ย้อมสีผมบ่อย เสี่ยงก่อโรคมะเร็งจริงหรือไม่ ?
การย้อมสีผมในปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการย้อมเพื่อเปลี่ยนลุคและสไตล์ หรือการซ่อนผมขาว ได้รับการยอมรับในทุกช่วงวัย การย้อมสีผมบ่อยๆจะทำให้เราได้รับสารเคมีอย่างต่อเนื่อง แต่สารเคมีเหล่านั้นไม่สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ แต่หากการได้รับสารเคมีในน้ำยาย้อมสีผมเป็นประจำอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้
(ข้อมูลจาก Harvard Medical School)
ยาย้อมผมตามท้องตลาดมี 3 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทสีชั่วคราว ถ้าสระผมแล้วสีก็จะค่อยๆหายไป
2. ประเภทสีกึ่งถาวร หรือเรียกว่าสีโกรกผม สามารถปิดหงอกได้ไม่เกิน 30% ถ้าสระผม 5-6 ครั้ง ก็จะค่อยๆหลุดออกไป
3. ประเภทสีย้อมถาวร หรือเรียกว่าสีย้อมผม สามารถปกปิดผมได้ สระแล้วสีไม่หลุดลอก แต่วิธีนี้งานวิจัยระบุว่าจะทำให้โครโมโซมร่างกายเสียหาย ถ้าย้อมบ่อยๆเซลล์อาจจะกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้
ส่วนผสมในน้ำยาย้อมผมที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้
1. สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไชด์ : ทำลายเส้นผมและหนังศีรษะ ก่อให้เกิดอาการอักเสบ และระคายเคือง
2. สารฟีนิลินไดอะมีน หรือสีย้อมผมชนิดถาวร : อาจทำให้เกิดการระคายเคือง และอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งหนังศีรษะได้
3. แอมโมเนีย : สามารถกัดเส้นผมและหนังศีรษะ ทำให้ผมเสีย รากผมอ่อนแอ
4. สารซิลเวอร์ไนเตรต : ทำให้เกิดการระคายได้
5. สารเลดอะซีเตด : หากสะสมในร่างกายจะทำลายสมอง ประสาทสัมผัส และจัดอยู่ในสารก่อมะเร็ง
(ข้อมูลจาก Herbplus+)
เราจึงควรมีหลักการในการเลือกน้ำยาย้อมสีผม ดังนี้
1. เลือกผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน มีวันหมดอายุ วิธีใช้ ส่วนผสม และเลขที่จดแจ้งระบุไว้ชัดเจน
2. เลือกน้ำยาที่ไม่มีส่วนผสมของแอมโมเนีย
3. ทดสอบอาการแพ้ก่อนใช้ทุกครั้ง
4. เช็กความเข้มข้นของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ไม่ควรมีมากกว่า 6% เพราะจะทำให้ผมแห้ง ผมกระด้าง และอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อหนังศีรษะได้
5. ใช้ผลิตภัณฑ์ย้อมผมที่มีส่วนผสมของสมุนไพรเป็นหลัก
(ข้อมูลจาก Herbplus+ และ Wongnai)
นอกจากนี้ คนที่ย้อมสีผมอยู่แล้ว ไม่ควรย้อมเกิน 9 ครั้งต่อปี นพ.วีรวุฒิ อิ่มสาราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้กล่าวไว้ว่า
ผู้ที่ยังไม่เคยย้อมผมไม่ควรย้อมสีผม โดยเฉพาะคนที่ผมบางหรือผมน้อยอยู่แล้ว เพราะการย้อมผมทำให้รากผมไม่แข็งแรง
ผมหลุดร่วงได้ง่าย หากสะสมในร่างกาย อาจทำร้ายสมอง ประสาทสัมผัส ที่สำคัญยังจัดอยู่ในสารก่อมะเร็งด้วยเช่นกัน และ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้กล่าวไว้ว่า น้ำยาย้อมสีผมยังเป็นอันตรายต่อช่างทำผม เพราะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีมากกว่าผู้ที่ย้อมผม เนื่องจากต้องสัมผัสกับสารเคมีที่มาจากน้ำยาต่างๆเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม
จากการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยต่างๆ พบว่ายังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ายาย้อมสีผมเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้ ดังนั้นเวลาที่ย้อมสีผมควรอยู่ในที่ที่ระบายอากาศได้ดี มีการสวมถุงมือ และใส่หน้ากากป้องกันสารเคมีทุกครั้ง (สาธิตา แสวงลาภ, ฤดีรัตน์ มหาบุญปี ติ, อัจฉรา นราศรี, 2562)
(ข้อมูลจาก Herbplus+,สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข)
เครือข่าย : ชมรมสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การย้อมสีผมในปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการย้อมเพื่อเปลี่ยนลุคและสไตล์ หรือการซ่อนผมขาว ได้รับการยอมรับในทุกช่วงวัย การย้อมสีผมบ่อยๆจะทำให้เราได้รับสารเคมีอย่างต่อเนื่อง แต่สารเคมีเหล่านั้นไม่สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ แต่หากการได้รับสารเคมีในน้ำยาย้อมสีผมเป็นประจำอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้
(ข้อมูลจาก Harvard Medical School)
ยาย้อมผมตามท้องตลาดมี 3 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทสีชั่วคราว ถ้าสระผมแล้วสีก็จะค่อยๆหายไป
2. ประเภทสีกึ่งถาวร หรือเรียกว่าสีโกรกผม สามารถปิดหงอกได้ไม่เกิน 30% ถ้าสระผม 5-6 ครั้ง ก็จะค่อยๆหลุดออกไป
3. ประเภทสีย้อมถาวร หรือเรียกว่าสีย้อมผม สามารถปกปิดผมได้ สระแล้วสีไม่หลุดลอก แต่วิธีนี้งานวิจัยระบุว่าจะทำให้โครโมโซมร่างกายเสียหาย ถ้าย้อมบ่อยๆเซลล์อาจจะกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้
ส่วนผสมในน้ำยาย้อมผมที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้
1. สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไชด์ : ทำลายเส้นผมและหนังศีรษะ ก่อให้เกิดอาการอักเสบ และระคายเคือง
2. สารฟีนิลินไดอะมีน หรือสีย้อมผมชนิดถาวร : อาจทำให้เกิดการระคายเคือง และอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งหนังศีรษะได้
3. แอมโมเนีย : สามารถกัดเส้นผมและหนังศีรษะ ทำให้ผมเสีย รากผมอ่อนแอ
4. สารซิลเวอร์ไนเตรต : ทำให้เกิดการระคายได้
5. สารเลดอะซีเตด : หากสะสมในร่างกายจะทำลายสมอง ประสาทสัมผัส และจัดอยู่ในสารก่อมะเร็ง
(ข้อมูลจาก Herbplus+)
เราจึงควรมีหลักการในการเลือกน้ำยาย้อมสีผม ดังนี้
1. เลือกผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน มีวันหมดอายุ วิธีใช้ ส่วนผสม และเลขที่จดแจ้งระบุไว้ชัดเจน
2. เลือกน้ำยาที่ไม่มีส่วนผสมของแอมโมเนีย
3. ทดสอบอาการแพ้ก่อนใช้ทุกครั้ง
4. เช็กความเข้มข้นของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ไม่ควรมีมากกว่า 6% เพราะจะทำให้ผมแห้ง ผมกระด้าง และอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อหนังศีรษะได้
5. ใช้ผลิตภัณฑ์ย้อมผมที่มีส่วนผสมของสมุนไพรเป็นหลัก
(ข้อมูลจาก Herbplus+ และ Wongnai)
นอกจากนี้ คนที่ย้อมสีผมอยู่แล้ว ไม่ควรย้อมเกิน 9 ครั้งต่อปี นพ.วีรวุฒิ อิ่มสาราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้กล่าวไว้ว่า
ผู้ที่ยังไม่เคยย้อมผมไม่ควรย้อมสีผม โดยเฉพาะคนที่ผมบางหรือผมน้อยอยู่แล้ว เพราะการย้อมผมทำให้รากผมไม่แข็งแรง
ผมหลุดร่วงได้ง่าย หากสะสมในร่างกาย อาจทำร้ายสมอง ประสาทสัมผัส ที่สำคัญยังจัดอยู่ในสารก่อมะเร็งด้วยเช่นกัน และ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้กล่าวไว้ว่า น้ำยาย้อมสีผมยังเป็นอันตรายต่อช่างทำผม เพราะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีมากกว่าผู้ที่ย้อมผม เนื่องจากต้องสัมผัสกับสารเคมีที่มาจากน้ำยาต่างๆเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม
จากการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยต่างๆ พบว่ายังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ายาย้อมสีผมเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้ ดังนั้นเวลาที่ย้อมสีผมควรอยู่ในที่ที่ระบายอากาศได้ดี มีการสวมถุงมือ และใส่หน้ากากป้องกันสารเคมีทุกครั้ง (สาธิตา แสวงลาภ, ฤดีรัตน์ มหาบุญปี ติ, อัจฉรา นราศรี, 2562)
(ข้อมูลจาก Herbplus+,สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข)
เครือข่าย : ชมรมสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม