1 คนสงสัย
ปี 64 งดจัด พระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จริงหรือ
เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ กระทรวงเกษตรฯ ไม่สามารถที่จะจัดงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ได้ตามปกติ จึงได้มีหนังสือถึงสำนักพระราชวัง ขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยงดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2564 และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตประกอบพิธีปลุกเสกพันธุ์ข้าวพระราชทาน เพื่อเป็นพันธุ์ข้าวสำหรับเพาะปลูก รวมถึงเพื่อความเป็นสิริมงคลและขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรทั่วประเทศ
anonymous
 •  3 ปีที่แล้ว
meter: true
1 ความเห็น

โควิด 2019

Ad.tar เลือกให้ข้อความนี้✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด

เหตุผล

ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2564 ผ่านโปรแกรมซูม ที่กระทรวงเกษตรฯ ว่า จากสถานการณ์การแพร

ที่มา

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/934832

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    ทุนการศึกษาปีละ 5,000 บาท ต่อเนื่อง 5 ปี สำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่เป็นลูกของผู้เสียชีวิตจากโควิด ครับ 🙏 จริงหรือไม่
    ทุนการศึกษาปีละ 5,000 บาท ต่อเนื่อง 5 ปี สำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่เป็นลูกของผู้เสียชีวิตจากโควิด ครับ 🙏 โดยไม่จำกัดจำนวนทุน และไม่จำกัดระดับชั้นการศึกษา ฝากแชร์ เผยแพร่ต่อ ส่งข่าวให้ถึงผู้สูญเสียด้วย ครับ … ‘มูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์’ มอบทุนการศึกษาต่อเนื่อง ๕ ปี ๆ ละ ๕,๐๐๐ บาท ให้นักเรียนนักศึกษาที่เป็นบุตรของผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัส ‘โควิด-๑๙’ โดยไม่จำกัดจำนวนทุน และไม่จำกัดระดับชั้นการศึกษา เนื่องด้วยมูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีความประสงค์สนับสนุนทุนการศึกษา เพื่อช่วยเหลือนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้เป็นบุตรของผู้เสียชีวิตจากโรค “โควิด-๑๙” และได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส “โควิด-๑๙” โดยไม่มีเงื่อนไขที่ต้องใช้คืนแต่อย่างใด เพียงมุ่งหวังให้ทุนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมให้กำลังใจ และสนับสนุนสร้างคนดี คนเก่ง มีคุณธรรมในสังคม ทั้งนี้ เพื่อให้การจัดสรรทุนการศึกษา เป็นไปด้วยความเรียบร้อยทั่วถึง จึงกำหนดรายละเอียด วัตถุประสงค์ คุณสมบัติ เอกสารการยื่นใบสมัคร และเกณฑ์การคัดเลือก ดังต่อไปนี้ วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อบำเพ็ญกุศลเนื่องในอายุวัฒนมงคลครบ ๘๕ ปี เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต ประธานกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔ ๒. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส “โควิด-๑๙” คุณสมบัติของผู้สมัคร ๑. เป็นผู้มีสัญชาติไทย ๒. เป็นบุตรของผู้เสียชีวิตจากโรค “โควิด-๑๙” ๓. กำลังศึกษาอยู่ เอกสารการยื่นใบสมัคร ๑. สำเนามรณะบัตรของบิดาหรือมารดาที่ระบุว่าเสียชีวิตจากโรค “โควิด-๑๙” ๒. สำเนาบัตรประจำตัวหรือหนังสือรับรองสถานภาพ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ๓. สำเนาระเบียนแจ้งผลการศึกษาในภาคเรียนที่ผ่านมา โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาลงนามรับรอง ๔. สำเนาทะเบียนบ้านทั้งของผู้รับทุนและผู้เสียชีวิต ๕. สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ที่เป็นชื่อของนักเรียน นิสิต นักศึกษา เกณฑ์การคัดเลือก มูลนิธิฯ จะคัดเลือกจากข้อมูลตามเอกสารการสมัครที่ครบถ้วน ผ่านช่องทางการรับสมัคร และจะพิจารณาตามขั้นตอนของมูลนิธิฯ ทั้งนี้ ผลการพิจารณาถือเป็นที่สิ้นสุด สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่มีความประสงค์รับทุนการศึกษา ให้ดำเนินการกรอกข้อมูลได้ที่ https://forms.gle/jweb5cYzkjrZXYhY7 พร้อมแนบไฟล์เอกสารตามที่กำหนด หมายเหตุ ๑. ผู้ที่ได้รับทุนตามบัญชีท้ายประกาศนี้ ซึ่งได้รับทุนการศึกษาในปี ๒๕๖๔ แล้ว จะได้รับทุนต่อเนื่องไปอีก ๔ ปี ๒. ผู้ที่ได้รับทุนต่อเนื่อง ๕ ปี จะต้องส่งเอกสารไปยังมูลนิธิฯ ทุกปี เพื่อส่งหลักฐานการศึกษาให้เป็นปัจจุบัน กรอกข้อมูลรับทุนที่ https://www.facebook.com/135197050358369/posts/1017057262172339/
    Mrs.Doubt
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    (เข็ม) (เข็ม) (เข็ม) (เข็ม) (เข็ม) (เข็ม) (เข็ม) (อย่า) ห้ามผ่าน (!!) (ซ้าย) (หัวใจ) ถ้าคุณรักใคร…กำชับให้เขาตั้งใจดู (+) ดูให้จบ (!!) (รัก) (1)(.) ห้ามฉีดวัคซีน (รัก) (2)(.)ดูคลิปวีดีโอนี้ให้เข้าใจ (*) โควิด ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด (.)(.)แต่สิ่งที่น่ากลับเป็นวัคซีน(.)(.)(.) (ขวา) (ดู) ให้ท่านรีบฟังให้จบใช้เวลาประมาณ 1 ช.ม. 21 นาที (เวลา) (ขวา) (astonished) ถ้ามันเป็นจริงอย่างที่นายไพศาลพูด…แล้วท่านจะคิดอย่างไร กับ CIVID-19 …กับคนไทย…กับโลกใบนี้ (เอ๊ะ) (ขวา) นายไพศาล พืชมงคล อภิปรายได้สุดยอด(ok) ได้ทราบข้อมูลมากมาย นะครับ (moon wink) (ขวา)(ขวา) https://youtu.be/nOfEIJZtdTk (ซ้าย)(ซ้าย) (เข็ม) (เข็ม) (เข็ม) (เข็ม) (เข็ม) (เข็ม) (เข็ม)
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้ตรวจราชการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.)ในฐานะโฆษกพศ. เปิดเผยว่า ที่ประชุมมหาเถรสมาคม( มส.) เมื่อเร็วๆ นี้ เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า จากการเจริญพระพุทธมนต์ บทรัตนสูตร เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ประชาชน และความเป็นสิริมงคลต่อประเทศ เมื่อ 11 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้มีการนำบทคาถาไล่โควิด มาเป็นบทเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อให้การใช้ศัพท์ โรคโควิด ในบทเจริญพระพุทธมนต์ถูกต้องตามหลักภาษาบาลี และเป็นประวัติศาสตร์ของไทย
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    วันไหว้พระจันทร์ ปีนี้ตรงกับวัน อังคาร ที่ 21 กันยายน 2564 เป็นเทศกาลตามวัฒนธรรมจีนที่มีขึ้นในกลางฤดูใบไม้ร่วง เพื่อเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว จะมีขึ้นในคืนวันเพ็ญเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 21 กันยายน 2564 และในเทศกาลไหว้พระจันทร์นี้ ชาวจีนจะเฉลิมฉลองด้วยการไหว้ดวงจันทร์ในเวลากลางคืน ในบางประเทศ เช่น ฮ่องกง, ไต้หวัน, สิงคโปร์ หรือเวียดนาม จะจัดเป็นประเพณีใหญ่ มีการเฉลิมฉลองด้วยโคมไฟสีแดง เป็นสีสันยามค่ำคืน หรือบางแห่งอาจมีการเชิดมังกร ทั้งนี้จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่น ขนมไหว้พระจันทร์ นอกจากนี้แล้ว ยังมีขนมชนิดหนึ่ง เรียกว่า "ขนมไหว้พระจันทร์" ที่มีสันฐานกลมคล้ายขนมเค้ก ทำจากแป้ง มีไส้ต่างๆ เป็นธัญพืช ใช้เซ่นไหว้และรับประทานกันจนเป็นเอกลักษณ์สำหรับเทศกาลนี้ แต่ชาวสนุก! ดูดวงรู้หรือไม่ว่าประวัติความเป็นมาของวันไหว้พระจันทร์มีที่มาที่ไปอย่างไร... ประวัติของวันไหว้พระจันทร์ เทศกาลไหว้พระจันทร์ของทุกปี (วันที่ 15 เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน) ทุกๆ ครัวเรือนจะซื้อขนมไหว้พระจันทร์มาไหว้พระจันทร์ พร้อมกับการชมพระจันทร์จนกลายเป็นประเพณีของจีนตลอดมา สำหรับประเพณีรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ในวันไหว้พระจันทร์นั้น เกิดขึ้นเมื่อสมัยมองโกลเข้ามาปกครองแผ่นดินจีน เมื่อชาวมองโกลกดขี่ข่มเหงและทำร้ายชาวจีนอย่างโหดเหี้ยม และเพื่อควบคุมดูแลชาวจีนอย่างใกล้ชิด ชาวมองโกลจึงส่งทหารของตนไปประจำอยู่ในบ้านของชาวจีนครอบครัวละ 1 คน เป็นอันว่าชาวจีนทุกๆ ครัวเรือนต่างต้องเลี้ยงดูทหารมองโกล 1 คน ทหารมองโกลเหล่านี้ยังก่อกรรมทำชั่วไปหมด ทำให้ชาวจีนขุ่นเคืองใจเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาท่านหลิวปั๋วเวิน คิดได้วิธีหนึ่ง คือ ให้นำกระดาษเขียนข้อความ แล้วสอดไส้ไว้ในขนม เรียกร้องให้ชาวจีนทุกคนลงมือสังหารทหารมองโกลที่ประจำอยู่ในบ้านของตน อย่างพร้อมเพรียงกันในวันเพ็ญเดือนแปด ทั้งนี้เพื่อให้ชาวจีนที่ไปซื้อขนมมารับประทานกัน ต่างได้อ่านข้อความดังกล่าวและช่วยกันกระจายข่าวนี้ออกไป เพื่อก่อการปฏิวัติโดยพร้อมเพรียงกัน ณ วันเพ็ญเดือนแปด ทำให้สามารถโค่นล้มอำนาจการปกครองของมองโกลในที่สุด เพื่อเป็นการฉลอง และรำลึกการกอบกู้แผ่นดินที่ประสบความสำเร็จ ประเพณีรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ในวันเทศกาลดังกล่าวจึงมีการสืบทอดกันตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าแห่งหนใดที่มีชาวจีนเดินทางไปถึงก็จะพาประเพณีรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ ไปด้วย สำหรับขนมไหว้พระจันทร์ที่แพร่หลายในไทยนั้น เป็นแบบของกวางตุ้งโดยส่วนใหญ่ หลายปีที่ผ่านมา ขนมไหว้พระจันทร์ที่ผลิตในไทย ไม่ว่าด้านคุณภาพ รสชาติ และการบรรจุล้วนมีระดับที่สูงขึ้น  ขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งขนมไหว้พระจันทร์ในปัจจุบันขนมไหว้พระจันทร์ได้มีการดัดแปลงทั้งรสชาติและรูปร่างหน้าตาให้ดูทันสมัยหลากหลายไส้มากขึ้น แต่ก่อนที่เราจะไปทราบว่าไส้ต่างๆ ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดมีอะไรบ้างเรามารู้กันสักนิดว่า "ขนมไหว้พระจันทร์" ทำไมต้องเป็นทรงกลม คำตอบก็คือเพราะขนมไหว้พระจันทร์เป็นขนมที่เราใช้ไหว้พระจันทร์ จึงต้องทำออกมาในลักษณะทรงกลมคล้ายดวงจันทร์นั่นเอง ส่วนตัวขนมจะทำจากแป้งและใส่ไส้เอาไว้ภายใน เจ้าไส้ที่ว่านี่แหละที่เป็นจุดเด่นที่ทำให้ขนมไหว้พระจันทร์มีจุดเด่นต่างกันออกไป ซึ่งส่วนใหญ่หากเป็นแบบต้นตำหรับจะเป็นธัญพืชต่างๆ เช่น ทุเรียน, เมล็ดบัว, แมคคาเดเมีย, พุทราจีน เป็นต้น ขนมไหว้พระจันทร์มีไส้อะไรบ้าง ขนมทรงกลม สามารถใส่ไส้ได้หลากหลาย แต่ขนมแบบดั้งเดิมจะนิยมใช้เป็นไส้ธัญพืชและเนื้อของผลไม้กวนหลากรส มักใช้เป็นผลไม้ที่เก็บไว้ได้นานผ่านการแปรรูปแล้วเช่น ทุเรียนกวน, เมล็ดบัว, ถั่วกวนต่างๆ ส่วนในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ต่างๆ ให้มีความหลากหลาย มากยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มเนื้อสัตว์ต่างๆ เข้าไป เช่น ขนมไว้พระจันทร์ไส้หมูแฮม ไส้ไข่เค็ม ไส้หมูแดงและหมูหยองเป็นต้น แต่ในปัจจุบันก็ได้มีการดัดแปลงทำให้ทันสมัยและรับประทานง่ายขึ้นด้วยการทำไส้ที่หลากหลายเช่น ชาเขียว อัลมอลด์ ช็อกโกแลต ครีมคัสตาร์ด หรือบางแห่งก็จะทำออกมาคล้ายๆ ขนมโมจิ มีสีสันและรูปทรงน่ารับประทานมากขึ้นนั่นเอง พอเรารู้จักที่มาที่ไปประวัติวันไหวพระจันทร์กันแล้ว และได้รู้ถึงเรื่องราวของขนมไหว้พระจันทร์กันไปพอสมควรสิ่งต่อไปก็คือ ขั้นตอนของการไหว้พระจันทร์ต้องทำอย่างไร? ขั้นตอนพิธีการไหว้พระจันทร์ พิธีไหว้พระจันทร์จะไหว้กลางแจ้งหลังพระอาทิตย์ตกดินหรือเริ่มตอนหัวค่ำ (เมื่อเห็นพระจันทร์ก็สามารถไหว้ได้เลย) การตั้งโต๊ะจะจัดให้เรียบร้อยก่อนพระจันทร์ลอยสูงเกินขอบฟ้า และเก็บก่อนที่พระจันทร์เลยหัวไปหรือเมื่อเทียนดอกใหญ่ดับลง สถานที่ไหว้พระจันทร์อาจเป็นลานบ้านหรือดาดฟ้าก็ได้ เครื่องบวงสรวงที่ใช้จะไหว้ด้วยของเจเหมือนไหว้เจ้าแม่กวนอิม ซึ่งไหว้พระจันทร์เพื่อให้มีคู่ คนจีนจะถวายอาหารเป็นเลขคู่ แต่บางคนอาจถวายอย่างละ 5 ก็ได้ ของไหว้ควรเป็นของแห้ง เพราะการไหว้พระจันทร์จะทำพิธีในตอนกลางคืน หากไหว้ด้วยของสดอาจเน่าเสียได้ง่าย ของไหว้ประกอบไปด้วย น้ำชาหรือใบชา 4 ถ้วย อาหารเจ 4 อย่าง เช่น วุ้นเส้น, ดอกไม้จีน, เห็ดหูหนู, เห็ดหอม, ฟองเต้าหู้ เป็นต้น ขนมหวาน 4 อย่าง เช่น ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมเปี้ยะ สาคูแดง 4 ถ้วย ขนมโก๋สีขาว ผลไม้ 4 อย่าง ควรเป็นผลไม้ที่เป็นมงคล เช่น - ทับทิม ที่มีเมล็ดมากมาย หมายถึง การมีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง - แอปเปิ้ล หมายถึง ความสงบสุข สันติ - ส้มโอ หัวเผือก - องุ่น หมายถึง มีแต่ความเพิ่มพูน - ส้ม หมายถึง เป็นสิ่งมหามงคล - สาลี่ หมายถึง มีแต่เรื่องดีๆ สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต ดอกไม้สด 1 คู่ ธูป 3 ดอก หรือ 5 ดอก เทียน 1 คู่ และกระถางธูป ของใช้ส่วนตัวของผู้หญิง เช่น ชุดเครื่องแป้ง เครื่องสำอาง เครื่องประดับ เครื่องแต่งกายของผู้หญิง โคมไฟ เพื่อให้มีชีวิตที่สว่างไสว อ้อย 1 คู่ สำหรับทำเป็นซุ้ม กระดาษไหว้พระจันทร์ กระดาษเงิน กระดาษทอง เช่น ค้อซี, กอจี๊, เนี้ยเก็ง, โป๊ยเซียนตี่เอี๊ย คือ กระดาษเงินกระดาษทอง, เนี้ยเพ้า คือ ชุดเจ้าแม่พระจันทร์ จากนั้นนำขอทั้งหมดมาจัดวาง เริ่มจากการตั้งโต๊ะ มีซุ้มประตูที่ทำจากต้นอ้อยผูกโคมไฟไว้กับต้นอ้อยให้สวยงาม วางกระถางธูป เทียนไว้ด้านหน้าสุด ดอกไม้วางไว้สองข้าง ผลไม้จัดตามความสวยงาม ส่วนขนมไหว้พระจันทร์ที่จัดเรียงเป็นชั้น วางขนมโก๋ และขนมหวานต่างๆ รอบโต๊ะวางประดับประดาด้วยกระดาษลวดลายที่มี อย่างไรก็ดีการจัดตั้งโต๊ะนั้นไม่ตายตัวเสมอไป แล้วแต่ใครมีวิธีการที่ต่างกันไปเน้นความสวยงามเป็นหลัก จากนั้นก็ไหว้อธิษฐานขอพรต่อพระจันทร์ บทสวดไถ่อิมแชกุงเสี่ยเก็ง “พระคัมภีร์แม่พระจันทร์” ไถ่ อิม ผ่อ สัก เฮี่ยง ตัง ไล๊ โชย เต๊ง ตี่ เง็ก กิ๋ว เต่ง ไค จับ บ่วง โป้ย โซย จู ผ่อ สัก จู ฮุก ผ่อ สัก เหลียง เปียง ไป๊ จู จุง ฮุก เก่ง บ่อ ฮุ๊ง ตี่ ฉุก จุ้ย โน๊ย ฮวย หมั๋ว ตี่ ไค ท้าว ตั่ว ฉีก จั๊ง จู ป้อ ถะ พั๊ว ซอ สี่ ไก่ งั้ง กวง เม็ง เจก ฮุก ป่อ ตับ ที ตี่ อึง หยี่ ฮุกป่อ ตับ แป๋ บ้อ อึง ต่อ แซ แป่ บ้อ เจ็ง ฮก ซิ่ว ก่วย สี่ แป่ บ้อ จ๋า เถี่ยว แซ นำ มอ ฮุก นำ มอ หวบ นำ มอ ออ นี ถ่อ ฮุก ที ล๊อ ซี๊ง ตี่ หล่อ ซี๊ง นั๊ง หลี่ หลั่ง หลั่ง หลี่ ซิง เจก เฉียก ใจ เอียง ฮ่วย อุ่ย ติ๊ง อู่ หนั่ง เนี่ยม ติ๊ก ฉีก เพียง ไถ่ อิม เก็ง แซ ซี่ ปุก ตะ ตี่ เง็ก มึ๊ง ถ้าหากใครที่ไม่สะดวกจะเตรียมของมากมายดังที่กล่าวไว้ สามารถใช้เพียงขนมไหว้พระจันทร์หรือขนมอื่นๆ ร่วมด้วยแต่ต้องเป็นขนมรูปทรงกลม รวมไปถึงของใช้ที่จำเป็นสำหรับผู้หญิง และโหลหรือชามใส่น้ำตั้งเอาไว้เพื่อให้เป็นแสงสะท้อนจากเงาจันทร์เสมือนว่าเราได้อาบแสงจันทร์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ไหว้นั่นเอง และสุดท้ายสิ่งที่หลายๆ คนหรือหลายๆ ครอบครัวจะได้จากการไหว้ใน วันไหว้พระจันทร์ ก็คือสมาชิกในครอบครัวได้มาอยู่พร้อมหน้ากันเพราะวันดีๆ แบบนี้จะมีเพียงปีละครั้ง นอกจากนี้ยังจะได้รับประทานอาหารพร้อมหน้ากันภายใต้พระจันทร์เต็มดวง อันเป็นการนำความสุขสมบูรณ์มาสู่สมาชิกครอบครัวได้เป็นอย่างดี นับว่ามีคุณค่าแก่การสืบทอดและเผยแพร่ตลอดไป
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ 12 สค 63 BEM จัดกิจกรรมยกเว้นค่าโดยสารให้คุณแม่ที่โดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงินและสายสีม่วง นั่งฟรีตลอดทั้งวัน
    การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM จัดกิจกรรมยกเว้นค่าโดยสารให้คุณแม่ที่โดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (MRT สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (MRT สายสีม่วง) ในวันพุธที่ 12 สิงหาคม 2563 ตลอดเส้นทางและตลอดระยะเวลาการเปิด
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยกเว้นค่าบริการจอดรถที่ลานจอดรถยนต์ระยะยาว โซน C ระหว่างวันที่ 12 - 17 พ.ค. 65 จริงไหม
    กระทรวงคมนาคมอำนวยความสะดวกการเดินทาง ช่วงวันหยุดยาว ระหว่างวันที่ 12 - 17 พ.ค. 2565 - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยกเว้นค่าบริการจอดรถที่ลานจอดรถยนต์ระยะยาว โซน C ระหว่างวันที่ 12 - 17 พ.ค. 65 - การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษ 3 สายทาง ในวันพืชมงคล วันที่ 13 พ.ค. 65 และวันวิสาขบูชา วันที่ 15 พ.ค. 65
