รายการความเห็น


12566 ความเห็น

✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
เบื้องต้นทุกโรงพยาบาลที่ดูแลกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง ได้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบหมอพร้อมแล้ว ขอให้ประชาชนทั้ง 2 กลุ่มลงทะเบียน เลือกโรงพยาบาล นัดหมายเวลารับการฉีดวัคซีน สามารถทำได้โดยการเพิ่มเพื่อนไลน์หมอพร้อม ลงทะเบียนการใช้งาน กรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลักให้ถูกต้อง หากมีข้อมูลในระบบแล้วให้ใส่เบอร์โทรศัพท์และกดบันทึก หากไม่มีข้อมูลในระบบให้กรอกข้อมูลส่วนตัวและกดบันทึก จะมีข้อความแจ้งยืนยันการลงทะเบียนสำเร็จ จากนั้นกดเมนูจองวัคซีน เพื่อลงทะเบียนการฉีดวัคซีน หากต้องการลงทะเบียนแทนบุคคลในครอบครัว ให้กด "เพิ่มบุคคลอื่น" ที่เมนู "แก้ไขข้อมูลส่วนตัว" เปิดให้ทั้ง 2 กลุ่มนี้ลงทะเบียนแสดงความประสงค์รับวัคซีน COVID - 19 เพื่อจัดลำดับนัดหมายผ่านไลน์หมอพร้อมเวอร์ชั่น 2 ได้ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2564 กรณีไม่มีชื่อในระบบหรือไม่สะดวกในการลงทะเบียนผ่านไลน์หมอพร้อม สามารถติดต่อนัดหมายที่โรงพยาบาลใกล้บ้านที่มีประวัติรักษา, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) / อสม.ในพื้นที่ เพื่อเริ่มฉีดเดือนมิถุนายน - กรกฏาคม 2564 สำหรับประชาชนที่มีอายุ 18 - 59 ปีสามารถลงทะเบียนนัดหมายรับการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 1 กรกฏาคม 2564 และเริ่มฉีดเดือนสิงหาคม 2564 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี ที่เบอร์ 061 394 5402 / 061 172 2534 / 061 174 2260 / 061 394 5403
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แถลงข่าวจากกรณีที่ อย. ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว 3 รายการ คือ AstraZeneca, Sinovac และ Johnson & Johnson แต่องค์การอนามัยโลก (WHO) รับรองวัคซีนไปแล้ว 6 รายการซึ่งยังไม่มีวัคซีน Sinovac นั้น ขอเรียนว่าเป็นความเข้าใจผิดว่าแต่ละประเทศจะใช้วัคซีนได้ต้องรอการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO Emergency Use Listing (EUL) ทั้งนี้ การอนุมัติโดย WHO ใช้สำหรับวัคซีนที่ร่วมในโครงการ COVAX หรือประเทศที่มีระบบการกำกับดูแลวัคซีนที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ใช้อ้างอิง สำหรับประเทศไทยได้รับการรับรองจาก WHO ที่สามารถพิจารณาวัคซีนได้อย่างมีคุณภาพและมีมาตรฐานอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น วัคซีน Pfizer, Moderna, AstraZeneca และ Johnson & Johnson ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปก็อนุมัติวัคซีนเหล่านี้ก่อนเข้า WHO EUL เช่นเดียวกับที่ไทยอนุมัติ AstraZeneca ไปก่อนเช่นกัน นพ.ไพศาลกล่าวต่อไปว่า สำหรับวัคซีน Sinovac มีการใช้ใน 45 ประเทศทั่วโลก โดย อย. ใช้เกณฑ์การประเมินมาตรฐานเดียวกับของ WHO โดยการทดลองระยะ 3 ที่บราซิล สามารถป้องกันการติดเชื้อเกิน 50% ป้องกันความรุนแรงของโรค 78% และป้องกันการตายได้ 100% เมื่อดูประเทศที่ใช้จริง พบว่าที่ประเทศชิลีใช้ป้องกันการติดเชื้อได้ 67% ป้องกันป่วย 85% ป้องกันอาการหนัก 89% และป้องกันการเสียชีวิตได้ 80% ขณะที่การศึกษาของ นพ.ยง ภู่วรวรรณ พบว่าถ้าฉีดวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็ม ผ่านไป 1 เดือนจะมีภูมิต้านทานขึ้นสูง 99.4% สูงกว่าคนที่ได้รับเชื้อโดยธรรมชาติ
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติเห็นชอบแนวทางจัดหาวัคซีนโควิด-19 ในปี 2565 รองรับนโยบายเพิ่มวัคซีนเป็น 150 ล้านโดส เร่งเจรจาผู้ผลิตที่มีการพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 2 ครอบคลุมไวรัสกลายพันธุ์ หาความร่วมมือถ่ายทอดเทคโนโลยี และสนับสนุนการวิจัยในประเทศ พร้อมเดินหน้าฉีดวัคซีนปูพรมทั้งรูปแบบนัดและเดินเข้ามารับวัคซีนทั่วประเทศ
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แถลงข่าวจากกรณีที่ อย. ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว 3 รายการ คือ AstraZeneca, Sinovac และ Johnson & Johnson แต่องค์การอนามัยโลก (WHO) รับรองวัคซีนไปแล้ว 6 รายการซึ่งยังไม่มีวัคซีน Sinovac นั้น ขอเรียนว่าเป็นความเข้าใจผิดว่าแต่ละประเทศจะใช้วัคซีนได้ต้องรอการอนุมัติจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO Emergency Use Listing (EUL) ทั้งนี้ การอนุมัติโดย WHO ใช้สำหรับวัคซีนที่ร่วมในโครงการ COVAX หรือประเทศที่มีระบบการกำกับดูแลวัคซีนที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ใช้อ้างอิง สำหรับประเทศไทยได้รับการรับรองจาก WHO ที่สามารถพิจารณาวัคซีนได้อย่างมีคุณภาพและมีมาตรฐานอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น วัคซีน Pfizer, Moderna, AstraZeneca และ Johnson & Johnson ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปก็อนุมัติวัคซีนเหล่านี้ก่อนเข้า WHO EUL เช่นเดียวกับที่ไทยอนุมัติ AstraZeneca ไปก่อนเช่นกัน นพ.ไพศาลกล่าวต่อไปว่า สำหรับวัคซีน Sinovac มีการใช้ใน 45 ประเทศทั่วโลก โดย อย. ใช้เกณฑ์การประเมินมาตรฐานเดียวกับของ WHO โดยการทดลองระยะ 3 ที่บราซิล สามารถป้องกันการติดเชื้อเกิน 50% ป้องกันความรุนแรงของโรค 78% และป้องกันการตายได้ 100% เมื่อดูประเทศที่ใช้จริง พบว่าที่ประเทศชิลีใช้ป้องกันการติดเชื้อได้ 67% ป้องกันป่วย 85% ป้องกันอาการหนัก 89% และป้องกันการเสียชีวิตได้ 80% ขณะที่การศึกษาของ นพ.ยง ภู่วรวรรณ พบว่าถ้าฉีดวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็ม ผ่านไป 1 เดือนจะมีภูมิต้านทานขึ้นสูง 99.4% สูงกว่าคนที่ได้รับเชื้อโดยธรรมชาติ
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Ad.tar
ข้อความนี้สั้นเกินไป อาจจะเกิดจากผู้ใช้งานพิมพ์ข้อความเข้ามาเอง
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Ad.tar
กรณีที่การเผยแพร่ข่าวในสื่อสังคมออนไลน์ ถึงกรณีองค์การเภสัชกรรมจัดซื้อวัคซีนให้กับเอกชนและกล่าวว่าการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าวทางเอกชนจะต้องเสียภาษีถึง 2 ครั้ง และจะชาร์จค่าบริหารจัดการ 5% ถึง 10% นั้น องค์การฯ ขอชี้แจงว่าการให้ข้อมูลดังกล่าวนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ที่ผ่านมาองค์การเภสัชกรรมยังไม่ได้มีการพูดคุยถึงตัวเลขราคาและต้นทุนต่าง ๆ กันเลย ขอยืนยันว่าการกำหนดราคาขายวัคซีนให้กับโรงพยาบาลเอกชนนั้น จะเป็นราคาที่สมเหตุสมผล เหมาะสม อย่างแน่นอน สอดคล้องกับพันธกิจขององค์การฯ” นายแพทย์วิฑูรย์กล่าว
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Ad.tar
สำนักประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ชี้แจงว่า ในวันพรุ่งนี้ (12 พ.ค.) กรุงเทพมหานคร ร่วมกับหอการค้าไทยเตรียมหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาล 14 แห่ง ตั้งแต่ 12-14 พ.ค. เป็นการทดลองระบบการฉีดวัคซีนโควิด-19 เฉพาะกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ด่านหน้าอาสาสมัครที่ได้รับการลงทะเบียนกับสำนักอนามัย กทม.แล้วเท่านั้น สำหรับประชาชนทั่วไป ขอให้ติดตามความคืบหน้าการเปิดลงทะเบียนจองฉีดวัคซีนต่อไป ทั้งนี้ ขอความร่วมมือประชาชนที่ไม่ได้ลงทะเบียนกับกลุ่มเป้าหมายของสำนักอนามัย งดเว้นเดินทางมายังจุดให้บริการดังกล่าว เพื่อความปลอดภัยของทุกท่านและช่วยให้การปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
💬 มีความเห็นส่วนตัว
Ad.tar
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความผ่านเพจเฟซบุ๊ก Paisal Puchmongkol ระบุว่า...ข่าวดี ไม่อิงนิยาย เหลือเชื่อจริงๆ โรงพยาบาลคุนหมิงในจีน เริ่มใช้นำ้ชารักษาผู้ป่วยโรคโควิด -19 ในโรงพยาบาล เนื่องจากเพิ่งค้นพบว่าในน้ำชามีสารหลายชนิด มีคุณค่าทางยา สามารถฆ่าเชื้อไวรัส covid-19 ได้ โดย นำเชื้อ covid19 ใส่ลงไปในน้ำแล้วเติมน้ำชาลงไปพบว่าเชื้อจะตาย ถึง 90% ใน 1 นาทีและตาย 99.99% ใน 10 นาที เนื่องจากในใบชามีสารEGCG ที่สามารถกำจัดโปรตีน S ในเชื้อโคโรน่าไวรัส จึงแนะนำให้ ดื่มน้ำชาบ่อยๆ และล้างมือด้วยน้ำชาบ่อยๆ ซึ่งชนชาติจีนนิยมดื่มชากันมาก เพื่อขจัดไขมันในอาหาร มิน่า โรคระบาดครั้งนี้คนตาย แค่ 4,636 ศพ จากพลเมือง 1,400 ล้านคน ยอดติดเชื้อถึงวันนี้รวม 90,758 คน และแทบไม่มีคนตามเพิ่มเลย
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Ad.tar
สำหรับประชาชนที่มีอายุ 18 - 59 ปีสามารถลงทะเบียนนัดหมายรับการฉีดวัคซีนตั้งแต่ 1 กรกฏาคม 2564 และเริ่มฉีดเดือนสิงหาคม 2564 ตรวจสอบพบว่า ลิงก์ดังกล่าว ไม่สามารถใช้งานได้ และไม่พบการประกาศจากพื้นที่
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
U.S. News & World Report เผยผลการจัดอันดับประเทศที่เหมาะสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจมากที่สุดในโลก ประจำปี 2563 หรือ Best Countries to Start a Business 2020 ให้ "ประเทศไทย" ติดอันดับที่ 1 ของโลก ประเทศที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นธุรกิจ จากทั้งหมด 73 ประเทศทั่วโลก
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Ad.tar
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้ชี้แจ้งว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลรายงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ น้ำขิง และน้ำกระชายผสมน้ำผึ้งมะนาว สามารถต้านโควิด-19 ได้ รวมถึงน้ำสมุนไพรดังกล่าวไม่สามารถดีท็อกซ์ลำไส้ได้ ดังนั้น ควรระมัดระวังการสื่อสารสู่สาธารณะที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ อย่างไรก็ดีสมุนไพรดังกล่าวมีประโยชน์ต่อสุขภาพที่สามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ไอ เจ็บคอได้
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
ปลัดศธ.เผย ศธ.ส่งรายชื่อครูในระบบกว่า 6 แสนคนให้กรมควบคุมโรค จัดลำดับเข้ารับการฉีดวัคซีนก่อนเปิดเรียน 1 มิ.ย 64
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Ad.tar
โรงพยาบาลราชวิถีเปิดขอรับบริจาคจริง แต่ไม่ได้จำกัดเงินเพียงแค่ 9 บาท สามารถบริจาคเท่าใดก็ได้ตามศรัทธา
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก (Yong Poovorawan) การศึกษาภูมิต้านทานที่เกิดจากการฉีดวัคซีนในประเทศไทย เมื่อฉีดวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็มแล้วเป็นระยะเวลา 1 เดือน กับการตรวจ "ภูมิต้านทาน"หลังฉีดวัคซีน AstraZeneca 1 เข็มเป็นเวลา 1 เดือน เปรียบเทียบกับการตรวจภูมิต้านทานในผู้ที่หายจากการติดเชื้อ "โรคโควิด 19" ในช่วงระยะเวลา 4 ถึง 8 สัปดาห์หลังจากที่มีการติดเชื้อ จะเห็นว่าระดับภูมิต้านทานของวัคซีน Sinovac เมื่อฉีดครบแล้ว 2 ครั้ง มีค่าระดับภูมิต้านทานเฉลี่ย 85.9 unit/ml ส่วน"ภูมิต้านทาน"หลังฉีด AstraZeneca เพียงเข็มเดียวมีค่าเฉลี่ย 47.5 เมื่อเทียบกับ"ภูมิต้านทาน"หลังติดเชื้อ 60.9 unit/ml และยังแสดงให้เห็นว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนส่วนใหญ่จะตรวจพบ"ภูมิต้านทาน"ได้ 98-99 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ผู้ติดเชื้อ ตรวจพบ"ภูมิต้านทาน"ได้ร้อยละ 92.4
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
💬 มีความเห็นส่วนตัว
Ad.tar
นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า สำหรับอาการพบว่าเด็กจะมีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่ โดยในส่วนของเด็กจะมีอาการไข้ 42% ไอ 49% มีน้ำมูก 8% อ่อนเพลีย 7% แต่หากเป็นผู้ใหญ่จะมีไข้ 89% ไอ 68% ซึ่งเป็นอาการหลักที่สำคัญ ส่วนเจ็บคอจะพบได้ 14% มีน้ำมูก 5% ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 15% อ่อนเพลีย 38% และหากมีอาการของปอดอักเสบจะเริ่มแสดงอาการ เหนื่อย หอบ หายใจเร็วและลำบาก ซึ่งช่วงอายุมีผลต่ออัตราการเสียชีวิต ซึ่งในกลุ่ม 10-19 ปีมีโอกาสต่ำมาก ช่วงอายุ 50-59 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงและช่วงอายุ 80 ปีขึ้นไปมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึง 14.8% โดยเฉพาะคนมีโรคประจำตัว อย่างไรก็ตามผู้ป่วยติดเชื้อนั้นพบว่า 80% มีอาการน้อยถึงน้อยมาก สามารถหายได้เอง ไม่จำเป็นต้องรับยา ในกลุ่มนี้มี 30% เป็นการติดเชื้อและมีภูมิคุ้มกันแต่ไม่มีอาการ นับว่าเป็นเรื่องที่ดี ส่วน 20% เป็นผู้ป่วยที่อาจต้องรักษาในรพ. ซึ่งในจำนวนนี้พบ 5% อาการรุนแรง ต้องรักษาในกรณีพิเศษ ส่วนอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1.4%.
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ทางการมาเลเซียได้ใช้มาตรการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 กำลังพุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดได้มากขึ้นด้วย มาตรการใหม่นี้เริ่มใช้ก่อนที่จะมีเทศกาลอีฎิ้ลฟิตริของชาวมุสลิมที่จะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ ซึ่งนั่นหมายความว่าชาวมาเลเซียหลายล้านคนต้องยกเลิกการเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงสิ้นสุดเทศกาลรอมฎอน
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
💬 มีความเห็นส่วนตัว
komsonp
ผมและครอบครัว ได้ข้อความนี้ทาง LINE สนใจสมัคร แต่สงสัยมากว่า เป้นเรื่องจริง หรือลวง แม้มีตราของ 'สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี', ตรา กระทรวง สธ. และ ตราหมอพร้อม และมี graphic มาก ก็ตาม ก็ยังสงสัย เพราะ ถามข้อมูลส่วนตัวเยอะ. **ที่ควรแล้ว หากเป็นของทางราชการจริง** ควรมี ช่องทางให้ตรวจสอบ ง่ายสุด เช่น มี link ให้ไป ที่ webpage ของ ราชการ หรือ facebook page ของราชการก็ได้ เพื่อให้เห็นว่า มีข้อความ และ link ไปยัง Google Form นี้ ผมก็เชื่อแล้ว. นี่ ไม่มีอะไรเลย. แย่ไปกว่า นั้น ผมโทรหา เบอร์โทร ที่ปรากฎใน graphic โทรไป รวมยี่สิบกว่าสาย ในหลายเบอร์ รวมทั้ง ทุกเบอร์ ของ สสจ. นนทบุรี, เทศบาลนนท์, ร.พ. และ เบอร์ติดต่อของ หมอพร้อม สรุปว่า สรุปไม่ได้ เพราะ ไม่มีใครรับสาย หรือ มีให้ฝากข้อความ. หมดเวลาไป 2-3 ชม. ไม่ได้ ข้อสรุป. สงสัยเป็นเพราะที่นี่ เมืองไทย? ใช้ Google ช่วยหาว่า มี link หรือ ข้อความแนวนี้ ที่ไหนของเว็ปทางการบ้าง -- ก็หาไม่เจอ หาอยู่นาน -- เหนื่อย.
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
anonymous
โรงพยาบาลราชวิถีเปิดขอรับบริจาคจริง แต่ไม่ได้จำกัดเงินเพียงแค่ 9 บาท สามารถบริจาคเท่าใดก็ได้ตามศรัทธา
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Mrs.Doubt
ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเก่า ในเดือนเมษายน 2564 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม แจ้งว่า ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสำนักงานปลัดกรุงเทพมหานครแล้ว กรณีกทม.จัดบริการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ฟรี ใน 11 โรงพยาบาลเป็นข้อมูลเท็จ
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Mrs.Doubt
ไม่สามารถตรวจสอบเนื้อหานี้ได้
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
supinya
ข่าวลือนี้ถูกพูดถึงกันมากเป็นพิเศษสำหรับวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยี 2 ชนิดคือ mRNA เช่น วัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นา (Moderna) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่นำรหัสพันธุกรรมส่วนเล็กๆ ของไวรัสมาใช้กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน กับ Viral Vector เช่น วัคซีนของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ใช้วิธีฝากสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ไปกับไวรัสชนิดอื่น แต่เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะเกิดการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 ด้วย การกล่าวถึงพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ในกระบวนการผลิตและการทำงานของวัคซีน นำไปสู่ความกังวลว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนจะมีผลข้างเคียงคือรหัสพันธุกรรมของตนจะเปลี่ยนไปด้วย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ชี้แจงเรื่องนี้ว่า วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีทั้ง 2 ชนิด แม้จะส่งสารพันธุกรรมเข้าไปในร่างกายมนุษย์ แต่สารนั้นจะไม่เข้าไปถึงนิวเคลียสอันเป็นที่เก็บดีเอ็นเอ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อดีเอ็นเอแต่อย่างใด ทางสำนักข่าวบีบีซีและรอยเตอร์ตรวจสอบแล้วพบว่าข่าววัคซีนเปลี่ยนดีเอ็นเอนี้ไม่เป็นความจริง https://www.bbc.com/thai/international-55207088
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
supinya
ข่าวลือนี้ถูกพูดถึงกันมากเป็นพิเศษสำหรับวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยี 2 ชนิดคือ mRNA เช่น วัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นา (Moderna) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่นำรหัสพันธุกรรมส่วนเล็กๆ ของไวรัสมาใช้กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน กับ Viral Vector เช่น วัคซีนของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ใช้วิธีฝากสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ไปกับไวรัสชนิดอื่น แต่เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะเกิดการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 ด้วย การกล่าวถึงพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ในกระบวนการผลิตและการทำงานของวัคซีน นำไปสู่ความกังวลว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนจะมีผลข้างเคียงคือรหัสพันธุกรรมของตนจะเปลี่ยนไปด้วย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ชี้แจงเรื่องนี้ว่า วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีทั้ง 2 ชนิด แม้จะส่งสารพันธุกรรมเข้าไปในร่างกายมนุษย์ แต่สารนั้นจะไม่เข้าไปถึงนิวเคลียสอันเป็นที่เก็บดีเอ็นเอ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อดีเอ็นเอแต่อย่างใด ทางสำนักข่าวบีบีซีและรอยเตอร์ตรวจสอบแล้วพบว่าข่าววัคซีนเปลี่ยนดีเอ็นเอนี้ไม่เป็นความจริง https://www.bbc.com/thai/international-55207088
ใช้ใน 0 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
naruemonjoy
เสวนาทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน ในเรื่อง “ฟ้าทะลายโจรในการรักษาและป้องกันโรคโควิด-19: หลักฐานทางวิชาการ” Streamed live on May 3, 2021 จากการเสวนานักวิจัยระบุถึงผลการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่าไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 เข้าสู่เซลล์
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
naruemonjoy
การศึกษาในหลอดทดลองพบว่าไม่มีฤทธิ์ในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 เข้าสู่เซลล์ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้รับประทานเพื่อป้องกันโควิด 19 อ้างอิง: เฟสบุค กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
naruemonjoy
เสวนาทางวิชาการ เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชน ในเรื่อง “ฟ้าทะลายโจรในการรักษาและป้องกันโรคโควิด-19: หลักฐานทางวิชาการ” Streamed live on May 3, 2021 โดยการเสวนานี้มีการพูดถึงทั้งเรื่องฟ้าทะลายโจร และกระชาย จากนักวิชาการ
ใช้ใน 0 ข้อความ4 ปีที่แล้ว