รายการความเห็น


12586 ความเห็น

✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Mook Mutita
การรับประทานอาหารที่อุ่นด้วย “ไมโครเวฟ” ก่อให้เกิดโรคมะเร็งจริงหรือไม่ ? ในยุคปัจจุบันผู้คนนิยมใช้ “เตาอบไมโครเวฟ” อย่างแพร่หลาย เพราะเป็นเทคโนโลยีที่ให้ความสะดวกสบายประหยัดเวลา และประกอบอาหารได้หลากหลาย เตาอบไมโครเวฟนั้นมีวิธีการทำงานด้วยการปล่อยคลื่นรังสีผ่านเข้าไปในอาหาร จึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่าการปล่อยรังสีนี้ส่งผลอันตรายต่อร่างการหรือไม่ (ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.scimath.org/article-physics/item) • จากการสัมภาษณ์ นายพีระ นนท์คำจันทร์ นักวิชาการศึกษา กลุ่มงานวิชาการวิจัยและนวัตกรรม โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ให้ข้อมูลว่า “ คลื่นที่ถูกปล่อยออกมา เพื่อใช้ในการอุ่นอาหารของไมโครเวฟ เป็นคลื่นที่จะทำเพียงแค่พุ่งผ่านอาหารและก่อให้เกิดพลังงานการ สั่นสะเทือนซึ่งก่อให้เกิดความร้อนเพียงเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะสลายหายไปจึงทำให้อาหารที่ผ่านการอุ่นด้วย ไมโครเวฟไม่มีรังสีตกค้างและไม่มีสารเคมีอื่นๆที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ” • ทั้งนี้ นายพีระ ได้ให้ข้อแนะนำในการใช้ไมโครเวฟในการอุ่นอาหารเพิ่มเติมว่า “ การเลือกใช้ภาชนะสำหรับใส่ อาหารในการเข้าไมโครเวฟก็สำคัญเช่นกัน เพราะมีภาชนะบางอย่างที่ไม่สามารถนำเข้าไมโครเวฟได้อย่างเช่น พลาสติก กล่องโฟม ซึ่งผลิตมาจากสารเคมี ถ้านำเข้าไมโครเวฟแล้วก็จะก่อให้เกิดการปนเปื้อนได้ จึงต้อง เลือกใช้ภาชนะที่สามารถใช้เข้าไมโครเวฟได้ หรือ ภาชนะที่สามารถใช้เฉพาะกับไมโครเวฟเท่านั้น ” (ข้อมูลเมื่อ วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ) •
ใช้ใน 0 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Chittakon Pawakho
การเทคฮอร์โมนส าหรับหญิง ข้ามเพศเป็นการเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิงเข้าสู่ร่างกาย พร้อมกับให้ยากดฮอร์โมนเพศชายที่มีตามเพศสภาพให้ ลดลง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการเทคฮอร์โมนในกลุ่มนี้จะท าให้สรีระร่างกายใกล้เคียงเพศหญิงมากขึ้น เช่น มี หน้าอก เสียงเล็กแหลมขึ้นหนวดเคราน้อยลง กล้ามเนื้อเล็กลง
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
ออมสิน
ข้อความนี้สั้นเกินไป อาจจะเกิดจากผู้ใช้งานพิมพ์ข้อความเข้ามาเอง
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Thanathun.
โรคปอดอักเสบไม่ได้เกี่ยวกับการเปิดพัดลมจ่อตัว ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในเด็กมักอยู่ในน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย แล้วก็ติดต่อกันได้หลายทาง ตั้งแต่การหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอดโดยตรง
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Thanathun.
ปริมาณฝนสะสมในช่วงฤดูฝน ของปี 2565 มีค่า 1438 มม. ของปี 2567 มีค่า 1265 มม. ซึ่งมีค่าน้อยกว่า ดังนั้นสถานการณ์น้ำในปี 2567 จึงอาจไม่มากเท่าปี 2565
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Thanathun.
โรคปอดอักเสบไม่ได้เกี่ยวกับการเปิดพัดลมจ่อตัว ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยในเด็กมักอยู่ในน้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย แล้วก็ติดต่อกันได้หลายทาง ตั้งแต่การหายใจเอาเชื้อเข้าสู่ปอดโดยตรง
ใช้ใน 0 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Thanathun.
ปภ.ประสาน 10 จังหวัดภาคกลางตั้งแต่อุทัยธานี ถึงกทม. เฝ้าระวังระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น 40-80 ซม.ตั้งแต่วันที่ 26 ส.ค.นี้ หลังเขื่อนเจ้าพระยาปรับระบายน้ำ 700-900 ลบ.ม.เพื่อรองรับน้ำเหนือ พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชนที่ประกอบกิจการในแม่น้ำ เช่น งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร และประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จุดเสี่ยงที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำให้เฝ้าระวังระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น และเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ ตรียมพร้อมในการขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงให้พ้นจากแนวน้ำท่วม
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Thanathun.
จังหวัดยะลา แจ้งเตือนประชาชน ในวันที่ 23 - 28 ส.ค. 67 โดยระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก และพื้นที่เฝ้าระวัง อ.เบตง อ.ธารโต อ.บันนังสตา อ.เมืองยะลา อ.รามัน อ.กรงปินัง อ.ยะหา และอ.กาบัง
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
mkshop4507
นี่เป็นการเสนอความเห็นให้ Cofact
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
rmtwz2855
ผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้า มีความเสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิง ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฝีดาษลิงแต่อย่างใด โรคฝีดาษลิงเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
mkshop4507
นี่เป็นโฆษณาของ …
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
mkshop4507
ตามที่มีการแชร์ข้อมูลเรื่องทานไฟเบอร์ก่อนไข่และชีส ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
mkshop4507
https://www.antifakenewscenter.com/news/activity/%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%9f%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%8b%e0%b8%b5%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87-%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b9%89%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%99
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
mkshop4507
แพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้แจงเป็นข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์เก่าเมื่อปี 2550 ปัจจุบันได้เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และพบว่ามีการใช้วัตถุกันเสียในปริมาณที่น้อยลง
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
mkshop4507
ตามที่มีการโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องแพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
mkshop4507
ข่าวจริง
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
vichayut32885
ข้อความนี้สั้นเกินไป อาจจะเกิดจากผู้ใช้งานพิมพ์ข้อความเข้ามาเอง
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
pepsiteeraphat
รับประทานยาชุด “ อันตรายจริง ” เนื่องจากในยาชุดมียาหลากหลายชนิดที่ถูกจัดรวมกันไว้ ซึ่งยาชุดส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น การได้รับยาเกินขนาด ได้รับยาโดยที่ไม่จำเป็น และในยาชุดมักมีสารเสตียรอยด์ผสมอยู่ รวมไปถึงมียาที่ไม่ได้มาตรฐานหรือยาปลอม ซึ่งทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมา ดังนั้นควรหยุดใช้ยาชุดเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียที่ร้ายแรงต่อร่างกาย
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
AZ
“คลิปไวรัล รถยนต์ตั้งครรภ์ ในจีนเกิดจาก คลื่นความร้อนสูง รถยนต์ที่ภายนอกบวม ภาพแปลกประหลาดนี้ไม่ได้เกิดจากปัญหาทางกลไก หรือข้อบกพร่องในการผลิต แต่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุณหภูมิที่พุ่งสูงขึ้นในประเทศจีน ความร้อนที่รุนแรง ทำให้ฟิล์มป้องกัน หรือฟิล์มหุ้มที่ติดบนรถขยายตัวจนทำให้รถดูบวม”
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
AZ
ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากที่มีการแชร์ในโลกออนไลน์ เรื่องหยุดน้ำตาล ดื่มน้ำมะนาว กินน้ำมันมะพร้าว จะสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ นั้น เป็นความเชื่อที่ผิด และ ไม่เป็นความจริง เพราะ มะเร็ง เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พออายุมากขึ้นเซลล์ก็เสื่อมสะสมความผิดพลาดจากการใช้ชีวิต อาทิ การสูบบุหรี่ก็จะทำให้เป็นมะเร็งเร็วขึ้น 1. การหยุดกินน้ำตาล มะเร็งจะตายไม่จริง เพราะร่างกายสามารถสร้างน้ำตาลขึ้นมาใหม่ได้อีก น้ำตาลเป็นอาหารสำหรับเซลล์ส่วนใหญ่ รวมทั้งเซลล์มะเร็งด้วย แต่เซลล์มะเร็งแตกต่างตรงใช้น้ำตาลอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และไม่มีหลักฐานที่กล่าวอ้างได้ว่า กินน้ำตาลแล้วจะเป็นมะเร็ง 2. ดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำร้อน มะเร็งจะแพ้ ไม่จริง 3. กินน้ำมันมะพร้าว 3 ช้อนโต๊ะ จะฆ่าเซลล์มะเร็งได้ไม่จริง เพราะน้ำมันมะพร้าวไม่ได้แตกต่างจากน้ำมันพืชอื่นเป็นพิเศษแต่อย่างใด สิ่งที่อยู่ในน้ำมันมะพร้าวก็อยู่ในน้ำมันอื่นเช่นกัน และหากบริโภคเกินความจำเป็น มีความเสี่ยงเป็นไขมันอิ่มตัวเกินระดับที่เหมาะสม
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Thanathun.
จากกรณีที่มีผู้โพสต์ให้ข้อมูลโดยระบุว่า อาบน้ำหลัง 6 โมงเย็น จะทำให้ม้ามอ่อนแอ ปวดเข่า ความจำไม่ดี ผมร่วง และเลือดจางได้ ทางโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลปลอม และไม่มีข้อสนับสนุนทางวิชาการแพทย์แผนปัจจุบันที่จะสามารถเป็นไปได้ตามข้อมูลที่มีผู้บอกต่อในเรื่องข้างต้น ดังนั้นขอเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.rajavithi.go.th หรือโทร. 02 206 2900
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Thanathun.
กรณีที่มีการแนะนำข้อมูลด้านการเงินว่า กรุงไทยปล่อยสินเชื่อรวบหนี้ สำหรับผู้มีรายได้ 9,000 บาทขึ้นไป วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาทต่อคน ทางธนาคารกรุงไทย ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลปลอม ธนาคารกรุงไทยไม่มีการเปิดให้บริการสินเชื่อข้างต้นผ่านบัญชี TikTok palmy_employeebank KTBเคียงข้างคนไทยใด ๆ ทั้ง ดังนั้นขอเตือนให้ประชาชนควรระมัดระวังในการกรอกข้อมูลและไม่ควรกดลิงก์แปลก น่าสงสัยที่ส่งโดยไม่ทราบที่มาชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารกรุงไทย สามารถติดตามได้ที่ www.krungthai.com และหากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ Krungthai Contact Center 02-111-1111 หรือแจ้งผ่าน Facebook : Krungthai Care
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Thanathun.
ผู้ที่ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐเรียบร้อยแล้ว จะถือว่า ระบบได้รับข้อมูลการลงทะเบียนขอรับสิทธิ์โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet แล้ว แต่การลบแอปพลิเคชันทางรัฐออกจะทำให้ไม่สามารถรับแจ้งเตือน หรือแจ้งข่าวสารใด ๆ ที่เกี่ยวกับโครงการฯ ได้
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Thanathun.
กรมประมงได้ดำเนินการยื่นเสนอขอรับจัดสรรงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นภายใต้ชื่อ “โครงการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำระยะเร่งด่วน” เพื่อแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ซึ่งกรมประมงได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะมาตรการที่ 1 การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่พบการแพร่ระบาด โดยการจับออกจากแหล่งน้ำธรรมชาติด้วยเครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพ โครงการรับซื้อปลาหมอคางดำที่ถูกกำจัดออกจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และ มาตรการที่ 3 การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ โครงการสร้างแรงจูงใจในการนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกไปใช้ประโยชน์โดยการหมักปลาร้า และการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำ เพื่อใช้ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยกรมประมงเตรียมที่เสนอของบฯ ซื้อปลาหมอคางดำ ต่อคณะรัฐมนตรี เร็ว ๆ นี้
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Thanathun.
ตามที่มีการเผยแพร่คลิปข้อมูลระบุแรงงานชาวเมียนมาร์ เรียกร้องสิทธิเทียบเท่าคนไทยนั้น ทางกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า กรมการจัดหางานทำการตรวจสอบไปยังสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวแล้ว พบว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับข้อร้องเรียนดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้นขอเตือนให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน สามารถติดตามข่าวสารได้ที่เว็บไซต์กรมการจัดหางาน www.doe.go.th หรือ โทรสายด่วนกรมการจัดหางาน : 1506 กด 2 และผู้ที่ต้องการมีงานทำ สามารถใช้บริการผ่านเว็บไซต์ “ไทยมีงานทำ.doe.go.th” หรือทาง Mobile Application “ไทยมีงานทำ”
ใช้ใน 1 ข้อความ1 ปีที่แล้ว