    Mrs.Doubt
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ประวัติวันสงกรานต์ ความเป็นมาของวันสงกรานต์ ประวัติวันสงกรานต์ หรือเรื่องเล่า ตำนานของสงกรานต์นี้มีปรากฎในศิลาจารึกที่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร  เป็นเรื่องราวตำนานตั้งแต่อินเดียโบราณเล่าสืบต่อกันมา โดยย่อว่า มีบุตรของเศรษฐีคนหนึ่งชื่อ ธรรมบาลกุมาร เป็นผู้ที่รู้ภาษานกแล้ว เรียนไตรเพทจบ เมื่ออายุได้เจ็ดขวบ ได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่างๆ แก่มนุษย์ทั้งปวง ซึ่งในขณะนั้น โลกทั้งหลายนับถือท้าวมหาพรหมและกบิลพรหมองค์หนึ่งว่า เป็นผู้แสดงมงคลแก่มนุษย์ทั้งปวง เมื่อกบิลพรหมทราบ จึงลงมาถาม ปัญหาธรรมบาลกุมาร ๓ ข้อ สัญญาไว้ว่า ถ้าแก้ปัญหาได้จะตัดศีรษะบูชา ถ้าแก้ไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมาร
          
      ธรรมบาลขอผลัด ๗ วัน ครั้นล่วงไปได้ ๖ วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดไม่ได้ จึงลงจากปราสาทไปนอนอยู่ใต้ต้นตาลสองต้น   มีนกอินทรี ๒ ตัวผัวเมียทำรังอาศัยอยู่บนต้นตาลนั้น ครั้งเวลาค่ำนางนกอินทรีจึงถามสามีว่า พรุ่งนี้จะได้อาหารแห่งใด สามีบอกว่า จะได้กินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย เพราะทายปัญหาไม่ออก นางนกถามว่า ปัญหานั้นอย่างไรสามีจึงบอกว่า ปัญหาว่าเช้าราศีอยู่แห่งใด เที่ยงราศีอยู่แห่งใด ค่ำราศีอยู่แห่งใด นางนกถามว่า จะแก้อย่างไร สามีบอกว่า เวลาเช้าราศีอยู่หน้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างหน้า เวลาเที่ยงราศีอยู่อก มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก เวลาค่ำราศีอยู่เท้า มนุษย์ทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้า รุ่งขึ้นท้าวกบิลพรหมมาถาม ปัญหาธรรมบาลกุมารก็แก้ตามที่ได้ยินมา ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกเทพธิดาทั้ง ๗ อันเป็นบริจาริกาพระอินทร์มาพร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดศีรษะบูชาธรรมบาลกุมาร. ศีรษะของเราถ้าจะตั้งไว้บนแผ่นดินไฟก็จะไหม้ทั่วโลก ถ้าจะทิ้งขึ้นบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งไว้ในมหาสมุทรน้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนั้นเอาพานมารับศีรษะ แล้วก็ตัดศีรษะส่งให้ธิดา นางจึงเอาพานมารับพระเศียรบิดาไว้แล้ว แห่ทำประทักษิณ รอบเขาพระสุเมรุ ๖๐ นาที แล้วก็เชิญประดิษฐานไว้ในมณฑปถ้ำคัณธุลีเขาไกรลาศ บูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่างๆ พระวิศณุกรรมก็นฤมิตรแล้วด้วย แก้วเจ็ดประการชื่อ ภควดีให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็นำเอาเถาฉมุลาด ลงมาล้างในสระอโนดาตเจ็ดครั้งแล้วแจกกันสังเวยทุกๆ พระองค์ครั้งถึงครบกำหนด ๓๖๕ วัน โลกสมมติว่า ปีหนึ่งเป็นสงกรานต์นางเทพธิดาเจ็ดองค์ จึงผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหม ออกแห่ประทักษิณเขาพระสุเมรุทุกปี แล้วกลับไปเทวโลก ซึ่งลูกสาวทั้งเจ็ดของท้าวกบิลพรหมนั้น เราสมมติเรียกว่า นางสงกรานต์ มีชื่อต่างๆ ดังนี้ ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันอาทิตย์ ชื่อ นางแพงศรี ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันจันทร์ ชื่อ นางมโนรา ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวี ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันพุธ ชื่อ นางมันทะ ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันพฤหัส ชื่อ นางัญญาเทพ ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันศุกร์ ชื่อ นางริญโท ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทรายพระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง) แต่ทางล้านนาจะมีความเชื่อว่าวันเสาร์ ชื่อ นางสามาเทวี ซึ่งในปีนี้ วันมหาสงกรานต์เป็นวันจพุธที่ ๑๔ เมษายน เวลา ๓.๓๙ น. นางสงกรานต์ จึงเป็นนางรากษสเทวี (เหตุที่ว่าเป็นเทวีประจำวันอังคารเพราะ ถือว่า เวลาเปลี่ยนย้ายยังไม่รุ่งเช้าวันใหม่)           คำว่า " สงกรานต์ " มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ - กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งจะอยู่ช่วงระหว่างวันที่๑๓,๑๔,๑๕,๑๖ เมษายนของทุกปี ปีนี้ วันมหาสงกรานต์เป็นวันพุธที่ ๑๔ เวลา ๓.๓๙ น. วันเนาจึงเป็นวันที่ ๑๕ วันเถลิงศก คือวันที่ ๑๖ ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับสงกรานต์ มีดังนี้           สงกรานต์ ที่แปลว่า " ก้าวขึ้น " " ย่างขึ้น " นั้นหมายถึง การที่ดวงอาทิตย์ ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือน ที่เรียกว่าสงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ ๑๒ เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีก จัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็น วันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ ในทางโหราศาสตร์ มหาสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียว กล่าวคือสงกรานต์หมายถึง ได้ทั้งสงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี แต่มหาสงกรานต์ หมายถึง สงกรานต์ปีอย่างเดียว           วันเนา แปลว่า " วันอยู่ " คำว่า " เนา " แปลว่า " อยู่ " หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา ๑ วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว           วันเถลิงศก แปลว่า " วันขึ้นศก " เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ ๓ ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิม สำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศกถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็น วันที่ ๓ ก็หมายความว่า อย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ ไม่น้อยกว่า ๑ องศาแล้วอาจจะย่างเข้าองศาที่ ๒ หรือที่ ๓ ก็ได้ 
          วันสงกรานต์เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ซึ่งกษัตริย์สิงหศะแห่งพม่า ซึ่งเดิมบวชอยู่เป็นพระสงฆ์ และขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ ทรงตั้งขึ้นเมื่อปีกุนวันอาทิตย์ พ . ศ . ๑๑๘๑ โดยกำหนดเอาดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ ๑ องศา เดิมทีแล้ว ไทยเราใช้วันขึ้น๑ ค่ำ เดือนอ้าย(ประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) เป็นวันขึ้นปีใหม่ (ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ “ลาลูแบร์ ยังบันทึกว่าปีใหม่ไทยคือวันขึ้น ๑ ค่ำเดือนอ้าย ) แต่ในล้านนา สุโขทัย คงใช้ตามพม่า เพราะใกล้ชิดกัน เคยเป็นเมืองขึ้นกันมา ส่วนไทยภาคกลาง คงมาใช้หลังการเสียกรุง จุลศักราช สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยด้วย    ในปีแรกที่กำหนดเผอิญเป็นวันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วันที่ ๑๓ เมษายนทุกปี แต่เมื่อเป็นประเพณี ก็จำเป็นต้องเอาวันนั้นทุกปี เพื่อมิให้การประกอบพิธี ซึ่งมิได้รู้โดยละเอียดต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา วันที่ ๑๓ จึงเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี           
          จนถึง รัชกาลที่ ๕ ทรงเปลี่ยนมาใช้ วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันปีใหม่ต่อมา จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในปีพ.ศ. ๒๔๘๓ จึงได้เปลี่ยนไหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ ๑ มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับ หลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติ ส่วนใดที่เป็นสิ่งที่ดี เรื่องการทำบุญให้บรรพบุรุษ การระลึกถึงบุพการี เป็นวันครอบครัว เราก็นำมาปฏิบัติได้ แต่การบอกว่า เป็นวันปีใหม่ไทย อาจารย์ยังติดๆ อยู่นิดหน่อย(ไม่อยากเป็นการระลึกถึงการเป็นประเทศเมืองขึ้น😊😊) ในปีนี้ มีปัญหาเรื่องโรคระบาด covid-19 ทำให้พวกเราต้องอยู่บ้าน ทักทายกันด้วยเทคโนโลยี ส่งใจให้กัน ให้ทุกคนแคล้วคลาดปลอดภัย อย่างไรก็ตามขอสวัสดีวันสงกรานต์ด้วยนะครับ อ. วันชัย รวยอารี ๑๐ เมษายน ๒๕๖๔
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ช่วงเวลาดี
    ช่วงเวลาดี... สีมงคล สีเขียว สีขาว สีแดง สีน้ำเงิน สีอับโชค สีชมพู สีดำ วันนี้เป็นวันระกา ถูกโฉลกกับผู้เกิดปีมะโรง ปีฉลู และปีมะเส็ง แต่จะขัดแย้งกับผู้เกิดปีเถาะ และปีชวด (คนปีระกาหลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมสำคัญหรือเดินทางไกลช่วงเวลา 05.00-07.00น.)08กพ.66
    Mrs.Doubt
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    แหล่งโชคลาภของคุณจะมาจากไหน เลือกไพ่ใบที่ชอบ แล้วมาอ่านคำทำน
    แหล่งโชคลาภของคุณอยู่ที่ไหน ให้ไพ่ Pick a Card จาก สมาคมโหรแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ บอก โดยจะมีไพ่ 3 ใบให้คุณเลือก ตั้งจิตอธิษฐาน เลือกไพ่ใบที่ชอบแล้วมาอ่านคำทำนายแหล่งโชคลาภ และดวงการเงินกันได้เลย! ไพ่ใบที่ 1 ซื้้อง่ายจ่ายคล่อง การเงินอยู่ในช่วงขาขึ้น การติดต่อเจรจาเรื่องผลประโยชน์ลงตัวได้รับผลกำไรกันถ้วนหน้า โชคลาภมาจากการซื้อเลขมงคลผ่านแอพพลิเคชั่น ไพ่ใบที่ 2 เงินทองงอกเงย ตัวเลขในบัญชีธนาคารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คนในครอบครัวมีความสุขสดชื่นแจ่มใส โชคลาภมาจากการซื้อเลขมงคลในวัด ไพ่ใบที่ 3 รายได้ทยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แม้จะต้องแลกมาด้วยหยาดเหงื่อแรงงาน แต่ก็ได้รับผลตอบแทนแบบคุ้มค่าเหนื่อย โชคลาภมาจาการซื้อเลขมงคลข้างตึกที่ทำงาน
    namnami
     •  7 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    แชร์ค่ะ...! แถลงการณ์กลุ่มธรรมศาสตร์พิทักษ์ธรรม คัดค้านการกระทำขององค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ในการเปลี่ยนแปลงเพลงประจำมหาวิทยาลัย ตามที่องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) ได้เสนอเปลี่ยนแปลงเพลงประจำมหาวิทยาลัยจากเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง เป็นเพลงมอญดูดาว ในการทำกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยอมธ. โดยให้เหตุผลว่ามีเนื้อหาตรงกับเจตนารมณ์ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมากกว่า พร้อมทั้งนำเสนอผลการสำรวจความเห็นจากผู้ตอบแบบสำรวจ นั้น กลุ่มธรรมศาสตร์พิทักษ์ธรรมขอคัดค้านข้อเสนอดังกล่าว โดยมีหลักการและเหตุผลดังต่อไปนี้ 1. การกระทำดังกล่าวขัดต่อหลักการประชาธิปไตยและหลักการสันติประชาธรรม อันเป็นหัวใจหลักของชาวธรรมศาสตร์ทั้งหลายทั้งมวล แม้นผู้กระทำจะอ้างผลการสำรวจซึ่งมิทราบที่มาที่ไปและขาดหลักการตามระเบียบวิธีทางสถิติที่ถูกต้องมาสนับสนุน อมธ.จะต้องสำนึกว่าเป็นเพียงกลุ่มคนที่ได้รับการคัดเลือกจากนักศึกษาปัจจุบัน แม้จะมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและดำเนินกิจกรรม อมธ.ก็ต้องเคารพสิทธิของผู้อื่น ซึ่งได้แก่ประชาคมธรรมศาสตร์ทั้งมวล ที่มีจำนวนหลายแสนคน การอ้างผลสำรวจจากกลุ่มคนเพียง ๕,๐๐๐ กว่าคน มิได้เป็นการเคารพสิทธิของผู้อื่น เป็นการดำเนินการตามหลักคณาธิปไตยที่พวกท่านต่อต้านเสียเอง การพยายามสร้างกระแสการเปลี่ยนแปลงโดยไม่เข้าใจบริบทที่แท้จริง ไม่เคารพสังคมและประชาคม ย่อมนำไปสู่ความเสื่อมศรัทธาและเกิดกระแสต่อต้านจากสังคมทั่วไป ทำให้ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเสียหายและเป็นที่ดูหมิ่นดูแคลนจากสังคม ดังนั้นอมธ. จึงควรใช้สติและปัญญาอย่างรอบคอบ ปลอดจากการถูกครอบงำทางความคิด เพื่อให้สมกับฐานะที่ยกตนเองเป็นปัญญาชน สร้างหรือแสวงหาการเปลี่ยนแปลงที่ดีในหลักการ “เข้าใจ เคารพ สงบสุข” 2. ผู้ดำเนินการขาดความรู้ความเข้าใจในประวัติความเป็นมาของเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองอันเป็นที่รักและภาคภูมิใจของชาวธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ ๓๖ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงประพันธ์ทำนองและพระราชทานให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๖ ในคราวเสด็จมาทรงดนตรีที่หอประชุมธรรมศาสตร์และทรงปลูกต้นยูงทองจำนวน ๕ ต้นในคราวเดียวกัน ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการที่มีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เข้าเฝ้าและขอพระราชทานเพลงเพื่อแทนเพลงมอญดูดาวที่ประพันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา ในคราวที่เสด็จทรงดนตรีที่สวนอัมพรในปี ๒๕๐๔ ผู้ประพันธ์เนื้อเพลงยูงทองคือนายจรัญ บุณยรัตนพันธุ์ ซึ่งได้ประพันธ์ตามแนวที่มรว.เสนีย์ ปราโมช อดีตเสรีไทยที่มีความใกล้ชิดกับท่านผู้ประศาสน์การณ์ปรีดี พนมยงค์ และผู้นำคณะราษฎร์แนะนำให้ ดังนั้นเนื้อหาเพลงจึงกล่าวถึงสถานที่ที่สงบร่มเย็น มีธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ มีพระธรรมสถิตย์เพื่อรักสามัคคี รักความเป็นธรรม ดั่งเช่นอุดมการณ์ของท่านผู้ประศาสน์การณ์ เพลงพระราชนิพนธ์ยูงทองจึงถูกนำมาขับร้องในทุกครั้งก่อนที่จะมีการเริ่มกิจกรรมของชาวธรรมศาสตร์ เพื่อความสามัคคีและเป็นสิริมงคลแก่ชาวธรรมศาสตร์ทั้งมวล ฉะนั้นการกล่าวอ้างถึงเนื้อหาความเหมาะสมกว่าของเพลงมอญดูดาวจึงนับว่าเป็นการขาดการศึกษาอย่างถ่องแท้ ไม่สามารถเข้าถึงจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ได้ นับเป็นการกระทำที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ดีเพลงมอญดูดาวเป็นเพลงที่มีคุณค่าต่อจิตใจของชาวธรรมศาสตร์เช่นกันเพราะเนื้อหาระบุถึงความเป็นไทย รักชาติไทย บูชาไทย อีกทั้งมีทำนองเพลงไทยเดิม ซึ่งเป็นการอนุรักษณ์วัฒนธรรมที่ดีของชาวไทยไว้ 3. จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้น่าเชื่อได้ว่าผู้กระทำต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยมีเจตนาที่จะทำลายความศรัทธา ทำลายสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของสังคมไทยในทุกๆ ภาคส่วนอย่างเป็นกระบวนการ ดังจะเห็นได้จากการบิดเบือนหลักฐานข้อมูลประวัติศาสตร์ วิทยานิพนธ์อัปยศ การให้ร้ายสถาบันต่างๆ การสร้างความแตกแยกทางสังคม สร้างความแตกแยกทางศาสนา มีขบวนการที่ดำเนินการในทุกระดับโดยมุ่งเป้าหมายไปยังเยาวชนคนรุ่นใหม่ สถาบันการศึกษาต่างๆ ถูกแทรกซึมด้วยบุคลากรและนักวิชาการที่มุ่งร้ายต่อประเทศ เข้าข่ายล้มล้างสถาบันและทำลายชาติบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง พยายามยกเลิกเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์ที่เป็นที่เคารพนับถือ ปลูกฝังความคิดและอุดมการณ์ที่เป็นผลร้ายต่ออนาคตของประเทศไทย โดยอ้างประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพแบบผิดๆ เป็นหน้าที่ที่ประชาชนคนไทยทุกคนต้องรู้เท่าทันและช่วยกันต่อต้านความเลวร้ายนี้ ดังนั้นกลุ่มธรรมศาสตร์พิทักษ์ธรรมจึงไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว และขอเรียกร้องให้คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกภาคส่วน โปรดทำความเข้าใจ ดูแลการจัดกิจกรรมของนักศึกษาให้มีเสรีภาพอย่างถูกต้อง ไม่ละเมิดต่อจิตวิญญาณและความรู้สึกของประชาคมธรรมศาสตร์และสังคมโดยรวม อีกทั้งต้องรักษาชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยและบริหารจัดการให้เกิดความก้าวหน้ารุ่งเรืองสืบไป จึงจักเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่เหมาะสมและรับผิดชอบตามที่ประชาคมได้มอบหมายต่อท่าน กลุ่มธรรมศาสตร์พิทักษ์ธรรม ๗ กรกฏาคม ๒๕๖๕
    ไม่ระบุชื่อ
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false