1 คนสงสัย
กัญชารักษาโลกผิวหนังได้จริงไหมครับ
อาการคันเรื้อรัง มีผลต่อประชากรมากถึงร้อยละ 15 และส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะอักเสบเช่น กลาก และโรคสะเก็ดเงิน แต่ยังเกี่ยวข้องกับไตวาย โรคตับ มะเร็งบางชนิดและความผิดปกติของเส้นประสาทอื่นๆ ด้วย

แพทย์หญิงควิตต้า ได้ดูแลหญิงชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันในวัย 60 ปีที่มีอาการคันเรื้อรังมา 10 ปี ผู้ป่วยมาถึงศูนย์ Johns Hopkins Itch Center โดยมีต้องการปรึกษาแพทย์ว่ามีอาการคันอย่างรุนแรงที่แขนขาและท้อง การตรวจผิวหนังพบว่ามีรอยโรคที่ผิวหนังนูนขึ้นจำนวนมาก ผู้ป่วยได้ลองการรักษาหลายวิธีรวมถึงการรักษาตามปกติในโรงพยาบาลคือ การฉีดพ่นจมูก ครีมสเตียรอยด์ การฉายแสง แต่ทุกอย่างล้มเหลว
diazp121phoenix
 •  2 ปีที่แล้ว
meter: middle
1 ความเห็น

ยาสมุนไพร

Thanathun. เลือกให้ข้อความนี้◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน

เหตุผล

การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับกัญชาโดยทั่วไปมีข้อสันนิษฐานว่ากัญชาน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการรักษาโรคสะเก็ดเงินและมะเร็งผิวหนังเนื่องจากกัญชามีคุณส

ที่มา

https://www.hfocus.org/content/2019/06/17254

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    กัญชารักษา39โรคนี้ได้จริงไหมครับ
    💝39โรค หายได้ด้วยกัญชา ประโยชน์ของกัญชาทางการแพทย์💝 🍀💐เอาสิ พี่กัญออกฤทธิ์. ปราบเรียบ 39 โรค มีอะไรบ้างไปดูกันเล้ย😊🤟 1 กัญชาสามารถหยุดการแพร่กระจายของมะเร็งไม่ให้ลุกลามและกำจัดเซลมะเร็งได้ โดยไม่ทำร้ายหรือสร้างความเสียหายให้กับเซลปกติ 2 กัญชาสามารถรักษาต้อหิน 3 กัญชาสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้(thcสามารถยับยั้งเซลล์เอเบตาโปรตีนไม่ให้ผลิตสารพิษที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์) 4 กัญชาสามารถช่วยลดอาการอักเสบ 5 กัญชาสามารถควบคุมและรักษาโรคลมชัก 6 กัญชาสามารถลดความเจ็บปวดจากโรคระบบประสาทส่วนกลางเสื่อม 7 กัญชาสามารถรักษโรคโครห์น (Crohn’s Disease) ความผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ใหญ่ได้ 8 กัญชาสามารถช่วยควบคุมและรักษาโรคพากินสัน 9 กัญชาสามารถลดความวิตกกังวล 10 กัญชาสามารถช่วยในการยับยั้งการสร้างสารก่อมะเร็งและปรับปรุงสุขภาพปอดได้ 11 กัญชาสามารถลดความเจ็บปวดจากเคมีบำบัด 12 กัญชาสามารถปรับปรุงอาการของโรคลูปัสหรือโรคเอสแอลอี (โรคพุ่มพวง) 13 กัญชาสามารถช่วยปกป้องสมองจากความเสียหายของโรคหลอดเลือดสมอง 14 กัญชาสามารถควบคุมกล้ามเนื้อกระตุก 15 กัญชาสามารถรักษาโรคลำไส้อักเสบ 16 กัญชาสามารถช่วยขจัดฝันร้าย 17 กัญชาสามารถปกป้องสมองจากการถูกกระทบกระแทกและการบาดเจ็บ 18 กัญชาสามารถช่วยให้เจริญอาหาร 19 กัญชาสามารถช่วยขยายหลอดลมและลดการหดตัวของหลอดลม 20 กัญชาสามารถแก้โรคบิด แก้ปวดท้อง และโรคท้องร่วง 21 กัญชาสามารถช่วยแก้อาการประจำเดือนไม่ปกติของสตรี 22 กัญชาสามารแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน 23 กัญชาสามารถแก้ปวดหัวไมเกรน 24 กัญชาช่วยรักษาการอุดตันของเส้นเลือดในสมอง 25 กัญชาสามารถช่วยบำบัดผู้ติดยาเสพติดชนิดรุนแรงเช่นเฮโรอีน 26 กัญชาสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตสูงได้ (รักษาเบาหวาน) 27 กัญชาสามารถช่วยรักษาแผลสด แผลหายยากจากเบาหวาน ให้แห้งและหายได้ 28 กัญชาช่วยทำให้มีอารมณ์เบิกบานแจ่มใสมีสมาธิและจิตใจสงบ 29 กัญชาสามารถช่วยผู้ป่วยที่ติดเชื้อHIVหรือเอดส์ให้สามารถใช้ชีวิตได้ดีขึ้น 30 กัญชาสามารถช่วยป้องกันโรคตับแข็ง 31 กัญชาสามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น 32 กัญชาสามารถช่วยรักษาอาการกระดูกหักให้หายไวขึ้น และยังทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้นด้วย 33 กัญชาสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากความเสียหายของระบบปเส้นประสาททั้งร่างกายและระบบเชื่อมต่อในสมอง 34 กัญชาสามารถรักษาโรคภูมิแพ้ต่างๆได้ 35 กัญชาสามารช่วยรักษาอาการโรคปลอกประสาทอักเสบหรือโรคเอ็มเอส (MS) 36 กัญชาช่วยแก้อาการแข็งเกร็งจากอัมพฤกษ์อัมพาตได้ 37 กัญชาสามารถแก้ไข้ผอมเหลือง ไม่มีกำลัง ตัวสั่นได้ 38 กัญชาสามารถรักษาแผลในเซลล์ลำไส้ที่เกิดจาการอักเสบของโรค crohn's disease ได้ (จาการทดสอบในตาจึงอาจนำไปสู่การใช้ในผู้ป่วยเบาหวานที่กำลังจะสูญเสียตาได้อีกด้วย) 39 กัญชาสามารถช่วยต่อสู้กับโรคลูคีเมียได้ กัญชาสามารถยับยั้งอารมณ์เกรี้ยวกราดได้ นี่เป็นเพียงบางส่วนเล็กๆเท่านั้นที่กัญชาสามารถทำได้ และโปรดจำไว้ว่า กัญชาเป็นมากกว่ายา..แต่ในฐานะยา.. "กัญชาคือยาที่ปลอดภัยที่สุดในโลก" ..เท่าที่มนุษย์จะหาได้..ในเวลานี้ (กัญชาใช้เป็นยาได้ทั้งมนุษย์และสัตว์) และกัญชายังมีความลับซ่อนอยู่อีกมาก.. 🤔
    Klamongkhon Klinhom
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    แพทย์ผิวหนังเตือนภัยอันตรายจากการใช้ครีมหน้าขาว จริงหรือคะ
    แพทย์ผิวหนังเตือนภัยอันตรายจากการใช้ครีมหน้าขาว โดยมีการโฆษณาเกินจริง และมีช่องทางการซื้อขายที่หลากหลาย เช่น สถานเสริมความงาม ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีทั้งผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา และไม่ผ่านการรับรอง ทำให้เกิดอันตรายทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลันได้ อาการข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์หรือเครื่องสำอางในกลุ่มที่ทำให้มีผิวขาว จะมีอาการคัน มีผื่นผิวหนังอักเสบ ระคายเคืองจากการแพ้ สังเกตได้จากบริเวณผิวหนังที่ใช้ผลิตภัณฑ์หรือเครื่องสำอางนั้น ๆ มีลักษณะ บวม แดง ร้อน เมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจจะทำให้สีของผิวหนังเข้มขึ้น สีเล็บผิดปกติ และเปราะบางได้ บางกรณีเกิดรอยขาวคล้ายกับด่างขาวได้ จริงหรือคะ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    กัญชารักษาโรคซึมเศร้าได้จริงไหม?
    ในปัจจุบัน กัญชาถูกพูดถึงมากขึ้นในแง่ของสรรพคุณทางยา และหนึ่งในโรคที่หลายคนสงสัยว่ากัญชาจะช่วยรักษาได้คือ โรคซึมเศร้า แต่ความจริงแล้ว กัญชาช่วยรักษาโรคซึมเศร้าได้จริงหรือไม่? ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า กัญชาไม่ได้เป็นยาที่รักษาโรคซึมเศร้าได้โดยตรง แต่สาร CBD ที่อยู่ในกัญชา มีศักยภาพในการช่วยบรรเทาอาการบางอย่าง เช่น ความวิตกกังวล การนอนไม่หลับ และอาการปวดเรื้อรัง ซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า (ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.rama.mahidol.ac.th ) กัญชามีกลไกเข้าไปลดการกระตุ้นในสมอง ทำให้อาการดีขึ้นร่วมกับการนอนหลับ ส่วนการใช้กับโรคซึมเศร้า ยังไม่มีผลการวิจัยที่ชัดเจน ในทางกลับกันพบว่าอาจจะส่งผลเสียต่อการดำเนินโรค ตัวอย่างเช่น กลุ่มโรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิตเภท ปัญหานอนไม่หลับ ส่วนในด้านกลไกการทำงาน สันนิษฐานว่าสารในกัญชาอาจช่วยรักษาโรคซึมเศร้าได้โดยการปรับระดับสารสื่อประสาทในสมอง เช่น เซโรโทนินและโดปามีน ซึ่งเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความสุขนั่นเอง (ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://suicide.dmh.go.th/abstract/details.asp?id=3607 ) ดังนั้น แม้ว่าจะมีหลักฐานบางส่วนบ่งชี้ว่ากัญชามีสารช่วยบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าได้ แต่การใช้กัญชาในการรักษาโรคซึมเศร้ายังคงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาและวิจัยเพิ่มเติม การตัดสินใจใช้กัญชาในการรักษาควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเสมอแพทย์จะประเมินสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย และแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
    Pongsapak Laonet
     •  1 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ฟ้าทะลายโจรรักษาไข้หัดแมวได้จริงไหม
    ปัจจุบัน “แมว” เป็นที่นิยมในหมู่คนรักสัตว์ ทำให้จำนวนแมวที่เลี้ยงเพิ่มขึ้นและส่งผลให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคไข้หัดแมวซึ่งเป็นสาเหตุการตายสูงในแมวทุกปี หลายคนจึงหันไปใช้ “ฟ้าทะลายโจร” เป็นสมุนไพรในการรักษาโรคนี้ แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิภาพของมันในการรักษาโรคไข้หัดแมว (แหล่งข้อมูล https://www.vetdiags.com/post/vetdiags-feline-parvovirus) จากการสัมภาษณ์ อาจารย์นายสัตวแพทย์ วัชระ วิปัสสา อาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ให้ข้อมูลว่า “ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนว่าการใช้ฟ้าทะลายโจร มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคไข้หัดแมวมากเพียงใด และยังไม่ทราบว่ามีพิษหรือข้อจำกัดอะไรบ้างที่จะไปใช้ในสัตว์ ด้วยข้อมูลที่เคยศึกษา การใช้ฟ้าทะลายโจรยังไม่เป็นที่ยอมรับและยังมีคำถามอยู่มากว่า ฟ้าทะลายโจรมีพิษอย่างไรต่อแมวที่เป็นไข้หัดมากเพียงใด จึงไม่แนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรเป็นยาหลักในการรักษาไข้หัด” ทั้งนี้ อาจารย์นายสัตวแพทย์ วัชระ วิปัสสา ได้ให้ข้อแนะนำเมื่อแมวติดไข้หัดแมวว่า “แผนการรักษาในปัจจุบันที่ดีที่สุดคือการรักษาแบบ supportive หรือการรักษาตามอาการ อาการของแมวจะดีขึ้นภายใน 2ถึง 3 วันและจากนั้นภูมิคุ้มกันในร่างกายแมวจะขจัดเชื้อออกไปเอง” (ข้อมูลเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2567) (แหล่งข้อมูล https://www.youtube.com/watch?v=c6qPM3n10do, https://www.thairath.co.th/news/society/1000267) ดังนั้น ฟ้าทะลายโจรจึงไม่สามารถรักษาโรคไข้หัดแมวได้ และการรักษาตามอาการเป็นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบัน
    ธิติวัฒน์ ทารมย์
     •  3 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ครีมกัญชาสามารถรักษาอาการคันเรื้อรังได้มริงเหรอค่ะ
    แพทย์หญิงควิตต้า ได้ดูแลหญิงชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันในวัย 60 ปีที่มีอาการคันเรื้อรังมา 10 ปี ผู้ป่วยมาถึงศูนย์ Johns Hopkins Itch Center โดยมีต้องการปรึกษาแพทย์ว่ามีอาการคันอย่างรุนแรงที่แขนขาและท้อง การตรวจผิวหนังพบว่ามีรอยโรคที่ผิวหนังนูนขึ้นจำนวนมาก ผู้ป่วยได้ลองการรักษาหลายวิธีรวมถึงการรักษาตามปกติในโรงพยาบาลคือ การฉีดพ่นจมูก ครีมสเตียรอยด์ การฉายแสง แต่ทุกอย่างล้มเหลว เเต่เมื่อเธอได้เริ่มใช้ครีมกัญชาอย่างต่อเนื่อง จากระดับ 10 ลดลงเหลือ 4 ระดับ ภายใน 4 นาที
    Mxtinx260148
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    น้ำซาวข้าวรักษาโรคผิวหนังได้จริงหรือ?
    ในโซเชียลมีเดียมีความเชื่อในการใช้น้ำซาวข้าวด้านความสวยความงามและในการรักษาโรคผิวหนังต่างๆด้วยตนเอง เช่น การรักษาผื่นคัน อาการแพ้ต่างๆ มีวิธีการรักษาโดยการนำผ้าสะอาดมาจุ่มน้ำซาวข้าว จากนั้นนำมาประคบให้ทั่วบริเวณที่เป็นโรคผิวหนังทำต่อไปเรื่อยๆประมาณ3นาทีแล้วปล่อยให้แห้งหรือจะเป็นการรักษารอยไหม้จากแดดให้จางลง สามารถใช้กับแผลไฟไหม้และผิวที่มีอาการอักเสบได้อีกด้วยจะช่วยให้ผิวฟื้นฟูเร็วขึ้นและป้องกันผิวจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นธรรมชาติ
    Ravinnipa Yaikaew
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม หมักผมด้วย "กระเทียม" รักษาผมร่วง
    เรื่องจริงของกระเทียม แม้จะใช้หมักผมเพื่อรักษาผมร่วงไม่ได้ แต่มีประโยชน์อื่นที่ไม่ควรมองข้าม ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูล เรื่อง หมักผมด้วยกระเทียม เพื่อรักษาผมร่วง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ โดยการแชร์สูตรหมักผมด้วยกระเทียม ระบุสรรพคุณว่าช่วยรักษาผมร่วง ทำให้ผมแข็งแรง ได้ตรวจสอบข้อมูลแล้วว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากยังไม่มีเอกสารทางวิชาการหรืองานวิจัยที่น่าเชื่อถือ สำหรับนำมายืนยันว่ากระเทียมสามารถรักษาผมร่วงได้จริง โรคผมร่วง หรือผมบางเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเกิดจากกรรมพันธุ์ผมบาง เส้นผมเปราะแล้วหัก ผมไม่ขึ้น อาจเกิดจากโรคประจำตัว การได้รับยาหรือสารเคมีบางประเภท การได้รับเคมีบำบัด การฉายรังสี ก็สามารถทำให้ผมร่วงได้ และกระเทียมนั้นมีสรรพคุณตามข้อมูลสมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน คือ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด รักษาอาการกลากเกลื้อน จึงไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาผมร่วง   