รายการความเห็น
12566 ความเห็น
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Ad.tar
ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง น้ำเกลือ Normal Saline ใช้แช่คอนแทคเลนส์ได้ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
.
จากที่มีการแนะนำว่าสามาถใช้น้ำเกลือในการแช่คอนแทคเลนส์ได้นั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ชี้แจงว่า น้ำเกลือ Normal Saline ใช้แช่คอนแทคเลนส์ไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ หากนำมาแช่คอนแทคเลนส์จะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย แต่ใช้ล้าง คอนแทคเลนส์ก่อนใช้งานเพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อแบคทีเรีย และลดการระคายเคืองตาได้
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Ad.tar
จากที่มีการเผยแพร่เอกสารโดยใช้ชื่อของกรมปศุสัตว์ เพื่อประกอบการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมบริจาคเงินไถ่ชีวิตโค-กระบือ ทางกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ชี้แจงว่า เป็นการปลอมแปลงเอกสารทางราชการ ซึ่งไม่ได้มีการขออนุญาตดำเนินการประชาสัมพันธ์รับบริจาคกับกรมปศุสัตว์แต่อย่างใด จึงขอเตือนให้ประชนอย่าหลงเชื่อการประชาสัมพันธ์รับบริจาคเงินของกลุ่มบุคคลดังกล่าว
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
กองทัพเมียนมาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 1 ปี และมอบอำนาจให้แก่พลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย หลังมีรายงานข่าวนางออง ซาน ซู จี และผู้นำพลเรือนคนอื่น ๆ ถูกควบคุมตัว
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
อย. ย้ำการโฆษณาแสดงสรรพคุณของอาหารทางสื่อต่าง ๆ รวมถึงการไลฟ์สดต้องได้รับอนุญาตจาก อย. ก่อน ขั้นตอนการขออนุญาตสะดวก รวดเร็ว ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Submission) การันตีไม่เกิน 8 วันทำการ แนะเจ้าของผลิตภัณฑ์ ผู้เกี่ยวข้องกับการโฆษณาศึกษาข้อกฎหมายอย่างถี่ถ้วน เพราะการฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ อย. หรือ สสจ. ทั่วประเทศ หรือผ่านระบบให้คำปรึกษาทางออนไลน์ (Consultation e-Services) พร้อมแนะผู้บริโภคสังเกตเลข “ฆอ.” ในชิ้นงานโฆษณา หากไม่มี อย่าเชื่อสรรพคุณ ให้ร้องเรียนที่สายด่วน อย. 1556 หรือ Oryor Smart Application
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Ad.tar
ช่อง 7 ปฎิเสธข่าวลือ “สรยุทธ” เตรียมร่วมงานหลังพ้นโทษ
วันที่ 29 มกราคม 2564 ช่อง 7HD ได้ออกหนังสือประชาสัมพันธ์ ปฏิเสธข่าวลือ ระบุว่า ช่อง 7HD โดย นายพัฒนพงค์ หนูพันธ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการ กล่าวถึงตามที่สื่อผู้จัดการออนไลน์ เผยแพร่ข่าววันนี้ ลือ “สรยุทธ” เตรียมไปช่อง 7 – มีนาฯ นี้
ทางช่อง 7HD ขอยืนยันว่า ข่าวลือดังกล่าว ไม่เป็นความจริง จึงขอปฏิเสธข่าวดังกล่าว
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Ad.tar
มีการส่งต่อคลิปข่าวกันว่า การกินกล้วยวันละ 1 ลูก ช่วยรักษาโควิด-19 ได้ เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง
คลิปที่แชร์กันนั้น อ้างว่าเป็นการรายงาน ข่าวของสำนักข่าวต่างประเทศ มีภาพของกล้วย และภาพนักวิจัย พร้อมขึ้นข้อความว่า มีการพิสูจน์ว่ากล้วยช่วยป้องกันโคโรนาไวรัสได้
โดยคลิปดังกล่าว เป็นข่าวปลอมที่นำคลิปข่าว การพัฒนาวัคซีน เพื่อต่อต้านไวรัสโคโรนาของนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย ควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย มาตัดต่อใส่ภาพของกล้วย นักวิจัย และข้อความเข้าไป โดยไม่มีหลักฐานหรืองานวิจัยใดๆ ที่สามารถพิสูจน์ความจริงดังกล่าวได้
สำหรับกล้วยนั้น ไม่ว่าจะเป็นกล้วยหอมหรือกล้วยน้ำว้าก็มี วิตามินมากมาย ในกล้วยหอมยังมีโพแทสเซียม ช่วยลดความดันโลหิตได้ แต่สำหรับการป้องกันโรคโควิด-19 นั้น ยังไม่มีผล งานวิจัยใดๆ รองรับหรือยืนยัน ยังมีอาหารและผักผลไม้อีกหลายชนิดที่แชร์กันว่า ป้องกันโควิด-19 ได้ และพบว่าส่วนใหญ่ไม่เป็นความจริง
ดังนั้นข้อความที่ส่งต่อกันว่า การทานกล้วยช่วยป้องกันโควิด-19ได้ สรุปข่าวนี้ปลอม
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
DC5 BOSS
เจ้าหน้าที่การแพทย์ของออสเตรเลียชี้เด็กมีโอกาสติดเชื้อโควิด19น้อยกว่าผู้ใหญ่การแพร่กระจายระหว่างเด็กด้วยกันก็น้อยกว่า
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
DC6 MUEY
กระทรวงศึกษาธิการยังไม่ได้มีคำสั่งประกาศว่าให้มีการเลื่อนเปิดเทอมอย่างเป็นทางการ มีเพียงการเรียกร้องจากผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษาว่าอยากให้มีการเลื่อนเปิดเทอมเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
DC6 MUEY
กระทรวงศึกษาธิการยังไม่ได้มีคำสั่งประกาศว่าให้มีการเลื่อนเปิดเทอมอย่างเป็นทางการ มีเพียงการเรียกร้องจากผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษาว่าอยากให้มีการเลื่อนเปิดเทอมเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19
ใช้ใน 0 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
DC6 MUEY
กระทรวงศึกษาธิการยังไม่ได้มีคำสั่งประกาศว่าให้มีการเลื่อนเปิดเทอมอย่างเป็นทางการ มีเพียงการเรียกร้องจากผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษาว่าอยากให้มีการเลื่อนเปิดเทอมเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19
ใช้ใน 0 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
DC 03 earth
เรื่องขมิ้น : บางคนสภาพผิวต่างกัน บางคนได้ผลเร็วบางคนไม่แสดงผล
เรื่องอัญชัญ : อัญชัน จะไปกระตุ้นการไหลเวียนเส้นเลือดครับ เมื่อทาแล้วจะเห็นผลได้ในบางคน เพราะปัจจัยที่ ทำให้รากผมขึ้นมาใหม่ ยังมีอีกหลายอย่างครับ
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
DC 4 Ray
ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิรอฤกษ์ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ได้มีการเปิดราคาวัคซีน ฉีดป้องกันโควิด-19 ราคาวัคซีน 620บาท ฉีดคนละ2 เข็ม เท่ากับ ค่าวัคซีน1,240 บาท หรือมีราคาเท่ากับวัคซีนไข้หวัดใหญ่
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
DC 01 FIRST
ทางแอพหมอชนะได้มีการคิดค่าบริการข้อความละ 5 บาทในทางบทความข้างต้นนั้นเป็นบทความเท็จเนื่องจาก ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Depa) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ชี้แจงถึงประเด็นนี้ว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง ตัวแอปพลิเคชัน "หมอชนะ" ไม่ทราบถึงข้อมูลเบอร์โทรของผู้ใช้งาน ดังนั้นจะนำเอาเบอร์โทรศัพท์ไปสมัครข้อความไม่ได้
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
DC02 คนsadเเห่งDC
ไม่จริง สรรพคุณของส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ไม่มีการศึกษาใดยืนยันว่าช่วยลดน้ำหนัก หรือเผาผลาญไขมันได้
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
nutyty_MJU
ยังไม่มีผลงานวิจัยใดๆ รองรับหรือยืนยัน ว่าการกินกล้วยหอมจะป้องกันโรคโควิด-19
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
DC.2 กรีนเรนเจอร์
https://www.thairath.co.th/news/society/2009916?fbclid=IwAR298C471tivESVW8sFM8VBiLO-i_91eW5npynRohy9fNv0I_OBQbq5_kkE
ใช้ใน 0 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
lungvan
ไม่ปรากฎว่ามีวารสารวิชาการชื่อ "Izu View the World" - มหาวิทยาลัย Nakoya ไม่มีชื่อ Koichi Kobayashi เป็น professor of international politics - พบเนื้อข่าวที่เป็นภาษาอังกฤษอยู่ชิ้นเดียว ภาษาที่ใช้ไม่น่าเชื่อว่าเป็นบทความทางวิชาการ เพราะไม่ถูกต้องทั้งหลักภาษาและขาดแหล่งอ้างอิง สรุปคือเชื่อถือไม่ได้
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
supinya
จากการค้นด้วยพาดหัวเรื่องเบื้องต้น พบข้อความทั้งหมดนี้อยู่ในบล็อกนี้ บอกว่ามีการแปลข้อความจากภาษาอังกฤษ http://oknation.nationtv.tv/blog/nfedlion/2021/01/27/entry-1 แล้วลองค้นคำในภาษาอังกฤษเจอบทความนี้ในเว็บข่าวของลังกานิวส์ https://www.lankanewsweb.net/87-foreign/77153-germany-bid-farewell-to-merkel-with-six-minutes-of-warm-applause แต่พอลองใช้คีย์เวิร์ด เรื่องการยืนปรบมือ 6 นาที พบวามีข่าวจากสำนักข่าวบีบีซีที่รายงานเหตุการณ์เมื่อสองปีก่อน คือเป็นการปรบมือในที่ประชุมพรรค CDU https://www.bbc.com/news/world-europe-46480892
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Ad.tar
คลิปที่แชร์กันนั้น อ้างว่าเป็นการรายงาน ข่าวของสำนักข่าวต่างประเทศ มีภาพของกล้วย และภาพนักวิจัย พร้อมขึ้นข้อความว่า มีการพิสูจน์ว่ากล้วยช่วยป้องกันโคโรนาไวรัสได้
โดยคลิปดังกล่าว เป็นข่าวปลอมที่นำคลิปข่าว การพัฒนาวัคซีน เพื่อต่อต้านไวรัสโคโรนาของนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย ควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย มาตัดต่อใส่ภาพของกล้วย นักวิจัย และข้อความเข้าไป โดยไม่มีหลักฐานหรืองานวิจัยใดๆ ที่สามารถพิสูจน์ความจริงดังกล่าวได้
สำหรับกล้วยนั้น ไม่ว่าจะเป็นกล้วยหอมหรือกล้วยน้ำว้าก็มี วิตามินมากมาย ในกล้วยหอมยังมีโพแทสเซียม ช่วยลดความดันโลหิตได้ แต่สำหรับการป้องกันโรคโควิด-19 นั้น ยังไม่มีผล งานวิจัยใดๆ รองรับหรือยืนยัน ยังมีอาหารและผักผลไม้อีกหลายชนิดที่แชร์กันว่า ป้องกันโควิด-19 ได้ และพบว่าส่วนใหญ่ไม่เป็นความจริง
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
จากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 รอบใหม่ กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคม ได้เสนอกฎกระทรวงลดอัตราเงินสมทบ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงแก้ไขเพิ่มเติม เรื่อง การกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมให้คงการลดเงินสมทบนายจ้าง เหลือร้อยละ 3 ผู้ประกันตนมาตรา 33 ลดเงินสมทบเหลือร้อยละ 0.5 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ลดเหลือ 38 บาท (จากที่จ่ายเดือนละ 432 บาท) เป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่งวดเดือน ก.พ. – มี.ค. 2564
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งการลดเงินสมทบครั้งนี้จะช่วยลดภาระแก่ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 จำนวน 12.9 ล้านคน และนายจ้าง 4.85 แสนราย คาดว่าจะเป็นเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจรวม 23,119 ล้านบาท
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Ad.tar
ข่าวนี้ก็คืออาจจะคลาดเคลื่อนเพราะว่าพูดในภาพรวม
เชื้อไวรัสไม่สามารถออกมาโดยลำพัง
มันจะต้องออกมากับตัวละอองฝอยหรือสารคัดหลั่ง
นั่นหมายความว่าถ้าเกิดหน้ากากผ้ามีคุณภาพดี
และมีความสามารถในการดูดซับ
ละอองเหล่านั้นก็จะติดอยู่ในส่วนที่ดูดซับ
หรืออาจจะเลยมาในส่วนของตัวจุดที่เป็นระดับคัดกรอง
ที่อยู่ในโครงสร้างของตัวหน้ากาก
สำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่มีอาการใดๆ
การสวมใส่หน้ากากผ้าก็จะเป็นในเรื่องของการป้องกัน
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
คณะทำงานด้านวัคซีนของเยอรมนี แนะนำว่าไม่ควรฉีดวัคซีน COVID-19 ของแอสตราเซเนกาให้กับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนในกลุ่มนี้ยังมีไม่มากพอ
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
กาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ห้ามทานคู่กับยาแก้หวัดต่างๆ หรือยาขยายหลอดลม เพราะกาแฟเป็นตัวกระตุ้นทำให้หัวใจเต้นเร็วเหมือนกันกับยาแก้หวัดหรือยาขยายหลอดลม หากกินคู่กันอาจจะส่งผลให้เกิดอาการใจสั่น หรือหัวใจเต้นผิดปกติได้
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
การรับประทานยาพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เสี่ยงผลข้างเคียงจึงเป็น... เรื่องจริง
สำหรับตัวอย่างยาที่อาจเกิดผลข้างเคียงเมื่อรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์ เช่น
กลุ่มยาแก้แพ้ (Antihistamine) เช่น Chlorpheniramine Dimenhydrinate Brompheniramine Hydroxyxine มีผลข้างเคียงทำให้ ง่วงซึม หากรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์ จะยิ่งทำให้ผลข้างเคียงรุนแรงมากขึ้น จนอาจเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibiotic) เช่น Metronidazole Tinidazole
ยาลดน้ำตาลในเลือด (Sulfonylureas) เช่น Glipizide Glyburide
โดยกลุ่มที่ 2 และ 3 หากรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์ จะเกิดอาการดังนี้
หน้าแดง
ปวดหัว เวียนหัว
อาเจียน
หายใจติดขัด
วิตกกังวล สับสน มึนงง
4. ยาที่มีผลเสียต่อตับ เช่น การกินยาแก้ปวดพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือยารักษาวัณโรคร่วมกับแอลกอฮอล์เป็นเวลานานจะเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อตับ
นอกจากนี้ยังมียาอีกหลายกลุ่มที่ไม่ควรกินร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อยานอนหลับ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยควรใช้ยาอย่างระมัดระวัง และควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญ ควรรับประทานยาร่วมกับน้ำดื่มสะอาด และควรงดการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างการรักษาด้วยยา เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลข้างเคียง
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Ad.tar
มีคนกังวลว่า แคปซูลยากินมาก ๆ จะเกิดอันตราย เพราะมีเรื่องนี้แชร์กันมา และยิ่งกังวลไปใหญ่เพราะคุณหมอชอบจ่ายยาที่เป็นแคปซูลมา เรื่องนี้ไม่ต้องกังวล เพราะไม่ใช่เรื่องจริง
ยาแคปซูล เป็นรูปแบบยาที่มีลักษณะของยาที่ลื่น ทำให้กลืนง่าย เปลือกแคปซูล หรือปลอกแคปซูลที่บรรจุยา ส่วนมากทำมาจากเจลาติน น้ำ และสี โดยการแปรรูปคอลลาเจนที่มีอยู่ในผิวหนัง และกระดูกสัตว์ เช่น วัว หมู เปลือกแคปซูลแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ แคปซูลชนิดเปลือกแข็ง (Hard Gelatin Capsules) เช่น ผงยา ผงแกรนูล หรือยาเม็ดเล็ก ๆ ได้ และแคปซูลชนิดเปลือกนิ่ม (Soft Gelatin Capsules) มักใช้บรรจุยา หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นของเหลว เช่น วิตามิน น้ำมันต่าง ๆ
ประโยชน์ของแคปซูล นอกจากช่วยนำส่งยาแล้ว ยังช่วยในเรื่องการกลบกลิ่น และรสที่ไม่ดีของยา และยังสามารถใช้ระบุเอกลักษณ์ของยา แยกชนิดของยาแต่ในผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถรับประทานยาแคปซูลทั้งแคปซูลได้ อาจแกะเปลือกแคปซูลแล้วละลายยาให้ผู้ป่วยได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าแคปซูลทุกชนิดจะสามารถแกะออกมา แล้วเอายาละลายน้ำรับประทานได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของแคปซูล และชนิดของตัวยาที่บรรจุอยู่ในแคปซูลด้วย ดังนั้น แนะนำให้กลืนยาทั้งแคปซูลมากกว่าแกะเปลือกแคปซูลแล้วนำยามาละลายน้ำ โดยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนแกะแบ่งเม็ดยาในแคปซูล
ส่วนเรื่องแชร์ที่ว่าการกินยาแคปซูลมาก ๆ จะเป็นอันตรายจากตัวแคปซูลนั้น ถือว่าไม่เป็นจริง เพราะเปลือกแคปซูล ทำมาจากเจลาติน และน้ำ ซึ่งไม่เป็นอันตราย ส่วนสีจะใช้ในปริมาณที่เหมาะสมซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเช่นเดียวกัน
ใช้ใน 1 ข้อความ・4 ปีที่แล้ว