1 คนสงสัย
กีฬาแบดมินตัน เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันจริงหรือไม่?
กีฬาแบดมินตันเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้จริงหรือไม่?

จากการสัมภาษณ์คุณพีระ นนทะคำจันทร์ นักวิชาการศึกษา โรงพยาบาลสุทธาเวช และนักกีฬาแบดมินตันของทีมบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2567 ได้ให้ข้อมูลว่า กีฬาแบดมินตันเป็นกีฬาที่มีความเข้มข้นสูงและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้จริง เนื่องจากลักษณะของกีฬาแบดมินตันต้องเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่เข้มข้น ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับการออกกำลังกายแบบ HIIT (High-Intensity Interval Training) ซึ่งสามารถทำให้อัตราการเต้นของหัวใจพุ่งสูงถึง 170-180 ครั้งต่อนาที หากผู้เล่นมีโรคประจำตัวซ่อนอยู่ อัตราการเต้นของหัวใจที่สูงมากอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ดังนั้นการเล่นกีฬาแบดมินตันหรือกีฬาชนิดอื่นๆที่มีจะต้องมีการขยับร่างกายอย่างรวดเร็วและมีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงในระยะเวลาอันสั้นหรือกีฬาที่จะต้องรับแรกกระแทกในการเล่น ก็สามารถก่อให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้จริง สนามกีฬาทุกแห่งจึงควรมีเครื่อง AED หรือเครื่องกระตุกไฟฟ้าอัตโนมัติ ที่สามารถใช้ช่วยผู้ป่วยที่หมดสติและหัวใจวายฉับพลันขณะเล่นกีฬา

ขั้นตอนการใช้เครื่อง AED
-เปิดเครื่อง AED ติดแผ่นแพดแผ่นแรกที่หน้าอกตอนบน และแผ่นที่สองที่หน้าอกตอนล่าง (ทำตามคำแนะนำบนเครื่อง) ให้เครื่องวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ ห้ามสัมผัสผู้ป่วยระหว่างนี้
-หากเครื่องแนะนำให้กดปุ่ม “Shock” ให้กดปุ่มนี้โดยห้ามสัมผัสผู้ป่วย และทำ CPR ต่อเนื่องเป็นเวลา 2 นาที
-หากเครื่องแนะนำว่า “สามารถสัมผัสผู้ป่วยได้” ให้ทำ CPR ทันที

ควรทำ CPR อย่างต่อเนื่อง จนกว่าเครื่องจะเริ่มวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจอีกครั้ง ทุกนาทีที่ผ่านไปมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการรอดชีวิต
wararat.bs
 •  2 เดือนที่แล้ว
meter: true
1 ความเห็น

สุขภาพ

wararat.bs เลือกให้ข้อความนี้✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด

เหตุผล

กีฬาแบดมินตันเป็นกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นสูงในระยะเวลาอันสั้น อาจจะไปกระ

ที่มา

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน