1 คนสงสัย
นอนคว่ำ ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้ผู้ป่วยโควิดที่อาการหนัก
เว็บไซต์ของสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า ปัจจุบันแพทย์ในสหรัฐฯและในบางประเทศ เริ่มหันมาใช้วิธีจัดท่าให้ผู้ป่วยโรคโควิด-19 นอนคว่ำหน้ากันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนไข้ที่เกิดกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่เข้าสู่ปอดให้สูงขึ้น
ส่วนงานวิจัยล่าสุดของแพทย์จีน ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์อเมริกันว่าด้วยระบบทางเดินหายใจและการดูแลผู้ป่วยวิกฤต (AJRCCM) ยืนยันเช่นเดียวกันว่า ผู้ป่วยหนักโรคโควิด-19 บางรายในโรงพยาบาลเมืองอู่ฮั่น ตอบสนองต่อท่านอนคว่ำและมีอาการดีขึ้นกว่าการรับความดันบวกเข้าปอดผ่านเครื่องช่วยหายใจเพียงอย่างเดียว
แม้จะยังไม่มีผลวิจัยรับรองว่า การนอนคว่ำจะมีผลดีต่อผู้ป่วยโรคโควิด-19ที่มีอาการเล็กน้อยและปานกลางหรือไม่ แต่ขณะนี้เริ่มมีการศึกษาทดลองทางคลินิกในประเด็นดังกล่าวที่สถาบันบางแห่งแล้ว เช่นที่มหาวิทยาลัยรัช (Rush University) ของสหรัฐฯ ซึ่งนักวิจัยกำลังติดตามดูว่า การนอนคว่ำหน้าส่งผลดีต่อคนไข้กลุ่มใดบ้าง และควรจะต้องอยู่ในท่าดังกล่าวเป็นเวลานานเท่าใดกันแน่
anonymous
 •  4 ปีที่แล้ว
meter: true
1 ความเห็น

โควิด 2019

Tanapat เลือกให้ข้อความนี้✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด

เหตุผล

เว็บไซต์ของสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า ปัจจุบันแพทย์ในสหรัฐฯและในบางประเทศ เริ่มหันมาใช้วิธีจัดท่าให้ผู้ป่วยโรคโควิด-19 นอนคว่ำหน้ากันม

ที่มา

https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_3953837

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    โควิด ติดแล้ว ปอดจะทำงานไม่เหมือนเดิมตลอดไป จริงหรือไม่
    Don't mean to scare you, folks, but be very cautious, be protective & be safe to you all. ********************************************************** บอย วรพล สิงห์เขียวพงษ์ December 29, 2020 at 4:55 PM โควิด-19 เป็นแล้วโอกาสตายน้อยกว่าห้าเปอร์เซ็นต์ จริงครับ > แต่หายแล้ว ปอดอาจพังตลอดชีวิต > ลิเดีย-แข็งแรง เหลือปอดทำงาน หกสิบเปอร์เซ็นต์ > ล่าสุด...31 ธันวาคม 2563 ผู้ว่าจังหวัดสมุทรสาครน่าจะเป็นเคสนี้ครับ บทความนี้ถูกส่งต่อกันมา ผมพอทราบว่ามีส่วนจริง แต่ให้แน่ใจ จึงส่งไปถามเพื่อนที่เป็น...’หมอ’ ! เขาตอบว่า...จริง !!! > โควิด-19 เป็นแล้วตายก็จบไป แต่ถ้าไม่ตายก็ต้องลุ้น ! > คุยกันครั้งใด เขาบอกผม...พี่อย่าให้เป็นนะ อายุเยอะแล้ว ตายก็ลำบากก่อนตาย ไม่ตายก็แย่ไปตลอดชีวิต ยกมา > "ผมกลัว" ที่จะติดเชื้อ Covid-l9 ผมจึงทำตามที่รัฐบาลบอก คือ "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" และจะออกจากบ้าน เมื่อจำเป็นจริง ๆ ผมบอกว่า ผมเชื่อว่าใครที่ติดเชื้อ Covid-l9 จะไม่มีวันกลับไป "ปกติ" เพราะปอดจะไม่ทำงานเต็มร้อยอีกแล้ว > แต่...แต่ก่อนที่จะเสียชีวิต หากคุณติดเชื้อ รู้ไหมว่ามันทรมานแค่ไหน > คุณรู้ไหมว่า การรักษาโรคปอดติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2ol9 หรือ Covid-19 มันไม่ใช่แค่ใส่หน้ากากออกซิเจน แล้วนอนอ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์ อยู่บนเตียงสบาย ๆ ในโรงพยาบาล > เพราะเครื่องช่วยหายใจสำหรับผู้ป่วย Covid-19 (บางคน-ไม่ทุกคน) มันสร้างความเจ็บปวด ต้องสอดท่อลงไปในลำคอและคาไว้ จนกว่าจะหาย หรือตายภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยแทบไม่สามารถขยับตัว > การรักษานี้ คนไข้จะถูกจับให้นอนคว่ำกลับหัว มีท่อหายใจต่อจากปากขึ้นไปที่เครื่องช่วยหายใจ ไม่สามารถพูด กิน หรือขับถ่ายได้ตามปกติ แถมเจ็บปวดตลอดเวลา > สิ่งที่แพทย์ช่วยได้ก็คือ ให้ยานอนหลับและยาแก้ปวด เพื่อให้แน่ใจว่าคนไข้สามารถทนต่อความเจ็บจากการใส่ท่อช่วยหายใจ เหมือนอยู่ในอาการโคม่าเทียม > ผ่านไป 20 วัน ผู้ป่วยจะสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ สี่สิบเปอร์เซนต์ และมีแผลในปากหรือหลอดลม เช่นเดียวกับปอด เกิดภาวะแทรกซ้อนของหัวใจ > นี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้คนแก่ หรือผู้ป่วยโรคอื่น เช่น ความดัน หัวใจ ไม่สามารถทนการรักษาได้ และอาจตายในที่สุด >>> ย้ำ..นี่ไม่ใช่ไข้หวัดใหญ่ ! การให้อาหารเหลวใส่หลอดเข้าไปในท้องของคุณ ไม่ว่าจะผ่านจมูกหรือเส้นเลือด การที่ต้องมีพยาบาลมาช่วยขยับแขนขาทุกสoงชั่วโมง เพื่อป้องกันแผลกดทับ และต้องนอนบนเตียงน้ำที่เย็น เพื่อช่วยลดอุณหภูมิ 40 องศาของคุณ "มันไม่ใช่เรื่องสนุก" และคนที่บ้านเป็นทุกข์แน่ ๆ นี่คือหนึ่งในเหตุผล ที่ชาติตะวันตก ปล่อยให้ตาย ไม่รับรักษา เพราะสิ้นเปลือง > ผมกลัว...ผมจึงอยู่บ้าน ถ้าคุณไม่กลัว ก็ตามสบายนะครับ ไม่สวมหน้ากากตอนออกจากบ้าน ไม่รักษาระยะห่าง ไปในที่สุ่มเสี่ยง เป็นเรื่องความรับผิดชอบที่คุณมีต่อครอบครัวของคุณเอง > ที่เล่ามาทั้งหมด ก็เพื่อคนที่คุณรัก เพื่อคนที่รักคุณ และ เพื่อตัวคุณเอง #เรียบเรียงบางส่วนจาก LIND ใครจะหาว่าผมตื่นตูม ก็ตามสะดวก แต่ผมว่าเราต้อง ‘ตื่นตัว’ แม้คนที่เป็น ไม่ทุกคนที่จะมีสภาพนี้ แต่ก็มีไม่น้อยที่หายแล้วปอดไม่เต็มร้อย > ผมว่าปอดพังเร็วมาก ยิ่งกว่าสูบบุหรี่ซะอีก > แชร์ได้ ไม่ต้องขอครับ > รักใคร ห่วงใคร ก็แชร์กันไป ถ้าคุณได้รับแชร์นี้มาแสดงว่ามีคนรักคุณ
    Mrs.Doubt
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ผู้ป่วยโควิดที่มีภาวะขาดวิตามินดีอย่างรุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าคนที่ไม่ขาดวิตามินดีถึงสองเท่า จริงหรือคะ
