รายการความเห็น


12586 ความเห็น

❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Thanathun.
กิจกรรมที่ควรงด เล่นสาดน้ำ ประแป้ง ปาร์ตี้โฟมพื้นที่จัดงานและพื้นที่สาธารณะ งดจำหน่าย และงดดื่มแอลกอฮอล์สถานที่สาธารณะ ต้องปฏิบัติตาม COVID Free Setting มาตรการแบบครอบจักรวาล (Universal Prevention) และมาตรการ DMHTA อย่างเคร่งครัด
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Joke.Air
เนื้อหาของข้อความนี้มักจะถูกเปลี่ยนชื่อประเทศไปเป็นชื่ออื่น ๆ จึงทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นความเท็จ
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Joke.Air
.
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Joke.Air
ไม่เป็นความจริงและไม่สามารถแก้อาการเมาค้างได้
ใช้ใน 0 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Joke.Air
.
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Joke.Air
สรุปแล้วการแช่น้ำเกลือนั้นไม่ได้ช่วยลดอาการตกขาวแต่อย่างใด
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Joke.Air
.
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Joke.Air
เป็นความเชื่อส่วนบุคคล และในข้อความมีเบอร์โทรศัพท์ให้โทรสอบถามได้หากสนใจ สำหรับเลขที่บัญชีดังกล่าวมีปรากฏในผลการค้นกูเกิลด้วย
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Joke.Air
เป็นความเชื่อส่วนบุคคล และในข้อความมีเบอร์โทรศัพท์ให้สอบถามได้หากสนใจ สำหรับเลขที่บัญชีดังกล่าวมีปรากฏในผลการค้นกูเกิลด้วย
ใช้ใน 0 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Joke.Air
.
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Joke.Air
นายริตเตอร์มีทัศนคติแบบน้้นจริง แต่สิ่งที่เขากล่าวนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด คนยูเครนบางคน ที่เข้าข้างรัสเซีย โดยเฉพาะในพื้นที่ขัดแย้ง ก็มีอยู่จำนวนหนึ่ง (เช่นอาจเป็นสมาชิกกองกำลังแบ่งแยกดินแดน หรือผู้สนับสนุน) เพราะหลายแหล่งก็มองว่าพื้นที่ดอนบาสและไครเมียต้องการออกจากการเป็นดินแดนของยูเครน ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย เป็นต้น ถ้าหากยูเครนจะมองคนเหล่านั้นเป็นข้าศึกศัตรู ก็ไม่น่าแปลกใจ
ใช้ใน 0 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Joke.Air
นายริตเตอร์มีทัศนคติแบบน้้นจริง แต่สิ่งที่เขากล่าวนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด
ใช้ใน 0 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Joke.Air
.
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Joke.Air
.
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Joke.Air
.
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Joke.Air
.
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Joke.Air
.
ใช้ใน 0 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Joke.Air
อาจได้ผลในบางคนเท่านั้น
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Joke.Air
ติ๊กผิดจาก"ข้อความที่หลอกลวง"เป็น"ข้อความที่เป็นจริง"
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Joke.Air
ติ๊กผิดนะครับ ต้องติ๊กว่าไม่จริง หลอกลวง สิครับ
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Joke.Air
จริง แต่เป็นเพียงราคาโปรโมชั่น หากซื้อตั๋วได้เร็วก็อาจจะได้ราคาตามโปรโมชั่น
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Joke.Air
.
