3 คนสงสัย
หมักผมด้วย "กระเทียม" รักษาผมร่วง
ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูล เรื่อง หมักผมด้วยกระเทียม เพื่อรักษาผมร่วง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ โดยการแชร์สูตรหมักผมด้วยกระเทียม ระบุสรรพคุณว่าช่วยรักษาผมร่วง ทำให้ผมแข็งแรง ได้ตรวจสอบข้อมูลแล้วว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากยังไม่มีเอกสารทางวิชาการหรืองานวิจัยที่น่าเชื่อถือ สำหรับนำมายืนยันว่ากระเทียมสามารถรักษาผมร่วงได้จริง โรคผมร่วง หรือผมบางเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเกิดจากกรรมพันธุ์ผมบาง เส้นผมเปราะแล้วหัก ผมไม่ขึ้น อาจเกิดจากโรคประจำตัว การได้รับยาหรือสารเคมีบางประเภท การได้รับเคมีบำบัด การฉายรังสี ก็สามารถทำให้ผมร่วงได้ และกระเทียมนั้นมีสรรพคุณตามข้อมูลสมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน คือ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด รักษาอาการกลากเกลื้อน จึงไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาผมร่วง
Prin Prin
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    กระเทียมรักษาผมร่วงได้หรือเปล่าคะ เห็นมีสูตรแชร์กันเยอะมากใน internet
    มีสูตรจากหลายสำนักเลยค่ะว่ากระเทียมสามารถรักษาผมร่วงได้ ไม่ค่อยแน่ใจในสรรพคุณเท่าไหร่ค่ะ
    anonymous
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    หมักผมด้วยกระเทียม รักษาผมร่วงได้ จริงหรือ
    มีการแชร์สูตรหมักผมด้วยกระเทียม ระบุสรรพคุณว่าช่วยรักษาผมร่วง ทำให้ผมแข็งแรง
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ย้อมสีผมบ่อย เสี่ยงก่อโรคมะเร็งจริงหรือไม่ ?
    ย้อมสีผมบ่อย เสี่ยงก่อโรคมะเร็งจริงหรือไม่ ? การย้อมสีผมในปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการย้อมเพื่อเปลี่ยนลุคและสไตล์ หรือการซ่อนผมขาว ได้รับการยอมรับในทุกช่วงวัย การย้อมสีผมบ่อยๆจะทำให้เราได้รับสารเคมีอย่างต่อเนื่อง แต่สารเคมีเหล่านั้นไม่สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ แต่หากการได้รับสารเคมีในน้ำยาย้อมสีผมเป็นประจำอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ (ข้อมูลจาก Harvard Medical School) ยาย้อมผมตามท้องตลาดมี 3 ประเภท ดังนี้ 1. ประเภทสีชั่วคราว ถ้าสระผมแล้วสีก็จะค่อยๆหายไป 2. ประเภทสีกึ่งถาวร หรือเรียกว่าสีโกรกผม สามารถปิดหงอกได้ไม่เกิน 30% ถ้าสระผม 5-6 ครั้ง ก็จะค่อยๆหลุดออกไป 3. ประเภทสีย้อมถาวร หรือเรียกว่าสีย้อมผม สามารถปกปิดผมได้ สระแล้วสีไม่หลุดลอก แต่วิธีนี้งานวิจัยระบุว่าจะทำให้โครโมโซมร่างกายเสียหาย ถ้าย้อมบ่อยๆเซลล์อาจจะกลายพันธุ์เป็นเซลล์มะเร็งได้ ส่วนผสมในน้ำยาย้อมผมที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้ 1. สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไชด์ : ทำลายเส้นผมและหนังศีรษะ ก่อให้เกิดอาการอักเสบ และระคายเคือง 2. สารฟีนิลินไดอะมีน หรือสีย้อมผมชนิดถาวร : อาจทำให้เกิดการระคายเคือง และอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งหนังศีรษะได้ 3. แอมโมเนีย : สามารถกัดเส้นผมและหนังศีรษะ ทำให้ผมเสีย รากผมอ่อนแอ 4. สารซิลเวอร์ไนเตรต : ทำให้เกิดการระคายได้ 5. สารเลดอะซีเตด : หากสะสมในร่างกายจะทำลายสมอง ประสาทสัมผัส และจัดอยู่ในสารก่อมะเร็ง (ข้อมูลจาก Herbplus+) เราจึงควรมีหลักการในการเลือกน้ำยาย้อมสีผม ดังนี้ 1. เลือกผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน มีวันหมดอายุ วิธีใช้ ส่วนผสม และเลขที่จดแจ้งระบุไว้ชัดเจน 2. เลือกน้ำยาที่ไม่มีส่วนผสมของแอมโมเนีย 3. ทดสอบอาการแพ้ก่อนใช้ทุกครั้ง 4. เช็กความเข้มข้นของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ไม่ควรมีมากกว่า 6% เพราะจะทำให้ผมแห้ง ผมกระด้าง และอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อหนังศีรษะได้ 5. ใช้ผลิตภัณฑ์ย้อมผมที่มีส่วนผสมของสมุนไพรเป็นหลัก (ข้อมูลจาก Herbplus+ และ Wongnai) นอกจากนี้ คนที่ย้อมสีผมอยู่แล้ว ไม่ควรย้อมเกิน 9 ครั้งต่อปี นพ.