงินจำนวนมาก ลามไปถึงร้านขายเครื่องดื่ม และมีผู้เสียหายจำนวนมาก อย่างที่กล่าวอ้าง

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    "ปลากระเบน" เครื่องมืออวตาร ส่ง SMS หลอกดูดเงิน
    ไม่ระบุชื่อ
     •  10 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ถามหน่อยค่ะถ้าเรามีเงินในบัญชีแต่ไม่มีแอปธนาคารในโทรศัพท์มันจะดูดเงินในบัญชีของเราได้มั้ยคะ⁉️
    ⚠️ ถามหน่อยค่ะถ้าเรามีเงินในบัญชีแต่ไม่มีแอปธนาคารในโทรศัพท์มันจะดูดเงินในบัญชีของเราได้มั้ยคะ⁉️ คำตอบ : โดนได้ครับ ถ้าบอกเลขบัญชี + เลขประชาชน + เลขโทรศัพท์มือถือ ให้เขาไป เขาจะไปเปิดบัญชี wallet หรือกระเป๋าเงิน ผูกกับบัญชีธนาคารเรา และโอนเงินออกไป เข้าบัญชี wallet ‼️ วิธีการคนร้าย 1. คนร้ายจะเข้ามาทำทีเป็นลูกค้าขอซื้อของออนไลน์ และขอเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ในบัตรประชาชนของผู้เสียหาย 2. คนร้ายจะนำเอาข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้น ไปเปิดบัญชีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) ขึ้นมาใหม่ และตั้งค่าบัญชี E-Wallet ให้เชื่อมกับบัญชีธนาคารผู้เสียหาย 3. หลังจากนั้นผู้เสียหายจะได้รับการแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือ ในทำนองว่า "คุณต้องการที่จะให้บัญชีธนาคารของคุณเชื่อมต่อกับกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่" ซึ่งการแจ้งเตือนมีข้อความค่อนข้างยาว ทำให้ผู้เสียหายหลายรายไม่อยากอ่าน และมองว่าไม่น่าจะมีอันตรายอะไรเกิดขึ้น 4. เมื่อผู้เสียหายกด "ยอมรับ" หรือ "ตกลง" บน Mobile Banking การเชื่อมระหว่างบัญชี Mobile Banking ของผู้เสียหาย กับบัญชี E-Wallet ของคนร้ายก็จะสมบูรณ์ ดังนั้น จึงทำให้คนร้ายสามารถยักย้ายถ่ายโอนเงินออกจากบัญชีธนาคารของผู้เสียหาย ผ่านช่องทาง Mobile Banking ไปยังบัญชี E-Wallet ของคนร้ายจนหมดภายในเวลาไม่กี่นาทีนั่นเอง จึงขอเตือนให้ทุกคนระมัดระวัง และพยายามอย่าให้ข้อมูลส่วนตัวกับใคร หากมีการแจ้งเตือนเข้ามาในโทรศัพท์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน อย่าลืมอ่านข้อความที่แจ้งมาอย่างละเอียด หากอ่านแล้วไม่เข้าใจก็ยังไม่ต้องตอบตกลง เพราะไม่แน่ว่าการแตะหน้าจอเพียงครั้งเดียว อาจจะทำให้เงินในบัญชีถูกถอนออกจนหมดก็ได้ เครดิตข้อมูล และภาพ : เฟซบุ๊ก กองปราบปราม (กฎหมายตำรวจและพนักงานสอบสวน by ภูมิรพี ผลาภูมิ)✅
    Mrs.Doubt
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "Maha Vajiralongkorn26" ได้โพสต์ข้อความว่า ในหลวงพระราชทานเงิน จริงหรือเปล่าคะ
    มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "Maha Vajiralongkorn26" ได้โพสต์ข้อความแอบอ้าง โดยให้แชร์โพสต์ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ เพื่อรับพระราชทานเงินจากในหลวง จริงหรือเปล่าคะ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    📍เปิดรับสมัครคนที่รักในการฟังเพลง📍 คนชอบฟังเพลงห้ามพลาด อยู่บ้านก็มีเงินเข้าบัญชีแล้ว 🤑 มีเวลาว่างห้ามพลาด ใช้เวลาว่างให้เกิดรายได้ 💐 งานPART TIME 💐 ขอคนพร้อมเริ่มงานได้เลย 🍬 นักเรียน นักศึกษา ว่างงานก็ทำได้ 🍬 งานฟังเพลง ดูคลิป จาก You Tube/Joox 📌สนใจแอด LINE : @734ppovc นะคะ
    ไม่ระบุชื่อ
     •  5 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ครม. มอบของขวัญให้ลูกจ้างแรงงาน เพิ่มเงินสงเคราะห์ลูกจ้างสูงสุด 100 เท่า จริงหรือไม่
    ไม่ระบุชื่อ
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ รัฐบาลอนุมัติเงินเยียวยาให้กลุ่ม ที่ไม่มีสิทธิ์ได้รับการเยียวยาจากมาตรการอื่นๆ ทั้งเราไม่ทิ้งกัน เยียวยาเกษตรกร เรียกว่า"เยียวยากลุ่มเปราะบาง" คนละ 3000 บาท
    รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบในหลักการตามคณะกรรมการกลั่นกรองฯและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.)เสนอ ให้จ่ายเงิน "เยียวยากลุ่มเปราะบาง" จำนวน 13 ล้านคน ใน 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.เด็กแรกเกิดถึง 6 ปีที่มีฐานะยากจน จำนวน 1.4 ล้านคน 2 ผู้สูงอายุ จำนวน 9.66 ล้านคน และ 3.ผู้พิการ จำนวน 2 ล้านคน ทั้งหมดรวม 13 ล้านคน
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    มุสลิมไทยได้เป็นเจ้าของบัญชีธนาคารอิสลามทุกคน สามารถกู้เงินโดยไม่ต้องใช้หนี้คืนได้
    ไม่ระบุชื่อ
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    #อ่านค่ะเพื่อสิทธิประโยชน์ของคุณ สรุปคร่าวๆให้นะคะ แล้วก้อเซฟไว้บอกต่อๆกัน​ กับเงินช่วยเหลือ5000บาท ***วันเสาร์ 28มีนา เปิดลงทะเบียน ***เริ่มโอนเงินให้อาจจะต้นเดือนเมษา ***ใช้บัญชีธนาคารของตัวเองที่มีลงทะเบียน ***ใช้โทรสัพมือถือเข้าเวปที่กำหนดมาลงทะเบียน ***โทรสัพไม่มีเน๊ต​ใช้คอม คอมไม่มีเน๊ตใช้เพื่อนที่มีเน๊ต​ เพื่อนไม่มีเน๊ต​ ไปธนาคารของรัฐที่เค้ากำหนดมา​ ***อาชีพอิสระ​ ขายของ​ แม่บ้าน​ วินมอไซต์ งานอะไรก็แล้วแต่ที่ไม่ได้จ่ายประกันสังคมได้หมด ***ข้อมูลนายจ้างไม่ต้องลง​ อัพให้ใหม่ลืม*** ***ประกันสังคมทั้งหลาย​ไม่ได้​ แต่ก้อลองดูได้เผื่อได้เพิ่ม​ ไม่ได้ถามเพราะไม่มีประกันสังคม ***อาชีพอิสระที่อยุ่นอกประกันสังคมมีประมาน3ล้านคน​ ที่ได้สิทตรงนี้​ ไม่ต้องกัวว่าไม่ได้​ ไม่ต้องแย่งกันลงทะเบียน​ สงสัยโทรถาม ***มาตรการอื่นๆจะออกมาเรื่อยสำหรับทุกคน​ ทุกอาชีพ​ ใจเยนๆ​ ***มนุษย์ประกันสังคม​ ไม่ต้องน้อยใจ​ ประกันสังคมจ่ายคืนคุนมากกว่ามนุษย์อิสระอยู่แล้ว​ ***กรมธุรกิจกระทรวงการคลัง​ โทรถามมาแล้ว โทร​ 022739020​ ต่อ​ 3558 ***ข้อความผิดพลาดตรงไหนขออภัยด้วยค่ะ
    ไม่ระบุชื่อ
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ห้ามแสกน QR codeมันเด็ดขาด !! เงินหายทันที
    เตือนภัย มีใบพวกนี้มาถึงบ้านห้ามแสกน QR codeมันเด็ดขาด !! เงินหายทันที มีน้องพยาบาลโดนมาแล้วได้รับจดหมายลงทะเบียนแล้วสแกนคิวอาร์โค้ดโดนไปแสนกว่าบาทจากบัตรเครดิต ภัยแบบใหม่ เปลี่ยนจาก call center เป็นหนังสือราชการ ถึงตัวเลย ระวัง ห้ามสแกนบาร์โค๊ตเด็ดขาด... ให้บอกคนในบ้านทุกคนด้วย อันตรายจริงๆ
    Mrs.Doubt
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 2 คนสงสัย
    รัฐทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี 5,000 บาท ในเดือนนี้
    โฆษกรัฐบาล เตือน อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม หลังข้อความว่อนโซเชียล “รัฐฯ ทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี 5,000 บาท ภายในเดือน มิ.ย.นี้” วอนหยุดแชร์ ป้องกันความสับสนและเข้าใจผิดขยายวงกว้าง วันที่ 8 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่มีการแชร์และส่งต่อข้อมูล “รัฐฯ ทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี จำนวน 5,000 บาท ภายในเดือนมิถุนายนนี้” ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ซึ่งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand : AFNC) ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว โดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ออกมาชี้แจงข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ
    std46298
     •  10 เดือนที่แล้ว
    meter: false