1 คนสงสัย
14 ล้านเสียงเลือกพรรคก้าวไกล ไม่ใช่ “เสียงส่วนใหญ่” ของประชาชน?
ผลการเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566 ถูกผู้ใช้โซเชียลมีเดียตีความไปหลายแนวทาง หนึ่งในนั้นคือการตีความว่าการที่พรรคก้าวไกลได้คะแนนบัญชีรายชื่อสูงที่สุดคือ 14,438,851 คะแนน ไม่ได้แปลว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเลือกหรือสนับสนุนพรรคก้าวไกล เพราะประชากรไทยมีทั้งหมดราว 66 ล้านคน ซึ่งโคแฟคตรวจสอบพบว่า เป็นการตีความโดยใช้ข้อมูลที่ไม่สอดคล้องตามหลักเกณฑ์การประมวลผลการเลือกตั้งของสำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) และละเลยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้ง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดที่อาจนำไปสู่การไม่ยอมรับผลการเลือกตั้้ง
std47965
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    ก้าวไกล มีมติ ไม่ร่วมรัฐบาลกับพลังประชารัฐ-พรรครวมไทยสร้างชาติ
    วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พรรคก้าวไกลได้จัดประชุม ส.ส.ผ่านทางออนไลน์ เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน และการกำหนดทิศทางการร่วมรัฐบาลของพรรคก้าวไกล ได้ข้อสรุปว่า พรรคก้าวไกลยืนยันจะไม่ร่วมรัฐบาลที่มีพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ด้วยเหตุผลต่อไปนี้ 1.เป็นที่แน่ชัดว่าพรรคพลังประชารัฐมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรค และพรรครวมไทยสร้างชาติมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ซึ่งทั้งสองเป็นหัวหอกหลักในการยึดอำนาจ ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ซ้ำยังมีกระบวนการสืบทอดอำนาจตนเองผ่านรัฐธรรมนูญ 2560 ด้วยกลไกและองค์กรสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน 2.พรรคก้าวไกลมีจุดยืนชัดเจนต่อประเด็นการสืบทอดอำนาจ และประกาศตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2565 ว่าจะไม่จับมือกับพรรคการเมืองที่สืบทอดอำนาจ และได้ประกาศย้ำต่อประชาชนในทุกรายการ ทุกเวทีหาเสียงเลือกตั้ง 3.ผลการเลือกตั้งเมื่อ 14 พฤษภาคม เป็นการประกาศเจตจำนงของประชาชนที่ชัดเจนว่าต้องการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล ด้วยการลงคะแนนเสียงเลือกพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยจนชนะเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 เมื่อรวมกันได้ 8 พรรคการเมืองที่มีแนวทางยุติการสืบทอดอำนาจ ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรถึง 312 จาก 500 ที่นั่ง และมีคะแนนดิบสูงถึง 27 ล้านเสียง ไม่มีอะไรชัดเจนไปกว่านี้ว่าประชาชนต้องการพลิกขั้วเปลี่ยนข้างรัฐบาล ดังนั้น เป้าหมายสูงสุดของเราในฐานะพรรคอันดับ 1 คือการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ให้สำเร็จเพื่อหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลเดิม 4.แม้กลไก ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. จะสกัดขัดขวาง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกล ทำให้พรรคก้าวไกลไม่สามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่เรายืนยันว่าสิ่งสำคัญในวันนี้ ไม่ใช่พิธาเป็นนายกรัฐมนตรี หรือก้าวไกลเป็นรัฐบาล แต่คือการจัดตั้งรัฐบาลที่ประกอบด้วย 8 พรรคตามมติประชาชน พรรคก้าวไกลจึงเปิดทางให้พรรคอันดับสองคือพรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เดินหน้าหาเสียงสนับสนุนตามที่ปรากฏเป็นข่าว 5.แม้การจัดตั้งรัฐบาลให้ได้โดยเร็วที่สุด จะมีความสำคัญต่อการเดินหน้าแก้ไขปัญหาของประชาชน แต่เราเห็นว่าการจัดตั้งรัฐบาลที่บิดเบือนเจตนารมณ์ของประชาชนซึ่งสะท้อนผ่านผลการเลือกตั้ง จะนำไปสู่วิกฤตศรัทธาของประชาชนต่อระบอบประชาธิปไตย จนอาจยากต่อการเรียกกลับคืน
    std46768
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    คนไทยอึ้ง 'กัมพูชา' งัดหลักฐาน ‘ทิม - พิธา’ เป็นคนเขมร
    หัวจะปวด นักเคลมในตำนาน ‘กัมพูชา’ งัดหลักฐานประวัติ พร้อมรูปถ่าย ‘ทิม พิธา’ เป็นคนเขมร ลูกหลานเมืองพระตะบอง งานนี้คนไทยถึงกับอึ้ง แน่นอนว่าสิ่งที่กำลังเป็นสนใจมากที่สุดในเวลานี้ คือ เรื่องการเมือง และผู้ถูกจับตามอง คงหนีไม่พ้น “ทิม-พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้แถลงชัยชนะผลการเลือกตั้ง 2566 พร้อมส่งให้เขา เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ล่าสุดกลายเป็นประเด็นร้อนระอุในโลกโซเชียลฯ เมื่อมีคนตาดีเห็นว่าชาวเน็ตกัมพูชา ได้โพสต์รูปที่เจ้าตัวแคปมาจากอินสตาแกรมส่วนตัว พร้อมโพสต์ข้อความในเชิงอ้างว่า ว่าที่นายกฯ คนใหม่ของไทย มีเชื่อสายเขมร การกระทำของดังกล่าว ถือเป็นการขายชาติ “ในการเมืองไทย มีการเลือกตั้งไปเมื่อวานนี้ ทิม พิธา แคนดิเดตนายกฯ ของพรรคก้าวไกล ที่ได้รับเลือกมาเป็นอันดับ 1 อาจจะมีเชื้อสายเขมรอยู่” “จากภาพที่ทิม พิธา ได้โพสต์ เป็นภาพของโรงเรียนในเขมรปี 2019 บอกว่าคุณย่าของเขาเคยอยู่ที่นี่เมื่อเกือบ 100 ปีก่อน” “เป็นหลานของบุคคลสำคัญของจังหวัดพระตะบอง เมื่อประมาณ 100 ปีก่อน” งานนี้ทำให้โพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจจากโซเชียลฯ เป็นจำนวนมาก อีกทั้งตั้งคำถามกับเจ้าของโพสต์ว่า นี่เป็นเพียงแค่การปั่นกระแส หรือมีความคิดเช่นนั้นจริง ๆ ขณะที่อีกฟากมองสิ่งดี ๆ เป็นกระแสของชาวไทย มักถูกเคลมเสมอ
    Arin Arinchaya
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false