วีรวุฒิ อิ่มสาราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ที่ยังไม่เคยย้อมผมไม่ควรย้อมสีผม โดยเฉพาะคนที่ผมบางหรือผมน้อยอยู่แล้ว เพราะการย้อมผมทำให้รากผมไม่แข็งแรง ผมหลุดร่วงได้ง่าย หากสะสมในร่างกาย อาจทำร้ายสมอง ประสาทสัมผัส ที่สำคัญยังจัดอยู่ในสารก่อมะเร็งด้วยเช่นกัน และ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ได้กล่าวไว้ว่า น้ำยาย้อมสีผมยังเป็นอันตรายต่อช่างทำผม เพราะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีมากกว่าผู้ที่ย้อมผม เนื่องจากต้องสัมผัสกับสารเคมีที่มาจากน้ำยาต่างๆเป็นประจำ อย่างไรก็ตาม จากการทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยต่างๆ พบว่ายังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่ายาย้อมสีผมเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้ ดังนั้นเวลาที่ย้อมสีผมควรอยู่ในที่ที่ระบายอากาศได้ดี มีการสวมถุงมือ และใส่หน้ากากป้องกันสารเคมีทุกครั้ง (สาธิตา แสวงลาภ, ฤดีรัตน์ มหาบุญปี ติ, อัจฉรา นราศรี, 2562) (ข้อมูลจาก Herbplus+,สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข) เครือข่าย : ชมรมสื่อสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    apinya25460
     •  3 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    นวดผมด้วยกระเทียม ช่วยรักษาผมร่วงได้ หรือหรือ
    มีการแชร์เคล็ดลับรักษาผมร่วงด้วยกระเทียม โดยระบุว่าช่วยทำให้ผมแข็งแรง รักษาผมร่วงได้ จริงหรือ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    หมักผมด้วย "กระเทียม" รักษาผมร่วง
    เรื่อง หมักผมด้วยกระเทียม เพื่อรักษาผมร่วง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
    std47985
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    หมักผมด้วยกระเทียมช่วยรักษาผมร่วงจริงหรือไม่?
    กระเทียมเป็นสมุนไพรพื้นบ้านที่อยู่คู่บ้านคู่เรือนของคนไทยมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีสรรพคุณที่หลากหลายทั้งช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด รักษาอาการกลากเกลื้อน และยังมีสรรพคุณในการช่วยลดไขได้อีกด้วย แต่กระเทียมนั้นมีส่วนช่วยในการรักษาอาการผมร่วงได้จริงหรือไม่ ? ข้อมูล FDAfakenews จาก นพ.วิทวัส ศิริประชัย กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ สำหรับนำมายืนยันว่ากระเทียมสามารถรักษาผมร่วงได้จริง อีกทั้งมีการตรวจสอบยืนยันทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมที่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ เนื่องจาก ปัญหาผลร่วงนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ อย่างปัจจัยที่เกิดจากฮอร์โมน หรือ อาจเกิดจากเชื้อราบนหนังศรีษะ ซึ่งสรรพคุณของกระเทียมตามข้อมูลสมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐานนั้น คือ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด รักษาอาการกลากเกลื้อน จึงไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาผมร่วงตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด ดังนั้น การหมักผมด้วยกระเทียมจึงไม่สามารถรักสาอาการผมร่วงได้ (ข้อมูลจากนายแพทย์วิทวัส ศิริประชัย เจ้าของเพจ Drama-addict/ FDA Thai สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.))
    Pare Petchara
     •  6 วันที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม หมักผมด้วย "กระเทียม" รักษาผมร่วง
    เรื่องจริงของกระเทียม แม้จะใช้หมักผมเพื่อรักษาผมร่วงไม่ได้ แต่มีประโยชน์อื่นที่ไม่ควรมองข้าม ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูล เรื่อง หมักผมด้วยกระเทียม เพื่อรักษาผมร่วง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ โดยการแชร์สูตรหมักผมด้วยกระเทียม ระบุสรรพคุณว่าช่วยรักษาผมร่วง ทำให้ผมแข็งแรง ได้ตรวจสอบข้อมูลแล้วว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากยังไม่มีเอกสารทางวิชาการหรืองานวิจัยที่น่าเชื่อถือ สำหรับนำมายืนยันว่ากระเทียมสามารถรักษาผมร่วงได้จริง โรคผมร่วง หรือผมบางเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเกิดจากกรรมพันธุ์ผมบาง เส้นผมเปราะแล้วหัก ผมไม่ขึ้น อาจเกิดจากโรคประจำตัว การได้รับยาหรือสารเคมีบางประเภท การได้รับเคมีบำบัด การฉายรังสี ก็สามารถทำให้ผมร่วงได้ และกระเทียมนั้นมีสรรพคุณตามข้อมูลสมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน คือ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด รักษาอาการกลากเกลื้อน จึงไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาผมร่วง   ข้อมูลจากกรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เปิดเผยว่า โดยปกติแล้วเส้นผมของคนเรามีประมาณ 80,000 ถึง 1,200,000 เส้น งอกยาวขึ้นวันละประมาณ 0.35 มิลลิเมตรและมีอายุนาน 2 ถึง 6 ปี โดยปกติคนเราจะมีผมร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ไม่เกินวันละ 30 ถึง 50 เส้น สาเหตุของภาวะผมร่วง ได้แก่ 1. ผมร่วงจากกรรรมพันธุ์ สามารถพบได้ทั้งชายและหญิง มักพบในเพศชายมากกว่า เห็นเป็นเส้นขนอ่อน ๆ ทำให้ผมบริเวณนั้นดูบางลง ส่วนมากจะเป็นบริเวณกลางศีรษะและหน้าผาก 2. ผมผลัด เกิดผมร่วงเนื่องจากผมหยุดเจริญชั่วคราวจากการเจ็บป่วยหรือความเครียดหรือขาดสารอาหาร เช่น เหล็กหรือวิตามินดี ทำให้วงจรชีวิตเส้นผมที่กำลังเจริญมีการหยุดเจริญและหลุดร่วงมากกว่าปกติ 3. ผมร่วงเป็นหย่อม เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด จะมีอาการผมร่วงเฉพาะที่ บริเวณผมที่ร่วงจะมีลักษณะกลมหรือรี ขอบเขตชัดเจน ตรงกลางไม่มีเส้นผมหนังศีรษะในบริเวณนั้น ไม่แดง ไม่เจ็บ ไม่คัน ไม่เป็นสะเก็ด หรือเป็นขุย 4. ผมร่วงจากการถอน พบได้บ่อยในผู้ใหญ่และเด็กที่มีความเครียดจากสาเหตุต่าง ๆ ผู้ป่วยจะดึงผมตัวเองจนผมแหว่ง หนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงจะไม่มีผื่นคัน หรือเป็นขุย และจะพบเส้นผม ที่เป็นตอสั้น ๆ 5. ผมร่วงจากเชื้อรา โรคเชื้อราที่ศีรษะ กลากที่ศีรษะ อาจพบได้บ่อยในเด็ก เกิดจากการติดเชื้อราโรคนี้ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เป็นผื่นแดงคัน และเป็นขุย หรือก้อนอักเสบคล้ายฝี อาจจะมีโรคเชื้อรา (กลาก) ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้  6. ผมร่วงจากการทำผม การม้วนผม ย้อมสีผม  ดัดผม เป่าผมหรือวิธีอื่น ๆ อาจทำให้มีอาการผมร่วงได้จากการที่มีหนังศีรษะอักเสบ หรือเส้นผมเปราะหัก 7. ผมร่วงจากโรคอื่น ๆ ผู้ป่วยที่มีโรคบางอย่าง เช่น  โรคเอสแอลอี ก็อาจมีอาการผมร่วง ผมบาง ร่วมกับอาการไข้เรื้อรัง ปวดตามข้อ มีผื่นปีกผีเสื้อขึ้นที่หน้า โรคผมร่วงบางอย่างอาจมีการอักเสบที่บริเวณสเต็มเซลล์ทำให้เกิดผมร่วงแบบเป็นแผลเป็นซึ่งแผลเป็นจะไม่หาย
    std48423
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    หมักผมด้วย "กระเทียม" รักษาผมร่วง
    ที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูล เรื่อง หมักผมด้วยกระเทียม เพื่อรักษาผมร่วง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ โดยการแชร์สูตรหมักผมด้วยกระเทียม ระบุสรรพคุณว่าช่วยรักษาผมร่วง ทำให้ผมแข็งแรง ไ
    std48965
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false