OpenAI บริษัทค้นคว้าวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ในนครซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ เปิดตัว ปัญญาประดิษฐ์ที่เขียนตัวอักษรเองได้ (the text generator) ซึ่งหลายฝ่ายกังวลว่าจะถูกนำไปสร้างข่าวปลอม หรือข้อความสแปม (ข่าวขยะ) ที่มีลักษณะรังแกเหยียดหยาม ในโซเชียลมีเดีย
ก่อนหน้านี้บริษัทจัดว่าโปรแกรมนี้อันตรายเกินไปที่จะเปิดให้สาธารณะใช้ แต่ตอนนี้ได้เผยแพร่ระบบรุ่นใหม่ซึ่งทรงพลังมากกว่าเดิมออกมาแล้ว
บีบีซีและผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ ทดลองใช้ระบบที่ชื่อว่า GPT-2 นี้ดู ซึ่งเป็นระบบที่สร้างจากฐานข้อมูลจากหน้าเว็บถึง 8 ล้านแห่ง และสามารถสร้างข้อความใหม่ขึ้นโดยใช้ฐานจากข้อความเริ่มต้นที่คนป้อนไปให้
ระบบสามารถเขียนกลอนเชกสเปียร์ต่อจนจบบท และเขียนบทความเองได้
ทริสตัน กรีน เขียนบทความลงในเว็บไซต์ด้านเทคโนโลยี The Next Web ว่า เขารู้สึกกังวลกับระบบ GPT-2 เพราะ "มันเป็นตัวแทนของเทคโนโลยีประเภทที่มนุษย์คิดร้ายจะใช้ในการชักจูงผู้คน และผมคิดว่ามันอันตรายกว่าปืนชนิดไหน ๆ เสียอีก"
ปัญญาประดิษฐ์ช่วยตัดต่อภาพได้อย่างไร?
เอไอก้าวล้ำไปอีกขั้น รู้จักทำงานเลียนแบบเซลล์สมองมนุษย์ได้เอง
มนุษย์ต้องกลัวเอไอที่สร้างภาษาขึ้นใช้เองไหม ?
บริษัทญี่ปุ่นปลดพนักงานออกทั้งแผนก แล้วใช้เอไอทำงานแทน
บีบีซีทดลองใช้ระบบด้วยการใส่ประโยค 2-3 ประโยคจากข่าวจริงของบีบีซีที่ระบุว่า : "Sogou เว็บไซต์ค้นหาของจีนได้สร้างคนหน้าเหมือนจากปัญญาประดิษฐ์เพื่ออ่านนวนิยายยอดนิยมด้วยเสียงของผู้เขียน"
และนี่คือผลลัพธ์ที่เอไอเขียนขึ้นมา :
"นักวิจัยระบุว่า วิธีการอ่านนี้ไม่ใช่แค่สิ่งประดิษฐ์ของผู้ใช้ Amazon Kindle เท่านั้น ผู้ใช้อุปกรณ์ของ Android ยังเป็นกลุ่มตลาดที่สำคัญสำหรับการอ่านแบบปลอม ๆ อีกด้วย มีหลายทฤษฎีที่จะช่วยอธิบายสิ่งนี้..."
นี่คือข่าวจริงที่คุณสามารถลองอ่านเปรียบเทียบดูได้
โนเอล ชาร์คีย์ ศ.ด้านคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ ได้ทำการทดลองใช้ระบบนี้เช่นกัน แต่ก็ไม่ประทับใจเท่าไรนัก
"ถ้าซอฟต์แวร์ทำงานได้ดีเท่ากับที่ OpenAl อ้าง มันจะสามารถสร้างข่าวปลอมหรือข้อความปลอมที่ล่อให้คนคลิกได้ง่ายมาก แต่โชคดีที่ระบบ ณ ตอนนี้ ยังสร้างข้อความที่ฟังดูตลก และไม่เชื่อมโยงกันกับข้อความตั้งต้นที่ให้ไป"
ชาร์คีย์ ใส่ข้อความตั้งต้นไปว่า ไก่งวงเกลียดเทศกาลคริสต์มาส (Turkeys hate Christmas) แต่ข้อความที่ได้กลับมาคือ "ตุรกีเป็นชาติเดียวในโลกที่ไม่ฉลองเทศกาลคริสต์มาส" (Turkey is the only nation in the world that doesn't celebrate Christmas)
เดฟ คอพลิน ผู้ก่อตั้งบริษัทให้คำปรึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ The Envisioners ได้ลองทดลองระบบนี้เช่นกันโดยใส่คำตั้งต้นไปว่า "ชายคนหนึ่งเดินเข้าบาร์..."
