1 คนสงสัย
ข่าวปลอม อย่าแชร์!
ข่าวปลอม อย่าแชร์!
pacharagunjitjueawong
 •  2 ปีที่แล้ว
1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
meter: true
1 ความเห็น

ผู้บริโภคเฝ้าระวังแอคปลอม

Joke Air เลือกให้ข้อความนี้✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด

เหตุผล

.

ที่มา

เพราะจะมีความผิดตามกฎหมายต่างๆได้ เช่น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กฎหมายหมิ่นประมาท กฎหมายความมั่นคง ความผิดฐานหลอกลวงต่างๆหรือการโฆษณาอันเป็นเท็จ เป็นต้น แล้วแต่กรณี แล้วแต่เนื้อหาของข่าวปลอม
เนื้อหาเรื่องการเมืองก็ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน เพราะมีโอกาสที่จะเป็นข่าวปลอม รวมถึงอาจสร้างความรำคาญ เช่นเนื้อหาที่ด่าขั้วตรงข้าม
https://www.antifakenewscenter.com/คลังค⋯ร้างหรือแชร์ข่าวปลอม-มีความผิดตามกฎหมาย/
https://ilaw.or.th/node/5370
https://plus.thairath.co.th/topic/speak/100295
  • มี 1 ความเห็น เจ้าของลบไปแล้ว.
  • เพิ่มความเห็นใหม่

    กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

    คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    ข่าวบิดเบือน แพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์
    ข่าวบิดเบือน แพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ . ตามที่มีการโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องแพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน . กรณีการโพสต์ให้ข้อมูลโดยระบุว่าพบกรดเบนโซอิกในก๋วยเตี๋ยวประเภทต่างๆ โดยแพทย์เตือนให้เลิกกินก๋วยเตี๋ยว เพราะมีสารกันบูดเกินเกณฑ์ ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จากที่มีการแชร์ข้อมูลผลตรวจวิเคราะห์ดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเมื่อปี 2550 ซึ่งสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในฐานะห้องปฏิบัติการอ้างอิงด้านการตรวจวิเคราะห์อาหารของประเทศ ได้มีการตรวจวิเคราะห์เฝ้าระวังการใช้วัตถุกันเสีย (กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิค) ในอาหารประเภทเส้นมาอย่างต่อเนื่อง . นอกจากนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งการผลิตอาหารประเภทเส้น บางชนิดมีการใช้วัตถุกันเสีย เพื่อช่วยยับยั้งการเจริญเติบโต หรือทำลายเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้อาหารเน่าเสีย หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะกรดเบนโซอิกทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย แต่หากได้รับในปริมาณน้อยร่างกายสามารถขับออกไปได้ ซึ่งข้อมูลของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การอาหารและเกษตรและองค์การอนามัยโลกแห่งสหประชาชาติ (The joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives, JECFA) ได้ประเมินและกำหนดค่าความปลอดภัย (ADI) พบว่า มีความเป็นพิษต่อคนและสัตว์น้อย . อย่างไรก็ตามวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดมีข้อกำหนดการใช้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ.2563 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) สำหรับกรดเบนโซอิกให้ใช้ได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในอาหารประเภทเส้นที่ผ่านกระบวนการต้ม การนึ่ง การปรุงให้สุกการพรีเจลาทิไนซ์ (Pre-gelatinized) หรือแช่เยือกแข็ง และเส้นแบบกึ่งสำเร็จรูป ส่วนกรดซอร์บิกให้ใช้ได้ไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เฉพาะอาหารประเภทเส้นแบบกึ่งสำเร็จรูป . เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงเฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารประเภทเส้นที่ทำจากแป้งอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งพัฒนาผู้ผลิตให้มีความรู้ความเข้าใจการใช้วัตถุกันเสียอย่างถูกต้อง ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ อย.กำหนด ซึ่งผู้ผลิตจะต้องควบคุมกระบวนการผลิตให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน GMP สำหรับผู้บริโภคควรเลือกซื้อและบริโภคอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ สะอาด ถูกสุขอนามัย และไม่ควรรับประทานอาหารซ้ำๆ กันเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ . ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www3.dmsc.moph.go.th หรือโทร. 02 9510000 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ข้อมูลที่มีการบอกต่อดังกล่าวเป็นข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์เมื่อปี 2550 แต่ปัจจุบันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เฝ้าระวังคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ประเภทเส้นที่ทำจากแป้งให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน GMP . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . Website : https://www.antifakenewscenter.com/
    ชุมพล ศรีสมบัติ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 2 คนสงสัย
    รัฐทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี 5,000 บาท ในเดือนนี้
    โฆษกรัฐบาล เตือน อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม หลังข้อความว่อนโซเชียล “รัฐฯ ทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี 5,000 บาท ภายในเดือน มิ.ย.นี้” วอนหยุดแชร์ ป้องกันความสับสนและเข้าใจผิดขยายวงกว้าง วันที่ 8 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่มีการแชร์และส่งต่อข้อมูล “รัฐฯ ทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี จำนวน 5,000 บาท ภายในเดือนมิถุนายนนี้” ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ซึ่งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand : AFNC) ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว โดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ออกมาชี้แจงข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ
    std46298
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ดื่มน้ำตอนเล่นมือถือ
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ ห้ามดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์โดยใช้สายไปด้วย เพราะกระแสไฟจะวิ่งเข้าหัวใจและเสียชีวิต . ตามที่มีข้อมูลแนะนำเกี่ยวกับเรื่องห้ามดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์โดยใช้สายไปด้วย เพราะกระแสไฟจะวิ่งเข้าหัวใจและเสียชีวิต ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากที่มีผู้ส่งต่อข้อมูลว่า ห้ามดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์โดยใช้สายไปด้วย เพราะกระแสไฟจะวิ่งเข้าหัวใจและเสียชีวิต ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า คลิปที่มีการเผยแพร่ต่อ ๆ กันดังกล่าว เป็นเพียงการแสดงเท่านั้น เพราะหากถูกไฟดูดจริง จะต้องมีการสะบัดมือที่จับโทรศัพท์ หรือร่างกายต้องกระตุกจากการโดนไฟช็อต รวมทั้งกระแสไฟจะต้องครบวงจรก่อน ซึ่งไม่ต้องรอถึงขั้นดื่มน้ำก็สามารถที่จะโดนไฟดูดได้แล้ว . ทั้งนี้ การเสียชีวิตโดยที่มีกระแสไฟวิ่งเข้าหัวใจหลังจากดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์นั้น ไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด ซึ่งการเสียชีวิตดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับวัสดุที่มีแรงดันไฟฟ้ามาอยู่ใกล้กับอวัยวะในร่างกายที่ค่อนข้างบอบบาง เช่น หู แก้ม เป็นต้น . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://www.nectec.or.th/ หรือ โทร. 02-564-6900 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การเสียชีวิตโดยที่มีกระแสไฟวิ่งเข้าหัวใจหลังจากดื่มน้ำขณะชาร์จโทรศัพท์นั้น ไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด ซึ่งการเสียชีวิตดังกล่าวจะเกี่ยวข้องกับวัสดุที่มีแรงดันไฟฟ้ามาอยู่ใกล้กับอวัยวะในร่างกายที่ค่อนข้างบอบบาง เช่น หู แก้ม เป็นต้น . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
    std48339
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! กฟน. จัดโครงการไฟฟ้า ล้างแอร์ช่วยชาติ
    จากการส่งต่อข่าวสารประชาสัมพันธ์ว่า กฟน. จัดโครงการไฟฟ้า ล้างแอร์ช่วยชาติ และให้บริการรับชำระค่าไฟฟ้า หรือแจ้งเอกสารเตือนตัดไฟฟ้า ทางการไฟฟ้านครหลวง กระทรวงมหาดไทย ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีการเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการล้างแอร์ลดโลกร้อน รวมถึงไม่มีตัวแทนให้บริการล้างเครื่องปรับอากาศหรือให้พนักงานรับชำระค่าไฟฟ้า เก็บเงินค่าเปลี่ยนเครื่องวัดค่าไฟ ทั้งยังไปดำเนินการตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าเก็บค่าบริการนอกสถานที่แต่อย่างใด ยกเว้นกรณีที่ กฟน. จัดกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์กับชุมชน หรือโครงการต่าง ๆ ซึ่งจะมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทราบผ่านช่องทางสื่อสารทางการของ กฟน. หรือสื่อมวลชนทราบก่อนทุกครั้ง ระวังการแอบอ้างว่าเป็นบริษัทที่ได้รับการว่าจ้างจากการไฟฟ้าต่าง ๆ หรือการแอบอ้างว่าเป็นพนักงานของ กฟน. การแสดงบัตรพนักงานปลอม
    yossakornkodphat
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม: ร่างระเบียบสำนักนายกฯ ปราบเฟคนิวส์ ความพยายามล่าสุดของรัฐบาลในการกลบเสียงวิจารณ์ ?
    ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ที่ผ่านความเห็นขอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปเมื่อวันที่ 1 ก.พ. กำลังสร้างความกังวลให้แก่นักวิชาการจำนวนหนึ่งที่มองว่าระเบียบนี้เป็นความพยายามครั้งล่าสุดของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในการปิดกั้นข้อมูลและความคิดเห็นที่เป็นลบต่อรัฐบาล การที่ ครม. เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกฯ ฉบับนี้ในช่วงที่การเมืองไทยเริ่มเข้าสู่ "ฤดูกาลเลือกตั้ง" ยิ่งทำให้เกิดข้อกังขาว่า "ศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์" หรืออาจเรียกง่าย ๆ ว่าศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมที่จะจัดตั้งขึ้นในทุกกระทรวงและทุกจังหวัดตามร่างระเบียบนี้ มีวาระซ่อนเร้นในการกลบเสียงวิจารณ์และเป็นฝ่าย "พีอาร์อำพราง" ของรัฐบาลหรือไม่
    gam.muensri
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    อย่าแชร์! เพจ NBKC CPT 335 ปล่อยสินเชื่อออมสิน วงเงินสูงสุด 1,000,000 บาท
    ตามที่มีการตรวจพบข้อมูลเกี่ยวกับเพจ NBKC CPT 335 ปล่อยสินเชื่อออมสิน วงเงินสูงสุด 1,000,000 บาท ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว โดยธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ กรณีที่มีการส่งต่อข่าวสารชวนเชื่อเรื่องสินเชื่อออมสิน เปิดบริการให้ยืม วงเงินขั้นต่ำ 10,000 บาท สูงสุด 1,000,000 บาท ผ่านเพจ NBKC CPT 335 ทางธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า เพจเฟซบุ๊ก “NBKC CPT 335” ไม่ใช่เพจของธนาคารและไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับธนาคารออมสิน ข้อมูลที่เพจนำมาเผยแพร่ไม่มีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่ธนาคารเปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้งธนาคารออมสินไม่มีนโยบายให้เงินกู้ผ่านเฟซบุ๊ก แอปพลิเคชันไลน์ และ Messenger ทั้งนี้ เพจดังกล่าวได้แอบอ้างนำชื่อและตราสัญลักษณ์ธนาคารออมสินไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต และยังเผยแพร่ข้อมูลปลอม อันแ
    rose16032552
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผลิตภัณฑ์ Rich Skin สามารถกำจัดริ้วรอย และตำหนิบนใบหน้าได้ ทำให้ดูอ่อนกว่าวัยได้ 20 – 30 ปี โดยไม่ต้องทำศัลยกรรม
    ตามที่มีการโฆษณาด้านความสวยและความงามเกี่ยวกับเรื่องผลิตภัณฑ์ Rich Skin สามารถกำจัดริ้วรอย และตำหนิบนใบหน้าได้ ทำให้ดูอ่อนกว่าวัยได้ 20 – 30 ปี โดยไม่ต้องทำศัลยกรรม ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
    std47741
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! เล่นมือถือนาน ๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป
    ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเตือนภัยในสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเล่นมือถือนานๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการเตือนภัยว่าการเล่นมือถือเป็นระยะเวลานาน จนทำให้พักผ่อนน้อย ส่งผลให้ปลายประสาทที่เลี้ยงใบหน้าอักเสบ หน้าผิดรูป ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า การพักผ่อนน้อย หรือการเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก และปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน โดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ทำหน้าที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า เมื่อมีความผิดปกติของเส้นประสาทจะทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง หรือมีลักษณะขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก ยิ้มไม่ขึ้น มักเป็นใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง สาเหตุการเกิดมีหลายปัจจัย เช่น เกิดตามหลังอุบัติเหตุบริเวณเส้นประสาทโดยตรง, การติดเชื้อบริเวณต่อมน้ำลายใกล้ๆเส้นประสาท, การพบเนื้องอกกดเบียดเส้นประสาท หรือเกิดจากการอักเสบของตัวเส้นประสาทเอง (Bell’s palsy) เป็นต้น สำหรับภาวะเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ หรือ Bell’s palsy นั้น การอักเสบของเส้นประสาทดังกล่าวเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้มีสาเหตุที่สรุปได้ชัดเจน แต่อาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสเริม หรืองูสวัด ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดขึ้นเร็วระยะเวลาภายใน 48 ชั่วโมง เช่นกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง ขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก รับประทานอาหารและดื่มน้ำลำบาก ร่วมกับอาจมีอาการหูข้างนั้นได้ยินเสียงก้องกว่าปกติ รับรสผิดปกติ เป็นต้น เมื่อมีอาการผิดปกติที่สงสัยภาวะดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์ โดยการรักษาโรคนี้ประกอบด้วยการรักษาด้วยยาหากผู้ป่วยมาพบแพทย์ในช่วงแรกที่มีอาการ ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวดีขึ้น ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าในระยะยาว ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆและเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ การพักผ่อนน้อย ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข AFNCAFNCTHAILANDข่าวปลอมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมหน้าเบี้ยวเล่นมือถือโทรศัพท์มือถือ ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง website 2378 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 16:30 น. website 2374 ข่าวปลอม อย่าแชร์! อาหารอุ่นไมโครเวฟ อันตรายแถมเสี่ยงมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 13:30 น. ข่าวล่าสุด website 2384 ข่าวปลอม อย่าแชร์! ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนลงทุนหุ้น รับปันผล 30,000 บาทต่อเดือน การเงิน-หุ้น website 2383 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมการจัดหางาน เปิดโครงการ “ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน” ให้คนไทยมีรายได้เสริม นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2382 สธ. เปิดตัวรถฟอกไตเคลื่อนที่นวัตกรรมต้นแบบคันแรกของไทย จริงหรือ? นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2381 ข่าวปลอม อย่าแชร์! เพจ SAO Trading ในเครือของ AOT เปิดให้ลงทุนเริ่มต้น 1,000 บาท การเงิน-หุ้น website 2380 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมพัฒนาธุรกิจฯ รับสมัครพนักงานนำเที่ยว รายได้ 1,500 บาท/วัน นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร เมนูหลัก หน้าแรก แจ้งเบาะแสข่าวและติดตาม คลังความรู้ ข่าวสาร ดาวน์โหลดคู่มือประชาชน เกี่ยวกับการใช้งาน ตัวช่วยเหลือในการเข้าถึงเว็บไซต์ นโยบายรักษาความลับข้อมูลส่วนตัว line facebook twiter twiter twiter call สายด่วน : 1111 ต่อ 87 Logo Copyright © 2023 ANTI-FAKE NEWS CENTER THAILAND ขออนุญาตใช้คุกกี้เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอเนื้อหาที่ดีให้กับท่าน ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอ
    สุริยนต์ พักแดงพันธ์
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 2 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มช่วยทำให้ดั้งโด่ง ภายใน 7
    ตามที่มีการโฆษณาทางสื่อโซเชียลเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มช่วยทำให้ดั้งโด่ง ภายใน 7 วัน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มที่ระบุสรรพคุณว่า หากทาสามารถช่วยทำให้จมูกโด่ง ภายใน 7 วัน นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าไม่มีครีมหรือเซรั่มใดที่ทาแล้วจะช่วยทำให้จมูกโด่ง ภายใน 7 วัน ได้จริง เป็นเพียงการกล่าวอ้างสรรพคุณเกินจริง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอกเพื่อทำความสะอาด สวยงามแต่งกลิ่นหอมเท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายได้
    game
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 3 คนสงสัย
    ข่าวปลอม! ผลิตภัณฑ์ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ช่วยบำรุงให้หน้าขาวใส และลดจุดด่างดำ
    วันนี้ (3 พ.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ช่วยบำรุงให้หน้าขาวใส และลดจุดด่างดำ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการแนะนำผลิตภัณฑ์ ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ช่วยบำรุงให้หน้าขาวใส และลดจุดด่างดำ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า จากฐานข้อมูลใบรับจดแจ้งเครื่องสำอางไม่พบชื่อผลิตภัณฑ์ “ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม” จึงได้ไปตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ พบว่าอย. ได้เคยประกาศผลวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ “ไวท์โรส พลาเซนต้าครีม ครีมรกแกะ หน้าขาวใสลดจุดด่างดำ” ว่าพบสารประกอบของปรอท (Mercury compound) ซึ่งเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารห้ามใช้ จัดเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เกิดการแพ้ ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง และเกิดพิษสะสมของสารปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบ ขอแนะนำให้ประชาชนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ มีฉลากภาษาไทยที่ระบุชื่อที่ตั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้า เลขที่ใบรับจดแจ้งอย่างชัดเจน หากไม่แน่ใจสามารถตรวจสอบข้อมูลการได้รับอนุญาตจากเว็บไซต์ อย.
    std46341
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false