รายการความเห็น


11105 ความเห็น

⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Ad.tar
เนื้อหาอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Ad.tar
เนื้อหาอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Ad.tar
ฟ้าทะลายโจรเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่หนักได้ แต่มีหลักการใช้ยาฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด-19 ที่ต้องรู้และควรระวังเพื่อให้ใช้ได้ผล และไม่เสี่ยงสำหรับผู้ป่วยบางคน
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Ad.tar
สรุปร่าง ข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 20 ทั้ง 9 ข้อ คาดมีผลบังคับใช้ เที่ยงคืน คืนวันเสาร์นี้
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
ajinvong
ภก รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล ..กล่าวว่า.. มาทำความเข้าใจ เกี่ยวกับฟ้าทะลายโจร อีกครั้ง ประเด็นแรก สารแอนโดรกราฟโฟไลด์ และ สารสกัดมีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด-19 ในหลอดทดลองได้ แต่ไม่มีฤทธิ์ีฤทธิ์ป้องกันเซลล์จากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ดังนั้นจึง ห้าม้กินเพื่อป้องกันโควิด ประเด็นที่ ๒ การนำมาใช้ใน ผู้ป่วยโควิด-19 ได้รับการตรวจยืนยันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ภายใน 72 ชั่วโมง หลังเริ่มเกิดอาการแสดง รับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจร ขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ป่วยทุกรายมีอาการดีขึ้นตั้งแต่วันที่สามของการได้รับสารสกัด เช่น อาการไอ, เจ็บคอ, มีเสมหะ , มีน้ำมูก , ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ มีอาการดีขึ้น ไม่มีอาการข้างเคียง ค่าการทำงานของตับและไต อยู่ในเกณฑ์ปกติ (ข้อมูลจากกรมการแพทย์แผนไทย 9 ธันวาคม 2563) ต่อมาใช้ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงน้อย จำนวนคนมากขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มีอาการดีขึ้นตั้งแต่วันที่ 1–5 (ข้อมูลจากกรมการแพทย์แผนไทย 25 กพ. 2564 ) แต่การใช้ สารสกัดขนาดสูงกว่าขนาดปกติ ถึง 3 เท่า มีรายงานเพียงว่าอาการดีขึ้น ยังไม่สามารถยืนยันช่วยกำจัดเชื้อได้มากน้อยเพียงใด และมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด ดังนั้น การใช้ในขนาดสูงที่กล่าวมา จึงควรใช้ในกรณีที่ยืนยันแล้วว่าติดเชื้อโควิด และควรใช้ในความดูแลของแพทย์ เพื่อความปลอดภัย ประเด็นที่ ๓ แนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจร เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ เจ็บคอ มีไข้ หรือ ไอแห้งร่วมกับเจ็บคอ โดยใช้ในขนาดปกติ ดังนี้ ผงยาบรรจุแคปซูล ครั้งละ 1.5-3 กรัม วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร แคปซูลที่มีสารสกัด คำนวณขนาดใช้จากปริมาณ andrographolide วันละ 60 มิลลิกรัม โดยแบ่งเป็นวันละ 3-4 ครั้ง ขึ้นอยู่กับขนาดที่มีในแต่ละแคปซูล กล่าวคือ ถ้ามีสารสกัด ที่มี andrographolide 20 มิลลิกรัม ให้ กินครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง ประเด็นที่ ๔ ระยะเวลาที่ใช้ กรณีที่ยังไม่ได้มีการยืนยัน หรือ รอผล การตรวจโควิด ให้กินติดต่อกัน 3-5 วัน หากอาการหายไปก่อน ให้หยุดยา กรณีที่ได้รับการยืนยันแล้ว รอเตียงอยู่ที่บ้าน ให้กินฟ้าทะลายโจรชนิดสารสกัด ขนาดปกติ ติดต่อกัน 5 วัน หรือตามคำแนะนำของแพทย์ ประเด็นที่ ๕ สิ่งที่ควรรู้ประเด็นสุดท้ายแต่เป็นประเด็นที่สำคัญคือ ฟ้าทะลายโจร จัดเป็นยาที่มีฤทธิ์เย็นจัด อาจทำให้รู้สึกหนาว มือเท้าเย็น และ เสมหะ เยอะ แต่หนืดข้น จึงห้ามกินเพื่อป้องกันโควิด หากกินแล้วมีอาการดังกล่าว ให้หยุดยาทันที และใช้ยาหอม หรือ เครื่องดื่ม อุ่น เช่น น้ำขิง ช่วยลดอาการดังกล่าว และปรึกษาแพทย์ ทันทีที่มีอาการ แย่ลง และยังไม่ได้เตียง
ใช้ใน 0 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
