รายการความเห็น
12586 ความเห็น
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
anonymous
เพจ"ตาสว่าง" โพสท์ภาพนายกกับรถเบนซ์พร้อมบรรยายภาพว่า "รวยมากค่ะท่าน ในขณะที่หมอพยาบาลชุดไม่พอ" ภาพที่ลงในเพจเป็นภาพเก่าจากปี 59 เมื่อตรวจสอบการจัดซื้อ เป็นการจัดซื้อปี 58
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
anonymous
ธนาคารกรุงไทย (KTB) แจ้งเตือนไลน์ปลอมมิจฉาชีพหลอกขอข้อมูลส่วนตัวสำหรับมาตรการเยียวยา 5,000 บาท (3เดือน) ซึ่งทางธนาคารไม่มีนโยบายสอบถามข้อมูลส่วนตัว Username/ Password หรือส่งลิงค์เพื่อยืนยันตัวตนผ่าน LINE หรือ E-MAIL หากได้รับสิทธิ์ตามมาตรการเยียวยา เงินจะโอนเข้าบัญชีธนาคาร หรือ พร้อมเพย์ ที่มีชื่อตรงกับบัตรประชาชนของผู้ลงทะเบียนเท่านั้น
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
anonymous
เมื่อทาง Anti-Fake News Center Thailand ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้ถามข้อเท็จจริงตรวจสอบกับธนาคารกรุงไทยแล้ว จำนวนผู้ที่ได้รับโควต้าเงินเยียวยาจากรัฐยังไม่ได้ถูกจัดสรร ขณะนี้กระทรวงการคลัง และหน่วยงานพันธมิตร อยู่ระหว่างตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนอยู่
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Patchaya Khamkaew
ตอนนี้เชื้อไวรัสสายพันธ์ุใหม่โควิด-19อาจมาการกลายพันธุ์ได้
เนื่องจากมีการพบผู้ชายชาวจีนคนหนึ่งมีเชื้อไวรัสในร่างกายนานถึง 49 วันและไม่แสดงอาการที่รุนแรงออกมา
จากการตรวจสอบพบว่า ผู้ชายคนนี้มีเชื้ออยู่ในลำคอจำนวนมาก และมีการติดเชื้อที่ปอดทั้งสองข้าง
แต่ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยรายนี้ ยังเป็นปกติ ผิดกับคนไข้ส่วนใหญ่
.
เนื้อหาจาก TNN ข่าวค่ำ
( เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563 )
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
💬 มีความเห็นส่วนตัว
pinnachan
เนื้อหา … ของบทความนี้มีความเห็นส่วนตัว ไม่ใช่ข้อเท็จจริง
อันนี้ยังเป็นการทดลองนะคะ เป็นแนวคิดที่คาดว่าน่าจะช่วยรักษาได้ มีการรับบริจาคจริงค่ะ แต่ยังไม่เห็นผลนะคะ
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Patchaya Khamkaew
การขายแผ่นป้าย หรืออุปกรณ์ห้อยคอในรูปแบบต่าง ๆ ในสื่อออนไลน์
เช่น ปากกา พัดลม ที่อวดอ้างสรรพคุณว่าสามารถปล่อยสารบางอย่างออกมา ช่วยกรองอากาศ
สามารถป้องกันและยับยั้งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียในอากาศ สามารถใช้แทนหน้ากากอนามัยได้นั้น
จึงขอแจ้งว่า ผลิตภัณฑ์ที่สามารถฆ่าเชื้อในอากาศจัดเป็นวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข
ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
.
ซึ่งต้องขอขึ้นทะเบียนและขออนุญาตนำเข้ากับ อย. และผ่านการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยก่อน
จึงจะสามารถขายได้ ปัจจุบันยังไม่มีผลิตภัณฑ์ในลักษณะนี้ขึ้นทะเบียนกับ อย. จึงขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ
เพราะจะทำให้ขาดความระมัดระวังละเลยการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
เช่น คิดว่าคล้องแผ่นป้ายนี้แล้วไม่ต้องใส่หน้ากากอนามัย ไม่ต้องล้างมือ ไม่ต้องกินร้อนช้อนกลาง
ดังนั้นจึงขอย้ำว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่สามารถป้องกันไวรัสได้
.
คำสัมภาษณ์ของ ภญ. สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหาร และยา
( เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 )
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Patchaya Khamkaew
ไม่จริงนะครับ !! อย่าหลงเชื่อไปซื้อมา นอกจากจะใช้ไม่ได้ผลจริง เปลืองเงินแล้ว จะทำให้เราประมาท ไม่ดูแลสุขอนามัยให้ดีด้วยครับ
.
ยืนยันโดย เพจอ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
anonymous
จากการที่แชร์คลิปในโลกออนไลน์ว่ามีชายผู้หนึ่งกล่าวอ้างว่ากินกระเทียมฆ่าเชื้อโควิดได้ ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลพบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จและไม่ได้เป็นผู้ให้ข้อมูลดังกล่าว รวมถึงขณะนี้ยังไม่มีผลการศึกษาทางการแพทย์ที่สามารถยืนยันได้ว่า การรับประทานกระเทียมสามารถป้องกันและรักษาผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ ประชาชนค้องติดตามข้อมูลข่าวสารที่มาจากหน่วยงานราชการเท่านั้น
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
nutyty_MJU
นอกจากหัวหินแล้ว ยังมีม้าตายในจังหวัดนครราชสีมาอีกจำนวนหนึ่งตามแหล่งข้อมูล โดยระบุว่าเป็นโรคอุบัติใหม่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
anonymous
จากข่าวที่มีม้าที่หัวหินตายหลายตัวเมื่อวันที่ 2 เมษายน ทาง Aniti-Fake News Center Facebook Page ได้แจ้งข้อมูลออกมาเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563 ว่าเป็นข่าวปลอมนั้นผลปรากฎว่า ข่าวนี้เป็นข่าวจริง ทางกรมปศุสัตว์ได้ยืนยันว่าโรคกาฬโรคม้าเป็นโรคที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เกิดขึ้นในต่างประเทศแถบทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง ประเทศอียิปต์ สเปน โปรตุเกส โมร็อกโค ปากีสถาน และอินเดีย เป็นส่วนใหญ่
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Patchaya Khamkaew
จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19))
ที่มีการระบาดอยู่ในหลายพื้นที่ของประเทศตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อทั้งด้านสุขภาพ และเศรษฐกิจของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ
ดังนั้น เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในการรักษาพยาบาล ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
จึงได้ร่วมพิจารณาประเด็นการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และได้กำหนดหลักการจ่ายค่าใช้จ่ายในการรับบริการจากสถานพยาบาลเอกชนขึ้น
ซึ่งกรม สบส.ได้ดำเนินการจัดส่งหนังสือแจ้งหลักการจ่ายค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลเอกชนกรณีการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถึงสถานพยาบาลเอกชนทั่วประเทศไปแล้ว
.
ขอให้โรงพยาบาลเอกชนทุกแห่งให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถโดยไม่เอาค่าใช้จ่ายมาเป็นเงื่อนไข
ห้ามเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยหรือญาติโดยเด็ดขาด และให้จัดเก็บเอกสารหลักฐานค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย
เพื่อนำมาประกอบการเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีฯในเบื้องต้นแล้ว
และจะมีการประกาศใช้ในเร็วๆนี้ ยกเว้นกรณีผู้ที่มีประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพให้ใช้สิทธิดังกล่าวก่อน
.
คำสัมภาษณ์ของ นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.)
( เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2563 )
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Patchaya Khamkaew
กระทรวงสาธารณสุขย้ำว่า ขอให้ รพ.เอกชนทุกแห่ง ดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถ
โดยไม่เอาค่าใช้จ่ายมาเป็นเงื่อนไข ห้ามเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยหรือญาติโดยเด็ดขาด
และให้จัดเก็บเอกสารหลักฐานค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล
เพื่อนำไปประกอบการเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ
ซึ่งผ่านความเห็นชอบของ ครม. ในเบื้องต้นแล้ว และจะประกาศใช้ในเร็ว ๆ นี้
ยกเว้นผู้ที่มีประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพให้ใช้สิทธิดังกล่าวก่อน
.
หากผู้ป่วยหรือญาติ พบว่า สถานพยาบาลเอกชนในพื้นที่ กทม.
เรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล สามารถแจ้งได้ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โทร. 0 2193 7057 ในวันและเวลาราชการ
ส่วนต่างจังหวัดแจ้งได้ที่ สนง.สาธารณสุขจังหวัด
.
