314 ข้อความ
- 1 คนสงสัยท่านอนคว่ำ ทำให้เสี่ยงเสียชีวิตเฉียบพลันสุขภาพไม่ระบุชื่อ• 8 วันที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยhttps://www.facebook.com/share/r/15XAQ3VtCy/?mibextid=UalRPSสุขภาพไม่ระบุชื่อ• 8 วันที่แล้ว
- 1 คนสงสัยจริงหรือไม่❗️ ห้ามดื่มน้ำมะพร้าวช่วงมีประจำเดือน🥛🥥คนไทยมีความเชื่อว่าการดื่มน้ำมะพร้าวช่วงมีประจำเดือนอาจทำให้เลือดมีกลิ่นคาวมากขึ้น, ประจำเดือนผิดปกติ, หรือปวดท้องมากขึ้น ความจริง ไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์ในการดื่มน้ำมะพร้าวในช่วงมีประจำเดือน แต่การดื่มในปริมาณมากเกินไปอาจมีผล เนื่องจากน้ำมะพร้าวมีไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen) ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย อาจส่งผลต่อการบีบตัวของมดลูกหรือการหลั่งประจำเดือน อย่างไรก็ตาม การดื่มในปริมาณที่เหมาะสมสามารถมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการฟื้นฟูร่างกายที่อ่อนเพลียจากการสูญเสียเลือด คำแนะนำจากแพทย์ ควรดื่มน้ำมะพร้าวในปริมาณที่เหมาะสม (ประมาณหนึ่งแก้วต่อวัน) หากไม่มีอาการผิดปกติ หากมีความกังวลควรหลีกเลี่ยงการดื่มในช่วงมีประจำเดือน และเน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมายเหตุ: ข้อมูลปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยยืนยันชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของการดื่มน้ำมะพร้าวช่วงมีประจำเดือนสุขภาพ65011215039• 10 วันที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยรับประทานเบคอน เนื้อแดง บ่อยครั้ง เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดอักเสบส่งผลให้เป็นอัมพาตได้สุขภาพมะเร็งไม่ระบุชื่อ• 10 วันที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยการดื่มน้ำมะนาวช่วยให้ก้างปลาที่ติดคอหลุดง่ายขึ้นจริงหรือไม่?ก้างปลาติดคอคืออาการที่มีสิ่งแปลกปลอมลักษณะแหลมคมปักติดอยู่บริเวณลำคอ ทำให้เกิดความรำคาญและสร้างความเจ็บปวดเวลากลืนอาหาร โดยกรดที่มีความเข้มข้นสูงสามารถละลายก้างปลาได้แต่การกลืนกรดที่มีความเข้มข้มสูงลงไปในร่างกายนั้นไม่ใช่สิ่งที่ควรทำเพราะอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองจนเป็นแผล หรือมีผลเสียอื่นๆ ตามมา (ข้อมูลจาก : แพทย์หญิงพีรภาว์ ภัทรพงศานติ์ แพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก) การดื่มน้ำมะนาวเพื่อให้ก้างปลาละลายหรืออ่อนนุ่มลงจึงถือว่า “เป็นวิธีการที่ผิด” เพราะน้ำมะนาวมีฤทธิ์เป็นกรดที่ไม่เข้มข้นพอที่จะละลายก้างปลาได้ อีกทั้งการดื่มน้ำมะนาวในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร แผลบริเวณก้างติดคอเกิดการระคายเคืองหรือมีขนาดใหญ่ขึ้นได้อีกด้วย วิธีปฐมพยาบาลหรือการปฏิบัติที่ถูกต้อง 1. ลองกลั้วคอด้วยน้ำเปล่า เนื่องจากน้ำเปล่ามีฤทธิ์เป็นกลางทำให้ไม่เกิดการระคายเคือง และการกลั้วคออาจทำให้ก้างหลุดออกมาได้ 2. หากไม่หลุดหรืออาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อให้แพทย์รีบนำก้างปลาออก เพราะหากปล่อยให้ก้างปลาติดคอเป็นระยะเวลานาน นอกจะทำให้เจ็บปวดแล้ว ยังทำให้เกิดแผล เกิดการติดเชื้อ จนเกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นหนองในลำคอ ลุกลามไปสู่ช่องอกได้ (ข้อมูลจากเว็ปไซต์ : https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/190 )สุขภาพAlisa Phopatcha• 10 วันที่แล้วmeter: false2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ช่วยรักษาสิวได้ จริงหรือไม่ ?สาวๆ ในโลก TikTok เห่อเทรนด์ดื่มน้ำคลอโรฟิลล์เพื่อผิวสวย ช่วยลดสิว ในโลก TikTok สาวๆ ที่รักสวยรักงามกำลังเห่อเทรนด์ดื่มน้ำคลอโรฟิลล์กันเป็นจำนวนมาก โดยเข้าใจว่ามันช่วยลดสิวและสร้างผิวสวยได้ จากความฮอตฮิตดังกล่าวก่อให้เกิดแฮชแท็ก #chlorophyllwater ขึ้น และมีผู้เข้าชม TikTok ของเทรนด์ดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ไปแล้วกว่า 29.3 ล้านครั้ง ส่งผลให้กระแสความต้องการผลิตภัณฑ์คลอโรฟิลล์ที่มีจำหน่ายตามร้านออนไลน์กลับมาคึกคักอีกครั้ง แต่ทั้งนี้เราไม่อยากให้สาวไทยเห่อตามเทรนด์จนลืมพิจารณาข้อมูลที่ถูกต้องของคลอโรฟิลล์ก่อนจะซื้อมาชงแล้วดื่มไปตามเทรนด์ (ข้อมูลจากTiktok :https://www.tiktok.com/@aamnaadel/video/6957714253071617286?_r=1&_t=8qdhQ98uaee&fbclid=IwY2xjawGUNvpleHRuA2FlbQIxMAABHaXqcdmLbcuZLwjEgF4LHUtCvimBLCyE6ZXC1s4Lt2U6VD6kfMVxqnLtvg_aem_MUFudll4aFN8GRf41uKyzQ ) (ข้อมูลจากเว็ปไซต์ : https://thestandard.co/chlorophyll-water-tiktok-acne-skin/ )สุขภาพความสวยความงามยาสมุนไพรApinya• 10 วันที่แล้วmeter: false2 ความเห็น
- 1 คนสงสัย(foot)คนญี่ปุ่นนิยมใส่ถุงเท้าก่อนเข้านอน ทั้ง 4 ฤดู หมอญี่ปุ่นวิจัยแล้วพบว่า การใส่ถุงเท้านอน ช่วยให้เท้าอบอุ่นทำให้เลือดไหลเวียนในร่างกายดีขึ้น ช่วยให้หลับง่ายขึ้นกว่าคนที่ไม่สวมถุงเท้านอน จากการวิจัยของหมออเมริกาก็พบว่า อาสาสมัครสองกลุ่มใส่กับไม่ใส่ถุงเท้านอน ผลปรากฏว่า กลุ่มใส่ถุงเท้านอนหลับได้ง่ายกว่ากลุ่มไม่ใส่ถุงเท้า การใส่ถุงเท้านอนยังสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ดีจากการหลับลึก ด้วยการสวมถุงเท้านอน ส าเหตุนี้เองคนญี่ปุ่นจึงมีคนอายุยืนมากที่สุดในโลก คนที่อายุมากกว่า 100ปี จำนวน 86,000คน จากประชากร 120 ล้านคน อายุยืนเฉลี่ย 83 ปี นอนวันละ 8ชม. ฉะนั้นจึงแนะนำให้ใส่ถุงเท้านอนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปสุขภาพไม่ระบุชื่อ• 14 วันที่แล้ว2 คนว่า มีความเห็นส่วนตัว
- 1 คนสงสัยดื่มน้ำโซดาช่วยย่อยอาหารได้จริงหรือไม่สุขภาพไม่ระบุชื่อ• 14 วันที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยดื่มนํ้ามะพร้าวทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติจริงหรือไม่ ?เคยได้ยินมาตั้งแต่สมัยโบราณ ว่าการดื่มนํ้ามะพร้าวตอนมีประจำเดือน จะทำให้ประจำเดือนหยุดไหลและมาไม่ปกติ เลยอยากรู้ว่าเป็นความจริงไหมสุขภาพยาสมุนไพรOrapan Sopaporn• 15 วันที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัย" จริงหรือไม่ ? การดื่มสารละลายคลอรีนไดออกไซต์ (CDS) ผสมน้ำทุกวันจะช่วย‘ล้างสารพิษ’จากไวรัส "สารละลายคลอรีนไดออกไซด์ (CDS) เป็น สารฟอกขาว ที่มีอันตราย‘ไม่สามารถดื่มได้‘การดื่มสารละลายคลอรีนไดออกไซด์ (CDS) กำจัดเชื้อไวรัสได้ทุกชนิดในปัจจุบันไม่มีการศึกษาใดๆที่รองรับข้ออ้าง หากรับประทานเข้าไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้อย่างรุนแรง ❗️ถ้าหากรับประทานเข้าไปแล้วไม่แนะนำให้ล้วงคอหรือกระตุ้นให้อาเจียน ผู้ป่วยที่สัมผัสสารชนิดนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ ความรุนแรง เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป 📣ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพ เพื่อป้องกันอันตรายที่ส่งผลต่อสุขภาพหรือชีวิตสุขภาพโควิด 201965011215207• 16 วันที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยจริงหรือไม่ห้ามใช้น้ำนมแม่หยอดตาเด็ดขาด!"❌ ห้ามใช้น้ำนมแม่หยอดตาเด็ดขาด! ❌ น้ำนมแม่จะมีสารเสริมภูมิคุ้มกัน เช่น Secretory IgA และ Human Milk Oligosaccharides ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อในทารก แต่การนำมาหยอดตาไม่ใช่ทางเลือกที่ปลอดภัยเลยค่ะ 👁️💧 เพราะน้ำนมแม่มีน้ำตาลแลคโตสสูง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของเชื้อโรค 🦠 และอาจทำให้การติดเชื้อลุกลามจนรุนแรงถึงขั้นสูญเสียดวงตาได้ จักษุแพทย์แนะนำว่า หากมีปัญหาดวงตา ไม่ควรใช้น้ำนมแม่หยอดตา เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มเติมมากกว่าช่วยรักษา! 🩺 หากมีอาการระคายเคืองหรือเจ็บตา ควรทำตามคำแนะนำง่าย ๆ ดังนี้: • ล้างตาด้วยน้ำอุ่น 🧴 • ใช้น้ำตาเทียมเพิ่มความชุ่มชื้น 💧 • หลีกเลี่ยงการสัมผัสดวงตาด้วยมือที่ไม่สะอาด 🚫🤲 • หากอาการไม่ดีขึ้น รีบพบแพทย์ทันทีเพื่อการรักษาที่เหมาะสมนะคะ 👩⚕️👨⚕️ อย่าเสี่ยงกับดวงตาของคุณ เพราะความเชื่อผิด ๆ นะคะ 💙 ที่มา: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข #อย่าใช้น้ำนมแม่หยอดตา #สุขภาพตาสำคัญ #ข้อมูลสุขภาพ #กรมการแพทย์ #มมส #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมมหาวิทยาลัยมหาสารคาม #นิเทศมมสสุขภาพนอ นอ• 17 วันที่แล้ว
- 1 คนสงสัยอาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่สุดจริงหรือไม่?อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวันจริง จากการสัมภาษณ์ เภสัชกรชาย ณภัทร นวลสกุลกฤป เภสัชกรประจำร้านขายยาในจังหวัดมหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลว่า อาหารเช้ายังคงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากร่างกายของเราไม่ได้รับพลังงานในช่วงเวลานอนหลับ ตั้งแต่มื้อเย็นจนถึงเช้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยาวนาน ดังนั้นการรับประทานอาหารเช้าจึงช่วยเติมพลังงานให้กับร่างกาย นอกจากนี้ การรับประทานอาหารเช้ายังช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นได้ดีขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ที่ส่งผลดีต่อสมาธิ ความจำ ทางตรงกันข้าม การขาดอาหารเช้าส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและยาว โดยเภสัชกรณภัทรได้กล่าวว่า การอดอาหารเช้าอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ร่างกายอ่อนเพลีย สมาธิและความจำลดลง รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานและภาวะอ้วน เนื่องจากร่างกายเกิดการปรับตัวที่ผิด ส่งผลให้การเผาผลาญพลังงานผิดปกติ ดังนั้นการไม่ละเลยมื้อเช้าจะช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีในระยะยาวได้ ทั้งนี้ เภสัชกรณภัทรยังได้แนะนำว่า “การรับประทานอาหารเช้าควรให้ความสำคัญกับการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ อาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง อาจทำให้เราไม่ได้รับประโยชน์จากมื้อเช้าอย่างเต็มที่ ควรเลือกอาหารที่ให้พลังงานอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว” (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2567)สุขภาพภาคอีสานTlamon• 17 วันที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยจริงหรือไม่ ? บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนในปัจจุบัน จากผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนไทย จำนวน 40,164 คน ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 - 27 พฤษภาคม 2567 พบว่า เยาวชนยังมีความเชื่อว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนถึง 50.2% และยังมีความเชื่อว่า นิโคตินเป็นสารที่ทำให้ร่างกายตื่นตัวส่งผลดีต่อสุขภาพ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อที่ผิดและยังขาดความรู้ ความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ระบบทางเดินหายใจ สมอง และ หัวใจ ( แหล่งข้อมูล https://hed.go.th/ ) จากการสัมภาษณ์ เภสัชกร ณภัทร นวลสกุลกฤป เภสัชกร ประจำร้านเภสัชกรอิ่ม จังหวัดมหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลว่า อันตรายจากบุหรี่ไฟฟ้า และ บุหรี่มวน มีความอันตรายไม่ต่างกัน ในหลาย ๆ แง่มุม บุหรี่ไฟฟ้าก็มีความอันตรายมากกว่า และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีภาวะโรคใหม่ที่เกิดขึ้นคือ ภาวะโรคปอดอักเสบจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และจากการทดสอบเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า และ ไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้า พบว่าในผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีสาร Vitamin E Acetate อยู่ในปอดจำนวนมาก แต่ผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีสารชนิดนี้เลย ทำให้ตั้งข้อสังเกตได้ว่าสารชนิดนี้มีส่วนที่สร้างความเสียหายแก่ปอด และถูกยืนยันจากบทความของ การวิจัยทางเคมีในพิษวิทยา จาก ACS Publications เว็บไซต์ฐานข้อมูลบทความ และ งานวิจัยต่าง ๆ ทางด้านเคมีและสาขาที่เกี่ยวข้อง ( แหล่งข้อมูล https://pubs.acs.org/doi/10.1021/acs.chemrestox.1c00309 ) เภสัชกร ณภัทร นวลสกุลกฤป ยังกล่าวอีกว่า นิโคตินไม่ใช่สารก่อมะเร็ง แต่ว่าเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเติบโตได้ดีมากขึ้น สารนิโคตินจึงเป็นสารที่สร้างความเสียหาย และ เพิ่มความเสี่ยงต่อระบบต่างๆ เช่น เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวกับสมอง เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และ เสี่ยงต่อโรคไขมันต่าง ๆ ที่เป็นโรคเรื้อรัง ดังนั้น บุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้อันตรายน้อยกว่า บุหรี่มวน ผู้เชี่ยวชาญเลยแนะนำไม่ให้สูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้า และ บุหรี่มวนสุขภาพภาคอีสาน64011215088• 18 วันที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยการใส่หูฟังนานๆทำให้หูหนวกได้จริงไหม!จริงไหมครับที่ใส่หูฟังนานๆบ่อยๆจะทำให้หูเราหนวกสุขภาพ65011215028• 18 วันที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยดื่มน้ำคลอโรฟิลล์ ช่วยรักษาสิวจริงไหมคะเคยเห็นโพสในติ้กต้อกจากต่างประเทศ เขาฮิตกินน้ำคลอโรฟิลล์ เพราชื่อว่าจะสามารถช่วยรักษาสิวได้เลยสงสัยว่าจริงหรือไม่จริงสุขภาพความสวยความงามApinya• 18 วันที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยกินวุ้นเส้นแทนข้าวลดน้ำหนักได้จริงไหมคะคือเพื่อนเราที่กำลังลดน้ำหนักอยู่ เขาบอกว่าถ้ากินวุ้นเส้นจะทำให้น้ำหนักลงเร็วกว่ากินข้าวน่ะค่ะ แต่เราเคยอ่านเจอว่ากินวุ้นเส้นไม่ได้ช่วยอะไรขนาดนั้น สรุปแล้วการกินวุ้นเส้นช่วยลดน้ำได้จริงไหมคะสุขภาพลดความอ้วนjeer.jx22• 18 วันที่แล้ว4 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบmeter: mostly-true--middle2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยการดื่มน้ำมะนาวช่วยให้ก้างปลาที่ติดคออ่อนนุ่มและหลุดง่ายจริงหรือไม่?พอดีได้ยินคนแนะนำมาว่าน้ำมะนาวมีฤทธิ์เป็นกรดสามารถทำให้ก้างปลาอ่อนนุ่มและหลุดได้ง่ายขึ้น เลยอยากรู้ว่าเป็นความจริงไหมคะ?สุขภาพ65011215134• 19 วันที่แล้วmeter: false2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยจริงหรือไม่การดื่มน้ำในปริมาณมากจะช่วยขับโซเดียมในร่างกายได้ในบนโลกโซเชียลมีข้อโต้แย้งกันในเรื่องของสุขภาพ การดื่มเยอะๆที่สามารถขับโซเดียมออกจากร่างกายโซเดียมเจือจางลงแต่ก็มีบางกลุ่มออกมาพูดว่าอาจจะส่งผลอันตรายต่อไตได้โดยเฉพาะคนที่ป่วยเป็นโรคไตอาจจะทำให้ไตวายเฉียบพลันและผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันถ้าดื่มน้ำในปริมาณที่เยอะทำให้ความดันขึ้นหรือน้ำท่วมปอดสุขภาพความสวยความงามยาสมุนไพรลดความอ้วน65011215061• 20 วันที่แล้วmeter: false1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยกีฬาแบดมินตัน เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันจริงหรือไม่?กีฬาแบดมินตันเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้จริงหรือไม่? จากการสัมภาษณ์คุณพีระ นนทะคำจันทร์ นักวิชาการศึกษา โรงพยาบาลสุทธาเวช และนักกีฬาแบดมินตันของทีมบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ได้ให้ข้อมูลว่า กีฬาแบดมินตันเป็นกีฬาที่มีความเข้มข้นสูงและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้จริง เนื่องจากลักษณะของกีฬาแบดมินตันต้องเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่เข้มข้น ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับการออกกำลังกายแบบ HIIT (High-Intensity Interval Training) ซึ่งสามารถทำให้อัตราการเต้นของหัวใจพุ่งสูงถึง 170-180 ครั้งต่อนาที หากผู้เล่นมีโรคประจำตัวซ่อนอยู่ อัตราการเต้นของหัวใจที่สูงมากอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการเล่นกีฬาแบดมินตันหรือกีฬาชนิดอื่นๆที่มีจะต้องมีการขยับร่างกายอย่างรวดเร็วและมีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงในระยะเวลาอันสั้นหรือกีฬาที่จะต้องรับแรกกระแทกในการเล่น ก็สามารถก่อให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้จริง สนามกีฬาทุกแห่งจึงควรมีเครื่อง AED หรือเครื่องกระตุกไฟฟ้าอัตโนมัติ ที่สามารถใช้ช่วยผู้ป่วยที่หมดสติและหัวใจวายฉับพลันขณะเล่นกีฬา ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED -เปิดเครื่อง AED ติดแผ่นแพดแผ่นแรกที่หน้าอกตอนบน และแผ่นที่สองที่หน้าอกตอนล่าง (ทำตามคำแนะนำบนเครื่อง) ให้เครื่องวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ ห้ามสัมผัสผู้ป่วยระหว่างนี้ -หากเครื่องแนะนำให้กดปุ่ม “Shock” ให้กดปุ่มนี้โดยห้ามสัมผัสผู้ป่วย และทำ CPR ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 นาที -หากเครื่องแนะนำว่า “สามารถสัมผัสผู้ป่วยได้” ให้ทำ CPR ทันที ควรทำ CPR อย่างต่อเนื่อง จนกว่าเครื่องจะเริ่มวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจอีกครั้ง ทุกนาทีที่ผ่านไปมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรอดชีวิตสุขภาพwararat.bs• 21 วันที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยรับประทาน“เนื้อแดง”ในปริมาณมากเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้จริงหรือไม่ ?การรับประทานเนื้อแดงมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเป็นแหล่งสำคัญของโปรตีน สังกะสี เหล็ก และวิตามิน หากบริโภคเนื้อแดงในปริมาณมากเกินไป จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ โดยเฉพาะเนื้อแดงแปรรูป เช่น ไส้กรอกและเบคอน (ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Red-Meat) มีการรายงานว่าการกินเนื้อแดงและเนื้อแปรรูปในปริมาณที่มากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ โดยที่เนื้อแดงแปรรูป จัดเป็นกลุ่มของสารก่อมะเร็งเดียวกันกับบุหรี่ แต่ไม่ได้มีอันตรายเท่ากับสารเหล่านี้ ส่วน เนื้อแดง เป็นกลุ่ม 2A คือ กลุ่มสามารถก่อมะเร็งในตัวมนุษย์ (ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://thaicancersociety.com/does-meat-cause-cancer/) จากการสัมภาษณ์ อ.ดร.นิจฉรา ทูลธรรม อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ให้ข้อมูลว่า “อาหารที่ทำมาจากเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป ถ้านำมาใช้ไฟในการทำอาหาร เช่น ปิ้ง ย่าง ทอด ต้ม ลวก หากรับประทานมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อ การเกิดมะเร็งลำไส้ ได้แต่ก็ยังสามารถรับประทานเนื้อแดงได้ แต่ให้จำกัดปริมาณการรับประทาน” (สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567) ทั้งนี้ อ.ดร.