1 คนสงสัย
ปลด นพ.ยง ภู่วรวรรณ
ไม่ระบุชื่อ
 •  3 ปีที่แล้ว
meter: middle
3 ความเห็น

โควิด 2019วัคซีนโควิด

Ad.tar เลือกให้ข้อความนี้❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง

เหตุผล

เป็นเพียงการล่ารายชื่อเพื่อดำเนินการเท่านั้น ยังไม่มีการปลด นพ.ยง ภู่วรรณ

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. โพสต์ข้อความเป็นกำลังใจลงบนเฟซบุ๊ก

ที่มา

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000063161
  • มี 2 ความเห็น เจ้าของลบไปแล้ว.
  • เพิ่มความเห็นใหม่

    กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

    คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    การมีเพศสัมพันธ์จะเสี่ยงติดโควิด 19 หรือไม่?
    จากการระบาดของไวรัสโคโรนาทำให้หลายคนสงสัยหรือมีความกังวลว่าการมีเพศสัมพันธ์จะเสี่ยงติดโควิด 19 หรือไม่? ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศผ่านเฟสบุค ตอบคำถามเรื่องนี้ว่า โรคโควิด-19 รับรอง ถ้ามีสัมพันธ์ อยู่ก่างกัน 2 เมตร ไม่ติดต่อแน่นอน
    naruemonjoy
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ เราจะผ่านพ้นวิกฤติโควิด 19 ได้ ก็ต่อเมื่อเรามีวัคซีนป้องกัน เราไม่ควรชะล่าใจ
    ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว กล่าวว่า ถึงแม้ว่าประเทศไทย ไม่พบมีการระบาดในประเทศ วิกฤต โควิด 19 ยังไม่ผ่านพ้น ประเทศต่างๆทั่วโลกยังมีผู้ป่วยมากกว่าวันละแสนรายที่มีรายงาน และที่ไม่มีรายงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ และขึ้นอยู่กับการวินิจฉัย การเฝ้าระวัง สุ่มตรวจ และการศึกษาอย่างละเอียด จะทำให้มีข้อมูล ในการใช้ในการป้องกัน เวลาผ่อนปรนกิจการ ทุกอย่างที่เกิดขึ้น จะเป็นบทเรียน การกำหนดระยะห่าง ตามวิถีชีวิตใหม่ การป้องกันเขาและป้องกันเราด้วยการใส่หน้ากากผ้า อนามัย ล้างมือ ใช้แอลกอฮอล์ ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่ง วิกฤตนี้จะผ่านพ้นไป ก็ต่อเมื่อเรามียารักษาที่ดี หรือวัคซีนในการป้องกัน
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    โควิด-19 ภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca 1 เข็ม ยง ภู่วรวรรณ ทางศูนย์ได้ศึกษาภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca ในคนไทย หลังเข็มแรกเป็นระยะเวลา 1 เดือน จำนวน 61 คน เป็นการรายงานเบื้องต้น ภูมิต้านทานที่ตรวจพบ มีการตอบสนอง ตรวจวัดภูมิต้านทานได้ถึงร้อยละ 96.7 เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจวัดภูมิต้านทานในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ เป็นระยะเวลา 4- 8 สัปดาห์ตรวจพบได้ร้อยละ 92.4 ดังแสดงในรูป ระดับภูมิต้านทานที่ตรวจวัดได้ มีค่าตัวกลางเรขาคณิตเท่ากับ 40.61 u/ml เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ มีค่าเท่ากับ 60.86 u/ml ดังแสดงในรูป พบว่าระดับภูมิต้านทานที่พบเพศหญิงจะให้ระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่าเพศชาย อายุที่น้อยกว่า 60 ปีจะมีระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขณะนี้กำลังรอวิเคราะห์ข้อมูลที่มีจำนวนมากขึ้นกว่านี้ และจะมีการตรวจเลือดหาภูมิต้านทานก่อนฉีดเข็มที่ 2 อีก 1 ครั้ง และหลังเข็ม 2 แล้ว 1 เดือนภูมิต้านทานน่าจะมีระดับสูงมาก และอยู่นาน จากข้อมูลดังกล่าวพอสรุปได้ว่าแม้จะฉีดวัคซีน AstraZeneca เพียงเข็มเดียว ระดับภูมิต้านทานที่ตรวจวัดได้ก็เป็นที่น่าพอใจ มีอยู่ 1 ราย ที่ฉีดวัคซีน Sinovac เข็มแรกแล้วเกิดอาการแพ้ เลยฉีดเข็มที่ 2 ใน 3 อาทิตย์ต่อมา ด้วยวัคซีน AstraZeneca และตรวจเลือดเมื่อ 1 เดือนหลังฉีดวัคซีน AZ พบระดับภูมิต้านทานสูงมากสูงถึง 241 u/ml อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาการฉีดวัคซีนเปลี่ยนชนิดกัน ในกรณี ที่เกิดเหตุการฉีดวัคซีนต่างชนิดกัน ขอความกรุณาติดต่อผมขอตรวจภูมิต้านทานด้วย เพื่อเก็บเป็นข้อมูลและรวมถึงอาการข้างเคียงที่อยากทราบมาก และการเปลี่ยนชนิดของวัคซีนเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง การปูพรมฉีดเข็มเดียวไปก่อนให้ได้ประชากรมากที่สุด ด้วยวัคซีน AstraZeneca จะได้ประโยชน์สูงสุดแล้วตามด้วยกระตุ้นอีก 10 ถึง 12 สัปดาห์ต่อมา หรือนานกว่านั้น หมายความว่าในช่วง 3 เดือนแรก น่าจะปูพรมการฉีดวัคซีนไปเลย ถ้าฉีดได้เดือนละ 10 ล้านคน ก็สามารถปูพรมไปได้ถึง 30 ล้านคนทีเดียว แล้วหลังจากนั้นก็ตามกระตุ้นรวมทั้งฉีดรายใหม่เพิ่มขึ้นด้วย ก็จะได้เป้าหมายอย่างรวดเร็ว และถ้ามีวัคซีนชนิดอื่นมาเสริมด้วยแล้ว จะทำให้การให้วัคซีนกับประชาชนหมู่มากประสบผลสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น #หมอยง
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    หมอยง แจงประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 ขึ้นกับพื้นที่ อย่ายึดติดที่ตัวเลข 2021-01-14 17:21:56 สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (14 ม.ค. 2564)--นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่รัฐบาลจะนำเข้ามาฉีดให้ประชาชน ว่า การพิจารณาเรื่องประสิทธิภาพนั้นอย่าไปยึดติดที่ตัวเลข ขอให้ยึดความเป็นจริง เนื่องจากผลทดสอบในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน            สำหรับวัคซีนของบริษัท ซิโนแว็กเทคโนโลยี จำกัด นั้น ทดสอบที่ตุรกีในบุคคลทั่วไปให้ประสิทธิภาพ 90%, อินโดนีเซียทดสอบในบุคคลทั่วไป 60% ขณะที่บราซิลทดสอบในบุคลากรทางแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูงให้ประสิทธิภาพเหลือ 50% ซึ่งวัตถุประสงค์ของการผลิตวัคซีนมี 3 ประการ คือ 1.ฉีดแล้วป้องกันการติดเชื้อ 2.ฉีดแล้วติดเชื้อแล้วแต่ไม่เป็นโรค และ 3.ฉีดแล้วเป็นโรคแล้วไม่มีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต           "ตอนนี้ตลาดเป็นของผู้ขาย เพราะกำลังขาดแคลน ถ้าจะให้เลือกวัคซีนที่ดีที่สุดอาจซื้อไม่ได้ แต่องค์การอนามัยโลกบอกป้องกันได้เกิน 50% ก็ยอมรับได้ ถึงแม้เราอยากได้ที่ป้องกันถึง 100%" นพ.ยง กล่าว           ตนเองคงไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้วจะมีภูมิต้านทานได้นานแค่ไหน เพราะเป็นโรคอุบัติใหม่ อย่างกรณีวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ที่ก่อนหน้านี้ระบุว่าฉีดเข็มเดียวป้องกันได้ตลอดชีวิต ตอนนี้ต้องฉีดเพิ่มอีกเข็ม และจากการศึกษาเชื้อไวรัสโควิด-19 พบการกลายพันธุ์มีน้อยกว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ประมาณสิบเท่า ซึ้งไม่กระทบต่อการผลิตวัคซีน           "ถามว่าจะป้องกันได้กี่ปี นานแค่ไหน บอกได้เลยว่าไม่รู้ เพราะวัคซีนนำมาใช้แค่ 3-4 เดือน จะให้บอกว่าป้องกันนานแค่ไหน ไม่มีใครรู้ ต้องติดตามกันต่อไป ความรู้ใหม่จะเกิดขึ้น ถ้าฉีดแล้วยังติดเชื้อก็ต้องฉีดกระตุ้นใหม่ ซึ่งอาจจะอยู่ได้อีก 5 ปี" นพ.ยง กล่าว           ส่วนการตัดสินใจว่าจะฉีดวัคซีนหรือไม่ขึ้นอยู่ความเสี่ยงของแต่ละคน เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูง โดยผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีมีโอกาสเสียชีวิต 3-4% ผู้ที่มีอายุเกิน 70 ปีมีโอกาสเสียชีวิต 10% และผู้ที่มีอายุเกิน 80 ปีมีโอกาสเสียชีวิต 20% แต่ถ้าเป็นผู้ที่อายุน้อยถึงจะติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ ต่อไปโรคนี้อาจเป็นโรคไข้หวัดธรรมดาที่ติดต่อได้ง่ายในเด็กๆ แต่ติดเชื้อแล้วไม่มีอาการ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันเอง แต่ไวรัสชนิดนี้จะไม่มีวันหายไปแต่จะมีวิวัฒนาการที่ไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง           ปัจจุบันทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปแล้วราว 30 ล้านโดส โดยเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายที่ฉีดในจีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบาห์เรน และวัคซีนชนิด mRNA ของไฟเซอร์ฯ ซึ่งช่วงเวลานี้เป็นโอกาสดีที่รัฐบาลจะเจรจานำวัคซีนที่มีใช้แล้วเข้ามาทดลองฉีดในประเทศไทยว่าจะมีการตอบสนองอย่างไร           ตนเองได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมากว่า 3.3 หมื่นคน โดยประชาชนส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นที่จะรับการฉีดวัคซีน 55% มีผู้ที่ไม่ฉีด 5% เนื่องจากก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขเกิดความกังวลว่าอาจสูญเสียงบประมาณไปเปล่าๆ หากมีการนำเข้าวัคซีนแล้วประชาชนไม่สนใจ นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังให้ความเชื่อมั่นกับวัคซีนที่ผลิตจากประเทศแถบยุโรปและอเมริกามากกว่าวัคซีนที่ผลิตจากที่อื่น           อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนยึดมั่นตามมาตรการชีวอนามัย เช่น สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย เว้นระยะห่าง ซึ่งตนเองมีประสบการณ์จากการลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร พร้อมกับผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขแล้วไม่ติดเชื้อหลังกักกันโรคครบกำหนดแล้ว --อินโฟเควสท์ โดย ธนวัฏ เสือแย้ม/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    เนื้อสัตว์ หมู ไก่ เป็ด ถ้าปรุงสุก รับประทานได้ไร้เชื้อโควิด19 จริงหรือคะ
    ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ให้ข่าวว่า ถึงแม้ว่า เชื้อโควิดจะมีรายงานติดในสัตว์ประเภทตระกูลแมว แต่สำหรับสัตว์เศรษฐกิจ เช่น หมู ไก่และเป็ด งานวิจัยพบว่าจะไม่สามารถติดโรคโควิด 19 ได้อย่างแน่นอน จริงหรือคะ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    โควิด-19 อาจติดมากับอาหารแช่แข็งนำเข้าจากต่างประเทศ จริงหรือคะ
    ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความให้ผู้บริโภคระวังเชื้อโควิด-19ติดมากับสิ่งที่ไม่คาดคิด โดยระบุว่า เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการระบาดโควิด-19 ในจีนเกี่ยวข้องกับตลาดตั้งแต่เริ่มต้นที่อู่ฮั่น การระบาดในปักกิ่ง และการระบาดที่ ต้าเหลียน (Dalian) มณฑลเหลียวนิง Liaoning การระบาดที่อู่ฮั่น ก็เป็นตลาดค้าของสด อาหารทะเล และสัตว์มีชีวิต การระบาดที่ปักกิ่ง ตลาดซินฟาดี มีการพบเชื้อที่เขียงปลาแซลมอน นำเข้าจากเดนมาร์ก การระบาดล่าสุดตลาดที่ ต้าเหลียนก็มีการพบเชื้อที่กุ้ง ที่ส่งมาจาก เอกวาดอร์ ทำให้ทางการจีนต้องระดมเชิงรุกตรวจทั้งสิ่งแวดล้อม และคนเป็นแสนราย เพื่อป้องกันการระบาด จริงหรือ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ด่วนมาก*****ไชโยๆๆๆ เสียงประชาผู้มีใจใสบริสุทธิ์ ดังถึงฟ้าได้***** การค้นพบวิธีรักษาผู้ป่วยโคขวิดของทีมแพทย์ราชวิถีโดยใช้น้ำเลือดหรือพลาสม่าของผู้หายป่วย ไปฉีดให้กับผู้ป่วยใหม่แล้วหายในเวลารวดเร็ว และ เงียบหายไปนั้น บัดนี้"สภากาชาดไทย"ประกาศรับบริจาคพลาสม่าของผู้ที่หายป่วยโคขวิดเพื่อนำไปใช้รักษา ผู้ป่วยแล้วครับ ข้าน้อย ขอน้อมกราบด้วยศิระเกล้า !!!!!!! ช่วยกันแชร์ให้ถึงผู้ที่หายป่วยทุกรายด้วยครับ นพ .จักรพงษ์ ไพบูลย์ ใครเป็นโควิด 19 แต่หายแล้ว ยกมือขึ้น เลือดของท่านมีค่า ประดุจทองคำ สภากาชาดไทย ต้องการเลือดท่านไปทำยา ทำประโยชน์ ประเทศชาติมากมาย กรุณาติดต่อสภากาชาดไทย บริจาคโลหิตเลยนะครับ ใครรู้จักคนป่วยที่หายแล้ว บอกต่อด้วยนะครับ ติดต่อได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สถานที่ติดต่อ: 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์: โทรศัพท์ 0 2263 9600-99 โทรสาร: 0 2255 5558 อีเมล : blood@redcross.or.th เว็บไซต์ : http://www.blooddonationthai.com ข้อมูล จาก ศาสตราจารย์นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ โควิด-19 พลาสมาหรือน้ำเหลืองของผู้ที่หายจากโรค พลาสมาของผู้ป่วยที่หายจากโรค โควิด-19 จะมีประโยชน์อย่างมาก ในการใช้รักษาผู้ป่วย โควิด-19 ที่มีอาการมาก ภูมิต้านทาน ที่เกิดขึ้นจากผู้ป่วย เปรียบเสมือนเป็น เซรุ่มใช้รักษาโรค ขณะนี้ทางศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ มีโครงการที่จะรับบริจาค พลาสมา จากผู้ที่หายจากโรค ผู้ที่หายจากโรคแล้ว ถ้ามาบริจาค พลาสมา จะถูกเก็บ ไว้ใช้เป็นยารักษาโรค โควิด-19 ผู้ที่จะมาบริจาคได้ จะต้องเป็นผู้ที่ได้ออกจากโรงพยาบาลหายแล้วมีร่างกายแข็งแรง แล้วอย่างน้อย 14 วัน ตรวจไม่พบเชื้อ โควิด-19 ที่ป้ายจากคอและในเลือด มีอายุระหว่าง17 ถึง 60 ปีและมีน้ำหนักเกิน 50 กิโลกรัม ผมในฐานะเป็นที่ปรึกษาของศูนย์บริการโลหิต อยากให้ท่านได้เป็นฮีโร่ ในการทำประโยชน์ให้ต่อมวลมนุษย์ ในการช่วยชีวิตผู้ที่ป่วยหนัก โควิด-19 จึงอยากเชิญชวนผู้ที่หายจากโรคแล้วตามเงื่อนไขดังกล่าว มาบริจาคพลาสม่า โดยติดต่อได้ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ศาสตราจารย์นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ จากเฟส Yong Poovowan https://www.facebook.com/yong.poovorawan?__tn__=%2CdC-R-R&eid=ARBdGOavMQbxNij2w3BGBJnrmj2DF4mCCtcGCmGYZkt5pviUwazf3fnebWV6nON0g6lV6nnhN6Uajcq4&hc_ref=ARSKwwZSKhj3bw92dmaYd5StqONqO3oGnJdM03S3uZ1OTllcVtR3RDP1j09p9Lp-FB0&fref=nf
    ไม่ระบุชื่อ
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false