1 คนสงสัย
บุกทลายเครื่องสำอางเถื่อน ผงะครีมปลอม กวนเอง ส่งขายต่างจังหวัด นาน 4 ปี
เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง พ.ต.อ.ศารุติ แขวงโสภา พ.ต.อ.ศรีศักดิ์ คัมภีรญาณ พ.ต.อ.ชนันนัทธ์ สารถวัลย์แพศย์ รอง ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ. พร้อม นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นำหมายค้นเข้าค้นบ้านเลขที่ 2708 พระราม 2 ซอย 47 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ หลังรับแจ้งว่าเป็นแหล่งผลิตเครื่องสำอางเถื่อน และจำหน่ายเครื่องสำอางโดยไม่ได้รับอนุญาต
std46341
 •  2 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น

ความสวยความงามยาสมุนไพรอย. เพิกถอน

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    อย.เตือนอย่าซื้อผลิตภัณฑ์อ้างลดอ้วน ‘De2xy และ Me2shape’ เสี่ยงอันตราย
    อย.เตือนสาวอยากผอมระวัง อย่าซื้อผลิตภัณฑ์อวดอ้างลดอ้วน De2xy และ Me2shape พบเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ขออนุญาตกับ อย. แถมโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เสี่ยงได้รับอันตรายถึงชีวิต นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ “De2xy และ Me2Shape” ซึ่งพบว่ามีการโฆษณาอ้างสรรพคุณเกินจริงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ นั้น อย.ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบการโฆษณาสรรพคุณอ้างลดน้ำหนักทางเฟซบุ๊กชื่อ Sunisa Lv’tl แสดงข้อความในทำนองช่วยควบคุมน้ำหนัก เปลี่ยนหุ่นเสีย เป็นหุ่นสวย เพราะมีตัวช่วยหุ่นดีที่ไม่ต้องอด ก็ลดได้ เพียงแค่วันละ 1 - 2 แคปซูล ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตและโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ อย.ได้สั่งระงับการโฆษณาและดำเนินการทางกฎหมายกับผู้โฆษณาแล้ว นอกจากนี้ จากการสืบค้นข้อมูลในระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ไม่พบข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารในชื่อดังกล่าวแต่อย่างใด พร้อมกันนี้ได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบหาต้นตอแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ต่อไป รองเลขาธิการ อย. กล่าวต่อว่า ขอเตือนภัยสาวอยากผอมพึงระวัง อย่าตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อคารมการโฆษณาเกินจริงจากผู้ขายโดยเด็ดขาด นอกจากจะไม่ได้ช่วยให้น้ำหนักลดลงแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพกรณีเป็นยาลดความอ้วนส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ลดความอยากอาหาร เป็นยาที่กระตุ้นประสาทส่วนกลางการใช้จะทำให้น้ำหนักลดลงได้ขณะรับประทานยา แต่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อหยุดยา หรือที่เรียกว่า yo-yo effect และผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่พบบ่อย คือ นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ วิตกกังวล ตาพร่า ดังนั้น การใช้ยาเพื่อลดความอ้วน ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น อย่าซื้อยามารับประทานเอง ส่วนกรณีเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง มักตรวจพบว่ามีการผสมยาหรือสารอันตราย ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พร้อมเตือนผู้ขายอย่าโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพอวดอ้างลดความอ้วนผ่านสื่อทุกช่องทาง ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หากตรวจพบจะถูกดำเนินคดีทันที ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นการอวดอ้างโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ
    std47993
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ครีมช่วยให้ดั้งโด่ง
    เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีมีผู้แชร์ข้อมูลบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มที่ทาแล้วจะช่วยทำให้จมูกดั้งโด่งขึ้น ภายใน 7 วัน นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเรียนว่า โครงสร้างของจมูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ โครงสร้างส่วนด้านบนเป็นกระดูกแข็ง ด้านล่างเป็นกระดูกอ่อน โดยห่อหุ้มด้วยผิวหนังและไขมัน ดังนั้น ครีมที่ทำให้ดั้งโด่งจึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระดูก ส่งผลให้จมูกโด่งอย่างแน่นอน
    std48015
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    บุกทลายเครื่องสำอางเถื่อน ผงะครีมปลอม กวนเอง ส่งขายต่างจังหวัด นาน 4 ปี
    ปคบ.ร่วม อย.บุกทลายโรงงานผลิตครีมเถื่อน ย่านพระราม 2 ยึดของกลางครีมสมุนไพร และครีมบำรุงผิว กวนเองหลายยี่ห้อ พบผสมสารอันตราย ทำมา 4 ปี ส่งขายให้กับยี่ปั๊ว เน้นพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ บุกทลายเครื่องสำอางเถื่อน ผงะครีมปลอม กวนเอง ส่งขายต่างจังหวัด นาน 4 ปี เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง พ.ต.อ.ศารุติ แขวงโสภา พ.ต.อ.ศรีศักดิ์ คัมภีรญาณ พ.ต.อ.ชนันนัทธ์ สารถวัลย์แพศย์ รอง ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ. พร้อม นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นำหมายค้นเข้าค้นบ้านเลขที่ 2708 พระราม 2 ซอย 47 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ หลังรับแจ้งว่าเป็นแหล่งผลิตเครื่องสำอางเถื่อน และจำหน่ายเครื่องสำอางโดยไม่ได้รับอนุญาต ที่เกิดเหตุเป็นบ้านปูน 2 ชั้น ชั้นล่าง 1 ห้อง ชั้นบน 2 ห้อง ถูกแบ่งเป็นห้องกวนครีม พบสารสเตียรอยด์ ยาแก้อักเสบ ครีมเบส สีไม่ทราบชนิด หัวน้ำหอม และเครื่องกวนครีมพร้อมนำมาผสม ส่วนอีกห้องเป็นห้องสำหรับบรรจุครีม มีกระปุกครีมจำนวนมาก มีพนักงานกำลังกวนครีม 4 คน และเจ้าของบ้าน ทราบชื่อ น.ส.พาณี ปิตโต อายุ 52 ปี เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตรวจยึดของกลางทั้งหมดที่เป็นครีมสมุนไพร และครีมบำรุงผิวหลายยี่ห้อ ที่ไม่ได้ขออนุญาตในการผลิตจาก อย. จัดเป็นเครื่องสำอางปลอม หนึ่งในนั้นคือครีมตลับสีขาวฝาน้ำเงิน ที่ อย. เคยตรวจพบสารไฮโดรควิโนน และกรดเรทิโนอิก และสั่งห้ามขายไปแล้วด้วย จากการสอบสวน น.ส.พาณี ให้การว่า เคยทำงานเป็นเซลล์ขายเครื่องสำอาง เห็นว่าครีมลักษณะดังกล่าวขายดีติดตลาด จึงออกมาผสมครีมขายเอง และเช่าบ้านหลังดังกล่าว เพื่อใช้สำหรับกวนครีมเองมานาน 4 ปีแล้ว โดยซื้อครีมเบส มาผสมกับสี และหัวน้ำหอม เพื่อแต่งกลิ่น สี และผสมสารอันตราย เช่น สารปรอท หรือไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอเข้าไป แต่ช่วงหลังสาร 2 ตัวนี้หายาก จึงปรับสูตรไปใส่สารสเตียรอยด์ ก่อนจะนำไปติดฉลากยี่ห้อหรือสวมยี่ห้อที่เคยโด่งดังในตลาด ส่งขายให้กับยี่ปั๊ว 4 เจ้า โดยเน้นขายในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ เบื้องต้นแจ้งข้อหา ผลิตเครื่องสำอางที่สงสัยว่ามีวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสม ผลิตเครื่องสำอางไม่จดแจ้ง ผลิตเครื่องสำอางที่ใช้ฉลากไม่ถูกต้อง และจะขยายผลตรวจสอบเส้นทางการเงิน จับกุมยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ที่รับครีมเหล่านี้ไปขายต่อด้วย ด้าน ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า ครีมของกลางที่พบนี้ ล้วนแล้วแต่มีลักษณะที่เข้าข่าย มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ปรอท สารไฮโดรควิโนน กรดเรติโนอิก ที่ อย. สั่งห้ามใช้ และแจ้งเตือนประชาชนหลายครั้ง เคยจับมาแล้วเมื่อปี 52 และประกาศห้ามใช้ เพราะมีสารอันตรายต่อร่างกาย แม้จะเห็นผลเร็ว แต่เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง จากผิวที่ดูขาวจะกลายเป็นดำคล้ำ มีภาวะผิวบาง เกิดฝ้าถาวร หากเป็นสิวก็เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งหากเป็นรอยแผลถาวร ก็จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงขอเตือนประชาชนอย่าซื้อครีมลักษณะนี้มาใช้ แต่ให้ซื้อครีมยี่ห้อที่มีความน่าเชื่อถือ และได้รับการจดแจ้งถูกต้องจากทาง อย.
    std47982
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 3 คนสงสัย
    ครีมช่วยให้ “จมูกโด่ง” ไม่มีอยู่จริง ชี้ ผู้ผลิตโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง
    อย. ชี้แจง ไม่มีครีมหรือเซรั่มใดที่ทาแล้วจะช่วยทำให้จมูกโด่ง ภายใน 7 วัน ได้จริง เป็นเพียงการอ้างสรรพคุณเกินจริง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ภายนอกไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างใด ๆ ของร่างกายได้ เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีมีผู้แชร์ข้อมูลบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มที่ทาแล้วจะช่วยทำให้จมูกดั้งโด่งขึ้น ภายใน 7 วัน นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอเรียนว่า โครงสร้างของจมูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ โครงสร้างส่วนด้านบนเป็นกระดูกแข็ง ด้านล่างเป็นกระดูกอ่อน โดยห่อหุ้มด้วยผิวหนังและไขมัน ดังนั้น ครีมที่ทำให้ดั้งโด่งจึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระดูก ส่งผลให้จมูกโด่งอย่างแน่นอน ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับภายนอกร่างกายของมนุษย์ รวมถึงฟันและเยื่อบุในช่องปาก เพื่อความสะอาด ความสวยงาม แต่งกลิ่นหอมเท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายได้ การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเครื่องสำอางที่ทำให้ดั้งโด่งได้อย่างรวดเร็วภายใน 7 วัน ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงการกล่าวอ้างสรรพคุณที่โกหกทั้งเพ เพราะครีมหรือเซรั่มเป็นเพียงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ภายนอกเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ที่หลอกลวงสรรพคุณให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ถือเป็นการโฆษณาที่แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รองเลขาธิการ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า อย. เคยออกข่าวเตือนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในลักษณะนี้เมื่อปี 2561 และกลับมาวนซ้ำอีกครั้ง ดังนั้นเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา ขอให้ผู้บริโภคหยุดคิดก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีการโฆษณาสรรพคุณต่าง ๆ ว่า ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายได้ หากพบเห็นการโฆษณาโอ้อวดเกินจริงขอให้แจ้งร้องเรียนมาที่สายด่วน อย. 1556
    std48127
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มช่วยทำให้ดั้งโด่ง ภายใน 7 วัน
    วันนี้ (24 ธ.ค.) ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่มีการโฆษณาทางสื่อโซเชียลเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มช่วยทำให้ดั้งโด่ง ภายใน 7 วัน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ กรณีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มที่ระบุสรรพคุณว่า หากทาสามารถช่วยทำให้จมูกโด่ง ภายใน 7 วัน นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าไม่มีครีมหรือเซรั่มใดที่ทาแล้วจะช่วยทำให้จมูกโด่ง ภายใน 7 วัน ได้จริง เป็นเพียงการกล่าวอ้างสรรพคุณเกินจริง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอกเพื่อทำความสะอาด สวยงามแต่งกลิ่นหอมเท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายได้ โดยเภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ได้ให้ข้อมูลว่า โครงสร้างของจมูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ โครงสร้างส่วนด้านบนเป็นกระดูกแข็ง ด้านล่างเป็นกระดูกอ่อน โดยห่อหุ้มด้วยผิวหนังและไขมัน ดังนั้นครีมที่ทำให้ดั้งโด่งจึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระดูก ส่งผลให้จมูกโด่งอย่างแน่นอน ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับภายนอกร่างกายของมนุษย์ รวมถึงฟันและเยื่อบุในช่องปาก เพื่อความสะอาด ความสวยงาม แต่งกลิ่นหอมเท่านั้น ไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือการทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายได้ การโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเครื่องสำอางที่ทำให้ดั้งโด่งได้อย่างรวดเร็วภายใน 7 วัน ไม่มีอยู่จริง เป็นเพียงการกล่าวอ้างสรรพคุณที่โกหก เพราะครีมหรือเซรั่มเป็นเพียงผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ภายนอกเท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ที่หลอกลวงสรรพคุณให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ถือเป็นการโฆษณาที่แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และขอเตือนผู้บริโภคให้คิดก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีการโฆษณาสรรพคุณต่าง ๆ ว่า ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายได้ ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.fda.moph.go.th และหากพบเห็นการโฆษณาโอ้อวดเกินจริงขอให้แจ้งร้องเรียนมาที่สายด่วน อย. 1556
    Hathaikan Inmaung