นิจฉรา ทูลธรรม ได้ให้คำแนะนำในการรับประทานสัตว์เนื้อแดง ดังกล่าวว่า ควรรับประทานเนื้อแดงไม่เกินสัปดาห์ละ 500 กรัม ควรรับประทานเนื้อแดงแปรรูปไม่เกินวันละ 50 กรัม ดังนั้น ไม่ควรงดรับประทานเนื้อแดงแต่ควรรับประทานในปริมาณที่แนะนำเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง และ รับประทานโปรตีนจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม เช่น ไข่ เต้าหู้ และถั่ว รวมทั้งการรับประทานอาหารให้มีความหลากหลายมากขึ้นสุขภาพมะเร็งtenboomz123456• 22 วันที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยเข้าวัด ฟังธรรม นั่งสมาธิ รักษาโรคซึมเศร้าได้จริงหรือไม่ภาวะซึมเศร้าเป็นสภาวะทางอารมณ์ที่ซับซ้อนและมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันไป การเข้าใจความแตกต่างระหว่างภาวะซึมเศร้ากับความเครียดทั่วไปจึงเป็นสิ่งสำคัญ ภาวะเครียดที่เกิดจากเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น การอกหัก อาจทำให้เกิดความรู้สึกเศร้าและเบื่อหน่ายได้ชั่วคราว แต่โดยทั่วไปแล้วอาการเหล่านี้จะค่อยๆ ทุเลาลงเมื่อเวลาผ่านไป และสามารถจัดการได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ การพูดคุยกับผู้อื่น หรือการฝึกสติ อย่างไรก็ตาม ภาวะซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่มีเกณฑ์การวินิจฉัยที่ชัดเจน โดยผู้ป่วยจะต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อาการจาก 9 อาการหลัก เช่น อารมณ์เศร้า เบื่อหน่าย การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินและการนอนหลับ ความรู้สึกผิดหวังกับตนเอง และความคิดอยากทำร้ายตนเอง เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ภาวะซึมเศร้าสามารถแบ่งและการประเมินระดับความรุนแรงของอาการ การประเมินอาการซึมเศร้าจะช่วยให้ทราบว่าอาการของแต่ละบุคคลรุนแรงมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม โดยทั่วไปแล้ว อาการซึมเศร้าจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับน้อย: ผู้ป่วยจะมีอาการบางส่วนที่ตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัย แต่ยังสามารถทำงานและดำเนินชีวิตประจำวันได้ ระดับปานกลาง: ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้น ทำให้การทำงานและการเข้าสังคมเป็นไปด้วยความยากลำบาก ระดับรุนแรง: ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากที่สุด อาจมีอาการหลงผิด ประสาทหลอน และมีความคิดทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น การรักษาเศร้าเล็กน้อย ปานกลาง และรุนแรง ซึ่งแต่ละระดับจะมีความรุนแรงของอาการและผลกระทบต่อชีวิตประจำวันแตกต่างกันไป สำหรับผู้ที่มีอาการซึมเศร้าระดับเบาถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการฝึกสติอาจช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การพักผ่อนให้เพียงพอ และการฝึกการรับรู้ถึงความรู้สึกในปัจจุบัน ในพาร์ทของ การให้คำปรึกษาและการทำจิตบำบัดนั้น มีหลากหลายแนวทางที่แตกต่างกันออกไป หนึ่งในแนวทางที่น่าสนใจคือ การให้คำปรึกษาที่อิงหลักการใช้สติ (Mindfulness-based therapy) ซึ่งเป็นการนำหลักการของการฝึกสติและสมาธิมาประยุกต์ใช้ในการช่วยเหลือคนไข้ อย่างไรก็ตาม การให้คำปรึกษาที่เน้นใช้สติบำบัดนี้เป็นเพียงหนึ่งในทางเลือกที่หลากหลายเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากอาการซึมเศร้ามีความรุนแรงมากขึ้น การใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์และการเข้ารับการบำบัดทางจิตวิทยาเป็นสิ่งจำเป็น โดยการรักษาภาวะซึมเศร้าขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการและปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง วิธีการรักษาที่พบบ่อย ได้แก่ การใช้ยา: ยาต้านเศร้าช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคซึมเศร้า การทำจิตบำบัด: ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจและจัดการกับความคิดและอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม: เช่น การออกกำลังกาย การทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต การให้คำปรึกษา: การพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อรับฟังปัญหาและหาแนวทางแก้ไข สำหรับผู้ที่กำลังประสบปัญหาภาวะซึมเศร้า ขั้นตอนแรกที่สำคัญคือการประเมินระดับความรุนแรงของอาการ เพื่อให้สามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมได้ ปัจจุบันมีเครื่องมือประเมินอาการซึมเศร้าออนไลน์มากมายที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ผู้ที่สงสัยว่าตนเองอาจมีอาการซึมเศร้าสามารถทำแบบประเมินเหล่านี้เบื้องต้นได้ และหากผลออกมามีปัญหาสามารถติดต่อเครือข่ายสำหรับนักศึกษา มมส สามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่เครือข่ายสุขภาพจิตมมสเบอร์ 0850104544 หรือสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ซึ่งมีบริการตลอด 24 ชั่วโมงโดยนักจิตวิทยา แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นควรจะพบจิตแพทย์ ที่คลีนิคสุขภาพจิต โรงพยาบาลสุทธาเวช ภาวะซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องและต่อเนื่อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับมามีชีวิตที่ปกติสุขได้อีกครั้ง การสังเกตอาการของตนเองและการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเมื่อมีอาการที่น่าสงสัย เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาโรคซึมเศร้าสุขภาพ65011215023• 23 วันที่แล้ว1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบmeter: middle1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยเราสามารถใช้ธูปจี้ที่หูดเพื่อรักษาได้ด้วยหรอคะ ?พบคนแชร์วิธีรักษาหูดด้วยการจี้รักษาหูดด้วยธูป เขากล่าวว่า เป็นวิธีที่รักษาได้ง่าย ๆ ฉบับคุณแม่สุขภาพYotsawan Suksom• 23 วันที่แล้ว3 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบmeter: false2 ความเห็น
- 1 คนสงสัยชาเขียวช่วยลดน้ำหนักได้จริงไหมเนื่องจากได้เห็นมาจากคลิปบนหลาย ๆ แพลตฟอร์มที่ทำการรีวิวชาเขียวลดน้ำหนัก อีกทั้งเชิญชวนและมีการโฆษณาให้ลองทาน มีเพียงแค่การบอกสรรพคุณคร่าว ๆ ไม่ได้บอกถึงข้อควรระวังไว้ด้วย อยากทราบว่าชาเขียวนั้นสามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่สุขภาพลดความอ้วน• 25 วันที่แล้วmeter: middle1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยยาพาราเซตามอลกินดักไข้เสี่ยงอันตรายจริงหรือไม่?เราพบเห็นคลิปจากช่องทาง เลมอน8 ที่เล่าเกี่ยวกับกินยาดักไข้ อันตรายกว่าที่คิด และเพื่อนก็เคยทำ จึงเกิดความสงสัยว่าทำไมคนเราทำกัน นั้นทำให้เราอยากรู้ว่าการกินยาพาราเซตามอลเพื่อดักไข้ ทำได้จริงหรือไม่ เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยหรือแค่ความเชื่อที่อาจเป็นอันตรายกับสุขภาพเราสุขภาพfapathan• 25 วันที่แล้วmeter: true1 ความเห็น
- 1 คนสงสัยน้ำมันมะพร้าวช่วยรักษาและลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจเราพบเห็นคลิปจากช่องทางติ๊กตอก และโพสต์จากเพจเฟซบุ๊คที่เล่าเกี่ยวกับกินน้ำมันมะพร้าว โดยอ้างสรรพคุณว่ามีน้ำมันมะพร้าวช่วยรักษาและลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ จึงเกิดความสงสัยว่าสรรพคุณที่เล่าถึงนั้น ทำได้จริงหรือไม่เพื่อเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยหรือแค่ความเชื่อที่อาจเป็นอันตรายกับสุขภาพเราสุขภาพ• 1 เดือนที่แล้ว