ข้อความด้านล่างนี้ส่งต่อกันทางไลน์มาหลายกลุ่ม ไม่มีที่มาที่ไป เข้าไปดู line และ fb ของโรงพยาบาลศิริราชแล้วก็ไม่พบเจอ
ขอความกรุณาช่วยตรวจสอบให้ด้วยว่าจริงไหม
................
แจ้งข่าวจากรพ.ศิริราชครับ เรียนคณบดี ผู้บริหาร หัวหน้าภาคฯ อาจารย์ แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่าน
วันนี้ทีมผอ รองผอ ร่วมกับทีมวิศวกรรมศิริราช วิศวะมหิดล วิศวะเกษตร สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย
บริษัท PAC บริษัท Meinhard บริษัท วและสหาย บริษัท KLA บริษัท power line บริษัทกรีไทย และบริษัท interpac ได้สำรวจอาคารในศิริราชทั้งวัน รวมถึงหอพัก 8 ไร่
ดำเนินการโดยวิศวะที่มีใบอนุญาตรับรองการตรวจสำรวจ และแบ่งทีมออกสำรวจทั้งหมด 8 ทีม
ผลสำรวจอาคารทั้งหมดที่ได้สำรวจ เป็นดังนี้
1. พบตำแหน่งจุดวิกฤตมาก (สีแดง) ได้แก่
ก. ทางเชื่อมระหว่างตึกสยามินทร์ชั้น 6 กับตึกเฉลิมพระเกียรติฯ
ข. ทางเชื่อมระหว่างตึกสยามินทร์(ห้องผ่าตัด)ชั้น 3 กับตึกเฉลิมพระเกียรติ
ทั้งสองจุดมีความเสี่ยงสูงมากในการหลุดร่วงทั้งทางเชื่อมตกลงมาชั้น 1 (ทั้งสองทางเชื่อม) (ถ้าไปยืนดูจะเห็นว่าแกว่งอยู่ตลอดเวลา) ซึ่งจะทะลุลงหลังคามายังทางเดินชั้น 1 ระหว่างตึกทั้งสอง
จึงต้องปิดตั้งแต่ทางเดิน **ห้ามผ่านเด็ดขาด** ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
แผนการแก้ไข จะเริ่มเข้ามาจัดการรื้อหลังคา ตั้งนั่งร้าน ตัดทางเชื่อม โรยส่งลงชั้นล่าง ทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 1.5 เดือน (เริ่มพรุ่งนี้)
ผลกระทบ
1.ปิดช่วงทางเดินระหว่างตึกสยามินทร์และตึกเฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่ทางลงบันไดไปชั้น B1 ในด้านศิริราชมูลนิธิ จนถึงทางขึ้น ramp ฝั่งด้านตึกกายวิภาคฯ
2.บุคลากรจะต้องเดินผ่านขึ้นบันไดข้างตึกศิริราชมูลนิธิ ผ่านไปลงที่ ramp
3.การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยรถนั่ง เปลนอน รถเข็นต่างๆ ขึ้นทาง ramp
4.จะรีบดำเนินการสร้าง ramp ชั่วคราวพาดบันไดและเชื่อมไปบริเวณสนามหญ้าหน้าศิริราชมูลนิธิ เพื่อใช้ในการเคลื่อนย้ายรถนั่ง เปลนอน
ได้นำเรียนถึงความจำเป็นของการดำเนินการแผนนี้ต่อศิริราชมูลนิธิแล้ว ซึ่งจะมีแผนย้ายจุดรับบริจาคกลับมายังตึกมหิดลบำเพ็ญใหม่อีกครั้ง
2. ตำแหน่งจุดวิกฤตปานกลาง (สีเหลือง) ได้แก่
ก.ทางเชื่อมระหว่างตึกพระศรี 100 ปีและตึกโกศล
พบว่าโครงสร้างตึกแข็งแรง แต่พบว่ามีพื้นผิวแผ่นปูนตกลงมาที่ทางเดิน และจะมีโอกาสตกเพิ่มขึ้น
การแก้ไข วันนี้เริ่มตั้งนั่งร้านขึ้นแก้ผิวฉาบ แต่ต้องระมัดระวังสายต่างๆที่เชื่อมโยง ใช้เวลาดำเนินการ 5 วัน
ในระหว่างนี้จะปิดกันทางเดินตั้งแต่ทางออกตึกพระศรี (ข้างร้าน ณ ศิริราช) ที่ต้องเดินผ่าน ramp และซอกทางเดินระหว่างสองตึกนี้ เนื่องจากเศษปูนมีชิ้นใหญ่มาก ให้เดินผ่านทางหน้าร้าน S&P แทน
ข.หอพัก 8 ไร่
จากการตรวจสอบภายในตัวอาคารทั้งสองตึก (ตรวจทุกชั้นรวมที่จอดรถ) ไม่กระทบโครงสร้างใด ๆ เป็นเพียงรอยร้าวของผนังฉาบ
แต่พบว่าด้านนอกของอาคาร A&B ด้านปลายทั้งสองฝั่งของทั้งสองตึก มีเศษปูนชิ้นใหญ่ที่สามารถร่วงหล่นลงมา ตึก A จะร่วงลงที่จอดรถด้านนอก ด้านสถานีรถไฟและอีกด้านเป็นด้านคนเดินเข้าตึก ตึก B เป็นด้านติดกับวัดและด้านที่เป็นที่จอดรถหน้าศูนย์ฟอกเลือด
การแก้ไข จะต้องโรยตัวลงมากระเทาะพื้นผิวทั้ง 4 ฝั่ง ฉาบพื้นผิวใหม่
ผลกระทบ จะกั้นพื้นที่ช้้น 1 ห้ามจอดรถ ห้ามเดินผ่าน และเข้าแจ้งให้ทางวัดทราบ
3. จุดที่พบว่า ไม่พบความเสียหายต่อโครงสร้างหลัก (สีเขียว) อาคารที่สำรวจมีความปลอดภัยในการใช้งาน ยืนยันไม่มีผลต่อโครงสร้าง
ก.ตึกที่พบว่าเป็นการแตกร้าวของผนังฉาบหลายชั้น ได้แก่ ตึกนวมินทรฯ ตึกเฉลิมพระเกียรติฯ ตึกศรีสวรินทราฯ
ซึ่งจะดำเนินการเข้าพื้นที่เพื่อซ่อมแซม แก้พื้นผิว ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ ไล่ตามตึกที่แจ้ง
ข.กระเบื้องห้องน้ำหอผู้ป่วยนวมินฯ 12 ที่กำลังจะหลุด 3 ห้อง และที่แขวนทีวี
ได้ดำเนินแก้ไขวันนี้แล้ว
ค.ฝ้าที่มีความเสี่ยงหลุดร่วงที่โถงตึกศรีสวรินฯ ชั้น 1 ได้ดำเนินการแก้ไขวันนี้แล้ว
(วันนี้มีระดับคนงานจากภายนอกมาเตรียมพร้อมแก้ไขหน้างานเลยประมาณ 30 คน)
ง.แผ่นผนังกระเบื้องหินหลังพระรูปปั้นสมเด็จย่า มีความเสี่ยงที่จะหลุดร่วงทั้งสองแผ่น จะรีบดำเนินการแก้ไขในวันพรุ่งนี้
จ.ทางเชื่อมระหว่างศูนย์โรคหัวใจและตึกนวมินฯ มีความแข็งแรงปกติ
ในการสำรวจมีการลงนามรับรองในส่วนสีเขียวโดยวิศวกร
จึงเรียนมาเพื่อให้ทุกท่านได้เกิดความมั่นใจ และโปรดประชาสัมพันธ์ให้ทุกหน่วยงานทราบถึงผลการสำรวจดังกล่าว ตลอดจนความจำเป็นในการปิดทางสัญจรทางช่่วง ขอบคุณมากครับ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช สรุปว่าตั้งแต่ 1 เมษายน 2568
1. ทางเข้าออกปัจจุบัน(ก่อน 1 เมษายน) ยังเหมือนเดิม ยกเว้นกรณีรถมาจากท่าน้ำวิ่งมาสี่แยกศิริราช ห้ามเลี้ยวขวาเข้าประตู 1 (ประตูตึกอุบัติเหตุ)
2. เพิ่มทางเข้าด้านตึกสลากสำหรับรถที่มาจากสะพานอรุณอัมรินทร์สามารถเลี้ยวซ้ายเข้าประตู 4 ได้
ขอความกรุณาช่วยตรวจสอบให้ด้วยว่าจริงไหม
................
แจ้งข่าวจากรพ.ศิริราชครับ เรียนคณบดี ผู้บริหาร หัวหน้าภาคฯ อาจารย์ แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทุกท่าน
วันนี้ทีมผอ รองผอ ร่วมกับทีมวิศวกรรมศิริราช วิศวะมหิดล วิศวะเกษตร สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย
บริษัท PAC บริษัท Meinhard บริษัท วและสหาย บริษัท KLA บริษัท power line บริษัทกรีไทย และบริษัท interpac ได้สำรวจอาคารในศิริราชทั้งวัน รวมถึงหอพัก 8 ไร่
ดำเนินการโดยวิศวะที่มีใบอนุญาตรับรองการตรวจสำรวจ และแบ่งทีมออกสำรวจทั้งหมด 8 ทีม
ผลสำรวจอาคารทั้งหมดที่ได้สำรวจ เป็นดังนี้
1. พบตำแหน่งจุดวิกฤตมาก (สีแดง) ได้แก่
ก. ทางเชื่อมระหว่างตึกสยามินทร์ชั้น 6 กับตึกเฉลิมพระเกียรติฯ
ข. ทางเชื่อมระหว่างตึกสยามินทร์(ห้องผ่าตัด)ชั้น 3 กับตึกเฉลิมพระเกียรติ
ทั้งสองจุดมีความเสี่ยงสูงมากในการหลุดร่วงทั้งทางเชื่อมตกลงมาชั้น 1 (ทั้งสองทางเชื่อม) (ถ้าไปยืนดูจะเห็นว่าแกว่งอยู่ตลอดเวลา) ซึ่งจะทะลุลงหลังคามายังทางเดินชั้น 1 ระหว่างตึกทั้งสอง
จึงต้องปิดตั้งแต่ทางเดิน **ห้ามผ่านเด็ดขาด** ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
แผนการแก้ไข จะเริ่มเข้ามาจัดการรื้อหลังคา ตั้งนั่งร้าน ตัดทางเชื่อม โรยส่งลงชั้นล่าง ทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 1.5 เดือน (เริ่มพรุ่งนี้)
ผลกระทบ
1.ปิดช่วงทางเดินระหว่างตึกสยามินทร์และตึกเฉลิมพระเกียรติ ตั้งแต่ทางลงบันไดไปชั้น B1 ในด้านศิริราชมูลนิธิ จนถึงทางขึ้น ramp ฝั่งด้านตึกกายวิภาคฯ
2.บุคลากรจะต้องเดินผ่านขึ้นบันไดข้างตึกศิริราชมูลนิธิ ผ่านไปลงที่ ramp
3.การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยรถนั่ง เปลนอน รถเข็นต่างๆ ขึ้นทาง ramp
4.จะรีบดำเนินการสร้าง ramp ชั่วคราวพาดบันไดและเชื่อมไปบริเวณสนามหญ้าหน้าศิริราชมูลนิธิ เพื่อใช้ในการเคลื่อนย้ายรถนั่ง เปลนอน
ได้นำเรียนถึงความจำเป็นของการดำเนินการแผนนี้ต่อศิริราชมูลนิธิแล้ว ซึ่งจะมีแผนย้ายจุดรับบริจาคกลับมายังตึกมหิดลบำเพ็ญใหม่อีกครั้ง
2. ตำแหน่งจุดวิกฤตปานกลาง (สีเหลือง) ได้แก่
ก.ทางเชื่อมระหว่างตึกพระศรี 100 ปีและตึกโกศล
พบว่าโครงสร้างตึกแข็งแรง แต่พบว่ามีพื้นผิวแผ่นปูนตกลงมาที่ทางเดิน และจะมีโอกาสตกเพิ่มขึ้น
การแก้ไข วันนี้เริ่มตั้งนั่งร้านขึ้นแก้ผิวฉาบ แต่ต้องระมัดระวังสายต่างๆที่เชื่อมโยง ใช้เวลาดำเนินการ 5 วัน
ในระหว่างนี้จะปิดกันทางเดินตั้งแต่ทางออกตึกพระศรี (ข้างร้าน ณ ศิริราช) ที่ต้องเดินผ่าน ramp และซอกทางเดินระหว่างสองตึกนี้ เนื่องจากเศษปูนมีชิ้นใหญ่มาก ให้เดินผ่านทางหน้าร้าน S&P แทน
ข.หอพัก 8 ไร่
จากการตรวจสอบภายในตัวอาคารทั้งสองตึก (ตรวจทุกชั้นรวมที่จอดรถ) ไม่กระทบโครงสร้างใด ๆ เป็นเพียงรอยร้าวของผนังฉาบ
แต่พบว่าด้านนอกของอาคาร A&B ด้านปลายทั้งสองฝั่งของทั้งสองตึก มีเศษปูนชิ้นใหญ่ที่สามารถร่วงหล่นลงมา ตึก A จะร่วงลงที่จอดรถด้านนอก ด้านสถานีรถไฟและอีกด้านเป็นด้านคนเดินเข้าตึก ตึก B เป็นด้านติดกับวัดและด้านที่เป็นที่จอดรถหน้าศูนย์ฟอกเลือด
การแก้ไข จะต้องโรยตัวลงมากระเทาะพื้นผิวทั้ง 4 ฝั่ง ฉาบพื้นผิวใหม่
ผลกระทบ จะกั้นพื้นที่ช้้น 1 ห้ามจอดรถ ห้ามเดินผ่าน และเข้าแจ้งให้ทางวัดทราบ
3. จุดที่พบว่า ไม่พบความเสียหายต่อโครงสร้างหลัก (สีเขียว) อาคารที่สำรวจมีความปลอดภัยในการใช้งาน ยืนยันไม่มีผลต่อโครงสร้าง
ก.ตึกที่พบว่าเป็นการแตกร้าวของผนังฉาบหลายชั้น ได้แก่ ตึกนวมินทรฯ ตึกเฉลิมพระเกียรติฯ ตึกศรีสวรินทราฯ
ซึ่งจะดำเนินการเข้าพื้นที่เพื่อซ่อมแซม แก้พื้นผิว ตั้งแต่วันพรุ่งนี้ ไล่ตามตึกที่แจ้ง
ข.กระเบื้องห้องน้ำหอผู้ป่วยนวมินฯ 12 ที่กำลังจะหลุด 3 ห้อง และที่แขวนทีวี
ได้ดำเนินแก้ไขวันนี้แล้ว
ค.ฝ้าที่มีความเสี่ยงหลุดร่วงที่โถงตึกศรีสวรินฯ ชั้น 1 ได้ดำเนินการแก้ไขวันนี้แล้ว
(วันนี้มีระดับคนงานจากภายนอกมาเตรียมพร้อมแก้ไขหน้างานเลยประมาณ 30 คน)
ง.แผ่นผนังกระเบื้องหินหลังพระรูปปั้นสมเด็จย่า มีความเสี่ยงที่จะหลุดร่วงทั้งสองแผ่น จะรีบดำเนินการแก้ไขในวันพรุ่งนี้
จ.ทางเชื่อมระหว่างศูนย์โรคหัวใจและตึกนวมินฯ มีความแข็งแรงปกติ
ในการสำรวจมีการลงนามรับรองในส่วนสีเขียวโดยวิศวกร
จึงเรียนมาเพื่อให้ทุกท่านได้เกิดความมั่นใจ และโปรดประชาสัมพันธ์ให้ทุกหน่วยงานทราบถึงผลการสำรวจดังกล่าว ตลอดจนความจำเป็นในการปิดทางสัญจรทางช่่วง ขอบคุณมากครับ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช สรุปว่าตั้งแต่ 1 เมษายน 2568
1. ทางเข้าออกปัจจุบัน(ก่อน 1 เมษายน) ยังเหมือนเดิม ยกเว้นกรณีรถมาจากท่าน้ำวิ่งมาสี่แยกศิริราช ห้ามเลี้ยวขวาเข้าประตู 1 (ประตูตึกอุบัติเหตุ)
2. เพิ่มทางเข้าด้านตึกสลากสำหรับรถที่มาจากสะพานอรุณอัมรินทร์สามารถเลี้ยวซ้ายเข้าประตู 4 ได้