1 คนสงสัย
การอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟฆ่าเชื้อ ได้หรือไม่?
Patchaya Khamkaew
 •  4 ปีที่แล้ว
1 คนว่า ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ
0 ความเห็น

โควิด 2019

Patchaya Khamkaew เลือกให้ข้อความนี้⚠️️ ไม่อยู่ในขอบเขตการตรวจสอบ

เหตุผล

ยังไม่มีผลงานวิจัยที่สามารถชี้วัดได้ว่าการอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟสามารถฆ่าเชื้อ COVID-19 ได้
แต่หากใช้ความร้อนถึง 70 องศาขึ้นไป ในระยะเวลา 20 -

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    เรื่องนี้น่าสนใจมาก...หากประสบผลสำเร็จ คนที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดคงจะสบายสักที...... --------‐--‐-----//------------------ มนุษย์จะมีอายุขัยเพิ่มขึ้น! ทำความรู้จัก “อนุภาคนาโน” ที่ถูกค้นพบเมื่อปีที่แล้ว และอาจทำให้ “โรคหัวใจ” กลายเป็นแค่ประวัติศาสตร์ ทุกวันนี้ เวลาได้ยินข่าวคนดังเสียชีวิต มักมีสาเหตุมาจาก “มะเร็ง” และพานคิดว่ามะเร็งน่าจะเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของมนุษย์ แต่นั่นคือความเข้าใจผิด เพราะสาเหตุการตายอันดับ 1 ของมนุษย์ปัจจุบันคือ “โรคหัวใจ” หรือชื่อเต็มๆ ก็คือ “โรคหัวใจและหลอดเลือด” มนุษย์ที่เสียชีวิตเพราะโรคกลุ่มนี้ในแต่ละปีมากถึง 30% และเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 แซงหน้ามะเร็ง 1.เราอาจสังเกตว่า “คนสมัยก่อน” มักจะไม่ได้ตายเพราะ “โรคมะเร็ง” หรือ “โรคหัวใจ” . เหตุที่ช่วงหลังมานี้ “โรคมะเร็ง” และ “โรคหัวใจ” ขึ้นอันดับ 1 และ 2 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่ามนุษย์ปัจจุบันอายุยืนขึ้น เราไม่ค่อยตายจากสงครามและโรคติดเชื้อต่างๆ แบบในอดีต พออยู่มาจนแก่ . เราจึงเผชิญหน้ากับโรคที่โดยทั่วไปใช้เวลาพัฒนาหลายสิบปีกว่าจะพัฒนาจนคร่าชีวิตผู้คนได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคตับ โรคปอด โรคไต ฯลฯ 2.ก่อนหน้านี้ โรคที่ฆ่ามนุษย์เป็นอันดับ 1 คือ “มะเร็ง” เหตุที่เป็นเช่นนี้ ส่วนหนึ่งก็เพราะคำว่า “มะเร็ง” นั้นกินความกว้างมากๆ เพราะเกิดจากการที่เซลล์ของอวัยวะร่างกายกลายพันธุ์เป็นเนื้อร้าย เรียกได้ว่าเกิดเนื้อร้ายส่วนไหนก็นับเป็นมะเร็งหมด พอแก่ตัวไป แนวโน้มที่เซลล์จะกลายพันธุ์ก็ยิ่งเยอะมากขึ้น . ผลในทางสถิติคนก็เลยเป็นมะเร็งกันเยอะ และในอดีตเป็นโรคที่ “ไม่มีทางรักษา” . แต่ยุคหลังๆ เริ่มมีแนวทางการรักษาใหม่ๆ เริ่มมีเทคนิคการคัดกรองที่ดีขึ้น คนก็เลย “จัดการ” กับมะเร็งได้ดีกว่าก่อนมาก ส่งผลให้ “โรคหัวใจ” เป็นโรคที่กลายเป็นภัยต่อชีวิตอันดับ 1 ของมนุษย์ 3.คำว่า “โรคหัวใจ” ในความหมายของโรคหัวใจและหลอดเลือดก็เป็นคำที่กินความกว้างมากคือ กินความตั้งแต่ภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ตีบทำให้อวัยวะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ไปจนถึงภาวะผิดปกติทางกายภาพของหัวใจที่ส่งผลต่อการสูบฉีดเลือด . อย่างไรก็ดี สิ่งที่ใกล้ชิดกับโรคหัวใจที่สุดก็คือภาวะอย่าง ‘หลอดเลือดแข็งตัว’ (atherosclerosis) หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “ไขมันเกาะผนังหลอดเลือด” ในระดับที่เรียกได้ว่า เป็นภาวะยอดฮิตที่คนจะป่วย และพัฒนาไปเป็นโรคหัวใจในที่สุด . แม้ว่าคนจะนิยมเรียกกันแบบนี้ แต่สิ่งที่ไปพอกผนังหลอดเลือดนั้นไม่ใช่ “ไขมัน” แต่คือซากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ตายขณะที่มันพยายามจะทำลายคอเลสเตอรอลที่หลุดเข้ามาในผนังหลอดเลือด . (ซึ่งคอเลสเตรอลไม่ใช่ไขมัน ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นพลังงานไม่ได้ ดังนั้นอย่าเข้าใจผิดๆ ว่าเวลาเรา “เบิร์น” ตอนออกกำลังกาย แล้วจะเอาคอเลสเตอรอลมาใช้ ร่างกายเราไม่ได้ทำงานอย่างนั้น) . พอซากเซลล์เม็ดเลือดขาวตายสะสมกันในผนังหลอดเลือดมากๆ หลอดเลือดก็จะหนาขึ้นและยืดหยุ่นน้อยลง เราเลยเรียกภาวะนี้ว่า “หลอดเลือดแข็งตัว” 4.ถ้าที่ว่ามาฟังเข้าใจยากไป ก็คิดซะว่าหลอดเลือดเราเป็น “ท่อ” ก็ได้ . ภาวะที่ว่ามาคือภาวะ “ท่อตัน” และพอ “ท่อตัน” เลือดก็จะไปต่อไม่ได้ ซึ่งถ้านั่นเป็นอวัยวะสำคัญอย่างหัวใจหรือสมอง เราก็จะเสียชีวิต (ทั้งนี้เวลาเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้จะเรียก Heart Attack ส่วนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ได้ จะเรียก Stroke สองภาวะนี้มีสาเหตุพื้นฐานคือ “ท่อตัน” นั่นเอง) . ดังนั้นปัญหาที่คร่าชีวิตมนุษย์แบบนับไม่ถ้วน ก็คือเรื่องง่ายๆ อย่าง “ท่อตัน” นี่เอง เพียงแต่ท่อที่ว่าคือเส้นเลือดแดงในร่างกายที่คอยส่งออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงอวัยวะ 5.คำถามต่อมาคือ แล้วภาวะ “ท่อตัน” นี่จัดการแค่ใส่ “น้ำยาล้างท่อ” ลงไปไม่ได้หรือ? . คำตอบคือ “ไม่ได้” เพราะฉะนั้นวิธีการรักษาจึงต้อง “ผ่าตัด” “ทำบอลลูน” และ “ทำบายพาส” กันให้วุ่นวาย . วิธีการรักษาปัจจุบันคือ ถ้า “ท่อตัน” ทำได้แต่ผ่าตัด (ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่) ซึ่งก่อนผ่าตัด เราก็ต้องระบุให้ได้ว่า “ท่อ” ตรงส่วนไหนตัน โดยการ “ฉีดสี” และทำ MRI . ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ บอกเลยว่า “แพงมาก” แม้ว่าประกันสังคมจะครอบคลุมค่ารักษา แต่ไม่ว่าจะเป็นในประเทศยุโรปหรือไทย คุณต้องผ่านกระบวนการคัดกรองอย่างละเอียด ถึงจะได้ทำการวินิจฉัยว่าคุณกำลังจะ “ท่อตัน” ตรงส่วนไหนของร่างกาย เรียกว่าผู้ป่วยจะได้ทำเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น . ปัญหาคือทุกวันนี้ เราไม่สามารถรู้ได้ว่าร่างกายของเรา “กำลังจะท่อตัน” ตรงไหน เพราะมันไม่มีทางจะมองเห็นเส้นเลือดในร่างกายของเราด้วยการวินิจฉัยทั่วๆ ไป การไป “ตรวจสุขภาพประจำปี” ซึ่งตรวจด้วยวิธีทั่วไป ก็ไม่มีทางรู้ได้ 6.ปกติเราจะรู้ได้ว่า ตัวเรามีความเสี่ยงต่อโรคกลุ่มนี้ก็ต่อเมื่อไปตรวจสุขภาพแล้วพบว่า ค่าความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลสูง และวิธีการ “พยุงอาการ” ของกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดหลักๆ คือเขาจะให้กิน “ยาลดความดัน” กับ “ยาลดคอเลสเตอรอล” ซึ่งต้องกินไปตลอดชีวิต . และผลหลักๆ คือการชะลอภาวะ “หลอดเลือดแข็งตัว” หรือลดความเสี่ยงของการที่คุณจะ “ท่อตัน” จนเลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองไม่พอ จนพิการหรือถึงแก่ความตายในที่สุด . นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งก็เน้นว่าคือการ “ชะลอ” เท่านั้น ยังไม่ใช่การ “รักษา” และที่เป็นแบบนี้ เพราะระบบสาธารณสุขไม่ว่าที่ใดในโลก ยังไม่มีต้นทุนพอที่จะจับคนทุกคนมาฉีดสีและทำ MRI เพื่อหาว่าคนๆ นั้นกำลังจะ “ท่อตัน” ตรงไหนของร่างกาย . ผลก็คือ วิธีชะลอดังกล่าวก็เลยให้กินยาไปเรื่อยๆ แทน เพราะนั่นสมเหตุสมผลในเชิงงบประมาณมากกว่า ถ้าต้องจัดการกับ “กลุ่มเสี่ยง” จำนวนมากหลักล้านคน 7.ประเด็นคือ ภาวะหลอดเลือดแข็งตัวเป็นภาวะที่แทบทุกคนที่อยู่ในสังคมสมัยใหม่แก่ตัวไปยังไงก็เป็น ไม่ว่าจะด้วยอาหาร ด้วยวิถีชีวิต และด้วยอายุที่ยืนขึ้น . เรียกได้ว่าถ้า “ท่อยังไม่ตัน” เมื่อแก่ตัวไป ทุกคนกำลังก้าวเดินไปสู่ภาวะ “ท่อกำลังจะตัน” . ดังนั้น ถ้าจะว่ากันในแง่หนึ่งแล้ว นี่คือ “โรคของทุกคน” ที่ในทางเทคนิค ในปัจจุบันยังไม่มี “ยารักษา” ใดๆ ที่จะแจกจ่ายให้ทุกๆ คนกินทีเดียวแล้วหายได้ 8.แต่ก็อย่างที่บอกไว้ในชื่อเรื่อง ต่อไปนี้โรคหัวใจอาจเป็นแค่อดีต . เพราะเมื่อต้นปี 2020 ในขณะที่ชาวโลกกำลังตื่นตระหนกกับโรคระบาดใหม่อย่างโควิด-19 นักวิจัยกลุ่มหนึ่งได้ตีพิมพ์งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ซึ่งเนื้อหาหลักๆ คือพวกเขาค้นพบอนุภาคนาโนที่จะ “คืนชีพ” ให้พวกเซลล์ภูมิคุ้มกันที่กินคอเลสเตอรอลแล้วตายในผนังหลอดเลือด ให้ฟื้นขึ้นมากินพวกคอเลสเตอรอลและซากเซลล์ที่ตายไปแล้วในผนังหลอดเลือด . ผลก็คือ สิ่งที่ไปพอกผนังหลอดเลือดจน “แข็งตัว” ก็จะค่อยๆ ลดลงไป และผนังหลอดเลือดก็จะเป็นปกติในที่สุด . หรือพูดให้มันง่ายกว่านั้น “อนุภาคนาโน” ก็คือ “น้ำยาล้างท่อ” ของ “ภาวะท่อตัน” ในหลอดเลือดนั่นเอง . เรียกได้ว่ามีอนุภาคนี้คือจบเลย เราไม่ต้องรู้ด้วยซ้ำว่า “ท่อตัน” ตรงไหน ฉีดเข้าไปในเลือด อนุภาคนี้จะค่อยๆ จัดการท่อที่ตันเอง ไม่ต่างจากที่คุณเทน้ำยาล้างท่อตอนต่อตัน คุณไม่ต้องรู้หรอกว่ามันตันตรงส่วนไหน น้ำยาจัดการให้หมด . และนี่ก็ไม่ใช่แค่คอนเซปต์ลอยๆ เพราะขณะนี้ อนุภาคนี้ทดลองในหนูสำเร็จแล้ว และก็ไม่แปลกเลยที่อีกไม่นานก็น่าจะได้ทดลองในมนุษย์แน่ๆ . ถ้าสำเร็จ ถึงตอนนั้น คนที่ต้องกินยาทุกวันไปตลอดชีวิตก็อาจไม่ต้องกินกันอีกแล้ว . และถ้ามากไปกว่านั้น นี่อาจเป็นการบอกลาโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับคนแทบทั้งหมดในโลกก็เป็นได้ อ้างอิง: ScienceDaily. Nanoparticle chomps away plaques that cause heart attacks. https://bit.ly/3dzPx9V NHI. Plaque-eating nanoparticles may help prevent heart attacks. https://bit.ly/3iTUNX2 #Nanoparticle Cr.BrandThink
    ไม่ระบุชื่อ
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    การอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟเพื่อรับประทานยังมีอันตรายแฝง จริงไหม
    การอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟเพื่อรับประทานยังมีอันตรายแฝงที่คุณอาจคาดไม่ถึงอยู่
    Mrs.Doubt
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 3 คนสงสัย
    อาหารอุ่นไมโครเวฟ อันตรายแถมเสี่ยงมะเร็ง
    กรณีที่มีผู้โพสต์คลิปวิดีโอให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพว่า อันตรายจากการทานอาหารที่อุ่นไมโครเวฟ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) ที่ใช้ปรุงอาหาร คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับคลื่นวิทยุ มีหลักการทำงานโดยการปล่อยรังสีเป็นคลื่นไปกระทบอาหาร ทำให้โมเลกุลน้ำทั้งภายใน และนอกอาหารสั่น และเสียดสีกันจนเกิดเป็นความร้อนสะสม จากนั้นพลังงานดังกล่าวจะสลายตัวไป จากข้อมูลที่ระบุว่า การใช้ไมโครเวฟจะทำให้สูญเสียสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น วิตามินบี วิตามินซี โฟเลตนั้น ตามข้อเท็จจริงแล้วการปรุงหรืออุ่นอาหารทุกกรรมวิธีที่ใช้ความร้อนอาจเป็นผลให้เกิดการสูญเสียสารอาหารได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่าคลื่นไมโครเวฟไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ และไม่ตกค้างในอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าการอุ่นอาหารด้วยไมโครเวฟจะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง
    std47915
     •  10 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    "หมูสับ (และเนื้อสัตว์) ไม่จำเป็นต้องล้างน้ำ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ " วันนี้ นักข่าวโทรมาถาม ถึงกรณีที่มีการโพสต์ของแม่บ้านท่านหนึ่ง ที่โพสต์รูปของ "หมูสับ" กำลังล้างด้วยน้ำ พร้อมแคปชั่นว่า "หมูสับถ้าสับเองก็สบายหน่อย แต่ถ้าซื้อมา มั่นใจได้ยังไงว่ามันสะอาด😓 บ้านนี้จึงล้างหมูสับทุกครั้ง😅" (ดูภาพประกอบ) .. ... เลยทำให้เกิดเป็นประเด็นสงสัยกันว่า จริงๆ แล้ว หมูสับควรจะต้องล้างน้ำ ก่อนนำมาประกอบอาหารหรือไม่ ? ความเห็นของผมก็คือ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่สกปรกจริงๆ ก็ไม่ต้องเอาเนื้อสัตว์ที่ซื้อมา ทั้งเนื้อชิ้นหรือเนื้อที่สับแล้ว (ไม่ว่าจะหมูหรือไก่หรือเนื้อวัว) มาล้างน้ำครับ สามารถนำไปประกอบอาหารได้ เพียงแต่ต้องทำให้สุก ด้วยความร้อนที่มากเพียงพอ นานเพียงพอ ให้มั่นใจว่าฆ่าเชื้อโรค (และตัวอ่อนพยาธิ ถ้ามี) ตายหมดแล้ว เรื่อง "ล้างเนื้อสัตว์ ก่อนทำอาหาร" แบบนี้ เป็นโจทย์คำถามที่ในต่างประเทศก็มีครับ แต่สำหรับกรณีของ "เนื้อหมูสับ" (หรือเนื้อสัตว์อื่นๆ ที่เอามาบด หรือสับแล้ว) จะไม่ค่อยเป็นประเด็นนัก ไม่ค่อยเป็นที่นิยมทำ เพราะถ้าเอามาล้าง เนื้อสับนั้น มันมักจะละลายไปกับน้ำด้วย ที่จะเป็นประเด็นกันมากกว่า คือ การล้างเนื้อสัตว์ที่เป็นชิ้นใหญ่ ทั้งเนื้อหมูและเนื้อไก่ (ซึ่งคนเอเชียนิยมทำกันมานาน) โดยหวังว่าจะทำให้เนื้อนั้นสะอาดขึ้น แต่ก็จะทำได้เพียงแค่การล้างบรรดา คราบไขมัน เศษสิ่งสกปรก เศษดิน ออกไป .. ไม่ใช่ว่าจะล้างเอาเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ออกไปได้ง่ายๆ เหมือนที่หลายคนเข้าใจกันไปเอง แต่ในยุคปัจจุบันนั้น เนื้อสัตว์ส่วนใหญ่ที่จำหน่ายกัน โดยเฉพาะที่อยู่ในซุปเปอร์มาร์เก็ต มักจะเป็นเนื้อสัตว์ที่ผ่านการผลิตตามมาตรฐาน ตั้งแต่แหล่งชำแหละ การขนส่ง และการบรรจุ รวมถึงการจัดเก็บ-การวางจำหน่าย จึงสะอาดเพียงพอที่จะนำไปบริโภคต่อได้ โดยไม่ต้องเอามาล้างน้ำซ้ำ จะเห็นว่า ในทางสากล คำแนะนำขององค์การด้านอาหารของประเทศต่างๆ (โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศตะวันตก) ก็จะระบุเลยว่า พวกเนื้อสัตว์นั้น ไม่ควรที่จะต้องเอามาล้างน้ำก่อนไปประกอบอาหาร ด้วยซ้ำ เพราะในมุมกลับกัน การเอาเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะพวกเนื้อไก่ มาล้าง อาจจะทำให้เกิดปัญหา เกิดความเสี่ยงขึ้นได้ เนื่องจากบนเนื้อสัตว์อาจจะมีเชื้อโรคเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนอยู่ ทำให้เวลาที่เราไปเอาเนื้อสัตว์ไปล้าง กลับกลายเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายออกไป เลอะเทอะบริเวณอ่างน้ำ หรือกระเด็นกับน้ำไปเปื้อนพวกอุปกรณ์ทำครัว หรือเปื้อนมือเรา และไปเปื้อนโดนอาหารอย่างอื่นในที่สุด ซึ่งเมื่อเรากินเชื้อโรคเข้าไป ก็อาจจะเกิดอันตรายขึ้นได้ ดังนั้น ประเด็นสำคัญที่หน่วยงานดังกล่าวเน้นกัน คือ การเอาเนื้อสัตว์ไปทำให้สุก ให้ฆ่าเชื้อโรคที่อาจจะปนเปื้อนมาให้หมดไป ไม่ใช่การพยายามล้างออกแต่แรก ส่วนกรณีที่บอกว่า จำเป็นต้องล้าง หรือควรต้องล้างน้ำ นั้น จริง ๆ ก็คือแค่เฉพาะถ้าเราทำเนื้อชิ้นนั้นตกพื้น หรือเลอะเทอะสกปรกเพราะซื้อมาจากเขียงชำแหละในตลาดสด ที่มีสภาพไม่ถูกสุขลักษณะ สรุปคือ ถ้าไม่ได้ซื้อเนื้อสัตว์มาจากแหล่งผลิตที่มั่นใจ ก็เอามาล้างได้บ้าง (แนะนำให้ใช้น้ำร้อน แค่ราดลงไป แล้วเทน้ำออกก็พอ) แต่ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ที่ซื้อในแหล่งที่สุขอนามัย ก็ไม่จำเป็นต้องล้างเลย เพียงแค่นำมาทำให้สุก ก็เพียงพอจะบริโภคได้แล้วครับ
    ไม่ระบุชื่อ
     •  8 เดือนที่แล้ว
    meter: false