ในสหภาพยุโรปและสหรัฐได้อนุมัติให้ใช้ยา tecovirimat ในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสในกลุ่มพ็อกซ์ไวรัสหลายชนิด รวมไปถึงฝีดาษลิงด้วย[28] วารสาร BMJ Best Practice แนะนำให้ใช้ tecovirimat หรือ brincidofovir ซึ่งเป็นยารักษาโรคฝีดาษ เป็นยาลำดับแรกในการรักษาผู้ป่วยฝีดาษลิง ควบคู่ไปกับการรักษาประคับประคองต่างๆ ได้แก่ ยาลดไข้ การให้สารน้ำ และการให้ออกซิเจนตามความจำเป็น ยาต้านแบคทีเรียหรือยาต้านไวรัสอื่นอย่างอะไซโคลเวียร์อาจนำมาใช้ได้หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนหรืออยู่ระหว่างการแยกจากการติดเชื้อไวรัสอีสุกอีใส
ฝีดาษลิง - วิกิพีเดีย
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9D%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87#%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี โรคฝีดาษลิง (อังกฤษ: monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสฝีดาษลิง (MPXV) ที่พบเกิดขึ้นในสัตว์บางชนิด รวมถึงมนุษย์[7] อาการเบื้องต้นคือมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้