แก้โรคความดันโลหิตสูง แค่กำมือ – แบมือ
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบเรื่อง ความดันโลหิตสูงแก้ได้โดยการกำมือ-แบมือ กับโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า การกำมือและแบมือดังไม่มีผลทางการแพทย์ที่สามารถอธิบายหรือยืนยันได้ว่า สามารถลดความดันโลหิตได้
โรคความดันโลหิตสูง สาเหตุสำคัญต่อโรคร้ายอื่น ๆ
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) พบได้จากการวัดความดันโลหิต ได้ในระดับที่สูงกว่าปกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน ควรควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท
ถ้าเกิน 130/80 มิลลิเมตรปรอท ต้องเริ่มปรับพฤติกรรม
ถ้าสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าป่วยเป็นความดันโลหิตสูงต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และเข้ารับการรักษา
ถ้าเกิน 160/100 มิลลิเมตรปรอท คือ สูงมากซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
ถ้าเกิน 180/110 มิลลิเมตรปรอท สูงถึงขีดอันตรายต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
วิธีวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง วัดความดันโลหิตในช่วงเช้าภายใน 1 ชั่วโมง หลังตื่นนอน หรือหลังปัสสาวะ โดยวัดความดันจำนวน 2 ครั้ง ให้ห่างกันครั้งละ 1 นาที วัดช่วงเวลาก่อนเข้านอนโดยวัดความดัน 2 ครั้ง ให้ห่างกันครั้งละ 1 นาที นั่งเก้าอี้ให้หลังพิงพนักเพื่อไม่ให้หลังเกร็ง เท้าทั้ง 2 ข้าง วางราบกับพื้นให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย วัดความดันโลหิตในแขนข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่มีความดันโลหิตสูงกว่า โดยวางแขนให้อยู่ในระดับเดียวกันกับหัวใจ ขณะวัดความดันโลหิตไม่กำมือ ไม่พูดคุยหรือขยับตัว และควรวัดความดันหลังจากนั่งพักอย่างน้อย 30 นาที และ 1 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหาร ดื่มกาแฟ สูบบุหรี่ หรือออกกำลังกาย
หากไม่รักษาให้ถูกต้องจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น
โรคอัมพาตจากหลอดเลือดในสมองตีบ
โรคหลอดเลือดในสมองแตก
โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย
โรคไตวาย
หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
ไทยพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 14 ล้านคน
ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากถึง 14 ล้านคน มากกว่า 7 ล้านคนที่ป่วยแต่ยังไม่เข้ารับการรักษา เพราะโรคนี้ส่วนมากมักไม่แสดงอาการ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้รับการรักษา ความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างอาการของโรค ได้แก่
เวียนศีรษะ
ปวดศีรษะ
หน้ามืด
ใจสั่น
ตาพร่ามัว
เป็นลมหมดสติ
วิธีป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง
งดทานอาหารรสเค็มหรือมีโซเดียมสูง โดยคนทั่วไปที่ไม่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่ควรทานโซเดียมเกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ถ้าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้วไม่ควรเกิน 1500 มิลลิกรัมต่อวัน
ออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
ลดความอ้วน ให้ค่า BMI ไม่เกิน 23
หากความดันโลหิตยังเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอถึงแม้จะไม่มีอาการ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมากและทำให้เสียชีวิตได้
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบเรื่อง ความดันโลหิตสูงแก้ได้โดยการกำมือ-แบมือ กับโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า การกำมือและแบมือดังไม่มีผลทางการแพทย์ที่สามารถอธิบายหรือยืนยันได้ว่า สามารถลดความดันโลหิตได้
โรคความดันโลหิตสูง สาเหตุสำคัญต่อโรคร้ายอื่น ๆ
โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) พบได้จากการวัดความดันโลหิต ได้ในระดับที่สูงกว่าปกติเรื้อรังอยู่เป็นเวลานาน ควรควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท
ถ้าเกิน 130/80 มิลลิเมตรปรอท ต้องเริ่มปรับพฤติกรรม
ถ้าสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าป่วยเป็นความดันโลหิตสูงต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และเข้ารับการรักษา
ถ้าเกิน 160/100 มิลลิเมตรปรอท คือ สูงมากซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
ถ้าเกิน 180/110 มิลลิเมตรปรอท สูงถึงขีดอันตรายต้องรีบไปพบแพทย์ทันที
วิธีวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง วัดความดันโลหิตในช่วงเช้าภายใน 1 ชั่วโมง หลังตื่นนอน หรือหลังปัสสาวะ โดยวัดความดันจำนวน 2 ครั้ง ให้ห่างกันครั้งละ 1 นาที วัดช่วงเวลาก่อนเข้านอนโดยวัดความดัน 2 ครั้ง ให้ห่างกันครั้งละ 1 นาที นั่งเก้าอี้ให้หลังพิงพนักเพื่อไม่ให้หลังเกร็ง เท้าทั้ง 2 ข้าง วางราบกับพื้นให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย วัดความดันโลหิตในแขนข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่มีความดันโลหิตสูงกว่า โดยวางแขนให้อยู่ในระดับเดียวกันกับหัวใจ ขณะวัดความดันโลหิตไม่กำมือ ไม่พูดคุยหรือขยับตัว และควรวัดความดันหลังจากนั่งพักอย่างน้อย 30 นาที และ 1 ชั่วโมง หลังรับประทานอาหาร ดื่มกาแฟ สูบบุหรี่ หรือออกกำลังกาย
หากไม่รักษาให้ถูกต้องจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น
โรคอัมพาตจากหลอดเลือดในสมองตีบ
โรคหลอดเลือดในสมองแตก
โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย
โรคไตวาย
หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
ไทยพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 14 ล้านคน
ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมากถึง 14 ล้านคน มากกว่า 7 ล้านคนที่ป่วยแต่ยังไม่เข้ารับการรักษา เพราะโรคนี้ส่วนมากมักไม่แสดงอาการ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้รับการรักษา ความรุนแรงของโรคจะเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างอาการของโรค ได้แก่
เวียนศีรษะ
ปวดศีรษะ
หน้ามืด
ใจสั่น
ตาพร่ามัว
เป็นลมหมดสติ
วิธีป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง
งดทานอาหารรสเค็มหรือมีโซเดียมสูง โดยคนทั่วไปที่ไม่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่ควรทานโซเดียมเกิน 2000 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ถ้าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้วไม่ควรเกิน 1500 มิลลิกรัมต่อวัน
ออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์
ลดความอ้วน ให้ค่า BMI ไม่เกิน 23
หากความดันโลหิตยังเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ผู้ป่วยจำเป็นต้องพบแพทย์และรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอถึงแม้จะไม่มีอาการ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมากและทำให้เสียชีวิตได้
ข่าวปลอม! แก้โรคความดันโลหิตสูง แค่กำมือ – แบมือ | Hfocus.org
https://www.hfocus.org/content/2023/06/27902แก้โรคความดันโลหิตสูง แค่กำมือ – แบมือ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบเรื่อง ความดันโลหิตสูงแก้ได้โดยการกำมือ-แบมือ กับโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า การกำมือและแบมือดังไม่มีผลทางก