    ทีมวิจัยต่างประเทศพบผู้ป่วยโรคโควิดที่มีภาวะขาดวิตามินดีอย่างรุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ขาดวิตามินดีถึงสองเท่า จริงหรือคะ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    สิงคโปร์กลายเป็นประเทศแรกในโลกที่ทำการชันสูตรพลิกศพ (ชันสูตรพลิกศพ) ศพผู้ป่วยโควิด-19 หลังจากการสอบสวนอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว พบว่าโควิด-19 ไม่มีอยู่จริงในรูปของไวรัส แต่เป็นแบคทีเรียที่ได้รับรังสีและทำให้มนุษย์เสียชีวิตจากการแข็งตัวของเลือด
    สิงคโปร์กลายเป็นประเทศแรกในโลกที่ทำการชันสูตรพลิกศพ (ชันสูตรพลิกศพ) ศพผู้ป่วยโควิด-19 หลังจากการสอบสวนอย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว พบว่าโควิด-19 ไม่มีอยู่จริงในรูปของไวรัส แต่เป็นแบคทีเรียที่ได้รับรังสีและทำให้มนุษย์เสียชีวิตจากการแข็งตัวของเลือด พบโรคโควิด-19 ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด ซึ่งทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดในมนุษย์ และทำให้เลือดแข็งตัวในเส้นเลือด ทำให้คนหายใจลำบาก เพราะสมอง หัวใจ และปอดไม่สามารถรับออกซิเจนได้ ทำให้คนเสียชีวิต อย่างรวดเร็ว. เพื่อหาสาเหตุของการขาดแคลนพลังงานระบบทางเดินหายใจ แพทย์ในสิงคโปร์ไม่ฟังระเบียบการของ WHO และทำการชันสูตรพลิกศพสำหรับ COVID-19 หลังจากที่แพทย์เปิดแขน ขา และส่วนอื่นๆ ของร่างกายและตรวจดูอย่างระมัดระวัง พวกเขาสังเกตเห็นว่าหลอดเลือดขยายตัวและเต็มไปด้วยลิ่มเลือด ซึ่งขัดขวางการไหลเวียนของเลือดและลดการไหลของออกซิเจน ในร่างกายทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ หลังจากเรียนรู้เกี่ยวกับงานวิจัยนี้ กระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ได้เปลี่ยนโปรโตคอลการรักษาสำหรับ Covid-19 ทันทีและให้แอสไพรินแก่ผู้ป่วยที่เป็นบวก ฉันเริ่มทาน 100 มก. และอิมโรแมค ส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มฟื้นตัวและสุขภาพก็เริ่มดีขึ้น กระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์อพยพผู้ป่วยมากกว่า 14,000 คนในหนึ่งวันและส่งพวกเขากลับบ้าน หลังจากช่วงระยะเวลาของการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ แพทย์ในสิงคโปร์อธิบายวิธีการรักษาโดยกล่าวว่าโรคนี้เป็นกลอุบายทั่วโลก "ไม่ใช่แค่การแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือด (ลิ่มเลือด) และวิธีการรักษา ยาเม็ดยาปฏิชีวนะ ต้านการอักเสบและ ทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (แอสไพริน). แสดงว่าสามารถรักษาโรคได้ ตามที่นักวิทยาศาสตร์ชาวสิงคโปร์คนอื่น ๆ ระบุว่าไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจและห้องไอซียู (ICU) โปรโตคอลสำหรับเอฟเฟกต์นี้ได้รับการเผยแพร่แล้วในสิงคโปร์ จีนรู้เรื่องนี้แล้ว แต่ไม่เคยเปิดเผยรายงานของตน แบ่งปันข้อมูลนี้กับครอบครัว เพื่อนบ้าน คนรู้จัก เพื่อนฝูง และเพื่อนร่วมงาน เพื่อที่พวกเขาจะได้กำจัดความกลัวของ Covid-19 และตระหนักว่านี่ไม่ใช่ไวรัส แต่เป็นแบคทีเรียที่ได้รับรังสีเท่านั้น เฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมากเท่านั้นที่ควรระวัง รังสีนี้ยังทำให้เกิดการอักเสบและขาดออกซิเจน ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อควรรับประทาน Asprin-100mg และ Apronik หรือ Paracetamol 650mg ที่มา: กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์
    Mrs.Doubt
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือ มีงานวิจัยค้นพบว่า ยาในกลุ่มยาสเตียรอยด์ที่มีราคาถูกและใช้กันในวงกว้าง ช่วยรักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการหนักได้
    คณะนักวิจัยในอังกฤษค้นพบว่า ยาในกลุ่มยาสเตียรอยด์ที่มีราคาถูกและใช้กันในวงกว้างช่วยรักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการหนักได้โดยลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตได้ถึง 1 ใน 3 ยาดังกล่าวมีชื่อว่า เดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) เป็นยาสามัญในกลุ่มยาสเตียรอยด์ที่มีราคาถูกและใช้กันในวงกว้าง โดยจากผลการวิจัยพบว่า ยาเดกซาเมทาโซน ซึ่งเป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบช่วยรักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการหนักและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจได้โดยลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตได้ถึง 1 ใน 3 ซึ่งก็นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในการหาตัวยารักษา COVID-19
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    นักวิจัยสหรัฐชี้ว่าผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีฝุ่น PM 2.5 มานานกว่า 10 ปีมีโอกาสเสียชีวิตจากโควิด 19 มากกว่าคนพื้นที่อื่น
    ข้อสรุปนี้มาจากการศึกษาของนักวิจัยมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดที่วิเคราะห์ข้อมูลค่าฝุ่นละอองอากาศในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา ใน 3,080 เขตของสหรัฐอเมริกากับจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 จนถึง 4 เมษายน เพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างมลพิษในอากาศ และผู้เสียชีวิตหรือมีอาการหนักจากโรคโควิด-19 ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งแรกที่มีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติระดับประเทศที่แสดงการเชื่อมโยงระหว่างอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 และโรคอื่นๆ กับการสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 ในระยะยาว ฟรานเซส โดมิชี ศาสตราจารย์ด้านชีวสถิติ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่า ผลการศึกษานี้เป็นหลักฐานที่บ่งชี้ว่า เขตที่มีมลพิษทางอากาศมากกว่า ประชาชนเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโควิด-19 มากกว่า รวมทั้งมีจำนวนผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และเสียชีวิตมากกว่า ข้อมูลนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อพิจารณาในการจัดสรรทรัพยากร นักวิจัยพบว่า ผู้ที่อยู่ในเขตที่มีฝุ่น PM 2.5 มานาน 10 ปี มีโอกาสที่จะเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 มากกว่าคนที่อาศัยในพื้นที่อื่น ซึ่งสัมผัสฝุ่นน้อยกว่าแค่ 1 หน่วย 15% ตัวอย่างเช่น หากแมนฮัตตันมีค่าเฉลี่ยของฝุ่น PM2.5 ในระดับที่น้อยลงกว่านี้เพียง 1 ไมโครกรัมต่อ 1 ลูกบาศก์เมตรในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แมนฮัตตันก็จะมีผู้เสียชีวิตน้อยลงกว่าตอนนี้ 248 คน ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ช่วยให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประเมินการจัดสรรเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยหายใจในพื้นที่ต่างๆ ได้ ในระยะสั้น โดมิชิและผู้เชี่ยวชาญสาธารณสุขกล่าวว่า ข้อค้นพบนี้บ่งบอกว่า พื้นที่อย่างเซนทรัลวาลลีย์ของแคลิฟอร์เนีย หรือเขตคูยาโฮกา รัฐโอไฮโออาจต้องเตรียมรับมือกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ระดับรุนแรงมากกว่า ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่พบว่า ผู้ที่สัมผัสกับมลพิษอากาศมาก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคซาร์สในปี 2003 นักวิจัยระบุว่า ผลการศึกษาเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศอย่างต่อเนื่อง เพื่อปกป้องสุขภาพของมนุษย์ทั้งระหว่างและหลังจากวิกฤตโควิด-19 อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ข้อมูลไม่ได้ดูข้อมูลในระดับบุคคล และไม่ได้ตอบคำถามว่าทำไมบางพื้นที่จึงมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากกว่าเขตอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ก็ยังไม่แน่ชัดว่าฝุ่น PM 2.5 มีบทบาทอย่างไรต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยใหญ่ที่กำลังดำเนินการอยู่ในพื้นที่อื่นๆ นอกสหรัฐอเมริกา เพื่อดูว่าการหายใจเอาอากาศที่สกปรกเข้าไปในช่วงชีวิตหนึ่งจะทำให้คนติดไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ได้มากขึ้นแค่ไหน
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false