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
💬 มีความเห็นส่วนตัว
Joke.Air
ถ้าจริงก็ช่วยไปบอกพรรคนี้ทีว่าอย่าทำแบบนี้ กลุ่มพุทธหัวรุนแรงทั่วประเทศไทยไม่พอใจมาก
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Maymabell
สำหรับผู้หญิงทุกคนนั้นการมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องเป็นในทุกๆเดือนแต่ในบางครั้งประจำเดือนมักจะมาตรงกับวันที่เราจะไปเที่ยว ว่ายน้ำ หรือทำกิจกรรมที่ต้องขยับร่างกายมักจะสร้างความไม่สะดวกสบายให้กับคนที่เป็นวันนั้นของเดือน จึงทำให้เกิดการหาวิธีทำให้ประจำเดือนหมดให้ไวที่สุด วิธีการทำให้ประจำเดือนหมดได้เร็วขึ้นตามความเชื่อของเราก็มีหลากหลายวิธี เช่น การดื่มน้ำมะนาวในปริมาณมากๆ จะช่วยทำให้ประจำเดือนหมดได้เร็วขึ้น การกินยาให้ประจำเดือนหยุด ความเชื่อว่าการดื่มน้ำมะนาวช่วยเร่งให้ประจำเดือนหมดได้ถูกเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตและถูกส่งต่อไปอย่างแพร่หลายแต่ก็ยังไม่มีผู้ออกมายืนยันว่าการดื่มน้ำมะนาวช่วยเร่งให้ประจำเดือนหมดเร็วขึ้นได้ ส่งผลให้หลายคนเกิดความสงสัยว่าการดื่มน้ำมะนาวช่วยเร่งให้ประจำเดือนหมดได้เร็วขึ้นจริงหรือไม่ เราจึงได้ทำการไขข้อสงสัยโดยการพูดคุยและสอบถามกับ พญ.กมลชนก ชูศักดิ์ หรือคุณหมออร สูตินรีแพทย์ประจำโรงพยาบาลกระบี่ได้มีการตอบข้อสงสัยว่า การดื่มน้ำมะนาวไม่ว่าจะในปริมาณมากหรือน้อยก็ไม่สามารถส่งผลให้ประจำเดือนหยุดได้เพราะว่าในน้ำมะนาวไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนคือฮอร์โมนที่สร้างมาจากรังไข่ของเพศหญิงในช่วงที่เรายังเป็นประจำเดือนหรือสามารถหาได้จากอาหารบางชนิดเช่น น้ำมะพร้าว น้ำเต้าหู้และนอกจากนี้หลายๆคนคิดยังว่าการดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารต่างๆที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสามารถส่งผลกับประจำเดือนได้แต่ในความจริงแล้วหากเปรียบเทียบให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนคือเปรียบเทียบว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนที่รังไข่สร้างขึ้นมาสามารถทำงานได้ประสิทธิภาพ100เปอร์เซ็นต์ การที่เราเลือกดื่มหรือรับประทานอาหารที่อ้างว่ามีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่สามารถมีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ได้เพียงไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง ทำให้การดื่มหรือกินอาหารที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่มีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์มากพอที่จะทำให้ประจำเดือนหยุดลงได้ หากมีความจำเป็นหรือความต้องการอยากให้ประจำเดือนหมดเร็วขึ้นในปัจจุบันใช้สามารถกินยาหยุดประจำเดือน ที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปที่ร้านขายยา เป็นฮอร์โมนที่ต้องกินเพิ่มเข้าไปเพื่อทำให้ประจำเดือนหยุดชั่วคราวแต่ว่ายาจะมีประสิทธิภาพดีที่สุดเมื่อเรากินก่อนจะมีประจำเดือน ดังนั้น ในข้อสงสัยที่ถามว่า การดื่มน้ำมะนาวช่วยเร่งให้ประจำเดือนหมดได้นั้นไม่เป็นความจริงหากอยากให้ประจำเดือนหยุดควรที่จะกินยาเลื่อนหรือหยุดประจำเดือนโดยตรงซึ่งจะเห็นผลได้อย่างชัดเจน ผู้จัดทำ นางสาวออมสิน สกุลวงษ์ สาขาสื่อสารองค์กร ภาควิชานิเทศศาสคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ Cofact ภาคตะวันออก #CCBUUXCofact #เปิดโลกความจริงสู่สังคม
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Maymabell
ตามที่ได้มีการตั้งกระทู้ในพันทิปเรื่อง มะนาวใช้รักษาสิวจริงไหม ทาง Confact ร่วมกับสาขาวิชาสื่อสารองค์กร ภาควิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวโดยใช้งานวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัย Muhammadiyah University of Surakarta ประเทศอินโดนีเซีย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า มะนาวสามารถรักษาสิวได้จริง หลังมีการตั้งกระทู้คำถามในพันทิปเกี่ยวกับการใช้มะนาวในการรักษาสิวนั้น ซึ่งก็มีคนได้มาแสดงความคิดเห็น ให้ข้อแนะนำต่าง ๆ โดยมีทั้งกรณีใช้แล้วได้ผล หรือบางกรณีใช้แล้วเกิดอาการระคายเคือง ซึ่งวันนี้ทาง Cofact ร่วมกับสาขาวิชาสื่อสารองค์กร ภาควิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้นำเอางานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับประเด็นนี้ หรือใกล้เคียงมาตรวจสอบว่า จริงหรือไม่ที่มะนาวสามารถรักษาสิวได้ โดยงานวิจัยแรกเป็นงานวิจัยจาก มหาวิทยาลัย Muhammadiyah University of Surakarta ประเทศอินโดนีเซีย ได้ศึกษาเกี่ยวกับ ฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของน้ำมะนาวต่อแบคทีเรีย 2 ชนิดหลักที่ก่อให้เกิดสิว คือ Propionibacterium acnes (P.acne) และ Staphylococcus epidermidis (S.epidermidis) โดยงานวิจัยดังกล่าวได้เผยว่า ปัจจัยหลัก ๆ ที่ก่อให้เกิดสิวคือ การผลิตไขมันที่เพิ่มขึ้น การละลายตัวของเคราติโนไซต์ (Keratinocytes) การเกิดขึ้นของแบคทีเรีย และการอักเสบต่าง ๆ ต่อมาอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดสิวคือ การติดเชื้อแบคทีเรีย P.acne บนต่อมไขมันหรือรูขุมขน และการเกิดขึ้นของแบคทีเรีย S.epidermidis ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เนื้อเยื่อระคายเคืองโดยการปล่อยกรดไขมันออกจากไขมัน (Aini, Permatasani, Khasanah, & Sukmawati, 2017) ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่า น้ำมะนาว (Citrus aurantifolia) สามารถยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดสิว 2 ชนิดนี้ได้ เนื่องจากทั้งน้ำมะนาวและน้ำมันหอมระเหยในมะนาวนั้นมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และสามารถยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี โดยมีสารประกอบฟีนอล (Phenolic compounds) และอนุพันธ์ของฟีนอลในน้ำมันหอมระเหยที่มีหน้าที่ในการทำให้เซลล์แบคทีเรียเสื่อมสภาพ และได้ระบุอีกด้วยว่า ในน้ำมะนาวนั้นยังมีสารเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลากหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น กรดซิตริก (Citric acid) กรดอะมิโน (Amino Acid) ไกลโคไซด์ (Glycoside) ไขมัน (Fat) แคลเซียม (Calcium) สารฟอสฟอรัส (Phosphorus) ธาตุเหล็ก (Iron) วิตามิน B1 (Vitamin B1) และวิตามินซี (Vitamin C) ที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและสามารถใช้ในการรักษาการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ด้วย (Aini, Permatasani, Khasanah, & Sukmawati, 2017) ทั้งนี้ ยังมีอีกงานวิจัยที่ได้ศึกษาใกล้เคียงกับประเด็นดังกล่าว โดยได้ศึกษาเกี่ยวกับ ฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของเลมอน หรือ Citrus limon ต่อสิว (Pimples) ซึ่งการศึกษาพบว่า การทาน้ำมะนาวเหลืองหรือเลมอนที่มีความเข้มข้น 20% 40% 60% 80% และ 100% มีประสิทธิภาพในการฆ่าแบคทีเรีย P.acnes (Propionibacterium Acnes) ซึ่งเป็นตัวหลักของการเกิดสิวได้เป็นอย่างดี เนื่องจากในเลมอนมีกรดซาลิไซลิกหลักคือ L-ascorbic acid ที่สามารถต่อต้านกับสิวได้ ช่วยในการขจัดน้ำมันส่วนเกินและเซลล์ที่ตายแล้ว (Dead Cells) ได้ และได้ระบุอีกด้วยว่า แบคทีเรีย P.acnes เป็นแบคทีเรียที่มีความไวต่อเลมอนมากเพราะในเลมอนมีสารกรดที่สูงและมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียหลากหลายชนิด (Shinkafi, 2013) อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามะนาวจะเป็นผลไม้ที่มีคุณประโยชน์มากมายทั้งที่ใช้ในการรับประทาน เป็นส่วนประกอบของยาแก้โรค ตลอดจนเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางก็ตาม การใช้น้ำมะนาวโดยตรงกับผิวเพื่อความงามเช่นการรักษาสิวนั้น ก็ไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป เนื่องจากในมะนาวมีสารเคมีที่อาจส่งผลให้เกิดโรคผิวหนังได้ เช่น การอักเสบ ภูมแพ้ และระคายเคืองหากใช้โดยไม่ถูกวิธี ไม่ได้ปรึกษาแพทย์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ผู้ที่มีผิวแพ้ง่ายก็ไม่ควรใช้วิธีนี้เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบ หรือภูมิแพ้กับผิวได้ ควรล้างหน้าให้สะอาดก่อนการออกไปเจอกับแสงแดดเพราะอาจก่อให้เกิดโรคผื่นแพ้จากพืช (Phytophotodermatitis) หรือรอยดำ และในบางกรณีอาจก่อให้เกิดโรคผื่นแพ้สัมผัส (Allergic contact dermatitis) โรคผื่นระคายสัมผัส (Contact dermatitis) ได้ด้วยเช่นกัน ที่สำคัญก็ไม่ควรใช้วิธีนี้บ่อยครั้งเกินไป (2-3 ครั้ง/เดือน) เพราะจะทำให้ผิวแห้ง ระคายเคืองและอาจลอกได้ (Alessandrello et al., 2021) โดยรวมแล้ว ประสิทธิภาพของมะนาวในการรักษาสิวนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพผิว วิธีใช้ และสภาพแวดล้อมของแต่ละคนด้วยเช่นกัน เช่นถ้าผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย มีอาการระคายเคือง การใช้วิธีนี้ในการรักษาสิวนั้นก็ไม่สามารถตอบโจทย์ได้ แต่ถ้าหากผู้ที่ผิวที่แข็งแรงอยู่แล้ว และใช้ถูกวิธีก็อาจได้ผลจริง อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันก็ยังไม่มีการศึกษายืนยันที่มากพอเกี่ยวกับประเด็นนี้ ดังนั้นควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังทุกครั้งก่อนใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาผิวที่รุนแรง ผู้จัดทำ Ms. LIM VANNTHY สาขาการสื่อสารองค์กร ภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และ Cofact ภาคตะวันออก เอกสารอ้าอิง Aini, N., Permatasani, B., Khasanah, U., & Sukmawati, A. (2017). Antimicrobial Activity of Lime Juice (Citrus aurantifolia) Against Propionibacterium acnes and Staphylococcus epidermidis. Advanced Science Letters, 23(12), 12443–12446. https://doi.org/10.1166/asl.2017.10788 Alessandrello, C., Gammeri, L., Sanfilippo, S., Cordiano, R., Brunetto, S., Casciaro, M., & Gangemi, S. (2021). A spotlight on lime: a review about adverse reactions and clinical manifestations due to Citrus aurantiifolia. Clinical and Molecular Allergy, 19(1). https://doi.org/10.1186/s12948-021-00152-x Shinkafi, S. (2013). ANTIBACTERIAL ACTIVITY OF Citrus limonON Acnevulgaris (PIMPLES). Www.ijsit.com), 2(2), 397–409. Retrieved from http://www.ijsit.com/.../ANTIBACTERIAL%20ACTIVITY%20OF... #CCBUUXCofact #เปิดโลกความจริงสู่สังคม
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว