▪︎เราต้องเดินทุกวัน ตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงเข้านอน และวันหนึ่งๆ เราต้องเดินลงน้ำหนักบนขาทั้ง 2 ข้างของเราหลายชั่วโมง
●ข้อมูลจาก American Podiatric Medical Association
รายงานว่า โดยเฉลี่ยมนุษย์เดินวันละ 8,000-10,000 ก้าว ซึ่งเท่ากับว่าตลอดชีวิตเราจะต้องเดินประมาณ 207,000 กิโลเมตร หรือเป็นระยะทางเท่ากับเส้นรอบวงของโลกถึง 4 รอบ
● การเดินของมนุษย์มีกลไกที่ซับซ้อนมาก
☆ไม่ใช่เพียงแค่การก้าวเท้าไปข้างหน้า
☆ แต่ต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อหลายมัด
☆ศีรษะ ข้อกระดูกสันหลัง ข้อไหล่ ข้อสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า
เพื่อให้ร่างกายทรงตัวอยู่ได้
●ยิ่งเดินมาก ยิ่งทำให้ข้อเสื่อม จริงหรือ(?)
▪︎ใครว่ายิ่งเดินมาก ยิ่งทำให้ข้อเสื่อม ต้องบอกเลยว่า ความเชื่อนี้เชยไปแล้วค่ะ
● จากงานวิจัยทางการแพทย์สมัยใหม่พบว่า
🔺️การเดินหรือวิ่งอย่างถูกต้อง และต่อเนื่องจะช่วยป้องกันข้อเสื่อม
🔺️ส่วนการไม่เดินไม่วิ่ง หรือขาดการออกกำลังกายกลับเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อเสื่อม
● เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น
🔺️คำตอบคือ การเดินหรือวิ่งก่อให้เกิดแรงกดที่กระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฟองน้ำคอยรับแรงกระแทกในข้อ แรงกดและปล่อยอย่างเป็นจังหวะจากการเดินและวิ่ง จะเป็นการเพิ่มการหมุนเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงภายในข้อ
▪︎น้ำหล่อเลี้ยงภายในข้อมีความสำคัญ
เพราะสารอาหารของเซลล์กระดูกอ่อนไม่มีเลือดมาเลี้ยง
▪︎จึงได้รับสารอาหารและออกซิเจนจากน้ำหล่อเลี้ยงข้อเท่านั้น
▪︎ การเคลื่อนไหวข้อที่ทำให้เกิดแรงกดที่กระดูกอ่อนอย่างเหมาะสม และสม่ำเสมอ
▪︎จึงเป็นการให้สารอาหารแก่กระดูกอ่อน กระตุ้นการสร้างและซ่อมส่วนที่สึกหรอ ช่วยลดความเสี่ยงข้อเสื่อมได้
🔺️วันนี้หมอมีเคล็ด (ไม่) ลับของการเดิน ที่จะช่วยลดความเสื่อม และป้องกันการบาดเจ็บของข้อเข่า และกระดูกสันหลังมาฝากค่ะ
(one).ปรับท่าเดินให้ถูกต้อง เพราะท่าเดินที่ถูกต้องจะช่วยให้บุคลิกดีขึ้นและดูสง่างาม โดย
● ตามองตรง ไม่ก้มศีรษะ เพราะการก้มศีรษะจะไปเพิ่มการลงน้ำหนักที่กระดูกสันหลังบริเวณคอและหลัง ทำให้มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และหลังตามมาได้
●ไม่เกร็งระหว่างเดิน ผ่อนคลายตั้งแต่มือ ข้อนิ้วมือ อาจจะงอข้อศอกเล็กน้อย และก้าวเท้าให้เหมาะสม ไม่ยาว ไม่สั้นจนเกินไป จะลดอาการปวดเกร็งของเข่า และกล้ามเนื้อต้นขาได้
● ขณะที่เดินให้ลงน้ำหนักที่ส้นเท้าก่อน ตามมาด้วยเหยียบเท้าให้เต็มฝ่าเท้า
ส่วนเท้าอีกข้างให้ยกส้นเท้าขึ้นก่อนเช่นกัน จะเป็นการช่วยบริหารกล้ามเนื้อหน้าแข้ง
(two)เลือกรองเท้าให้เหมาะสม
▪︎โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้องเดินไกลๆ ควรเลือกรองเท้าหุ้มส้นที่สวมสบาย โดยควรลองสวมรองเท้าเดินก่อนที่จะเดินทางไกล
(three)หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสวมรองเท้าที่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่งเพราะเมื่อสวมส้นสูงจะทำให้หลังงอ และมีการโน้มตัวไปด้านหน้า ร่างกายจึงพยายามรักษาสมดุลด้วยการต้าน หรือเกร็งไม่ให้ลำตัวและแผ่นหลังเอนไปข้างหน้ามากเกินไป ส่งผลให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง
● หากมีพฤติกรรมนี้เป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้กระดูกเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทได้
(four).แขม่วพุงหรือแขม่วท้องเวลาเดิน เป็นการฝึกบริหารกล้ามเนื้อหลังมัดลึก ทำได้ดังนี้คือ
● ขั้นที่ 1 หายใจเข้าและออกให้สุด จำความรู้สึกไว้ว่าการหายใจเข้าและออกแบบลึกสุดๆ คิดเป็นการหายใจแบบ 100 เปอร์เซ็นต์
● ขั้นที่ 2 หายใจเข้าประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ แขม่วท้องค้างไว้ นับ 1-10 แล้วหายใจออก คลายหน้าท้อง โดยขณะเกร็งหรือแขม่ว ให้ผ่อนคลายในระดับที่สามารถพูดคุยโต้ตอบกับผู้อื่นได้
●การแขม่วพุงยังมีประโยชน์อีกมากมาย เช่น เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ลดแรงกระทำ และช่วยกระจายแรงกระทำต่อกระดูกสันหลัง เพิ่มความมั่นคงให้กระดูกสันหลัง ป้องกันการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุบริเวณหลังส่วนล่าง ทำให้ประสิทธิภาพการหายใจดีขึ้น กระชับหน้าท้อง ทำให้หน้าท้องแบนราบ บุคลิกภาพดี
(five)ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
● คนที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัม จะมีแรงกดต่อข้อเข่าเพิ่มขึ้น 40 กิโลกรัม หรือ 4 เท่าของน้ำหนักตัวทุกๆ ย่างก้าวที่เดิน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดอาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อม
●โดยน้ำหนักตัวที่เหมาะสมสำหรับชาวไทย คือ ค่าดัชนีมวลกาย ระหว่าง 19-25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
(six)ไม่ควรหิ้วหรือถือของหนัก โดยเฉพาะของที่มีน้ำหนักมากกว่า 20 กิโลกรัม เพราะถึงแม้ว่าน้ำหนักตัวจะไม่มาก แต่ดันหิ้วของหนักมาก โดยเฉพาะกระเป๋าถือของผู้หญิง ก็จะเพิ่มแรงกดต่อกระดูกเช่นกัน
(seven)หมั่นบริหารกล้ามเนื้อต้นขา ด้วยการเหยียดเข่าให้ตรงและเกร็งค้างไว้ครั้งละ 5 วินาที ประมาณวันละ 10-20 ครั้ง หรืออาจเข้ายิมเล่นเวต เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และด้านหลัง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีสะโพกกว้าง ซึ่งมีแนวโน้มเกิดปัญหาปวดเข่าได้ง่าย
การออกกำลังกายด้วยวิธีดังกล่าว จะสร้างกล้ามเนื้อให้ช่วยรั้งกระดูกสะบ้าเข้าด้านใน เพื่อลดปัญหาปวดเข่าในระยะยาว
(eight)หลีกเลี่ยงการขึ้น-ลงบันไดบ่อยเกินไป เช่น เดินขึ้น-ลง บ้าน 3 ชั้น มากกว่าวันละ 5 ครั้ง ควรวางแผนการหยิบของใช้ให้ดีเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินขึ้น-ลง
(nine)หลีกเลี่ยงการยืนพักขาลงน้ำหนักไปที่ขาข้างเดียว
●การยืนที่ถูกต้อง ควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน โดยยืนแยกขาให้กว้างเท่าช่วงสะโพก จึงจะเกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย
(one)(zero)เป็นคนช่างสังเกต
▪︎โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการเจ็บปวดหลังการเดิน
▪︎ ควรสังเกตว่าเรามีอาการเจ็บตรงไหน
เพื่อตรวจสอบว่า ตรงไหนที่เราอาจจะมีปัญหา จะได้รีบแก้ไข ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามจนแก้ไขไม่ได้
🔺️การเดินเป็นการออกกำลังกายที่ง่าย ทำได้ทุกเวลา โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
●แนะนำให้เดินอย่างน้อยวันละ 10,000 ก้าว หรือเดินอย่างน้อยวันละ 30 นาที สะสมให้ได้สัปดาห์ละ 150 นาที
⭐ขอให้คุณผู้อ่านเดินอย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรงกันทุกๆ ท่านเลยนะคะ
🔺️พันเอกหญิง รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุมาภา ชัยอำนวย
(คุณหมอยุ้ย)
ไม่ระบุชื่อ
• 4 ปีที่แล้ว