ผลลัพธ์ที่ได้กลับมาคือ "...และสั่งเบียร์ 2 แก้ว และเหล้าสก็อตช์ 2 แก้ว ตอนชายคนนั้นพยายามจะจ่ายเงิน มีชายสองคนมาเผชิญหน้าเขา คนหนึ่งตะโกนขึ้นว่า "นี่เพื่อซีเรีย" แล้วชายคนนั้นก็ถูกทิ้งให้เลือดไหลและถูกแทงที่คอ"
เขาบอกว่า ผลลัพธ์นี้เป็นบทเรียนว่า ระบบปัญญาประดิษฐ์ใด ๆ ก็ตามจะเผยให้เห็นอคติที่พบในฐานข้อมูล
คอพลิน บอกว่าเมื่อผ่านช่วงเริ่มต้นของการใช้ระบบลักษณะนี้ไปแล้ว สิ่งสำคัญที่คนในสังคมจะต้องมาถกเถียงกันคือ เราอยู่ในโลกลักษณะไหนที่นับวันข้อมูลที่สร้างโดยมนุษย์กับที่สร้างโดยระบบคอมพิวเตอร์ดูจะแยกออกจากกันยากมากขึ้น
ในตอนแรก OpenAI เป็นบริษัทไม่หวังผลกำไร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2015 มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนและพัฒนาการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในลักษณะที่จะเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ
ในตอนแรก อีลอน มัสก์ ก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมลงทุนด้วย แต่เขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทมาสักพักแล้ว
ก่อนหน้านี้บริษัทจัดว่าโปรแกรมนี้อันตรายเกินไปที่จะเปิดให้สาธารณะใช้ แต่ตอนนี้ได้เผยแพร่ระบบรุ่นใหม่ซึ่งทรงพลังมากกว่าเดิมออกมาแล้ว
บีบีซีและผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ ทดลองใช้ระบบที่ชื่อว่า GPT-2 นี้ดู ซึ่งเป็นระบบที่สร้างจากฐานข้อมูลจากหน้าเว็บถึง 8 ล้านแห่ง และสามารถสร้างข้อความใหม่ขึ้นโดยใช้ฐานจากข้อความเริ่มต้นที่คนป้อนไปให้
ระบบสามารถเขียนกลอนเชกสเปียร์ต่อจนจบบท และเขียนบทความเองได้
ทริสตัน กรีน เขียนบทความลงในเว็บไซต์ด้านเทคโนโลยี The Next Web ว่า เขารู้สึกกังวลกับระบบ GPT-2 เพราะ "มันเป็นตัวแทนของเทคโนโลยีประเภทที่มนุษย์คิดร้ายจะใช้ในการชักจูงผู้คน และผมคิดว่ามันอันตรายกว่าปืนชนิดไหน ๆ เสียอีก"
ปัญญาประดิษฐ์ช่วยตัดต่อภาพได้อย่างไร?
เอไอก้าวล้ำไปอีกขั้น รู้จักทำงานเลียนแบบเซลล์สมองมนุษย์ได้เอง
มนุษย์ต้องกลัวเอไอที่สร้างภาษาขึ้นใช้เองไหม ?
บริษัทญี่ปุ่นปลดพนักงานออกทั้งแผนก แล้วใช้เอไอทำงานแทน
บีบีซีทดลองใช้ระบบด้วยการใส่ประโยค 2-3 ประโยคจากข่าวจริงของบีบีซีที่ระบุว่า : "Sogou เว็บไซต์ค้นหาของจีนได้สร้างคนหน้าเหมือนจากปัญญาประดิษฐ์เพื่ออ่านนวนิยายยอดนิยมด้วยเสียงของผู้เขียน"
และนี่คือผลลัพธ์ที่เอไอเขียนขึ้นมา :
"นักวิจัยระบุว่า วิธีการอ่านนี้ไม่ใช่แค่สิ่งประดิษฐ์ของผู้ใช้ Amazon Kindle เท่านั้น ผู้ใช้อุปกรณ์ของ Android ยังเป็นกลุ่มตลาดที่สำคัญสำหรับการอ่านแบบปลอม ๆ อีกด้วย มีหลายทฤษฎีที่จะช่วยอธิบายสิ่งนี้..."
นี่คือข่าวจริงที่คุณสามารถลองอ่านเปรียบเทียบดูได้
โนเอล ชาร์คีย์ ศ.ด้านคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยเชฟฟีลด์ ได้ทำการทดลองใช้ระบบนี้เช่นกัน แต่ก็ไม่ประทับใจเท่าไรนัก
"ถ้าซอฟต์แวร์ทำงานได้ดีเท่ากับที่ OpenAl อ้าง มันจะสามารถสร้างข่าวปลอมหรือข้อความปลอมที่ล่อให้คนคลิกได้ง่ายมาก แต่โชคดีที่ระบบ ณ ตอนนี้ ยังสร้างข้อความที่ฟังดูตลก และไม่เชื่อมโยงกันกับข้อความตั้งต้นที่ให้ไป"
ชาร์คีย์ ใส่ข้อความตั้งต้นไปว่า ไก่งวงเกลียดเทศกาลคริสต์มาส (Turkeys hate Christmas) แต่ข้อความที่ได้กลับมาคือ "ตุรกีเป็นชาติเดียวในโลกที่ไม่ฉลองเทศกาลคริสต์มาส" (Turkey is the only nation in the world that doesn't celebrate Christmas)
เดฟ คอพลิน ผู้ก่อตั้งบริษัทให้คำปรึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์ The Envisioners ได้ลองทดลองระบบนี้เช่นกันโดยใส่คำตั้งต้นไปว่า "ชายคนหนึ่งเดินเข้าบาร์..."
ผลลัพธ์ที่ได้กลับมาคือ "...และสั่งเบียร์ 2 แก้ว และเหล้าสก็อตช์ 2 แก้ว ตอนชายคนนั้นพยายามจะจ่ายเงิน มีชายสองคนมาเผชิญหน้าเขา คนหนึ่งตะโกนขึ้นว่า "นี่เพื่อซีเรีย" แล้วชายคนนั้นก็ถูกทิ้งให้เลือดไหลและถูกแทงที่คอ"
เขาบอกว่า ผลลัพธ์นี้เป็นบทเรียนว่า ระบบปัญญาประดิษฐ์ใด ๆ ก็ตามจะเผยให้เห็นอคติที่พบในฐานข้อมูล
คอพลิน บอกว่าเมื่อผ่านช่วงเริ่มต้นของการใช้ระบบลักษณะนี้ไปแล้ว สิ่งสำคัญที่คนในสังคมจะต้องมาถกเถียงกันคือ เราอยู่ในโลกลักษณะไหนที่นับวันข้อมูลที่สร้างโดยมนุษย์กับที่สร้างโดยระบบคอมพิวเตอร์ดูจะแยกออกจากกันยากมากขึ้น
ในตอนแรก OpenAI เป็นบริษัทไม่หวังผลกำไร ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2015 มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนและพัฒนาการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในลักษณะที่จะเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ
ในตอนแรก อีลอน มัสก์ ก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมลงทุนด้วย แต่เขาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทมาสักพักแล้ว
เอไอ “อันตราย” เขียนข่าวปลอมเองได้ - BBC News ไทย
https://www.bbc.com/thai/international-4949770729 สิงหาคม 2019ที่มาของภาพ, Getty ImagesOpenAI บริษัทค้นคว้าวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ในนครซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ เปิดตัว ปัญญาประดิษฐ์ที่เขียนตัวอักษรเองได้ (the text generator) ซึ่งหลายฝ่ายกังวลว่าจะถูกนำไ