1 คนสงสัย
ข่าวปลอม! อย่าแชร์ต่ออ้างรัฐทบทวนสิทธิให้เงิน 5,000 บาท
โฆษกรัฐบาลเตือนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม รัฐทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี 5,000 บาทภายในเดือน มิ.ย.นี้ วอนอย่าแชร์ต่อ ป้องกันความสับสนและเข้าใจผิด
วันนี้ (8 มิ.ย.2566) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรณีที่มีการแชร์และส่งต่อข้อมูลรัฐทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี จำนวน 5,000 บาท ภายในเดือนมิ.ย.นี้ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย การตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว โดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ออกมาชี้แจงข้อมูลดังกล่าวว่าเป็นข้อมูลเท็จ ยืนยันกระทรวงการคลังไม่มีนโยบายโอนเงิน หรือแจกเงิน 5,000 บาทเข้าบัญชีในเดือนมิถุนายนนี้แต่อย่างใด เป็นข่าวปลอมจากผู้ไม่หวังดี

ดังนั้น ขอประชาชนอย่าได้หลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว โดยประชาชนสามารถตรวจสอบและรับข้อมูลข่าวสารจากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ที่เว็บไซต์ www.cgd.go.th หรือโทร 02-127-7000 หรือผ่านทางเพจกรมบัญชีกลาง The Comptroller General’s Department

พร้อมกันนี้ ขอความร่วมมือประชาชนอย่าได้ส่งต่อหรือแชร์ข้อมูลอันเป็นเท็จดังกล่าวในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ อีก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนและความเข้าใจผิดขยายไปในวงกว้างเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ กระทรวงยุติธรรมระบุ กรณีพฤติกรรมการกด Like และกด Share ของผู้ที่เล่นโซเชียลมีเดียหรือใช้สื่อสังคมออนไลน์ควรรอบคอบ โดยเฉพาะการกดแชร์ ถือเป็นการเผยแพร่ หากการแชร์ข้อมูลนั้นไปกระทบกับบุคคลอื่น อาจเข้าข่ายกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 14 (1)

โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
achiii
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 2 คนสงสัย
    รัฐทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี 5,000 บาท ในเดือนนี้
    โฆษกรัฐบาล เตือน อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม หลังข้อความว่อนโซเชียล “รัฐฯ ทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี 5,000 บาท ภายในเดือน มิ.ย.นี้” วอนหยุดแชร์ ป้องกันความสับสนและเข้าใจผิดขยายวงกว้าง วันที่ 8 มิถุนายน 2566 นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่มีการแชร์และส่งต่อข้อมูล “รัฐฯ ทบทวนสิทธิโอนเงินเข้าบัญชี จำนวน 5,000 บาท ภายในเดือนมิถุนายนนี้” ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ซึ่งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมประเทศไทย (Anti-Fake News Center Thailand : AFNC) ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว โดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ออกมาชี้แจงข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ
    std46298
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ออมสินเปิดลงทะเบียนกู้เงิน 500,000 บาท ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก
    ออมสินเปิดลงทะเบียนกู้เงิน 500,000 บาท ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก . ตามที่มีการตรวจพบข้อมูลเกี่ยวกับออมสินเปิดลงทะเบียนกู้เงิน 500,000 บาท ดอกเบี้ยลดต้นลดดอก ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว โดยธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าว เป็นข้อมูลเท็จ . กรณีที่มีการส่งต่อข่าวสารเรื่องออมสินเปิดลงทะเบียนกู้เงิน 500,000 บาท ไม่เกิน 2 ปี ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ร้อยละ 1.25% ต่อปี ผ่านเพจ Mymo ทางธนาคารออมสิน
    std46417
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! เล่นมือถือนาน ๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป
    ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเตือนภัยในสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องเล่นมือถือนานๆ ทำให้หน้าเบี้ยวผิดรูป ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ จากกรณีที่มีการเตือนภัยว่าการเล่นมือถือเป็นระยะเวลานาน จนทำให้พักผ่อนน้อย ส่งผลให้ปลายประสาทที่เลี้ยงใบหน้าอักเสบ หน้าผิดรูป ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้ชี้แจงว่า การพักผ่อนน้อย หรือการเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก และปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน โดยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ทำหน้าที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า เมื่อมีความผิดปกติของเส้นประสาทจะทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง หรือมีลักษณะขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก ยิ้มไม่ขึ้น มักเป็นใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง สาเหตุการเกิดมีหลายปัจจัย เช่น เกิดตามหลังอุบัติเหตุบริเวณเส้นประสาทโดยตรง, การติดเชื้อบริเวณต่อมน้ำลายใกล้ๆเส้นประสาท, การพบเนื้องอกกดเบียดเส้นประสาท หรือเกิดจากการอักเสบของตัวเส้นประสาทเอง (Bell’s palsy) เป็นต้น สำหรับภาวะเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ หรือ Bell’s palsy นั้น การอักเสบของเส้นประสาทดังกล่าวเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้มีสาเหตุที่สรุปได้ชัดเจน แต่อาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสเริม หรืองูสวัด ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีกที่เกิดขึ้นเร็วระยะเวลาภายใน 48 ชั่วโมง เช่นกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง ขยับไม่ได้ เช่น หลับตาไม่สนิท มุมปากตก รับประทานอาหารและดื่มน้ำลำบาก ร่วมกับอาจมีอาการหูข้างนั้นได้ยินเสียงก้องกว่าปกติ รับรสผิดปกติ เป็นต้น เมื่อมีอาการผิดปกติที่สงสัยภาวะดังกล่าว ควรรีบมาพบแพทย์ โดยการรักษาโรคนี้ประกอบด้วยการรักษาด้วยยาหากผู้ป่วยมาพบแพทย์ในช่วงแรกที่มีอาการ ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวดีขึ้น ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้อใบหน้าในระยะยาว ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่งหรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆและเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000 บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ การพักผ่อนน้อย ไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก เนื่องจากปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคนี้ที่ชัดเจน หน่วยงานที่ตรวจสอบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข AFNCAFNCTHAILANDข่าวปลอมศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมหน้าเบี้ยวเล่นมือถือโทรศัพท์มือถือ ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง website 2378 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กินเม็ดชานมไข่มุก ทำให้เป็นโรคมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 16:30 น. website 2374 ข่าวปลอม อย่าแชร์! อาหารอุ่นไมโครเวฟ อันตรายแถมเสี่ยงมะเร็ง ข่าวปลอม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2 กรกฎาคม 2566 | 13:30 น. ข่าวล่าสุด website 2384 ข่าวปลอม อย่าแชร์! ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชวนลงทุนหุ้น รับปันผล 30,000 บาทต่อเดือน การเงิน-หุ้น website 2383 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมการจัดหางาน เปิดโครงการ “ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน” ให้คนไทยมีรายได้เสริม นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2382 สธ. เปิดตัวรถฟอกไตเคลื่อนที่นวัตกรรมต้นแบบคันแรกของไทย จริงหรือ? นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร website 2381 ข่าวปลอม อย่าแชร์! เพจ SAO Trading ในเครือของ AOT เปิดให้ลงทุนเริ่มต้น 1,000 บาท การเงิน-หุ้น website 2380 ข่าวปลอม อย่าแชร์! กรมพัฒนาธุรกิจฯ รับสมัครพนักงานนำเที่ยว รายได้ 1,500 บาท/วัน นโยบายรัฐบาล-ข่าวสาร เมนูหลัก หน้าแรก แจ้งเบาะแสข่าวและติดตาม คลังความรู้ ข่าวสาร ดาวน์โหลดคู่มือประชาชน เกี่ยวกับการใช้งาน ตัวช่วยเหลือในการเข้าถึงเว็บไซต์ นโยบายรักษาความลับข้อมูลส่วนตัว line facebook twiter twiter twiter call สายด่วน : 1111 ต่อ 87 Logo Copyright © 2023 ANTI-FAKE NEWS CENTER THAILAND ขออนุญาตใช้คุกกี้เพื่อสร้างประสบการณ์นำเสนอเนื้อหาที่ดีให้กับท่าน ทั้งนี้ ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะดูแลและรักษาความปลอดภัยข้อมูลของท่านเป็นอ
    สุริยนต์ พักแดงพันธ์
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ ผู้ถือบัตรคนจน เตรียมรับเงินโอน 3,000 บาท วันที่ 4-9 ก.ค.นี้
    กระทรวงการคลังและกรมบัญชีกลางได้พิจารณาเห็นชอบโครงการเยียวยาผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่ไม่เคยได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรการอื่นของรัฐให้ได้รับเงินเยียวยา 3,000 บาท จำนวน 1 เดือน ซึ่งได้ข้อสรุปว่ากรมบัญชีกลางจะโอนเงินเข้าบัญชีผู้ถือบัตรฯ ในวันที่ 4-9 ก.ค.นี้ จำนวน 1.2 ล้านราย จากจำนวนผู้ถือบัตร 14.6 ล้านราย โดยใช้งบประมาณ 3,600 ล้านบาทในการดำเนินการ
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    รัฐเตรีมแจก1000เพื่อช่วยเหลือประชาชน
    ข่าวปลอม อย่าแชร์! ❌ รัฐฯ เตรียมโอนเงิน 1,000 ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง . ตามที่มีการส่งต่อข้อความในประเด็นเรื่องรัฐฯ เตรียมโอนเงิน 1,000 ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยหน่วยงานกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . กรณีที่มีส่งต่อเรื่องราวโดยระบุว่า รัฐฯ เตรียมโอนเงินช่วยเหลือคนละ 1,000 บาท สำหรับกลุ่มเปราะบาง เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ โอนให้พร้อมกันทั่วประเทศ 9 มิ.ย. 66 นี้ ทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ตรวจสอบและชี้แจงว่า เป็นข่าวสารที่เชื่อถือไม่ได้ และไม่ใช่ข้อมูลประกาศจากหน่วยงานรัฐฯ เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายดังที่ในคลิปวิดีโอกล่าวถึงแต่อย่างใด . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกระทรวงการคลัง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.mof.go.th หรือโทร. 1689 . บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ไม่ใช่ข้อมูลประกาศจากหน่วยงานรัฐฯ เนื่องจากรัฐบาลไม่มีนโยบายดังที่ในคลิปวิดีโอกล่าวถึงแต่อย่างใด . หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง . 📌 ช่องทางการติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม . LINE : @antifakenewscenter (http://nav.cx/uyKYnsG) Website : https://www.antifakenewscenter.com/ Twitter: https://twitter.com/AFNCThailand Tiktok : @antifakenewscenter สายด่วน : ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 ต่อ 87 . #ข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #AFNCThailand #ข่าวนโยบายรัฐ #รัฐแจกเงิน #แจกเงิน1000บาท #โอนเงินสด
    std48123
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ถ้าไม่ใช้เงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ก่อนวันที่ 5 ก.พ. จะถูกระงับสิทธิ์ จริงหรือ
    มีแชร์ข้อความกันเรื่องของเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่กล่าวว่าเงินที่เข้ามาในต้นเดือนกุมภาพันธ์ หากไม่ใช้จ่ายก่อนวันที่ 5 จะถูกระงับสิทธิ์ จากทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จริงหรือ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    กรมบัญชีกลางชี้แจงยังไม่มีการยกเลิกหรือลดเงินบำนาญ จริงหรือคะ
    นางสาววิลาวรรณ พยาน้อย รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อความเผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ และอ้างถึงการยกเลิกเงินบำนาญว่า “ข่าวใหม่ที่คนรับบำนาญน่าจะรับทราบไว้ก็ดี คือ กระทรวงการคลังเริ่มโยนหินถามทางแล้ว คือ คิดจะลดเงินของข้าราชการบำนาญลง เหมือนกับต่างประเทศที่หักดิบยกเลิกเงินบำนาญ ด้วยเหตุผลว่า พวกข้าราชการบำนาญไร้ประโยชน์....” ซึ่งเป็นการแชร์ข้อมูลที่บิดเบือนและก่อให้เกิดความเข้าใจที่ผิดและตื่นตระหนก” จริงหรือคะ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    คลังประกาศเตือนห้ามกดรหัส *179* ตามด้วยเลขบัตร ปชช. เพื่อตรวจสอบสิทธิ์เงิน 5,000 บาท
    เนื่องจากมีการแชร์กันในโลกออนไลน์ว่า ให้กดรหัส *179* ตามด้วยเลขบัตรประชาชน กด # แล้วโทรออกเพื่อตรวจสอบสิทธิ์เงิน 5,000 บาทของโครงการ "เราไม่ทิ้งกัน" ไม่เป็นความจริง ทางธนาคารกรุงไทยแจ้งว่าสามารถตรวจสอบสิทธิ์ผลการลงทะเบียนได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com คลิกที่ตรวจสอบสถานะบนหน้าเว็บไซต์ หรือรอผล SMS และทาง call center เท่านั้น
    anonymous
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    กรมบัญชีกลางเตือน "เพิ่มเงินผู้รับบำนาญ - ขยายเพดานวงเงินบำเหน็จ" ไม่จริง
    ตามที่มีการเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ว่า ร่าง พ.ร.ฎ.เพิ่มเงินให้ผู้รับบำนาญ - ขยายเพดานวงเงินบำเหน็จ ผ่านการพิจารณาแล้ว โดยบำนาญรายเดือนที่ไม่ถึง 10,000 ให้ได้รับ 10,000 และบวกเพิ่ม 10,000 บาท , ไม่ถึง 20,000 ให้ได้รับ 20,000 และบวกเพิ่ม 10,000 บาท ,บำนาญรายเดือนที่ไม่ถึง 30,000 ให้ได้รับ 30,000 และบวกเพิ่ม 10,000 บาท, บำนาญรายเดือน ที่ไม่ถึง 40,000 ให้ได้รับ 40,000 และบวกเพิ่ม 10,000 บาท ,บำนาญรายเดือนที่ไม่ถึง 50,000 ให้ได้รับ 50,000 และบวกเพิ่ม 5,000 บาท ,บำนาญรายเดือนที่ไม่ถึง 60,000 ให้ได้รับ 60,000 และบวกเพิ่ม 5,000 บาท ,บำนาญรายเดือน ที่ไม่ถึง 70,000 ให้ได้รับ 70,000 และบวกเพิ่ม 5,000 บาท ถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด”จากข้อมูลที่มีการเผยแพร่ข้างต้นกรมบัญชีกลางขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง โฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวย้ำว่า กฎหมายดังกล่าวมีเพียงประเด็นปรับเพิ่มเงิน ช.ค.บ. เท่านั้น ขอให้อย่าหลงเชื่อข้อมูลที่มีการส่งต่อกันทางสื่อออนไลน์ และหากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญของตนเอง หรือสอบถามได้ที่ Call center กรมบัญชีกลาง 02 270 6400 กด 2 ในวันและเวลาราชการ
    anonymous
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    แอปเป๋าตัง ให้กู้เงิน 1 หมื่นบาท ลงทะเบียนได้ทุกอาชีพ
    ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง แอปเป๋าตัง ให้กู้เงิน 1 หมื่นบาท ลงทะเบียนได้ทุกอาชีพ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย ธนาคารกรุงไทย พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ . จากกรณีการโพสต์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขอสินเชื่อกับธนาคารกรุงไทย ผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังนั้น ทางธนาคารกรุงไทยได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่มีบริการให้สินเชื่อผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ซึ่งแอปพลิเคชันเป๋าตัง เป็นแพลตฟอร์มด้านการเงินระบบเปิด สามารถใช้บริการแม้ไม่มีบัญชีเงินฝากของธนาคารกรุงไทย ให้บริการครอบคลุมทั้งบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-wallet) รองรับการทำธุรกรรมโอนเงิน เติมเงิน และชำระค่าสินค้าและบริการ รวมถึงบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ (G-wallet) รองรับการทำนโยบายของภาครัฐ บริการกระเป๋าสุขภาพ (Health Wallet) ตรวจเช็กสิทธิด้านสุขภาพผ่านเป๋าตัง บริการด้านการลงทุนพันธบัตรของรัฐผ่านวอลเล็ต สบม.รวมถึงบริการเกี่ยวกับกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ที่ช่วยให้การจัดการบัญชีกยศ. สะดวก และรวดเร็ว . ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ทั้งนี้หากพบ SMS อีเมล หรือ LINE ที่มีลิงก์แอบอ้างเป็นธนาคาร หรือพบเหตุผิดปกติ สามารถแจ้งผ่าน Facebook Fanpage Krungthai Care และ Krungthai Contact Center โทร 02-111-1111 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    Hathaikan Inmaung
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false