รายการความเห็น


11068 ความเห็น

❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
naydoitall
ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ให้ข้อมูลว่า หน้ากากอนามัยผลิตจากใยสังเคราะห์ประเภทเดียวกันกับผ้าสปันบอนด์ซึ่งทำมาจากพลาสติกกลุ่ม Polypropylene จากรายงานขององค์การวิจัยมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer; IARC) ระบุว่าพลาสติกกลุ่ม Polypropylene ไม่จัดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์หรืออยู่ในกลุ่ม 3 ดังนั้นปัจจุบันการใช้หน้ากากอนามัยที่ทำมาจากผ้าสปันบอนด์จึงยังไม่มีข้อมูลว่าทำให้เกิดโรคมะเร็ง
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
anonymous
รองโฆษกกองทัพบกแถลงว่า ข่าวเอกสารที่แชร์กันอยู่ในโลกออนไลน์เรื่องงบประมาณของกองทัพบกที่ใช้ล้างถนนช่วงโควิดระบาดเป็นเงิน 23 ล้านนั้นไม่ใช่เอกสารจริง จากการตรวจสอบเบื้องต้น เอกสารดังกล่าวเป็นข้อมูลประกอบการแถลงข่าวการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของกองทัพบก อย่างไรก็ตามตอนนี้ยังไม่มีการเปิดเผยงบประมาณที่กองทัพใช้ในการดำนเนินการล้างถนนสู้โควิด19 แจ้งสู่ประชาชนให้รับทราบเช่นกัน
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Patchaya Khamkaew
ยิ่งอายุน้อย ก็ยิ่งติดเชื้อยาก และแม้จะติดเชื้อ ก็จะป่วยไม่หนักเท่ากับผู้ที่อายุมากกว่า . จากการวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญนานาชาติรวม 25 คนเข้าไปในจีน ผู้ที่มีอายุ 0-9 มีจำนวนประชากร 12.0% มีจำนวนการติดเชื้อ 0.9% ผู้ที่มีอายุ 10-19 มีจำนวนประชากร 11.6% มีจำนวนการติดเชื้อ 1.2% ผู้ที่มีอายุ 20-29 มีจำนวนประชากร 13.5% มีจำนวนการติดเชื้อ 8.1% ผู้ที่มีอายุ 30-39 มีจำนวนประชากร 15.6% มีจำนวนการติดเชื้อ 17.0% ผู้ที่มีอายุ 40-49 มีจำนวนประชากร 15.6% มีจำนวนการติดเชื้อ 19.2% ผู้ที่มีอายุ 50-59 มีจำนวนประชากร 15.0% มีจำนวนการติดเชื้อ 22.4% ผู้ที่มีอายุ 60-69 มีจำนวนประชากร 10.4% มีจำนวนการติดเชื้อ 19.2% . ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) แปลโดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์, ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช. ( เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 )
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Patchaya Khamkaew
อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ มีไข้ (88%) ไอแห้งๆ (68%) ไม่มีเรี่ยวแรง (38%) ไอแบบมีเสมหะ (33%) หายใจลำบาก (18%) เจ็บคอ (14%) ปวดหัว (14%) ปวดกล้ามเนื้อ (14%) หนาวสั่น (11%) อาการที่พบน้อยลงมาหน่อยคือ คลื่นไส้และอาเจียน (5%) คัดจมูก (5%) และท้องเสีย (4%) อาการที่ไม่ใช่สัญญาณโรคของโควิด-19 คือ น้ำมูกไหล . ข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) แปลโดย ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์, ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สวทช ( เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563 )
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
naydoitall
จากกรณีที่มีโพสต์ข้อความว่า "มีผลวิจัยจากสถาบันวิจัยแห่งชาติว่ายาบ้าสามารถรักษาโควิดได้" ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง ยาบ้าหรือยาม้าจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่ยืนยันว่ายาบ้าสามารถรักษาโรคโควิด-19 ได้
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
anonymous
จากเวบไซท์ของอังกฤษ พยาบาลเปิดเผยว่า ล้างมือให้สะอาดอย่างเดียวไม่พอเล็บต้องสั้นด้วย การไว้เล็บยาวเป็นสาเหตุใหญ่ของการแพร่เชื้อโควิด เชื้อโรคอื่นๆรวมถึงเชื้อแบคทีเรีย เพราะเชื้อโรคจะซ่อนอยู่ใต้เล็บ นอกจากนี้เล็บสั้นเป็นการสร้างนิสัยให้เลิกชอบกัดเล็บอีกด้วย การกัดเล็บถือว่าเป็นความเสี่ยงติดเชื้อโดยตรง วิธีตรวจสอบว่าเล็บยาวรึไม่ ให้จิกไปบนผิวหนัง ถ้าผิวหนังรู้สึกถึงเล็บจิกอยู่แปลว่าต้องตัดเล็บแล้ว
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
💬 มีความเห็นส่วนตัว
anonymous
อาหารที่ถูกสุขลักษณะควรจะร้อน และสดใหม่ ช่วงเวลาแห่งการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19 ที่กำลังระบาดหนักช่วงนี้ควรเลี่ยงอาหารประเภทไม่ร้อนและผ่านมือคนขายหรือใช้ภาชนะซ้ำๆกันไว้ก่อนน่าจะเป็นเหตุผลที่ดีในการป้องกันตัวเองจากเชื้อ กินร้อน ช้อนตัวเอง น่าจะดีที่สุดตอนนี้
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
anonymous
สำหรับ LINE แอคเคาท์ของธนาคารไทยพาณิชย์ที่ถูกต้อง สามารถกดเพิ่มเพื่อนได้ที่นี่ LINE SCB Thailand http://line.me/R/ti/p/@scb_thailand LINE SCB Connect http://line.me/R/ti/p/@scbconnect
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Patchaya Khamkaew
เรื่องที่พระพุทธเจ้าสนับสนุนเรื่องการกินฉี่ตนเองเพื่อเป็นยารักษาโรคนั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด โดยคำว่า "มูตร" ที่ปรากฏใน "ปูติมุตตเภสัช" หมายถึง ฉี่โค ไม่มีส่วนใดที่ระบุถึงฉี่ของมนุษย์สักที่เดียว ส่วนเรื่องที่มีคนอ้างว่าพระพุทธเจ้าตรัสเรื่องการดื่ม "น้ำมูตรเน่า" ก็พบคือ เป็นน้ำมูตรที่ผสมตัวยาสำหรับรักษาโรคต่าง ๆ แล้วเท่านั้น ซึ่งน้ำมูตรที่เป็นฉี่โค ไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรค แต่สามารถใช้เป็นส่วนประกอบเภสัชบางอย่างได้ เช่น ดองกับผลไม้ที่ใช้เป็นยา ดังนั้นอย่าอ้างวาพระพุทธเจ้าก็กิน การมองฉี่เป็นยาวิเศษเป็นผลเสียมากกว่า . เนื้อหาจากเพจ พระมหาไพรวัลย์ วรวณุโณ ที่มาจาก kapook ( เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562 )
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Patchaya Khamkaew
เนื่องจากน้ำปัสสาวะเป็นของเสียหรือสารที่เป็นส่วนเกินของร่างกายที่ไตขับออกมา แม้ว่าจะมีสารต่าง ๆ อยู่มาก ทั้งยูเรีย เกลือแร่ แคลเซียม และโซเดียมคลอไรด์ รวมถึงสารอื่น ๆ แต่สารเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกินความต้องการของร่างกาย หากสะสมไว้มากเกินไปกลับจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นหากดื่มกลับเข้าไปซ้ำอีก จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย . น้ำปัสสาวะที่ขับออกมายังอาจปนเปื้อน อุจจาระ ทำให้มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ นอกจากนี้ไตซึ่งทำหน้าที่กลั่นกรองของเสียออกจากร่างกาย ต้องทำงานหนักมากขึ้นเพราะต้องขับของเสียออกซ้ำ และอาจเกิดการคั่งค้างของสารต่าง ๆในร่างกาย ก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ หรือโรคที่ต้องควบคุมปริมาณน้ำ แร่ธาตุ และสารอาหารให้เหมาะสม อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ . คำสัมภาณ์ของ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ที่มาจาก กรมการแพทย์ ( เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 )
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Patchaya Khamkaew
----- มีเนื้อหาที่เป็นความจริงบางส่วน ในเรื่องของอดีตที่มีการใช้น้ำปัสสาวะเป็นยา ----- . เป็นที่ทราบกันดี เรื่องที่ชาวสันติอโศกจำนวนไม่น้อยดื่มน้ำปัสสาวะเพื่อบำบัดรักษาโรค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความศรัทธาต่อนิสัย 4 ของพระสงฆ์ตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล ซึ่งพระพุทธองค์ได้กล่าวถึงการใช้น้ำมูตรเน่าเป็นยาปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกกระจัดกระจายหลายเล่ม และมีพระสงฆ์สายวัดป่าหลายรูปที่ฉันน้ำมูตรเน่า (น้ำปัสสาวะ) เป็นประจำเพื่อสุขภาพที่ดี เช่น พระอาจารย์สิงห์ทน นราสโภ วัดวรแก้ว จ.พระนครศรีอยุธยา, พระอาจารย์มิตซูโอะ, หลวงพ่อชา, หลวงปู่โง่น โสรโย, หลวงพ่อยา ฯลฯ . คำสัมภาณ์ของ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกพันธมิตรฯ ปัจจุบันเป็นคณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต ที่มาจาก ไทยรัฐออนไลน์ ( เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562 ) . ----- มีเนื้อหาที่หลอกลวงบางส่วน ในเรื่องของการใช้รักษาโรค ----- . เนื่องจากน้ำปัสสาวะเป็นของเสียหรือสารที่เป็นส่วนเกินของร่างกายที่ไตขับออกมา แม้ว่าจะมีสารต่าง ๆ อยู่มาก ทั้งยูเรีย เกลือแร่ แคลเซียม และโซเดียมคลอไรด์ รวมถึงสารอื่น ๆ แต่สารเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกินความต้องการของร่างกาย หากสะสมไว้มากเกินไปกลับจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นหากดื่มกลับเข้าไปซ้ำอีก จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกันอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย . น้ำปัสสาวะที่ขับออกมายังอาจปนเปื้อน อุจจาระ ทำให้มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ นอกจากนี้ไตซึ่งทำหน้าที่กลั่นกรองของเสียออกจากร่างกาย ต้องทำงานหนักมากขึ้นเพราะต้องขับของเสียออกซ้ำ และอาจเกิดการคั่งค้างของสารต่าง ๆในร่างกาย ก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ หรือโรคที่ต้องควบคุมปริมาณน้ำ แร่ธาตุ และสารอาหารให้เหมาะสม อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ . คำสัมภาณ์ของ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ที่มาจาก กรมการแพทย์ ( เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 )
ใช้ใน 0 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Patchaya Khamkaew
เป็นที่ทราบกันดี เรื่องที่ชาวสันติอโศกจำนวนไม่น้อยดื่มน้ำปัสสาวะเพื่อบำบัดรักษาโรค ซึ่งส่วนใหญ่เป็นความศรัทธาต่อนิสัย 4 ของพระสงฆ์ตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล ซึ่งพระพุทธองค์ได้กล่าวถึงการใช้น้ำมูตรเน่าเป็นยาปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกกระจัดกระจายหลายเล่ม และมีพระสงฆ์สายวัดป่าหลายรูปที่ฉันน้ำมูตรเน่า (น้ำปัสสาวะ) เป็นประจำเพื่อสุขภาพที่ดี เช่น พระอาจารย์สิงห์ทน นราสโภ วัดวรแก้ว จ.พระนครศรีอยุธยา, พระอาจารย์มิตซูโอะ, หลวงพ่อชา, หลวงปู่โง่น โสรโย, หลวงพ่อยา ฯลฯ . คำสัมภาณ์ของ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกพันธมิตรฯ ปัจจุบันเป็นคณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต . ที่มาจาก ไทยรัฐออนไลน์ ( เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562 )
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
Patchaya Khamkaew
ยังไม่มีผลงานวิจัยที่สามารถชี้วัดได้ว่าการอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟสามารถฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้ แต่หากใช้ความร้อนถึง 70 องศาขึ้นไป ในระยะเวลา 20 - 30 นาที ก็น่าจะฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้ . เนื้อหาจากเพจ ThaiPBS ( เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2563 ) . https://twitter.com/ThaiPBS/status/1245719757405503488
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
💬 มีความเห็นส่วนตัว
naydoitall
เช่นเดียวกับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่น ๆ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถพบได้ในอุจจาระ แต่โรค COVID-19 มักจะแพร่ระบาดผ่านการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือผ่านการสัมผัสฝอยละอองจากการไอหรือจามของผู้ป่วย เพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ ควรล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้ ก่อนทำอาหารหรือรับประทานอาหาร หลังไอหรือจาม ก่อนและหลังใช้ห้องน้ำ และหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เด็ก
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
naydoitall
สารเคมีที่ใช้มีความเข้มข้นอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังหรือตา อีกทั้งเชื้อไวรัสก็ไม่สามารถมีอายุอยู่ได้นานนักในสถานที่เปิด เป็นการเสียงบประมาณ เวลาและกำลังคนเปล่าๆ ทางที่ดีควรหมั่นดูแลสุขอนามัยส่วนตัว ล้างมือให้บ่อยและทำความสะอาดเฉพาะที่ ที่ถูกสัมผัสบ่อยๆเช่นลูกบิดประตู หรือปุ่มลิฟต์จะช่วยได้มากกว่า
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
naydoitall
ทางทีมงานของแอพพลิเคชั่นนี้ ออกมาชี้แจงแล้วว่าไม่เป็นความจริงเป็นอย่างไร เป็นเรื่องของการถูกดิสเครดิตว่าเป็นแอพ และยังถูกมิจฉาชีพแอบอ้างว่าเป็นทีมงานไปหาผลประโยชน์ด้วย ซึ่งขณะนี้ได้แจ้งความดำเนินคดีแล้วครับ
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Patchaya Khamkaew
ในช่วงอหิวาตกโรคระบาด นำเอาต้นกระเพรา แขวนไว้ที่รั้วหรือหน้าบ้าน และด้วยกลิ่นที่ฉุนของกะเพรา เชื่อว่า สามารถฆ่าเชื้อไวรัสที่ลอยมาในอากาศได้ ที่ผ่านมาตัวหมัด ตัวไร ที่อยู่ตามเล้าไก่ ชาวบ้านจำนวนมากจึงนำมาห้อยหน้าบ้าน เพื่อสร้างความสบายใจเท่านั้น . แต่สำหรับการป้องกันโควิด-19 ยังคงป้องกันตามคำแนะนำของแพทย์อยู่ . คำสัมภาษณ์ของ นายสุรสิทธิ์ หนันเรือง รองนายก อบต.บ้านขาม ( เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563 )
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Patchaya Khamkaew
ในช่วงอหิวาตกโรคระบาด นำเอาต้นกระเพรา แขวนไว้ที่รั้วหรือหน้าบ้าน และด้วยกลิ่นที่ฉุนของกะเพรา เชื่อว่า สามารถฆ่าเชื้อไวรัสที่ลอยมาในอากาศได้ ที่ผ่านมาตัวหมัด ตัวไร ที่อยู่ตามเล้าไก่ ชาวบ้านจำนวนมากจึงนำมาห้อยหน้าบ้าน . เพื่อสร้างความสบายใจเท่านั้น แต่สำหรับการป้องกันโควิด-19 ยังคงป้องกันตามคำแนะนำของแพทย์อยู่ . คำสัมภาษณ์ของ นายสุรสิทธิ์ หนันเรือง รองนายก อบต.บ้านขาม ( เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2563 )
ใช้ใน 0 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
naydoitall
ตอนนี้สถานการณ์การขาดแคลนแอลกอฮอล์ใช้สำหรับฆ่าเชื้อโรคนั้น ยังไม่บรรเทาลงเท่าไหร่ แถมมีมิจฉาชีพเริ่มเอา "เมทิลแอลกอฮอล์" มาหลอกขาย ปลอมว่าเป็น "เอทิลแอลกอฮอล์" บรรจุขวด ติดฉลากให้คนหลงเชื่อ ซื้อไปทำเจลแอลกอฮอล์ใช้กันก็อันตรายมาก มีวิธีการตรวจสอบง่ายๆว่าแอลกอฮลล์ปลอมหรือไม่ เป็นวิธีทดสอบที่ใช้ได้เฉพาะแอลกอฮอลล์บริสุทธิ์ ไม่ใช่เจล https://www.thairath.co.th/news/society/1797096
ใช้ใน 0 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
naydoitall
การตรวจสอบแอลกอฮอลล์ฆ่าเชื้อโรค ว่าปลอมหรือไม่
ใช้ใน 0 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
naydoitall
การที่หมึกจะละลายหรือไม่นั้น มันขึ้นอยู่กับชนิดและคุณภาพของหมึกที่ใช้ หมึกบางประเภทก็ไม่สามารถละลายได้เลย
ใช้ใน 0 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Patchaya Khamkaew
ถึงการกินน้ำมันมะกอกผสมน้ำมะนาว จะมีการขับถ่ายออกมาเป็นก้อนเล็กเขียวๆ มันไม่ใช่ "นิ่วในถุงน้ำดี" แต่เป็น "สบู่นิ่ว" ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเอง . ทางการแพทย์ก็ไม่ได้แนะนำให้ทำ เพราะการมีนิ่วในถุงน้ำดีมันเกิดขึ้นได้และมักจะไม่เป็นปัญหา จนมีการหลุดออกมาอุดตันท่อน้ำดีต่างหาก ถึงทำให้เจ็บป่วยจนต้องตัดถุงน้ำดีทิ้ง . ข้อมูลจากเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ( เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 )
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
naydoitall
อุณหภูมิในร่างกายที่ตรวจวัดได้ ต้องพิจารณาจากปัจจัยอื่นควบคู่ไปด้วย แต่การที่จะมีไข้สูงและติดเชื้อโควิดนั้นต้องมีผลตรวจไวรัส Covid19 เป็นบวก คือตัวบ่งชี้เฉพาะ
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด
Patchaya Khamkaew
การตรวจเลือดของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 จำนวนกว่า 2,000 คนในเมืองอู่ฮั่น และเสิ่นเจิ้น ของจีน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับประชากรในพื้นที่ที่ยังสุขภาพแข็งแรงดี พบว่า ผู้ป่วยที่มีเลือดกรุ๊ป A มีอัตราติดเชื้อโควิด19 สูงกว่ากรุ๊ปเลือดอื่นๆ และยังมีแนวโน้มที่ผู้ติดเชื้อที่มีเลือดกรุ๊ป A จะมีอาการโรครุนแรงหนักกว่าผู้ป่วยกรุ๊ปเลือดอื่นอีกด้วย . จากการวิจัยทางการแพทย์ของนักวิทยาศาสตร์ในจีน ที่นำโดยนายหวัง ซิงหวน ประจำศูนย์ Evidence-Based and Translational Medicine ของโรงพยาบาลจงหนาน ของมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น ที่เผยแพร่ลงใน Medrxiv.org ( เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 )
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว
❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง
Patchaya Khamkaew
จากสถานการณ์ที่สหรัฐอเมริกา ไม่ได้เป็นการแพร่ระบาดทางอากาศ (Airborne transmission) แต่เป็นการระบาดโดยละอองฝอยน้ำลายใหญ่ (Droplet transmission) ที่ได้รับจากผู้ป่วยจากการสัมผัสหรือเข้าใกล้ในระยะประชิด . จากคำสัมภาษณ์ของ นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิการบดีควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ( วันที่ 1 เมษายน 2563 )
ใช้ใน 1 ข้อความ4 ปีที่แล้ว