yuttana_vong
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เผยความคืบหน้า การใช้ฟ้าทะลายโจรร่วมรักษาผู้ป่วยโควิด-19 กว่า 80 ราย พบว่า ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและหายกลับบ้าน ล่าสุดอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยทางคลินิกเพิ่มเติม เพื่อยืนยันประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลผู้ป่วย https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/dtam-news/dn/6769-dn0018.html
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
numwan_amornrat
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยืนยันแล้ว ฟ้าทะลายโจร มีสาร"แอนโดร การ์โฟร์ไลท์" ต้านโควิด19 ไม่ให้เข้าเซลล์ และต้านการแตกตัวของเชื้อไวรัสโควิด19 ในร่างกายได้ หารับประทานเพื่อป้องกันกันได้เลยวันนี้
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Tae Pheeranat Singhapan
จากข้อมูลอภัยภูเบศร พบว่ายังไม่มีหลักฐานในการที่ฟ้าทลายโจนรักษาโควิด 19 ได้ครับ ตามลิ้งนี้ครับ https://www.hfocus.org/content/2021/04/21423
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
yuttana_vong
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เผยความคืบหน้า การใช้ฟ้าทะลายโจรร่วมรักษาผู้ป่วยโควิด-19 กว่า 80 ราย พบว่า ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและหายกลับบ้าน ล่าสุดอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยทางคลินิกเพิ่มเติม เพื่อยืนยันประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลผู้ป่วย https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/dtam-news/dn/6769-dn0018.html
ใช้ใน 0 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
nutyty_MJU
มีการถกเถียงในเรื่องนี้ และมีความคิดเห็นที่หลากหลาย แต่ในข้อเท็จจริง เดอะการ์เดี้ยนได้นำเสนอข้อมูลว่า Sputnik ของรัสเซีย ปฏิเสธ) ว่ามีการใช้เจลาตินในวัคซีน และแม้ว่าผู้ผลิตวัคซีนของจีนจะคลุมเครือเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ของตน แต่ Ulema Council ของอินโดนีเซียเรียก Sinovac ว่า "ศักดิ์สิทธิ์และฮาลาล" ในขณะที่ Pfizer / BioNTech, Moderna และ Oxford / AstraZeneca ผู้ผลิตทั้งสามรายกล่าวว่าพวกเขาไม่มีอนุพันธ์ของสัตว์และตรารับริงก็ได้มาจาก British Islamic Medical Association
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
supinya
ที่ประเทศอังกฤษ ช่วงต้นปี 2564 ฮาร์พรีท สูท (Harpreet Sood) หัวหน้าหน่วยต่อต้านข่าวปลอม สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ยอมรับว่าทีมงานต่อต้านข่าวปลอมทำงานกันอย่างยากลำบากด้วยข้อจำกัดด้านภาษาและวัฒนธรรม จากกรณีพบผู้มีเชื้อสายเอเชียใต้ (ภูมิภาคที่ประกอบด้วยประเทศอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล ภูฏาน และมัลดีฟส์) ที่อาศัยอยู่ในอังกฤษมีแนวโน้มปฏิเสธการรับวัคซีนโควิด-19 โดยต้องทำงานร่วมกับผู้นำศาสนา อธิบายให้ศาสนิกชนเหล่านี้มั่นใจว่าวัคซีนโควิด-19 ไม่มีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสม https://www.bbc.com/news/uk-55666407
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
supinya
ข่าวนี้อาจจะแปลกกว่าข่าวลืออื่นๆที่ไม่ได้สร้างความตื่นตระหนกในชิงหวาดกลัว แต่ก็เป็นข่าวปลอมที่ต้องชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง โดย รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยเรื่องนี้เมื่อต้นเดือน ม.ค. 2564 กรณีมีการส่งต่อภาพที่อ้างว่าเป็นข่าวจากสำนักข่าว CNN สหรัฐอเมริกา ที่พาดหัวข่าวว่า แพทย์สนับสนุนให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่อวัยวะเพศชาย เพราะจะทำให้วัคซีนกระจายไปทั่วร่างกายเร็วขึ้น หนักไปกว่านั้นยังมีการแชร์ไปถึงขนาดว่า การฉีดวัคซีนโควิด-19 จะเพิ่มขนาดอวัยวะเพศชายให้ยาวขึ้นได้อีกถึง 3 นิ้ว ทั้ง 2 ข่าวอ้างงานวิจัย แต่จากการตรวจสอบพบว่าเป็นข่าวปลอมทั้งหมด ตั้งแต่งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่อ้างกลุ่มตัวอย่างทำการศึกษา 1,500 คน ก็ไม่มีอยู่จริง หรืออ้างวารสารวิชาการ The New England Journal of Merdecine ที่เป็นวารสารที่ไม่มีอยู่จริง โดยวารสารที่มีจริงคือ The New England Journal of Medicine ซึ่งก็ไม่เคยตีพิมพ์บทความทำนองนี้แต่อย่างใด แม้กระทั่งสำนักข่าว CNN ก็ไม่เคยเสนอข่าวตามภาพที่นำมาอ้างกันด้วย เช่นเดียวกับตรวจสอบจากสำนักข่าว AFP และ อีกหลายสำนักสรุปตรงกันข่าวที่อ้าง CNN นี้เป็นข่าวลวง
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Poonato head
แพทย์เตือน หากใส่ผิดวิธี นอกจากไม่ป้องกันตัวเราแล้ว ยังไม่ป้องกันเราแพร่เชื้อให้คนอื่นด้วย แน่นอนว่าอาจจะเป็นเบื้องหลังที่ทำให้คนติดเชื้อโควิด-19 การใส่หน้ากากก็จะเป็นตัวกรองไม่ให้เชื้อโรคออกจากตัวเรา ถ้าเราเอาหน้ากากลงต่ำกว่าจมูก หรือต่ำกว่าปาก ลงไปใต้คาง การใส่มันก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลย แนะ ไม่ควรวางหน้ากากไว้บนโต๊ะหรือวางไว้ตามที่ต่างๆ เพราะเราไม่รู้ว่าพื้นผิวนั้นมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่หรือไม่ ตลอดจนย้ำถึงการป้องกันตนเองแก่ประชาชนว่าให้สวมใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน และไม่ควรใส่หน้ากาก N95 ที่มีช่องให้หายใจออก เพราะเวลาเราหายใจออก เวลาพูด เวลาไอ เวลาจาม ลมหายใจมันจะออกทางช่อง เพราะฉะนั้นเรากำลังติดเชื้ออยู่เราจะแพร่เชื้อให้คนอื่น
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Poonato head
รหัส ##002# เป็นรหัสมาตรฐานของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ผู้ใช้บริการกดส่งออกเพื่อยกเลิกบริการโอนสายทุกประเภท ไม่ใช่รหัสเพื่อการยกเว้นค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Poonato head
เพจ “อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์” หรือ อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาระบุข้อความเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า ข่าว “การฉีดวัคซีนโรคโควิด จะช่วยทำให้อวัยวะของเพศของท่านชายบางคน ยาวขึ้นได้อีกถึง 3 นิ้ว” โดยมีรูปประกอบเป็นเอกสารงานวิจัย ตีพิมพ์ในวารสารชื่อ “The New Ingland Journal of Merdecine” แต่วารสารวิจัยดังกล่าวไม่มีอยู่จริง วารสารจริงๆ ชื่อว่า The New England Journal of Medicine (ต่างกันตรงคำสุดท้าย) ซึ่งก็ไม่เคยตีพิมพ์บทความอะไรทำนองนั้นเช่นกัน”
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Poonato head
สำนักงานพระพุทธศาสนาขอความเมตตาพระคุณท่านแจ้งเจ้าคณะผู้ปกครองในเขตปกครองของพระคุณท่านทุกระดับชั้น ปฏิปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพทยระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้ 1.ให้ปฏิบัติตามมาตรการการผู้ขอบรรพชาอุปสมบท และให้และให้ผู้จะเข้าบราดชาอุปสมบทแนบผลการตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อประกอบการพิจารณาของเจ้าอาวาสหรือพระอุปีชำยังอย่างเคร่งครัด 2.ขอความเมตตาพระคุณท่านงดจัดกิจกรรมทุกชนิดที่อาจจะนำมาซึ่งการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 จึงนมัสการมาเพื่อโปรดพิจารณา
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Poonato head
17 เม.ย.64 ทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชลบุรี ได้มีคำสั่งให้งดใช้พื้นที่ชายทะเล ชายหาด อ่างเก็บน้ำ ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นสถานที่ในการรวมกลุ่ม สังสรรค์ หรือรับประทานอาหาร เครื่องดื่มทุกชนิด แต่ในช่วงเวลาประมาณ 20.00 น.ของวันเดียวกัน ได้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็น "สามารถเปิดขายได้ตามปกติ แต่ห้ามมั่วสุม รวมกลุ่ม ดื่มแอลกอฮอล์"
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Poonato head
วิตามินดีอาจจะส่งผลดีต่อสุขภาพหลายอย่างในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ไปทั่วโลก ในการทำให้คนได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม แต่ NICE ได้ตรวจสอบงานวิจัย และระบุว่า ไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่า การเสริมวิตามินดีจะช่วยป้องกันหรือช่วยรักษาการป่วยเป็นโควิด-19 ได้โดยเฉพาะ
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน
Poonato head
ผลการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล พบว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจร และสารแอนโดรกราโฟไลด์ ซึ่งเป็นสารสำคัญในฟ้าทะลายโจร มีความสามารถในการยับยั้งกระบวนการติดเชื้อไวรัสของเซลล์ปอด โดยผ่านกลไกที่สำคัญ คือ การยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโควิดในทุกระยะ จึงมีโอกาสที่จะพัฒนาการใช้ฟ้าทะลายโจรเป็นยาเดี่ยว หรือใช้ควบรวมกับสูตรยามาตรฐานในการรักษาผู้ที่ติดเชื้อโควิด แต่ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่ชัดเจนสนับสนุนการใช้ฟ้าทะลายโจรป้องกันโควิด-19 ได้ แต่มีการศึกษาพบว่าการใช้ฟ้าทะลายโจรขนาดต่ำ ๆ (แอนโดรกราโฟไลด์ 11.2 มิลลิกรัม/วัน) กิน 5 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 3 เดือน ช่วยป้องกันหวัดได้ การใช้ฟ้าทะลายโจรมีข้อมูลสนับสนุนว่ามีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันทั้งภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิดและภูมิคุ้มกันจำเพาะแต่ยังไม่มีการศึกษากับเชื้อโควิดโดยตรง ดังนั้นประชาชนควรฉีดวัคซีน ซีงจะเห็นได้จากประเทศอังกฤษที่มีการฉีดวัคซีนกันอย่างกว้างขวางทำให้อัตตราการติดเชื้อลดลง
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Poonato head
เป็นการสรุปร่างข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จากชัวร์ก่อนแชร์ที่ระบุว่าไม่มีการเคอร์ฟิวส์และล็อกดาวน์ แต่ห้ามกิจกรรมเสี่ยง ปิดสถานที่เสี่ยง กำหนดพื้นที่เสี่ยง และมาตรการตามพื้นที่
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
supinya
กระทรวงสาธารณสุขของออสเตรเลีย โดยหน่วยงานบริหารสินค้าด้านอายุรเวท (Therapeutic Goods Administration-TGA) ระบุว่า ข่าวลือนี้อ้างถึงโปรตีนซินซิติน-1 (Syncytin-1) ที่ช่วยมีการพัฒนารก ซึ่งมีอยู่ในหนามแหลมของเชื้อโควิด-19 เช่นกัน แต่ยืนยันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ว่าการได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือแม้แต่วัคซีนป้องกันโรคอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์หรือการพัฒนาของรกแต่อย่างใด ทางศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย บมจ.อสมท ได้ตรวจสอบจากแหล่งข้อมูล #SureVac โดย Newtral.es ว่าข่าวที่ "แนะท่านชายนำเชื้ออสุจิไปแช่แข็งก่อนรับวัคซีนโควิด” นั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
supinya
ข่าวลือนี้ถูกพูดถึงกันมากเป็นพิเศษสำหรับวัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยี 2 ชนิดคือ mRNA เช่น วัคซีนของไฟเซอร์และโมเดอร์นา (Moderna) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่นำรหัสพันธุกรรมส่วนเล็กๆ ของไวรัสมาใช้กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน กับ Viral Vector เช่น วัคซีนของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ใช้วิธีฝากสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ไปกับไวรัสชนิดอื่น แต่เมื่อเข้าไปในร่างกายแล้วจะเกิดการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 ด้วย การกล่าวถึงพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ในกระบวนการผลิตและการทำงานของวัคซีน นำไปสู่ความกังวลว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนจะมีผลข้างเคียงคือรหัสพันธุกรรมของตนจะเปลี่ยนไปด้วย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ชี้แจงเรื่องนี้ว่า วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีทั้ง 2 ชนิด แม้จะส่งสารพันธุกรรมเข้าไปในร่างกายมนุษย์ แต่สารนั้นจะไม่เข้าไปถึงนิวเคลียสอันเป็นที่เก็บดีเอ็นเอ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อดีเอ็นเอแต่อย่างใด สำนักข่าวรอยเตอร์สและบีบีซีรายงานว่าข่าวนี้ไม่เป็นความจริง
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
supinya
ข่าวลือเกิดขึ้นในเดือน มี.ค. เมื่อนายเกตส์ กล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่า สุดท้ายแล้ว "เราจะมีการรับรองทางดิจิทัลบางอย่าง" ซึ่งจะแสดงว่าใครหายป่วยแล้ว ใครได้รับการตรวจแล้ว และสุดท้ายคือใครได้รับวัคซีนแล้ว โดยเขาไม่ได้เอ่ยถึงไมโครชิปเลย เรื่องนี้ได้นำไปสู่การส่งต่อบทความที่มีชื่อเรื่องว่า "บิล เกตส์ จะใช้การฝังไมโครชิปเพื่อต่อสู้กับไวรัสโคโรนา" บทความนี้ได้อ้างถึงการศึกษา ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากมูลนิธิเกตส์ ในเทคโนโลยีที่อาจจะเก็บข้อมูลการรับวัคซีนของคนไว้ได้ในหมึกพิเศษที่ถูกฉีดเข้าไปในร่างกายคนพร้อมกับวัคซีน อย่างไรก็ตาม อานา จาเกลเนก นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้กล่าวว่า เทคโนโลยีนี้ไม่ใช่ไมโครชิป และน่าจะเหมือนกับรอยสักที่มองไม่เห็นมากกว่า ยังไม่มีการใช้งานเทคโนโลยีนี้ และจะไม่มีการอนุญาตให้แกะรอยคน และข้อมูลส่วนบุคคลจะไม่ถูกนำเข้าสู่ฐานข้อมูล มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์ได้ตกเป็นเป้าของข่าวลือต่าง ๆ ที่ไม่เป็นความจริงในช่วงของการระบาดใหญ่ไปทั่วโลกของโควิด-19
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
supinya
เป็นเรื่องที่ถูกลือกันมากที่สุดในสังคมตะวันตก ตั้งแต่ไวรัสโควิด-19 เริ่มระบาดใหม่ๆ โดยเชื่อว่าเป็นแผนการของทุนยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีที่ต้องการปูทางไปสู่การฝังไมโครชิปประชากรทั่วโลก อาทิ ผลการสำรวจของ ยูกอฟ (YouGov) บริษัทรับทำโพลชื่อดังของอังกฤษ ที่สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันจำนวน 1,640 คน แล้วสรุปผลได้ว่า ชาวอเมริกันร้อยละ 28 เชื่อเรื่องแผนการฉีดวัคซีนเพื่อฝังไมโครชิป เป็นต้น ข่าวนี้เกิดขึ้นเมื่อ บิลล์ เกตส์ (Bill Gates) เจ้าพ่อไอทีผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์ ออกมาพูดเปรยๆ ไว้เมื่อเดือน มี.ค. 2563 ว่าในอนาคตจะมีการออกใบรับรองดิจิทัลสำหรับผู้ที่เคยป่วยจากไวรัสโควิดและได้รับการรักษาจนหายแล้วไปจนถึงผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน ก่อนจะถูกขยายผลลือกันเป็นตุเป็นตะ ทั้งๆ ที่ เกตส์ ไม่เคยพูดถึงไมโครชิปแต่อย่างใด ขณะที่ มูลนิธิ บิลล์แอนด์เมลินดา เกตส์ (Bill and Melinda Gates Foundation) องค์กรการกุศลของเจ้าตัว ชี้แจงว่าใบรับรองดิจิทัลหมายถึงแพลตฟอร์มดิจิทัลแบบโอเพนซอร์ส เพื่อขยายการตรวจคัดกรองที่ปลอดภัยถึงบ้าน ข่าวลือเรื่องวัคซีนโควิดฝังไมโครชิปกลับมาพูดถึงอีกครั้งในช่วงปลายปี 2563 เมื่อสหรัฐฯ เตรียมการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยใช้วัคซีนที่พัฒนาโดยไฟเซอร์ (Pfizer) ทำให้ทางไฟเซอร์ต้องชี้แจงส่วนผสมของวัคซีนซึ่งมีอยู่ประมาณ 10 ชนิด ซึ่งเป็นส่วนผสมที่ใช้ในวัคซีนหลายๆ ชนิด แต่ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับไมโครชิปแต่อย่างใด อนึ่ง วันที่ 8 เม.ย. 2564 กระทรวงสาธารณสุขของออสเตรเลีย ย้ำอีกครั้งว่า ไม่พบการติดตั้งซอฟต์แวร์หรือไมโครชิปในวัคซีนโควิด-19 ชนิดใดๆ ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้
ใช้ใน 1 ข้อความ3 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Tananya Raemonkon
แต่อเมริกาใต้เป็นชื่อทวีปนะคะไม่ใช่ประเทศ 🥺
ใช้ใน 0 ข้อความ3 ปีที่แล้ว