ข้อความดั้งเดิม

ดูข้อความอื่นๆ 1 ความเห็น >
กรณีหญิงสาวชาวจังหวัดแพร่ เสียชีวิตจากอาการไตวาย หลังกินยาลดความอ้วนยี่ห้อหนึ่งซึ่งสั่งซื้อมาจากเพจเฟซบุ๊ก นี่เป็นผลข้างเคียงจากยาลดความอ้วนที่เกิดกับอวัยวะภายในร่างกาย แต่จากการตรวจสอบของแพทย์ยังพบว่า ยาลดความอ้วนมีส่วนผสมของสารกดประสาทที่เป็นอันตรายด้วย ซึ่งกรณีนี้ได้เกิดขึ้นกับหญิงสาววัยทำงานคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการกินยาลดความอ้วนจนมีอาการทางจิตเวชจนถูกบริษัทสั่งพักงาน

พี่สาวของพนักงานออฟฟิศหญิง วัย 24 ปี คนหนึ่ง เปิดเผยกับทีมข่าวพีพีทีวีว่า เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา น้องสาวของเธอซึ่งเป็นกังวลเรื่องน้ำหนัก 68 กิโลกรัมของตัวเธอเอง จึงตัดสินใจสั่งซื้อยาลดน้ำหนักสูตร 1 จากเพจเฟซบุ๊กบริษัทยาลดน้ำหนักแห่งหนึ่ง มาทดลองกิน จำนวน 4 แผง ราคา 1,400 บาท ตอนนั้นยังไม่มีอาการข้างเคียง น้ำหนักลงช้า 2 เดือนน้ำหนักลดไปเพียง 1 กิโลกรัม จึงสั่งยามากินอีกชุดเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่เปลี่ยนสูตรเป็นสูตรที่ 2 โดยตัวแทนจำหน่ายอ้างว่า จะทำให้น้ำหนักลดเร็วกว่ายาชุดแรกที่กินไป พี่สาวของหญิงสาวที่กินยาลดน้ำหนักคนนี้ เล่าต่อว่า หลังเริ่มกินยาชุดที่สองไปได้ไม่นาน น้องสาวก็เริ่มมีอาการหวาดระแวงผู้คน กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร ส่งผลถึงภาวะทางอารมณ์ไม่คงที่จนบริษัทต้องสั่งพักงาน เมื่อรู้ว่าน้องสาวเป็นอย่างนี้จึงรีบพาพบแพทย์เพื่อรักษา ซึ่งแพทย์วินิจฉัยในเบื้องต้นว่า สาเหตุที่น้องสาวของเธอมีอาการทางจิตเวชน่าจะมาจากการกินยาลดน้ำหนัก ส่วนชนิดของยาพี่สาวของผู้เสียหาย เปิดเผยว่า ยามีทั้งหมด 4 ชนิด รับประทาน 2 ครั้งต่อวัน จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกร พบว่า มียา 2 ชนิดที่กินก่อนอาหารเช้า เป็น ยากดประสาท (แคปซูนสีน้ำเงินขาว) และยาระบาย (เม็ดเล็กสีเหลือง) ส่วนยาที่กินก่อนนอนเป็นยานอนหลับ (เม็ดสีเหลือง) และวิตามิน (เม็ดสีแดง) ขณะที่ นพ.สุขุม กาญจพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ยาลดน้ำหนักส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์กดประสาท ซึ่งเป็นฤทธิ์จากสารประเภทไซบูทรามีนหรือเฟตามีน ทำให้รู้สึกไม่อยากอาหาร ซึ่งจุดนี้อาจส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการทางจิตได้ที่ผ่านมา ครอบครัวของหญิงสาวผู้เสียหายคนนี้ได้ทวงถามความรับผิดชอบจากตัวแทนจำหน่ายยา แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ขณะที่เพจเฟซบุ๊กที่จำหน่ายยาลดน้ำหนักแห่งนี้ก็ยังอัปเดตเนื้อหาในเพจเพื่อขายสินค้าตลอดเวลาจึงปรึกษากับทนายความและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. เพื่อเตรียมดำเนินการฟ้องร้องตามขั้นตอนของกฎหมาย

ความเห็นนี้

    std47968 เลือกให้ข้อความนี้💬 มีความเห็นส่วนตัว

    เหตุผล

    อาจจะเป็นไปได้

    ความเห็นต่าง

    .
    2 ปีที่แล้ว
    0
    0

ความเห็นนี้มีการอ้างอิงไปยังข้อความเหล่านี้