ข้อมูลจากกรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เปิดเผยว่า โดยปกติแล้วเส้นผมของคนเรามีประมาณ 80,000 ถึง 1,200,000 เส้น งอกยาวขึ้นวันละประมาณ 0.35 มิลลิเมตรและมีอายุนาน 2 ถึง 6 ปี โดยปกติคนเราจะมีผมร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ไม่เกินวันละ 30 ถึง 50 เส้น สาเหตุของภาวะผมร่วง ได้แก่ 1. ผมร่วงจากกรรรมพันธุ์ สามารถพบได้ทั้งชายและหญิง มักพบในเพศชายมากกว่า เห็นเป็นเส้นขนอ่อน ๆ ทำให้ผมบริเวณนั้นดูบางลง ส่วนมากจะเป็นบริเวณกลางศีรษะและหน้าผาก 2. ผมผลัด เกิดผมร่วงเนื่องจากผมหยุดเจริญชั่วคราวจากการเจ็บป่วยหรือความเครียดหรือขาดสารอาหาร เช่น เหล็กหรือวิตามินดี ทำให้วงจรชีวิตเส้นผมที่กำลังเจริญมีการหยุดเจริญและหลุดร่วงมากกว่าปกติ 3. ผมร่วงเป็นหย่อม เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด จะมีอาการผมร่วงเฉพาะที่ บริเวณผมที่ร่วงจะมีลักษณะกลมหรือรี ขอบเขตชัดเจน ตรงกลางไม่มีเส้นผมหนังศีรษะในบริเวณนั้น ไม่แดง ไม่เจ็บ ไม่คัน ไม่เป็นสะเก็ด หรือเป็นขุย 4. ผมร่วงจากการถอน พบได้บ่อยในผู้ใหญ่และเด็กที่มีความเครียดจากสาเหตุต่าง ๆ ผู้ป่วยจะดึงผมตัวเองจนผมแหว่ง หนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงจะไม่มีผื่นคัน หรือเป็นขุย และจะพบเส้นผม ที่เป็นตอสั้น ๆ 5. ผมร่วงจากเชื้อรา โรคเชื้อราที่ศีรษะ กลากที่ศีรษะ อาจพบได้บ่อยในเด็ก เกิดจากการติดเชื้อราโรคนี้ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เป็นผื่นแดงคัน และเป็นขุย หรือก้อนอักเสบคล้ายฝี อาจจะมีโรคเชื้อรา (กลาก) ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้  6. ผมร่วงจากการทำผม การม้วนผม ย้อมสีผม  ดัดผม เป่าผมหรือวิธีอื่น ๆ อาจทำให้มีอาการผมร่วงได้จากการที่มีหนังศีรษะอักเสบ หรือเส้นผมเปราะหัก 7. ผมร่วงจากโรคอื่น ๆ ผู้ป่วยที่มีโรคบางอย่าง เช่น  โรคเอสแอลอี ก็อาจมีอาการผมร่วง ผมบาง ร่วมกับอาการไข้เรื้อรัง ปวดตามข้อ มีผื่นปีกผีเสื้อขึ้นที่หน้า โรคผมร่วงบางอย่างอาจมีการอักเสบที่บริเวณสเต็มเซลล์ทำให้เกิดผมร่วงแบบเป็นแผลเป็นซึ่งแผลเป็นจะไม่หาย
    std48423
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    กัญชาสามารถรักษา14โรคนี้ได้จริงหรอครับ
    1. รักษาภาวะเบื่ออาหาร กัญชาใช้เป็นสารกระตุ้นความอยากอาหาร จะช่วยชะลอน้ำหนักลดในผู้ป่วยมะเร็ง 2. การป้องกันการคลื่นไส้ อาเจียน ในผู้ป่วยที่รับเคมีบำบัด 3. รักษาโรคลมชักที่รักษายากและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง 4. รักษาภาวะปวดประสาทส่วนกลาง ที่ใช้วิธีการรักษาอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล 5. บรรเทาหอบหืด ยาแก้หอบหืดทุกตัวมีข้อเสียคือมีข้อจำกัด ทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียง เนื่องจากกัญชาขยายหลอดลมและลดการหดตัวของหลอดลม6. การใช้กัญชาในการรักษาต้อหิน คือ การรักษาตาต้อหิน ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับสองที่ทำให้ คนตาบอดในสหรัฐ คนอเมริกาเกือบล้านที่ป่วยด้วยต้อหินที่รักษาได้ด้วยกัญชา กัญชาทำให้ความดัน ภายในลูกนัยน์ตาลดลงได้ดีหลายชั่วโมงในคนปกติและในคนที่ความดันลูกนัยน์ตาสูงจากต้อหิน การให้กัญชาทางปากหรือทางหลอดเลือดดำให้ผลเหมือนกัน ซึ่งขึ้นกับชนิดอนุพันธ์กัญชามากกว่า จะเกิดจากฤทธิ์กล่อมประสาทของกัญชา กัญชาไม่ได้รักษาโรคขาด แต่ช่วยยับยั้งการบอดไม่ให้เป็นมากขึ้น เมื่อยาทั่วไปไม่อาจช่วยได้ และการผ่าตัดเป็นเรื่องเสี่ยงเกินไป 7. ลดอาการปวด สารในกลุ่มแคนนาบินอยด์ส่วนใหญ่โดยเฉพาะ THC สามารถช่วยลดอาการปวดเรื้อรัง และช่วยให้สามารถนอนหลับได้เพิ่มขึ้น และช่วยลดอาการปวดข้อ แต่สำหรับอาการปวดเรื้อรังในผู้ป่วยมะเร็งนั้นยังไม่มีข้อสรุปทางคลินิกที่ชัดเจน 8. รักษาโรคพาร์กินสัน แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม 9. รักษาโรคอัลไซเมอร์ แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม 10. รักษาโรคปลอกประสาทอักเสบอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ปลอกประสาทเสื่อมแข็ง) แต่ยังต้องการงานวิจัยสนับสนุนเพิ่มเติม 11. นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ เปิดเผยถึงข้อมูลในตำราพระโอสถพระนารายณ์ และตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ พบตำรับยาไทยที่เข้ากัญชาอยู่หลายตำรับ เช่น - ตำรับศุขไสยาศน์ สรรพคุณช่วยให้นอนหลับสบาย แก้ปวด เจริญอาหาร นำมาใช้ทดแทน/เสริมกับยาแผนปัจจุบันในกลุ่มยานอนหลับ ยาคลายเครียด - ตำรับทำลายพระสุเมรุ มีฤทธิ์ช่วยแก้อาการแข็งเกร็งจากอัมพฤกษ์ อัมพาต - ตำรับน้ำมันสนั่นไตรภพ ช่วยเรื่องท้องมาน ท้องบวม คลายลมในท้อง ท้องอืดจากโรคมะเร็งตับ ใช้ทาบริเวณท้อง - ตำรับทัพยาธิคุณ ช่วยเรื่องโรคเบาหวาน ลดน้ำตาล 12. รักษาโรคริดสีดวงทวาร เมื่อทายาริดสีดวงและโรคผิวหนังเป็นประจำ พบว่าอาการอักเสบและอาการปวดลดลง หัวริดสีดวงที่โผล่ออกมานอกหรืออยู่รอบๆรูทวารฝ่อลง 13. รักษามะเร็ง สารสกัดจากกัญชาอาจยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดและยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกมะเร็งบางอย่างในหนูทดลองได้ หลังจากนั้น เมื่อมีการวิจัยเพิ่มขึ้น พบว่าสารสกัดจากกัญชาสามารถต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่างๆ ได้จริง โดยการยับยั้งกระบวนการสร้างเส้นเลือดของก้อนมะเร็ง (Angiogenesis) และลดการกระจายตัวของเซลล์มะเร็งไปยังส่วนอื่นๆ (Metastasis) ในโรคมะเร็งหลายชนิด ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการสร้างโปรแกรมการตายของเซลล์มะเร็ง (Program cell death) ผ่านกระบวนการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง แต่อย่างไรก็ตาม ประสิทธิผลของการรักษาโรคมะเร็งด้วยสารสกัดกัญชา จึงต้องมีการศึกษาวิจัยในรายละเอียดแต่ละประเด็นต่อไป 14. คลายความวิตกกังวล จากประวัติการใช้กัญชาเพื่อช่วยให้ผ่อนคลายในอดีตทำให้มีความเป็นไปได้ที่สารกลุ่มแคนนาบินอลน่าจะมีฤทธิ์คลายความวิตกกังวล แต่อย่างไรก็ตามพบว่ากลไกการออกฤทธิ์นั้นซับซ้อนและยังไม่มีการอธิบายที่ชัดเจน จากรายงานทางคลินิกพบว่าการใช้สาร Fatty acid amide hydrolase inhibitors (FAAH inhibitors) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Endocannabinoids มีความสามารถในการลดอาการวิตกกังวลได้ ปัจจุบันสารหลายชนิดในกลุ่มนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบทางคลินิก
    Klamongkhon Klinhom
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false