เนื้อหาจาก เพจไทยคู่ฟ้า
( เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2563 )
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
naydoitall
ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ให้ข้อมูลว่า หน้ากากอนามัยผลิตจากใยสังเคราะห์ประเภทเดียวกันกับผ้าสปันบอนด์ซึ่งทำมาจากพลาสติกกลุ่ม Polypropylene จากรายงานขององค์การวิจัยมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer; IARC) ระบุว่าพลาสติกกลุ่ม Polypropylene ไม่จัดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์หรืออยู่ในกลุ่ม 3 ดังนั้นปัจจุบันการใช้หน้ากากอนามัยที่ทำมาจากผ้าสปันบอนด์จึงยังไม่มีข้อมูลว่าทำให้เกิดโรคมะเร็ง
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
anonymous
รองโฆษกกองทัพบกแถลงว่า ข่าวเอกสารที่แชร์กันอยู่ในโลกออนไลน์เรื่องงบประมาณของกองทัพบกที่ใช้ล้างถนนช่วงโควิดระบาดเป็นเงิน 23 ล้านนั้นไม่ใช่เอกสารจริง จากการตรวจสอบเบื้องต้น เอกสารดังกล่าวเป็นข้อมูลประกอบการแถลงข่าวการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของกองทัพบก
อย่างไรก็ตามตอนนี้ยังไม่มีการเปิดเผยงบประมาณที่กองทัพใช้ในการดำนเนินการล้างถนนสู้โควิด19 แจ้งสู่ประชาชนให้รับทราบเช่นกัน
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Patchaya Khamkaew
ยิ่งอายุน้อย ก็ยิ่งติดเชื้อยาก และแม้จะติดเชื้อ ก็จะป่วยไม่หนักเท่ากับผู้ที่อายุมากกว่า
.
จากการวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญนานาชาติรวม 25 คนเข้าไปในจีน
ผู้ที่มีอายุ 0-9 มีจำนวนประชากร 12.0% มีจำนวนการติดเชื้อ 0.9%
ผู้ที่มีอายุ 10-19 มีจำนวนประชากร 11.6% มีจำนวนการติดเชื้อ 1.2%
ผู้ที่มีอายุ 20-29 มีจำนวนประชากร 13.5% มีจำนวนการติดเชื้อ 8.1%
ผู้ที่มีอายุ 30-39 มีจำนวนประชากร 15.6% มีจำนวนการติดเชื้อ 17.0%
ผู้ที่มีอายุ 40-49 มีจำนวนประชากร 15.6% มีจำนวนการติดเชื้อ 19.2%
ผู้ที่มีอายุ 50-59 มีจำนวนประชากร 15.0% มีจำนวนการติดเชื้อ 22.4%
ผู้ที่มีอายุ 60-69 มีจำนวนประชากร 10.4% มีจำนวนการติดเชื้อ 19.2%
.
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO)
แปลโดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์, ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช.
( เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 )
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Patchaya Khamkaew
อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ มีไข้ (88%) ไอแห้งๆ (68%) ไม่มีเรี่ยวแรง (38%) ไอแบบมีเสมหะ (33%) หายใจลำบาก (18%) เจ็บคอ (14%) ปวดหัว (14%) ปวดกล้ามเนื้อ (14%) หนาวสั่น (11%)
อาการที่พบน้อยลงมาหน่อยคือ คลื่นไส้และอาเจียน (5%) คัดจมูก (5%) และท้องเสีย (4%)
อาการที่ไม่ใช่สัญญาณโรคของโควิด-19 คือ น้ำมูกไหล
.
ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก (WHO)
แปลโดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์, ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช
( เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 )
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
naydoitall
จากกรณีที่มีโพสต์ข้อความว่า "มีผลวิจัยจากสถาบันวิจัยแห่งชาติว่ายาบ้าสามารถรักษาโควิดได้" ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง ยาบ้าหรือยาม้าจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่ยืนยันว่ายาบ้าสามารถรักษาโรคโควิด-19 ได้
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
anonymous
จากเวบไซท์ของอังกฤษ พยาบาลเปิดเผยว่า ล้างมือให้สะอาดอย่างเดียวไม่พอเล็บต้องสั้นด้วย การไว้เล็บยาวเป็นสาเหตุใหญ่ของการแพร่เชื้อโควิด เชื้อโรคอื่นๆรวมถึงเชื้อแบคทีเรีย เพราะเชื้อโรคจะซ่อนอยู่ใต้เล็บ นอกจากนี้เล็บสั้นเป็นการสร้างนิสัยให้เลิกชอบกัดเล็บอีกด้วย การกัดเล็บถือว่าเป็นความเสี่ยงติดเชื้อโดยตรง วิธีตรวจสอบว่าเล็บยาวรึไม่ ให้จิกไปบนผิวหนัง ถ้าผิวหนังรู้สึกถึงเล็บจิกอยู่แปลว่าต้องตัดเล็บแล้ว
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
💬 มีความเห็นส่วนตัว
anonymous
อาหารที่ถูกสุขลักษณะควรจะร้อน และสดใหม่ ช่วงเวลาแห่งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 ที่กำลังระบาดหนักช่วงนี้ควรเลี่ยงอาหารประเภทไม่ร้อนและผ่านมือคนขายหรือใช้ภาชนะซ้ำๆกันไว้ก่อนน่าจะเป็นเหตุผลที่ดีในการป้องกันตัวเองจากเชื้อ กินร้อน ช้อนตัวเอง น่าจะดีที่สุดตอนนี้
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
anonymous
สำหรับ LINE แอคเคาท์ของธนาคารไทยพาณิชย์ที่ถูกต้อง สามารถกดเพิ่มเพื่อนได้ที่นี่
LINE SCB Thailand http://line.me/R/ti/p/@scb_thailand
LINE SCB Connect http://line.me/R/ti/p/@scbconnect
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Patchaya Khamkaew
เรื่องที่พระพุทธเจ้าสนับสนุนเรื่องการกินฉี่ตนเองเพื่อเป็นยารักษาโรคนั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด
โดยคำว่า "มูตร" ที่ปรากฏใน "ปูติมุตตเภสัช" หมายถึง ฉี่โค ไม่มีส่วนใดที่ระบุถึงฉี่ของมนุษย์สักที่เดียว
ส่วนเรื่องที่มีคนอ้างว่าพระพุทธเจ้าตรัสเรื่องการดื่ม "น้ำมูตรเน่า" ก็พบคือ
เป็นน้ำมูตรที่ผสมตัวยาสำหรับรักษาโรคต่าง ๆ แล้วเท่านั้น ซึ่งน้ำมูตรที่เป็นฉี่โค
ไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรค แต่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบเภสัชบางอย่างได้
เช่น ดองกับผลไม้ที่ใช้เป็นยา ดังนั้นอย่าอ้างวาพระพุทธเจ้าก็กิน การมองฉี่เป็นยาวิเศษเป็นผลเสียมากกว่า
.
เนื้อหาจากเพจ พระมหาไพรวัลย์ วรวณุโณ
ที่มาจาก kapook
( เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562 )
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Patchaya Khamkaew
เนื่องจากน้ำปัสสาวะเป็นของเสียหรือสารที่เป็นส่วนเกินของร่างกายที่ไตขับออกมา
แม้ว่าจะมีสารต่าง ๆ อยู่มาก ทั้งยูเรีย เกลือแร่ แคลเซียม และโซเดียมคลอไรด์ รวมถึงสารอื่น ๆ
แต่สารเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกินความต้องการของร่างกาย หากสะสมไว้มากเกินไปกลับจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย
ดังนั้นหากดื่มกลับเข้าไปซ้ำอีก จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย
.
น้ำปัสสาวะที่ขับออกมายังอาจปนเปื้อน อุจจาระ ทำให้มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
นอกจากนี้ไตซึ่งทำหน้าที่กลั่นกรองของเสียออกจากร่างกาย ต้องทำงานหนักมากขึ้นเพราะต้องขับของเสียออกซ้ำ
และอาจเกิดการคั่งค้างของสารต่าง ๆในร่างกาย ก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ
หรือโรคที่ต้องควบคุมปริมาณน้ำ แร่ธาตุ และสารอาหารให้เหมาะสม อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้
.
คำสัมภาณ์ของ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์
ที่มาจาก กรมการแพทย์
( เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 )
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Patchaya Khamkaew
----- มีเนื้อหาที่เป็นความจริงบางส่วน ในเรื่องของอดีตที่มีการใช้น้ำปัสสาวะเป็นยา -----
.
เป็นที่ทราบกันดี เรื่องที่ชาวสันติอโศกจำนวนไม่น้อยดื่มน้ำปัสสาวะเพื่อบำบัดรักษาโรค
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความศรัทธาต่อนิสัย 4 ของพระสงฆ์ตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล
ซึ่งพระพุทธองค์ได้กล่าวถึงการใช้น้ำมูตรเน่าเป็นยาปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกกระจัดกระจายหลายเล่ม
และมีพระสงฆ์สายวัดป่าหลายรูปที่ฉันน้ำมูตรเน่า (น้ำปัสสาวะ) เป็นประจำเพื่อสุขภาพที่ดี
เช่น พระอาจารย์สิงห์ทน นราสโภ วัดวรแก้ว จ.พระนครศรีอยุธยา, พระอาจารย์มิตซูโอะ, หลวงพ่อชา, หลวงปู่โง่น โสรโย, หลวงพ่อยา ฯลฯ
.
คำสัมภาณ์ของ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกพันธมิตรฯ
ปัจจุบันเป็นคณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
ที่มาจาก ไทยรัฐออนไลน์
( เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562 )
.
----- มีเนื้อหาที่หลอกลวงบางส่วน ในเรื่องของการใช้รักษาโรค -----
.
เนื่องจากน้ำปัสสาวะเป็นของเสียหรือสารที่เป็นส่วนเกินของร่างกายที่ไตขับออกมา
แม้ว่าจะมีสารต่าง ๆ อยู่มาก ทั้งยูเรีย เกลือแร่ แคลเซียม และโซเดียมคลอไรด์ รวมถึงสารอื่น ๆ
แต่สารเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกินความต้องการของร่างกาย หากสะสมไว้มากเกินไปกลับจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย
ดังนั้นหากดื่มกลับเข้าไปซ้ำอีก จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย
.
น้ำปัสสาวะที่ขับออกมายังอาจปนเปื้อน อุจจาระ ทำให้มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
นอกจากนี้ไตซึ่งทำหน้าที่กลั่นกรองของเสียออกจากร่างกาย ต้องทำงานหนักมากขึ้นเพราะต้องขับของเสียออกซ้ำ
และอาจเกิดการคั่งค้างของสารต่าง ๆในร่างกาย ก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ
หรือโรคที่ต้องควบคุมปริมาณน้ำ แร่ธาตุ และสารอาหารให้เหมาะสม อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้
.
คำสัมภาณ์ของ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์
ที่มาจาก กรมการแพทย์
( เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 )
ใช้ใน 0 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Patchaya Khamkaew
เป็นที่ทราบกันดี เรื่องที่ชาวสันติอโศกจำนวนไม่น้อยดื่มน้ำปัสสาวะเพื่อบำบัดรักษาโรค
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความศรัทธาต่อนิสัย 4 ของพระสงฆ์ตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล
ซึ่งพระพุทธองค์ได้กล่าวถึงการใช้น้ำมูตรเน่าเป็นยาปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกกระจัดกระจายหลายเล่ม
และมีพระสงฆ์สายวัดป่าหลายรูปที่ฉันน้ำมูตรเน่า (น้ำปัสสาวะ) เป็นประจำเพื่อสุขภาพที่ดี
เช่น พระอาจารย์สิงห์ทน นราสโภ วัดวรแก้ว จ.พระนครศรีอยุธยา, พระอาจารย์มิตซูโอะ, หลวงพ่อชา, หลวงปู่โง่น โสรโย, หลวงพ่อยา ฯลฯ
.
คำสัมภาณ์ของ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกพันธมิตรฯ
ปัจจุบันเป็นคณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต
.
ที่มาจาก ไทยรัฐออนไลน์
( เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562 )
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Patchaya Khamkaew
ยังไม่มีผลงานวิจัยที่สามารถชี้วัดได้ว่าการอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟสามารถฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้
แต่หากใช้ความร้อนถึง 70 องศาขึ้นไป ในระยะเวลา 20 - 30 นาที ก็น่าจะฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้
.
เนื้อหาจากเพจ ThaiPBS
( เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2563 )
.
https://twitter.com/ThaiPBS/status/1245719757405503488
ใช้ใน 1 ข้อความ・5 ปีที่แล้ว