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ครีมช่วยให้"จมูกโด่ง"
    อย. ชี้แจง ไม่มีครีมหรือเซรั่มใดที่ทาแล้วจะช่วยทำให้จมูกโด่ง ภายใน 7 วัน ได้จริง เป็นเพียงการอ้างสรรพคุณเกินจริง ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ภายนอกไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างใด ๆ ของร่างกายได้ เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
    std48951
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    อย.เตือน “Royal Jelly 2180” อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง-นำเข้าผิดกฎหมาย
    นายแพทย์พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนให้ตรวจสอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Royal Jelly 2180 (นมผึ้ง) ทางเว็บไซต์ชื่อ http://www.auswelllife-awl.com/ อย. จึงได้ดำเนินการตรวจสอบโฆษณาดังกล่าว พบข้อความโอ้อวดสรรพคุณ เช่น ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดความดันโลหิต ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง และอื่นๆ ซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นการโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. และเป็นการโฆษณาหลอกลวงโอ้อวดเกินจริง โดยจากการสืบค้นข้อมูลในระบบตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ไม่พบข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร หรือผลิตภัณฑ์ยาในชื่อดังกล่าวแต่อย่างใด รวมทั้งผลิตภัณฑ์มีการแสดงฉลากเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นการนำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลียโดยไม่ได้รับอนุญาต พร้อมกันนี้ อย. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ณ สถานที่นำเข้า และสถานที่จำหน่าย ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าสถานที่ดังกล่าวมีลักษณะรกร้าง ไม่แสดงป้ายเลขที่บ้าน ทั้งนี้ อย. อยู่ระหว่างการรวบรวมหลักฐานเพื่อประกอบการดำเนินคดีลงโทษตามกฎหมายอย่างเข้มงวด ทั้งในเรื่องการโฆษณาขายผลิตภัณฑ์และการขายผลิตภัณฑ์โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมไปถึงได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบหาตัวผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ต่อไปด้วย แชร์เรื่องนี้ คัดลอกลิงก์ แท็ก : อาหารเสริมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดูแท็กทั้งหมด INN News สนับสนุนเนื้อหา ความคิดเห็น 0 รายการ แสดงความคิดเห็น เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น! ( อ่านทั้งหมด ) Sanook Y-VOTE โหวตยกด้อม หัวใจ(ชาว)วาย
    std48089
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ยาลดน้ำหนัก
    นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐานและ ปลอดภัย โดยมุ่งเน้น 3 ด้านหลัก ได้แก่ การกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพและสถานประกอบการให้ได้มาตรฐาน การคุ้มครองผู้บริโภค การพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งตลอดปี พ.ศ. 2554 อย.ได้พิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์-สุขภาพ 494,841 รายการ และพิจารณาอนุญาตสถานประกอบการ 23,835 ราย
    std47984
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ครีมขาวใสภายใน3วัน
    ภก.สมชาย ปรีชาทวีกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า หัวเชื้อผิวขาวตัวดังกล่าวจากการตรวจสอบพบว่ามีความผิดเข้าข่ายการโฆษณาเกินจริง ในกรณีที่มีการเขียนข้อความว่า สามารถทำให้ผิวขาวขึ้นโดยสามารถเปลี่ยนสภาพผิวได้จากเดิมอย่างผิดปกติ จากผิวดำกลายเป็นขาว และที่มีข้อความว่าสามารถขาวขึ้นได้ภายใน 3 วัน หรือ 7 วัน ถือว่าเป็นการโฆษณาเกินจริงอย่างแน่นอน เนื่องจากปกติแล้วไม่สามารถยับยั้งหรือเปลี่ยนแปลงการผลิต เม็ดสีเมลานิน จึงไม่สามารถทําให้สีผิวเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ รวมถึงเน็ตไอดอลชื่อดังที่มีรูปในการโฆษณาก็อาจจะมีความผิดฐานโฆษณาเกินจริงได้เช่นกัน ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ของเราอยู่ระหว่างดำเนินการแจ้งไปยังผู้โพสต์เพื่อระงับโฆษณาและดำเนินการแจ้งความผิด ซึ่งโฆษณามีความผิด ฐานเกินความจริงหรือก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรมกับผู้บริโภค โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาทนอกจากนี้จะมีการตรวจสอบไปยังบริษัทผู้ผลิตว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือไม่ด้วย
    std48002
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 2 คนสงสัย
    อย.ย้ำอย่าแชร์ข่าวยาพาราปนเปื้อนไวรัส ไม่เป็นความจริง
    นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการแชร์ข้อมูลในโลกออนไลน์อ้างถึงสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่ง เผยแพร่ข่าวห้ามกินยาพาราที่มีชื่อว่า P/500 เม็ดยาสีขาวและเคลือบมันจนเป็นประกาย เพราะมีไวรัสแมคชูโปปนเปื้อน
    std49571
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false