1 คนสงสัย
เกษตรกร
กรมการค้าภายในนำ “มะนาว-มะม่วง” เปิดจุดจำหน่ายที่ตลาด Yes บางพลี สมุทรปราการ เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชน และช่วยเกษตรกรระบายผลผลิต เผยยังสามารถซื้อได้ที่โมบายพาณิชย์ 100 จุด ทั่วกรุงเทพฯ ด้วย

วันที่ 29 มิถุนายน 2566 นายกรนิจ โนนจุ้ย รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้มอบหมายให้ตนลงพื้นที่ ณ ตลาด Yes บางพลี จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นตลาดในความส่งเสริมของกรมฯ
std47633
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    อยากปากสวย ทำปากรูปกระจับด้วยการเอาผึ้งมาต่อยนั้น อันตรายจริงหรือ
    จากกรณีที่มีคลิปเผยแพร่ว่า มีผู้สอนทำปากรูปกระจับด้วยการเอาผึ้งมาต่อยนั้น นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ขอแนะนำว่า อย่าทำโดยเด็ดขาด เพราะเหล็กในของผึ้งมีพิษ (venom) พิษของผึ้งประกอบด้วยโปรตีน, เปปไทด์, และสารอินทรีย์อีกหลายชนิด ผึ้งต่อยเหยื่อด้วยเหล็กใน เหล็กในจะเชื่อมต่อกับต่อมพิษและอวัยวะภายใน เมื่อต่อยทำให้เหยื่อเจ็บปวดมาก เกิดการแพ้ ปวด บวมบริเวณที่โดนผึ้งต่อย และอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้รุนแรง (anaphylaxis) มีลักษณะเป็นผื่นลมพิษทั้งตัว, ปากบวม และหายใจติดขัด อาจเสียชีวิตได้ จริงหรือ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ย้อมสีผมบ่อย เสี่ยงก่อโรคมะเร็งจริงหรือไม่ ?
    ย้อมสีผมบ่อย เสี่ยงก่อโรคมะเร็งจริงหรือไม่ ? การย้อมสีผมในปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการย้อมเพื่อเปลี่ยนลุคและสไตล์ หรือการซ่อนผมขาว ได้รับการยอมรับในทุกช่วงวัย การย้อมสีผมบ่อยๆจะทำให้เราได้รับสารเคมีอย่างต่อเนื่อง แต่สารเคมีเหล่านั้นไม่สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ แต่หากการได้รับสารเคมีในน้ำยาย้อมสีผมเป็นประจำอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ (ข้อมูลจาก Harvard Medical School) ยาย้อมผมตามท้องตลาดมี 3 ประเภท ดังนี้ 1. ประเภทสีชั่วคราว ถ้าสระผมแล้วสีก็จะค่อยๆหายไป 2. ประเภทสีกึ่งถาวร หรือเรียกว่าสีโกรกผม สามารถปิดหงอกได้ไม่เกิน 30% ถ้าสระผม 5-6 ครั้ง ก็จะค่อยๆหลุดออกไป 3. ประเภทสีย้อมถาวร หรือเรียกว่าสีย้อมผม สามารถปกปิดผมได้ สระแล้วสีไม่หลุดลอก แต่วิธีนี้งานวิจัยระบุว่าจะทำให้โครโมโซมร่างกายเสียหาย ถ้าย้อมบ่อยๆเซลล์อาจจะกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ ส่วนผสมในน้ำยาย้อมผมที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้ 1. สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไชด์ : ทำลายเส้นผมและหนังศีรษะ ก่อให้เกิดอาการอักเสบ และระคายเคือง 2. สารฟีนิลินไดอะมีน หรือสีย้อมผมชนิดถาวร : อาจทำให้เกิดการระคายเคือง และอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งหนังศีรษะได้ 3. แอมโมเนีย : สามารถกัดเส้นผมและหนังศีรษะ ทำให้ผมเสีย รากผมอ่อนแอ 4. สารซิลเวอร์ไนเตรต : ทำให้เกิดการระคายได้ 5. สารเลดอะซีเตด : หากสะสมในร่างกายจะทำลายสมอง ประสาทสัมผัส และจัดอยู่ในสารก่อมะเร็ง (ข้อมูลจาก Herbplus+) เราจึงควรมีหลักการในการเลือกน้ำยาย้อมสีผม ดังนี้ 1. เลือกผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน มีวันหมดอายุ วิธีใช้ ส่วนผสม และเลขที่จดแจ้งระบุไว้ชัดเจน 2. เลือกน้ำยาที่ไม่มีส่วนผสมของแอมโมเนีย 3. ทดสอบอาการแพ้ก่อนใช้ทุกครั้ง 4. เช็กความเข้มข้นของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ไม่ควรมีมากกว่า 6% เพราะจะทำให้ผมแห้ง ผมกระด้าง และอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อหนังศีรษะได้ 5. ใช้ผลิตภัณฑ์ย้อมผมที่มีส่วนผสมของสมุนไพรเป็นหลัก (ข้อมูลจาก Herbplus+ และ Wongnai) นอกจากนี้ คนที่ย้อมสีผมอยู่แล้ว ไม่ควรย้อมเกิน 9 ครั้งต่อปี นพ.วีรวุฒิ อิ่มสาราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ที่ยังไม่เคยย้อมผมไม่ควรย้อมสีผม โดยเฉพาะคนที่ผมบางหรือผมน้อยอยู่แล้ว เพราะการย้อมผมทำให้รากผมไม่แข็งแรง ผมหลุดร่วงได้ง่าย หากสะสมในร่างกาย อาจทำร้ายสมอง ประสาทสัมผัส ที่สำคัญยังจัดอยู่ในสารก่อมะเร็งด้วยเช่นกัน และ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้กล่าวไว้ว่า น้ำยาย้อมสีผมยังเป็นอันตรายต่อช่างทำผม เพราะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีมากกว่าผู้ที่ย้อมผม เนื่องจากต้องสัมผัสกับสารเคมีที่มาจากน้ำยาต่างๆเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม จากการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยต่างๆ พบว่ายังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ายาย้อมสีผมเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้ ดังนั้นเวลาที่ย้อมสีผมควรอยู่ในที่ที่ระบายอากาศได้ดี มีการสวมถุงมือ และใส่หน้ากากป้องกันสารเคมีทุกครั้ง (สาธิตา แสวงลาภ, ฤดีรัตน์ มหาบุญปี ติ, อัจฉรา นราศรี, 2562) (ข้อมูลจาก Herbplus+,สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข) เครือข่าย : ชมรมสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    apinya25460
     •  12 วันที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    สินค้าฉวยขึ้นราคาซ่วงโควิด มีโทษหนักอาจติดคุก 7 ปี จริงหรือ
    กรมการค้าภายในส่งเจ้าหน้าที่ออกตรวจเข้มต่อเนื่อง ย้ำห้ามผู้ประกอบการฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาสินค้าช่วงโควิดระบาด ชี้โทษหนักคุก 7 ปี ไม่ติดป้ายราคาปรับไม่เกิน 1 หมื่น จริงหรือ
    anonymous
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    กรมประมง แจง การแก้ปัญหาราคากุ้งตกต่ำให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล
    ประเด็นราคากุ้งทะเลที่ลดต่ำลง ซึ่งมีเกษตรกรหลายพื้นที่ได้ยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือจากภาครัฐผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด โดยชริมพ์บอร์ดได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 22 พ.ค.66 ซึ่งมีอธิบดีกรมประมง ในฐานะประธานกรรมการ เป็นประธานการประชุมฯ เพื่อพิจารณาโครงการเร่งด่วนช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้กรมการค้าภายในจัดทำโครงการ 2 โครงการ ดังนี้ 1. โครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งโดยเชื่อมโยงการจำหน่ายกุ้งทะเลภายในประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายดูดซับผลผลิตกุ้งทะเลปริมาณรวม 5,000 ตัน ระยะเวลาดำเนินการ 2 เดือน เพื่อให้มีการบริโภคภายในประเทศ โดยรัฐช่วยชดเชยส่วนต่างราคาให้เกษตรกรในอัตรากิโลกรัมละ 20 บาท และค่าใช้จ่ายดำเนินการด้านการตลาดในอัตรากิโลกรัมละ 10 บาท โดยเสนอขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร กระทรวงพาณิชย์ 2. โครงการจัดหาปัจจัยการผลิตราคาถูก เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร (โครงการระยะยาว) นอกจากโครงการที่กล่าวมาข้างต้น กรมประมงยังได้มีการดำเนินโครงการและการส่งเสริมความรู้ให้แก่เกษตรกรในการลดต้นทุนการเลี้ยง เพื่อให้เกษตรกรมีต้นทุนการเลี้ยงที่ลดลงและมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรให้สามารถประกอบกิจการการเลี้ยงกุ้งได้อย่างยั่งยืน อาทิ -โครงการอาหารกุ้งทะเลธงเขียวเพื่อการเลี้ยงกุ้งทะเลสำหรับบริโภคภายในประเทศ ปี 2566 โดยสนับสนุนเงินค่าอาหารกุ้งทะเล กิโลกรัมละ 2 บาท ให้กับเกษตรกรที่จ้างผลิตโดยใช้เงินทุนของตนเอง ซึ่งโครงการฯ อยู่ระหว่างการเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คบท.) เพื่อพิจารณาให้การสนับสนุนเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร -โครงการลดต้นทุนการผลิตกุ้งทะเลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมกุ้งทะเลอย่างยั่งยืน ปี 2564 โดยส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน (Solar cell) การใช้เครื่องเติมอากาศอัจฉริยะ และการปรับปรุงบ่อเพื่อลดต้นทุนแฝงจากการเกิดโรค -การส่งเสริมการใช้จุลินทรีย์ทดแทนการใช้สารเคมี โดยหน่วยงานของกรมประมงให้บริการหัวเชื้อจุลินทรีย์แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่ และส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์จุลินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมในการดำเนินการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่อแจกจ่ายให้แก่สมาชิกในสังกัด เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรโดยครอบคลุมทุกพื้นที่การเลี้ยงกุ้ง -โครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 โดยให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนปลอดดอกเบี้ย เพื่อนำไปซื้อปัจจัยการผลิต เช่น ลูกพันธุ์ อาหาร และอื่น ๆ ซึ่งเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ที่เกิดขึ้น และเสริมสภาพคล่องในการประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกร นอกจากนี้ กรมประมงยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีการวางแผนการผลิตเพื่อให้ได้กุ้งตรงตามขนาดที่ตลาดต้องการ และมีการบริหารจัดการผลผลิตให้เหมาะสมกับฤดูกาลผลิต เพื่อลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรสามารถลดความเสี่ยงของการประสบปัญหาราคากุ้งตกต่ำได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย
    mbamsawy56
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false