1 คนสงสัย
ข่าวปลอมส่วนใหญ่มักจะมี URL คล้ายเว็บไซต์แหล่งข่าวจริง
ข่าวปลอมส่วนใหญ่มักจะมี URL คล้ายเว็บไซต์แหล่งข่าวจริง
Mrs.Doubt
 •  1 ปีที่แล้ว
meter: mostly-true--middle
2 ความเห็น

ผู้บริโภคเฝ้าระวัง

Joke Air เลือกให้ข้อความนี้✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด

เหตุผล

ใช่ มักจะทำ url และรูปโฉม ของเว็บเลียนแบบ ให้คล้ายหรือเหมือนกับเว็บจริง เพื่อหลอกลวง

ที่มา

.
Thanathun. เลือกให้ข้อความนี้◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน

เหตุผล

การลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์มากมาย ที่ต้องใส่ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยมากขึ้น ควรเช็กให้ชัวร์ก่อนกรอกรายละเอียด หรือแช

ที่มา

ควรเช็กให้ชัวร์ก่อนกรอกรายละเอียด หรือแชร์ออกไป หากพบข่าวที่มีการแชร์ต่อ ๆ กันมา จึงไม่ควรเชื่อทันที ควรใช้หลักสังเกตง่าย ๆ 5 ข้อ
1.สังเกตลิงก์ หรือ URL ให้ดี : ข่าวปลอมส่วนใหญ่มักจะมี URL คล้ายเว็บไซต์แหล่งข่าวจริง อาจมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย เพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริง ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
2.สังเกตที่อยู่สำหรับติดต่อ : ข่าวปลอมที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ จะไม่ระบุที่อยู่ ข้อมูลการติดต่อที่น่าเชื่อถือ และมีข่าวอยู่ไม่กี่หน้า
3.สังเกตจากรูปภาพ : ข่าวปลอมส่วนใหญ่ใช้ภาพข่าวเก่า หรือภาพไม่ตรงกับข่าว สามารถนำภาพนั้นไปเช็กได้จาก Google จะบอกได้ว่ารูปนี้พูดถึงสิ่งใด ตรงกับข่าวของเราไหม
4.สังเกตสิ่งผิดปกติ : ไม่มีหลักฐานอ้างอิง เขียนโอ้อวดสร้างความตื่นตระหนก ไร้งานวิจัย ไม่มีชื่อผู้เชี่ยวชาญหรือผู้เกี่ยวข้องรับรองความถูกต้อง
5.สังเกตแหล่งที่มา และตรวจสอบจากแหล่งข่าวอื่นเพิ่มเติม : หากเป็นข่าวจริงจะมีการเผยแพร่จากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ หากไม่มีแหล่งข่าวอื่นรายงานเรื่องราวเดียวกัน อาจมีแนวโน้มว่าเป็นข่าวปลอม

https://www.hfocus.org/content/2021/08/22786

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน