1 คนสงสัย
พรรคเป็นธรรม ในสมรภูมิวาทกรรม “แบ่งแยกดินแดน”
ทันทีที่พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลประกาศหลังชนะการเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566 ว่าได้ทาบทามพรรคเป็นธรรมเข้าร่วมรัฐบาล โซเชียลมีเดียก็เริ่มปรากฏข้อความโจมตีพรรคเป็นธรรมว่า “เป็นพวกแบ่งแยกดินแดน” ซึ่งโคแฟคตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นข้อกล่าวหาที่เกิดจากการตีความนโยบายแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้และการกระจายอำนาจของพรรคเป็นธรรม ขณะที่บางกลุ่มอาจจงใจใช้วาทกรรมนี้โจมตีฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

ข้อกล่าวหานี้แพร่หลายในโซเชียลมีเดียมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่จำกัดอยู่แค่พรรคเป็นธรรมเท่านั้น แต่ยังพุ่งเป้าไปที่พรรคก้าวไกลและพรรคประชาชาติด้วย กระทั่งกลายเป็นประเด็นที่ผู้สื่อข่าวหยิบยกไปถามในการแถลงข่าวลงนามข้อตกลงร่วมจัดตั้งรัฐบาล (เอ็มโอยู) เมื่อ 22 พ.ค. 2566 โดยอ้างว่าเหตุที่ต้องถามจุดยืนในเรื่องนี้เพราะ “สัญญาณของการแบ่งแยกดินแดนค่อนข้างที่จะหนาหู…ประชาชนกังวลว่ารัฐบาลชุดใหม่จะทำให้ด้ามขวานทองหายไป”

พรรคเป็นธรรมในชายแดนใต้

พรรคเป็นธรรมเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่มีนายปิติพงศ์ เต็มเจริญ อดีต ส.ส. กทม. พรรคไทยรักไทยและอดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค ในการเลือกตั้ง 14 พ.ค. 2566 พรรคเป็นธรรมชูนโยบายเรื่องการ “สร้างสันติภาพในปาตานี” โดยส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต 11 คนในกรุงเทพฯ นราธิวาส ยะลาและปัตตานี และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 9 คน

ผลการเลือกตั้ง พรรคเป็นธรรมได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อเข้าสภา 1 คน คือ นายกัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการพรรค
std47964
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    สัณหพจน์” พปชร. แนะ ใช้สภาฯ หาทางออก เหตุ “ประชามติแยกดินแดนปาตานี”
    สัณหพจน์” รองเลขาฯ พรรคพลังประชารัฐ แนะ ใช้สภาฯ หาทางออก เหตุ “ประชามติแยกดินแดนปาตานี” ชี้ ทางออก ควรตั้ง กมธ.วิสามัญ พิจารณาศึกษาเขตการปกครองรูปแบบพิเศษ พื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ X ในฐานะที่ตนเคยเป็นผู้ยื่นเสนอญัตติ “ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาเขตการปกครองรูปแบบพิเศษพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้” จึงมองว่า เรื่องดังกล่าวควรที่จะมีการศึกษาให้ละเอียดถี่ถ้วน โดยสิ่งสำคัญ คือ การออกกฎหมายเพื่อให้มีการบริหารจัดการพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและความรู้สึกของประชาชนทั้งประเทศสำหรับการเสนอให้มี กมธ. เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว เป็นการให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ด้วยสันติวิธีที่เป็นรูปธรรม ซึ่งอาจมีลักษณะการบริหารจัดการในรูปแบบของ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ที่จัดให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารพื้นที่โดยประชาชนในพื้นที่เอง “การบริหารจัดการรูปแบบพิเศษในพื้นที่ จะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งประชาชนในพื้นที่จะเป็นผู้กำหนดและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ของตัวเอง แต่จะต้องมีการศึกษาอย่างรอบด้าน ตนจึงเห็นสมควรที่จะเสนอให้มีการจัดตั้ง กมธ. เพื่อพิจารณาศึกษาในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาควบคู่กัน เช่น เรื่องเชื้อชาติ ศาสนา อัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ทัศนคติ และความเชื่อของท้องถิ่น” ดร.สัณหพจน์ กล่าวประเด็นเรื่องของกฎหมายรองรับ เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยมีเพียงกฎหมายการปกครองส่วนท้องถิ่น อย่าง กทม. และเมืองพัทยา ที่เราไม่ได้เรียกว่า “เขตปกครองพิเศษ” ซึ่งการกำหนดการบริหารจัดการพิเศษใน 3 จังหวัดภาคใต้ ภายใต้รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จำเป็นที่จะต้องพิจารณารูปแบบกฎหมายที่จะรองรับ ซึ่งอาจจะต้องพิจารณาแก้ไขกฎหมายหรือเสนอกฎหมายใหม่ขึ้นมา นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องของการสร้างค่านิยมที่ผิดในพื้นที่เรื่องการแบ่งแยกดินแดน ซึ่งจะต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยน ทำความเข้าใจร่วมกันระหว่าง ประชาชนในพื้นที่ กลุ่มต่างๆ ที่มีการเคลื่อนไหว กมธ. และผู้ร่างกฎหมาย รวมทั้งประชาชนทั้งประเทศ เพื่อให้เกิดการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง ไม่ใช่การรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลางหรือหน่วยงานบางหน่วยงาน อย่างไรก็ตาม การกระจายอำนาจจะเป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการดูแลพื้นที่ของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยเรื่องดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องใช้รัฐสภาเป็นกลไกในการพิจารณากำหนดและออกกฎหมาย
    siriwanyupanon
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false