สธ.แนะ 3 วิธีหนีความเสี่ยงอันตรายหากนำไปใช้ในงานต่างๆ เลือกใช้แก๊สฮีเลียม ไม่เก็บในรถในที่ร้อน อย่ามัดรวมกันหลายลูก นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีเหตุการณ์ลูกโป่งอัดแก๊สระเบิดในรถ ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บถูกไฟไหม้ตามร่างกายนั้น จากข้อมูลเบื้องต้นพบมีการเสียบโทรศัพท์มือถือในรถ และมีลูกโป่งอยู่ในรถด้วย ซึ่งอาจเป็นลูกโป่งที่บรรจุด้วยแก๊สไฮโดรเจน (เป็นแก๊สที่ไวต่อประกายไฟ) โดยลูกโป่งอาจจะรั่ว ทำให้กลุ่มแก๊สลอยอยู่ภายในห้องโดยสารรถยนต์ เมื่อดึงสายชาร์จอาจทำให้สปาร์คและเกิดระเบิดได้ ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีเหตุระเบิดจากลูกโป่งอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากแก๊สที่บรรจุเข้าไปในลูกโป่งคือแก๊สไฮโดรเจน ที่มีความไวไฟสูง ติดไฟง่ายเมื่อกระทบความร้อนหรือประกายไฟ ทำให้เกิดการระเบิดได้ สำหรับลูกโป่งที่ขายในประเทศไทยโดยทั่วไป พบบรรจุแก๊ส 2 ชนิด คือ ไฮโดรเจน และฮีเลียม ความแตกต่างของแก๊ส 2 ชนิดนี้ คือ แก๊สไฮโดรเจนมีความไวไฟสูง ส่วนแก๊สฮีเลียมเป็นแก๊สเฉื่อย ไม่ติดไฟ แต่หากจำเป็นต้องใช้แก๊สไฮโดรเจน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการบรรจุและติดป้ายเตือนทุกครั้ง ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ประกาศให้ลูกโป่งบรรจุแก๊สไฮโดรเจนเป็นสินค้าควบคุมฉลาก ผู้จำหน่ายต้องติดคำเตือน “ห้ามนำเข้าใกล้เปลวไฟหรือความร้อน” นพ.สุวรรณชัยกล่าวว่า หากจะใช้งานลูกโป่งในสถานที่ซึ่งมีแสงไฟมาก เช่น จัดตกแต่งงานเลี้ยง งานฉลองต่างๆ ขอแนะนำ 3 วิธีเพื่อลดความเสี่ยงอันตรายจากลูกโป่งแตก ดังนี้ 1.เลือกลูกโป่งที่บรรจุด้วยแก๊สฮีเลียม ถึงแม้จะแพงกว่าแต่ปลอดภัยกว่า2.ไม่เก็บลูกโป่งที่อัดแก๊สไว้ในรถ ในที่อุณหภูมิสูง กลางแดด ใกล้หลอดไฟ ใกล้เปลวไฟ หรือความร้อน 3.ไม่ควรนำลูกโป่งมามัดรวมกันหลายลูก อาจทำให้เสียดสีและระเบิดได้ ทั้งขอเตือนผู้ปกครองดูแลบุตรหลานใกล้ชิด ส่วนผู้จัดงาน หากประดับตกแต่งลูกโป่งในงานต่างๆ ต้องวางให้พ้นมือเด็ก ถ้าลูกโป่งแตกควรเก็บเศษไปทิ้งถังขยะทันที ป้องกันไม่ให้เด็กหยิบเศษลูกโป่งมาอมหรือกัดเล่น เพราะอาจลื่นเข้าไปในลำคออุดทางเดินหายใจได้
เตือนภัย!ใกล้ตัวลูกโป่งระเบิด!
https://siamrath.co.th/n/600347 มกราคม 2562 13:54 น. สยามรัฐออนไลน์ กทม. สธ.แนะ 3 วิธีหนีความเสี่ยงอันตรายหากนำไปใช้ในงานต่างๆ เลือกใช้แก๊สฮีเลียม ไม่เก็บในรถในที่ร้อน อย่ามัดรวมกันหลายลูก นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธ