คลัสเตอร์ปาร์ตี้! บุคลากรแพทย์ติดโควิดนับสิบ แนะ 6 ข้อ ก่อนไปงานเลี้ยง
ข่าว 27 มิถุนายน 2565 เวลา 8:07 น.
โดย รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
…สถานการณ์ระบาดของไทย
จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย แม้ สธ. ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม
แม้จะฉีดวัคซีนไปมากน้อยเพียงใด แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า จะมีโอกาสติดเชื้อได้ ป่วยได้ และเป็น Long COVID ได้
ความเสี่ยงในการติดเชื้อ แพร่เชื้อ จนป่วยต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล จะยิ่งมากเป็นเงาตามตัว หากประเทศนั้นๆ เปิดเสรีการใช้ชีวิต โดยคนในสังคมไม่ได้ระมัดระวังป้องกันตัวอย่างดีพอ เช่น ไม่ใส่หน้ากากระหว่างการใช้ชีวิตประจำวัน เฮฮาปาร์ตี้กันสุดเหวี่ยง ฯลฯ ก็จะพบว่าการระบาดในระลอกหลังก็จะทำให้ติดเชื้อ และป่วยมากขึ้นกว่าเดิมได้ แม้จะมีอัตราฉีดวัคซีนครอบคลุมสูงก็ตาม
>> ขอนำสิ่งที่ตนเองปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวันเวลาต้องไปงานที่มีคนจำนวนมาก มาแชร์ให้พิจารณาตามความเหมาะสม
1. ประเมินดูว่างานนี้จำเป็นต้องไปหรือไม่?
2. หากต้องไป หรืออยากไปมาก ก็วางแผนให้ดีว่าจะทำอะไรบ้าง โดยดูรายละเอียดของงานที่จะไป หากเป็นไปได้ก็เลือกงานที่มีคนน้อย และมีมาตรการรักษาความสะอาดและตรวจคัดกรองก่อนเข้าร่วมงาน
3. จัดเวลาเผื่อ โดยกินอาหารมื้อนั้นให้เรียบร้อยที่บ้าน หรือที่ร้านโปร่งโล่งใกล้สถานที่ที่จัดงาน เพื่อจะได้เลี่ยงการ (เปิดหน้ากาก) กินดื่มที่ไม่จำเป็นระหว่างเข้าร่วมงานที่มีคนจำนวนมาก
4. ในงาน พบปะผู้คน
- พูดคุยทักทายได้ โดยใส่หน้ากากเสมอ!
- พยายามเลี่ยงการสัมผัสตัวคนอื่น
- หากสัมผัสกันจับมือกันกอดกัน ก็ใส่หน้ากากและล้างมือทุกครั้ง !
5. หากเป็นงานสัมมนายาวนานเป็นวัน
- ครอบคลุมการกินดื่มหลายมื้อ หากนำอาหารมาแยกกินได้ก็จะดี
- แต่หากกินดื่มรวมกัน ก็กินดื่มโดยใช้เวลาสั้นๆ
- ระหว่างกินดื่มจะไม่พูดคุย หากจะพูดคุยก็ ใส่หน้ากากก่อนเสมอ
- ล้างมือด้วยเจล หรือสเปรย์แอลกอฮอล์.ทุกครั้งหลังจับอุปกรณ์หรือภาชนะต่างๆ ของสาธารณะ
6. หลังกลับจากงาน คอยสังเกตอาการของตนเองว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ และติดตามข่าวคราวจากกลุ่มผู้ไปร่วมงานด้วยว่ามีปัญหาการเจ็บป่วยไม่สบายหลังจากไปร่วมงานหรือไม่ จะได้จัดการได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
COVID-19 ไม่ใช่หวัดธรรมดา ไม่กระจอก ติดเชื้อไม่จบ แค่ชิลๆ แล้วหาย แต่..ป่วยได้ ตายได้ แม้จะฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม ที่สำคัญคือ เรื่องภาวะผิดปกติระยะ..ยาว อย่าง Long COVID การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด.
ความใส่ใจด้านสุขภาพ การป้องกันตัวเอง จะเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงของเราและคนใกล้ชิด เพื่อจะได้ปลอดภัยไปด้วยกัน
.
.
****ต้องเน้นย้ำว่าพฤติกรรมการป้องกันตัวนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง สถานการณ์ระบาดช่วงนี้เพิ่มขึ้นมากหากสังเกตคนรอบตัวที่ติดเชื้อ โดยจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รายงานเข้าสู่ระบบ
.
.
“ การใส่หน้ากาก ” เสมอเวลาตะลอนนอกบ้าน เป็นหัวใจสำคัญที่จะลดความเสี่ยง ย้ำอีกครั้งว่าจำเป็นมาก
ข่าว 27 มิถุนายน 2565 เวลา 8:07 น.
โดย รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
…สถานการณ์ระบาดของไทย
จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก และอันดับ 2 ของเอเชีย แม้ สธ. ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม
แม้จะฉีดวัคซีนไปมากน้อยเพียงใด แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า จะมีโอกาสติดเชื้อได้ ป่วยได้ และเป็น Long COVID ได้
ความเสี่ยงในการติดเชื้อ แพร่เชื้อ จนป่วยต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล จะยิ่งมากเป็นเงาตามตัว หากประเทศนั้นๆ เปิดเสรีการใช้ชีวิต โดยคนในสังคมไม่ได้ระมัดระวังป้องกันตัวอย่างดีพอ เช่น ไม่ใส่หน้ากากระหว่างการใช้ชีวิตประจำวัน เฮฮาปาร์ตี้กันสุดเหวี่ยง ฯลฯ ก็จะพบว่าการระบาดในระลอกหลังก็จะทำให้ติดเชื้อ และป่วยมากขึ้นกว่าเดิมได้ แม้จะมีอัตราฉีดวัคซีนครอบคลุมสูงก็ตาม
>> ขอนำสิ่งที่ตนเองปฏิบัติอยู่ในชีวิตประจำวันเวลาต้องไปงานที่มีคนจำนวนมาก มาแชร์ให้พิจารณาตามความเหมาะสม
1. ประเมินดูว่างานนี้จำเป็นต้องไปหรือไม่?
2. หากต้องไป หรืออยากไปมาก ก็วางแผนให้ดีว่าจะทำอะไรบ้าง โดยดูรายละเอียดของงานที่จะไป หากเป็นไปได้ก็เลือกงานที่มีคนน้อย และมีมาตรการรักษาความสะอาดและตรวจคัดกรองก่อนเข้าร่วมงาน
3. จัดเวลาเผื่อ โดยกินอาหารมื้อนั้นให้เรียบร้อยที่บ้าน หรือที่ร้านโปร่งโล่งใกล้สถานที่ที่จัดงาน เพื่อจะได้เลี่ยงการ (เปิดหน้ากาก) กินดื่มที่ไม่จำเป็นระหว่างเข้าร่วมงานที่มีคนจำนวนมาก
4. ในงาน พบปะผู้คน
- พูดคุยทักทายได้ โดยใส่หน้ากากเสมอ!
- พยายามเลี่ยงการสัมผัสตัวคนอื่น
- หากสัมผัสกันจับมือกันกอดกัน ก็ใส่หน้ากากและล้างมือทุกครั้ง !
5. หากเป็นงานสัมมนายาวนานเป็นวัน
- ครอบคลุมการกินดื่มหลายมื้อ หากนำอาหารมาแยกกินได้ก็จะดี
- แต่หากกินดื่มรวมกัน ก็กินดื่มโดยใช้เวลาสั้นๆ
- ระหว่างกินดื่มจะไม่พูดคุย หากจะพูดคุยก็ ใส่หน้ากากก่อนเสมอ
- ล้างมือด้วยเจล หรือสเปรย์แอลกอฮอล์.ทุกครั้งหลังจับอุปกรณ์หรือภาชนะต่างๆ ของสาธารณะ
6. หลังกลับจากงาน คอยสังเกตอาการของตนเองว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ และติดตามข่าวคราวจากกลุ่มผู้ไปร่วมงานด้วยว่ามีปัญหาการเจ็บป่วยไม่สบายหลังจากไปร่วมงานหรือไม่ จะได้จัดการได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
COVID-19 ไม่ใช่หวัดธรรมดา ไม่กระจอก ติดเชื้อไม่จบ แค่ชิลๆ แล้วหาย แต่..ป่วยได้ ตายได้ แม้จะฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม ที่สำคัญคือ เรื่องภาวะผิดปกติระยะ..ยาว อย่าง Long COVID การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด.
ความใส่ใจด้านสุขภาพ การป้องกันตัวเอง จะเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงของเราและคนใกล้ชิด เพื่อจะได้ปลอดภัยไปด้วยกัน
.
.
****ต้องเน้นย้ำว่าพฤติกรรมการป้องกันตัวนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง สถานการณ์ระบาดช่วงนี้เพิ่มขึ้นมากหากสังเกตคนรอบตัวที่ติดเชื้อ โดยจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รายงานเข้าสู่ระบบ
.
.
“ การใส่หน้ากาก ” เสมอเวลาตะลอนนอกบ้าน เป็นหัวใจสำคัญที่จะลดความเสี่ยง ย้ำอีกครั้งว่าจำเป็นมาก
คลัสเตอร์ปาร์ตี้! บุคลากรแพทย์ติดโควิดนับสิบ แนะ 6 ข้อ ก่อนไปงานเลี้ยง
https://www.thaipost.net/covid-19-news/169692/27 มิ.ย. 2565 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 272,841 คน ตายเพิ่ม 479 คน รวมแล้วติดไป 548,924,518 คน เสียชีวิตรวม