ผศ.ดร.กิติวัฒน์ คำวัน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์ ยืนยัน Cs-137 ที่ถูกหลอมไม่อันตรายตามที่พูดกัน เหตุรังสีของแท่ง Cs-137 เหลือน้อย ห่วงแค่การปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม หวังสถานการณ์ไม่บานปลาย
ad
จากกรณีมีการประกาศตามหาท่อขนาดใหญ่ที่มี “ซีเซียม-137” สารกัมมันตรังสีที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหากไม่ได้อยู่ในท่อ หรือถูกแกะออก ซึ่งหายไปจากโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งในพื้นที่ปราจีนบุรี ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา
ก่อนจะมีการเปิดเผยว่า ท่อสารซีเซียม-137 หายไปตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โรงไฟฟ้าดังกล่าวเพิ่งทราบเรื่องและแจ้งให้หน่วยงานราชการทราบในวันที่ 10 มีนาคม 2566 จนนำไปสู่การประกาศตามหา ต่อมาผู้ว่าฯ ปราจีนบุรีแถลงยืนยันแท่งเหล็กบรรจุ "ซีเซียม-137" ถูกหลอมในโรงงานพื้นที่กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี เบื้องต้นสั่งปิดพื้นที่-หยุดงานทันที เตรียมตรวจเลือดกลุ่มเสี่ยง
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Kitawat Khamwan” หรือ ผศ.ดร.กิติวัฒน์ คำวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ได้ออกมาโพสต์ข้อความเกี่ยวกับเหตุการณ์แท่งเหล็ก Cs-137 ที่ถูกหลอมจะอันตรายเพียงไหน หลังมีการแชร์ข้อความว่าสารอันตรายสามารถกระจายได้ถึง 1 พันกิโลเมตร โดยได้ระบุข้อความว่า
“ขอให้คนในวงการรังสีได้มีโอกาสพูดบ้างนะครับ
หากแท่งเหล็ก Cs-137 ที่หายไปถูกหลอมไปแล้วจะเป็นอย่างไร อันตรายมากน้อยแค่ใหน
หลังจากที่มีการแถลงข่าวถึงสถานการณ์ Cs-137 ที่หายไป จนตอนนี้เริ่มพูดกันในวงกว้างและคนเริ่มกลัวกันมากขึ้นเรื่อยๆ มีการแชร์ข้อมูลต่างๆ นานา ซึ่งส่วนใหญ่มาจาก fake news ในโลกโซเชียล และจนถึงขั้นที่ว่าหากถูกหลอมไปแล้วจริงจะเกิดการฟุ้งกระจายไปในบรรยากาศปลิวไปไกลเป็นพันๆ กิโลฯ เป็นอันตรายต่อคนทั้งประเทศ
จริงๆ แล้วก็คิดว่าคงไม่ขนาดนั้นนะครับ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในวงการรังสี Napapong Pongnapang ก็ได้ออกมาพูดแล้วตามที่เห็นในสื่อต่างๆ ที่แชร์กันใน FB/tiktok หลายๆ ข่าวก็ดูจะเกินจริงไปหน่อย ทาง ปส.ก็ได้ทำการวัดรังสีรอบๆ พื้นที่ที่คาดว่าจะมีการปนเปื้อนรังสีก็วัดไม่ขึ้นครับ ในส่วนบริเวณพื้นผิวของถุงบิ๊กแบ็กเท่าที่ทราบคืออัตราปริมาณรังสีที่วัดได้อยู่ที่ประมาณ 3 ไมโครซีเวิร์ต/ชั่วโมง ซึ่งเมื่อยิ่งอยู่ห่างออกมาปริมาณรังสีจะยิ่งลดลงตามกฎกำลังสองผกผัน
ส่วนเหตุการณ์โคบอลต์-60 ที่จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปี 2543 อันนั้นปริมาณรังสีสูงกว่าเหตุการณ์นี้เยอะมากๆๆ ประมาณ 10,000 เท่า เพราะเป็นที่ส่วนหัวที่ใช้สำหรับฉายรังสีรักษาโรคมะเร็ง ความแรงรังสีของ Cs-137 ที่เหลืออยู่ของแท่งนี้อยู่ที่ประมาณ 41 มิลลิคูรี เทียบเท่ากับปริมาณซีเซียม-137 0.00047185 กรัม โดยประมาณเท่านั้น ซึ่งแทบจะเทียบกันไม่ได้เลยกับ Cs-137 ปริมาณ 27 กก. จากอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิล
Cs-137 ถ้าถูกหลอมไปแล้วจริง คงจะต้องไปดูเรื่องของการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งอันตรายแบบเฉียบพลันจากการรับปริมาณรังสีมากๆ ในครั้งเดียว หรือที่เรียกว่า “acute effect” ตามที่แชร์กันคงไม่เกิดขึ้นแน่ๆ แต่อาจจะต้องติดตามดูผลระยะยาวเรื่องความเสี่ยงโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมไทรอยด์ของคนในพื้นที่ ซึ่งที่ต่างประเทศเมื่อเกิดเหตุลักษณะแบบนี้เขามีการติดตามดูผลระยะยาวไปถึง 20-30 ปีข้างหน้า เช่น เหตุการณ์อุบัติเหตุทางรังสี Cs-137 ที่เมืองโกยาเนีย ประเทศบราซิล ปี 1987 (บ้านเราก็น่าจะมีโมเดลนี้เช่นกันหรือเปล่า??)
หากเกิดฟุ้งกระจายออกไปในชั้นบรรยากาศจริง ต้องเทียบปริมาณรังสีกับพื้นที่ชั้นบรรยากาศทั้งจังหวัด หรือรอบๆ แถวนั้นอย่างน้อยที่สุด ซึ่งความเข้มข้นของ Cs-137 ต่อตารางเมตรจะน้อยมาก ปริมาณรังสีอยู่ในระดับที่ต่ำมากจนเครื่องวัดรังสีอาจจะวัดไม่ขึ้น ไม่อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อันนี้ต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่าร่างกายของคนเราเองก็มีความทนทานต่อรังสีในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามก็คงต้องทำการตรวจสอบโดยละเอียดอีกทีครับว่าระดับปริมาณรังสีเกินกว่าในชีวิตประจำวันหรือไม่ หากอ้างอิงตัวเลขจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency) ค่ารังสีส่วนเกินจากธรรมชาติที่คนทั่วไปควรได้รับไม่ควรจะเกิน 1 มิลลิซีเวิร์ต/ปี
คนเราได้รับรังสีจากทางธรรมชาติทุกวัน เช่นรังสีคอสมิกจากนอกโลก รังสีเรดอนจากพื้นโลก อาคารที่พักอาศัย แม้แต่อาหารที่รับประทานเข้าไป ก็ยังมีโพแทสเซียม-40 ซึ่งเป็นธาตุที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต ธาตุนี้เป็นไอโซโทปรังสีที่ปลดปล่อยรังสีแกมมาและบีตา มีค่าครึ่งชีวิตยาวนานยิ่งกว่า Cs-137 และพบได้ในธรรมชาติ เช่น ในดินและพืช ซึ่งเราได้รับธาตุนี้จากการบริโภคอาหาร ซึ่งเราก็ยังสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ ถ้าหากซีเซียม-137 ถูกหลอมและออกไปสู่สิ่งแวดล้อมจริงๆ คิดว่าคงไม่เกินค่าระดับรังสีพื้นหลัง เนื่องจากถูกเจือจาง (dilute) ไปในธรรมชาติจนอยู่ระดับที่ต่ำมาก ค่าเฉลี่ยระดับรังสีพื้นหลัง (background radiation) ทั่วโลกจะอยู่ที่ประมาณ 3 มิลลิซีเวิร์ต/ปี อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ
ถึงแม้ทาง ปส.ออกมายืนยันว่าไม่พบการปนเปื้อนของ Cs-137 ของคนในโรงงาน และค่าปริมาณรังสีที่วัดได้จากพื้นที่ชุมชนรอบๆ อยู่ในระดับที่ปลอดภัย แทบจะไม่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย สบายใจได้ 100% จึงควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ไม่ประมาทแต่ก็ไม่ถึงขั้นตื่นตระหนกจนเกินไป
หวังว่าสถานการณ์จะไม่บานปลายเลวร้ายถึงขั้นประชาชนแห่กันไปซื้อพรัสเซียนบลู (Prussian blue) หรือไอโอดีนมากักตุนเพื่อเอาไว้กำจัดสารกัมมันตรังสี Cs-137 ออกจากร่างกายนะครับ เพราะ ณ ขณะนี้คงไม่มีความจำเป็นและรุนแรงถึงขนาดนั้น และขอร่วมเป็นกำลังใจให้คนในพื้นที่สามารถผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้ด้วยดีนะครับ
ภาพตัวอย่างคือ Cs-137 ที่ใช้สำหรับการปรับเทียบเครื่องมือทางรังสี dose calibrator ในแผนกเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ใช้งานเป็นประจำทุกวันครับ”
ad
จากกรณีมีการประกาศตามหาท่อขนาดใหญ่ที่มี “ซีเซียม-137” สารกัมมันตรังสีที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหากไม่ได้อยู่ในท่อ หรือถูกแกะออก ซึ่งหายไปจากโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งในพื้นที่ปราจีนบุรี ตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา
ก่อนจะมีการเปิดเผยว่า ท่อสารซีเซียม-137 หายไปตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 แต่โรงไฟฟ้าดังกล่าวเพิ่งทราบเรื่องและแจ้งให้หน่วยงานราชการทราบในวันที่ 10 มีนาคม 2566 จนนำไปสู่การประกาศตามหา ต่อมาผู้ว่าฯ ปราจีนบุรีแถลงยืนยันแท่งเหล็กบรรจุ "ซีเซียม-137" ถูกหลอมในโรงงานพื้นที่กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี เบื้องต้นสั่งปิดพื้นที่-หยุดงานทันที เตรียมตรวจเลือดกลุ่มเสี่ยง
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Kitawat Khamwan” หรือ ผศ.ดร.กิติวัฒน์ คำวัน ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ได้ออกมาโพสต์ข้อความเกี่ยวกับเหตุการณ์แท่งเหล็ก Cs-137 ที่ถูกหลอมจะอันตรายเพียงไหน หลังมีการแชร์ข้อความว่าสารอันตรายสามารถกระจายได้ถึง 1 พันกิโลเมตร โดยได้ระบุข้อความว่า
“ขอให้คนในวงการรังสีได้มีโอกาสพูดบ้างนะครับ
หากแท่งเหล็ก Cs-137 ที่หายไปถูกหลอมไปแล้วจะเป็นอย่างไร อันตรายมากน้อยแค่ใหน
หลังจากที่มีการแถลงข่าวถึงสถานการณ์ Cs-137 ที่หายไป จนตอนนี้เริ่มพูดกันในวงกว้างและคนเริ่มกลัวกันมากขึ้นเรื่อยๆ มีการแชร์ข้อมูลต่างๆ นานา ซึ่งส่วนใหญ่มาจาก fake news ในโลกโซเชียล และจนถึงขั้นที่ว่าหากถูกหลอมไปแล้วจริงจะเกิดการฟุ้งกระจายไปในบรรยากาศปลิวไปไกลเป็นพันๆ กิโลฯ เป็นอันตรายต่อคนทั้งประเทศ
จริงๆ แล้วก็คิดว่าคงไม่ขนาดนั้นนะครับ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในวงการรังสี Napapong Pongnapang ก็ได้ออกมาพูดแล้วตามที่เห็นในสื่อต่างๆ ที่แชร์กันใน FB/tiktok หลายๆ ข่าวก็ดูจะเกินจริงไปหน่อย ทาง ปส.ก็ได้ทำการวัดรังสีรอบๆ พื้นที่ที่คาดว่าจะมีการปนเปื้อนรังสีก็วัดไม่ขึ้นครับ ในส่วนบริเวณพื้นผิวของถุงบิ๊กแบ็กเท่าที่ทราบคืออัตราปริมาณรังสีที่วัดได้อยู่ที่ประมาณ 3 ไมโครซีเวิร์ต/ชั่วโมง ซึ่งเมื่อยิ่งอยู่ห่างออกมาปริมาณรังสีจะยิ่งลดลงตามกฎกำลังสองผกผัน
ส่วนเหตุการณ์โคบอลต์-60 ที่จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปี 2543 อันนั้นปริมาณรังสีสูงกว่าเหตุการณ์นี้เยอะมากๆๆ ประมาณ 10,000 เท่า เพราะเป็นที่ส่วนหัวที่ใช้สำหรับฉายรังสีรักษาโรคมะเร็ง ความแรงรังสีของ Cs-137 ที่เหลืออยู่ของแท่งนี้อยู่ที่ประมาณ 41 มิลลิคูรี เทียบเท่ากับปริมาณซีเซียม-137 0.00047185 กรัม โดยประมาณเท่านั้น ซึ่งแทบจะเทียบกันไม่ได้เลยกับ Cs-137 ปริมาณ 27 กก. จากอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เชอร์โนบิล
Cs-137 ถ้าถูกหลอมไปแล้วจริง คงจะต้องไปดูเรื่องของการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ซึ่งอันตรายแบบเฉียบพลันจากการรับปริมาณรังสีมากๆ ในครั้งเดียว หรือที่เรียกว่า “acute effect” ตามที่แชร์กันคงไม่เกิดขึ้นแน่ๆ แต่อาจจะต้องติดตามดูผลระยะยาวเรื่องความเสี่ยงโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมไทรอยด์ของคนในพื้นที่ ซึ่งที่ต่างประเทศเมื่อเกิดเหตุลักษณะแบบนี้เขามีการติดตามดูผลระยะยาวไปถึง 20-30 ปีข้างหน้า เช่น เหตุการณ์อุบัติเหตุทางรังสี Cs-137 ที่เมืองโกยาเนีย ประเทศบราซิล ปี 1987 (บ้านเราก็น่าจะมีโมเดลนี้เช่นกันหรือเปล่า??)
หากเกิดฟุ้งกระจายออกไปในชั้นบรรยากาศจริง ต้องเทียบปริมาณรังสีกับพื้นที่ชั้นบรรยากาศทั้งจังหวัด หรือรอบๆ แถวนั้นอย่างน้อยที่สุด ซึ่งความเข้มข้นของ Cs-137 ต่อตารางเมตรจะน้อยมาก ปริมาณรังสีอยู่ในระดับที่ต่ำมากจนเครื่องวัดรังสีอาจจะวัดไม่ขึ้น ไม่อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อันนี้ต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่าร่างกายของคนเราเองก็มีความทนทานต่อรังสีในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามก็คงต้องทำการตรวจสอบโดยละเอียดอีกทีครับว่าระดับปริมาณรังสีเกินกว่าในชีวิตประจำวันหรือไม่ หากอ้างอิงตัวเลขจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency) ค่ารังสีส่วนเกินจากธรรมชาติที่คนทั่วไปควรได้รับไม่ควรจะเกิน 1 มิลลิซีเวิร์ต/ปี
คนเราได้รับรังสีจากทางธรรมชาติทุกวัน เช่นรังสีคอสมิกจากนอกโลก รังสีเรดอนจากพื้นโลก อาคารที่พักอาศัย แม้แต่อาหารที่รับประทานเข้าไป ก็ยังมีโพแทสเซียม-40 ซึ่งเป็นธาตุที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต ธาตุนี้เป็นไอโซโทปรังสีที่ปลดปล่อยรังสีแกมมาและบีตา มีค่าครึ่งชีวิตยาวนานยิ่งกว่า Cs-137 และพบได้ในธรรมชาติ เช่น ในดินและพืช ซึ่งเราได้รับธาตุนี้จากการบริโภคอาหาร ซึ่งเราก็ยังสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ ถ้าหากซีเซียม-137 ถูกหลอมและออกไปสู่สิ่งแวดล้อมจริงๆ คิดว่าคงไม่เกินค่าระดับรังสีพื้นหลัง เนื่องจากถูกเจือจาง (dilute) ไปในธรรมชาติจนอยู่ระดับที่ต่ำมาก ค่าเฉลี่ยระดับรังสีพื้นหลัง (background radiation) ทั่วโลกจะอยู่ที่ประมาณ 3 มิลลิซีเวิร์ต/ปี อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ
ถึงแม้ทาง ปส.ออกมายืนยันว่าไม่พบการปนเปื้อนของ Cs-137 ของคนในโรงงาน และค่าปริมาณรังสีที่วัดได้จากพื้นที่ชุมชนรอบๆ อยู่ในระดับที่ปลอดภัย แทบจะไม่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย สบายใจได้ 100% จึงควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ไม่ประมาทแต่ก็ไม่ถึงขั้นตื่นตระหนกจนเกินไป
หวังว่าสถานการณ์จะไม่บานปลายเลวร้ายถึงขั้นประชาชนแห่กันไปซื้อพรัสเซียนบลู (Prussian blue) หรือไอโอดีนมากักตุนเพื่อเอาไว้กำจัดสารกัมมันตรังสี Cs-137 ออกจากร่างกายนะครับ เพราะ ณ ขณะนี้คงไม่มีความจำเป็นและรุนแรงถึงขนาดนั้น และขอร่วมเป็นกำลังใจให้คนในพื้นที่สามารถผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้ด้วยดีนะครับ
ภาพตัวอย่างคือ Cs-137 ที่ใช้สำหรับการปรับเทียบเครื่องมือทางรังสี dose calibrator ในแผนกเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่ใช้งานเป็นประจำทุกวันครับ”
แพทย์ยัน! Cs-137 ถูกหลอม ไม่อันตรายเท่าที่คิด หวังสถานการณ์ไม่บานปลาย
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9660000026719เผยแพร่: 22 มี.ค. 2566 09:45 ปรับปรุง: 22 มี.ค. 2566 09:45