ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องยา Paxlovid ไม่เพียงพอต่อการรักษาคนไข้ กลุ่ม 608 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
จากกรณีที่มีการโพสต์ในสื่อออนไลน์โดยระบุว่า แพทย์ที่ห้อง ICU ส่งข่าวมาแจ้งว่าตอนนี้ผู้ป่วยอาการหนักเยอะมาก Paxlovid Molnupiravir Remdesivir รัฐบาลสั่งมาอยู่ไหนคะ เร่งกระจายด่วน คนไข้ 608 ควรได้ยาทันที ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ยืนยันมียา Paxlovid เพียงพอต่อการรักษาคนไข้ กลุ่ม 608 โดยเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีส่งมอบยาต้านไวรัสโควิด 19 “แพ็กซ์โลวิด” (Paxlovid) ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข โดย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และ น.ส.เด็บบราห์ ไซเฟิร์ท กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในจำนวนการจัดซื้อ 50,000 คอร์ส รวม 1.5 ล้านเม็ด กำหนดทยอยส่งมอบให้ครบภายในเดือน เม.ย. ซึ่งมีองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นผู้รับจัดเก็บและกระจายยาลงพื้นที่แต่ละจังหวัด
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเข้าถึงยารักษาโควิด 19 ที่มีประสิทธิผล มีข้อมูลทางวิชาการหรือผลการศึกษาวิจัยที่มีคุณภาพเพียงพอในการสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบาย เพื่อพิจารณาเลือกและจัดหายาที่เหมาะสมในการนำมาใช้กับผู้ติดเชื้อโควิด ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ยาต้านไวรัสรักษาผู้ป่วยโควิด ได้แก่ ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาเรมเดซิเวียร์ ยาโมลนูพิราเวียร์ และยาตัวใหม่ที่กำลังนำมาใช้ คือ ยาแพ็กซ์โลวิด ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อใช้รักษาโควิดโดยตรง ไม่ใช่เป็นเพียงยาต้านไวรัสทั่วไป ซึ่งปัจจุบันพบว่าผู้ติดเชื้อที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปส่วนหนึ่งยังมีอัตราการเสียชีวิตสูงอยู่ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ สธ. โดยกรมการแพทย์ ดำเนินการจัดซื้อจัดหายาที่มีประสิทธิผลในการลดอัตราการเสียชีวิตและการเข้านอนโรงพยาบาลลง ทั้งนี้ ไม่ใช่เป็นทางเลือกแต่เพื่อสร้างความมั่นคงทางยา ให้ประชาชนมั่นใจว่าเรามียาครบถ้วนและเพียงพอต่อการดูแลผู้ป่วยทุกอาการ โดยจะกระจายยาลงไปยังแต่ละจังหวัด ในโรงพยาบาลศูนย์ และให้ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพเป็นผู้บริหารจัดการยาต่อไป
นอกจากนี้ ยาแพ็กซ์โลวิดเป็นยาต้านไวรัสชนิดเม็ด ออกฤทธิ์โดยยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส (protease) ทำให้เชื้อไวรัสโควิดไม่สามารถสร้างโปรตีนที่จำเป็นต้องใช้ในการเพิ่มจำนวนได้ ยานี้ประกอบด้วย ยา Nirmatrelvir (150 มก.) จำนวน 2 เม็ด และยา Ritonavir (100 มก.) จำนวน 1 เม็ด รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน โดยใช้ Nirmatrelvir 20 เม็ด และ Ritonavir 10 เม็ด / 1 คอร์ส / คน ซึ่งยานี้มีข้อห้ามใช้ คือ สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ที่การทำงานของตับหรือไตบกพร่อง
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : มียา Paxlovid เพียงพอต่อการรักษาคนไข้ กลุ่ม 608 เพราะได้มีการส่งมอบยาต้านไวรัสโควิด 19 “แพ็กซ์โลวิด” (Paxlovid) ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข ในจำนวนการจัดซื้อ 50,000 คอร์ส รวม 1.5 ล้านเม็ด กำหนดทยอยส่งมอบให้ครบภายในเดือน เม.ย. ซึ่งมีองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นผู้รับจัดเก็บและกระจายยาลงพื้นที่แต่ละจังหวัด
จากกรณีที่มีการโพสต์ในสื่อออนไลน์โดยระบุว่า แพทย์ที่ห้อง ICU ส่งข่าวมาแจ้งว่าตอนนี้ผู้ป่วยอาการหนักเยอะมาก Paxlovid Molnupiravir Remdesivir รัฐบาลสั่งมาอยู่ไหนคะ เร่งกระจายด่วน คนไข้ 608 ควรได้ยาทันที ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ยืนยันมียา Paxlovid เพียงพอต่อการรักษาคนไข้ กลุ่ม 608 โดยเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีส่งมอบยาต้านไวรัสโควิด 19 “แพ็กซ์โลวิด” (Paxlovid) ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข โดย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และ น.ส.เด็บบราห์ ไซเฟิร์ท กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในจำนวนการจัดซื้อ 50,000 คอร์ส รวม 1.5 ล้านเม็ด กำหนดทยอยส่งมอบให้ครบภายในเดือน เม.ย. ซึ่งมีองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นผู้รับจัดเก็บและกระจายยาลงพื้นที่แต่ละจังหวัด
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเข้าถึงยารักษาโควิด 19 ที่มีประสิทธิผล มีข้อมูลทางวิชาการหรือผลการศึกษาวิจัยที่มีคุณภาพเพียงพอในการสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบาย เพื่อพิจารณาเลือกและจัดหายาที่เหมาะสมในการนำมาใช้กับผู้ติดเชื้อโควิด ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ยาต้านไวรัสรักษาผู้ป่วยโควิด ได้แก่ ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาเรมเดซิเวียร์ ยาโมลนูพิราเวียร์ และยาตัวใหม่ที่กำลังนำมาใช้ คือ ยาแพ็กซ์โลวิด ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อใช้รักษาโควิดโดยตรง ไม่ใช่เป็นเพียงยาต้านไวรัสทั่วไป ซึ่งปัจจุบันพบว่าผู้ติดเชื้อที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปส่วนหนึ่งยังมีอัตราการเสียชีวิตสูงอยู่ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ สธ. โดยกรมการแพทย์ ดำเนินการจัดซื้อจัดหายาที่มีประสิทธิผลในการลดอัตราการเสียชีวิตและการเข้านอนโรงพยาบาลลง ทั้งนี้ ไม่ใช่เป็นทางเลือกแต่เพื่อสร้างความมั่นคงทางยา ให้ประชาชนมั่นใจว่าเรามียาครบถ้วนและเพียงพอต่อการดูแลผู้ป่วยทุกอาการ โดยจะกระจายยาลงไปยังแต่ละจังหวัด ในโรงพยาบาลศูนย์ และให้ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพเป็นผู้บริหารจัดการยาต่อไป
นอกจากนี้ ยาแพ็กซ์โลวิดเป็นยาต้านไวรัสชนิดเม็ด ออกฤทธิ์โดยยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอส (protease) ทำให้เชื้อไวรัสโควิดไม่สามารถสร้างโปรตีนที่จำเป็นต้องใช้ในการเพิ่มจำนวนได้ ยานี้ประกอบด้วย ยา Nirmatrelvir (150 มก.) จำนวน 2 เม็ด และยา Ritonavir (100 มก.) จำนวน 1 เม็ด รับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน โดยใช้ Nirmatrelvir 20 เม็ด และ Ritonavir 10 เม็ด / 1 คอร์ส / คน ซึ่งยานี้มีข้อห้ามใช้ คือ สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ที่การทำงานของตับหรือไตบกพร่อง
ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สามารถติดตามได้ที่ www.dms.go.th หรือโทร 02 5906000
บทสรุปของเรื่องนี้คือ : มียา Paxlovid เพียงพอต่อการรักษาคนไข้ กลุ่ม 608 เพราะได้มีการส่งมอบยาต้านไวรัสโควิด 19 “แพ็กซ์โลวิด” (Paxlovid) ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข ในจำนวนการจัดซื้อ 50,000 คอร์ส รวม 1.5 ล้านเม็ด กำหนดทยอยส่งมอบให้ครบภายในเดือน เม.ย. ซึ่งมีองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เป็นผู้รับจัดเก็บและกระจายยาลงพื้นที่แต่ละจังหวัด
Cannot get data from URL
ข่าวปลอม อย่าแชร์! ยา Paxlovid ไม่เพียงพอต่อการรักษาคนไข้ กลุ่ม 608 | ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม
https://www.antifakenewscenter.com/%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a2%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%90%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a5-%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3/%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%a1-%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%8a%e0%b8%a3%e0%b9%8c-%e0%b8%a2%e0%b8%b2-paxlovid-%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b8%ad%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b9%89-%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%b8%e0%b9%88%e0%b8%a1-608/ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่องยา Paxlovid ไม่เพียงพอต่อการรักษาคนไข้ กลุ่ม 608 ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าว