ข้อความดั้งเดิม

ดูข้อความอื่นๆ 1 ความเห็น >
คิดอยู่แล้ว ว่าสตช.ต้องหน้าแตกซ้ำ เหมือนที่กรมการขนส่งฯเขาไม่เอาด้วยกับเรื่องต่อทะเบียนรถ คราวนี้ ผู้พิพากษาก็ไม่เอาด้วย กับการออกมาข่มขู่ประชาชน ตามสันดานที่เคยทำมาของตำรวจ
📌“ผู้พิพากษา” กางข้อกฎหมายไม่จ่าย “ค่าปรับใบสั่งจราจร” เจอ “ออกหมายจับ” ??

🖋นายสันติ ผิวทองคำ ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระยอง เผยแพร่บทความในประเด็นนี้โดยระบุว่าคดีความผิดตามใบสั่ง กฎหมายถือเป็นคดีความผิดลหุโทษ มีอายุความเพียง 1 ปี ส่วนการดำเนินคดี ในกรณีที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเป็นผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรตามภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิด หรือ กล้อง CCTV หรือไม่ ตำรวจต้องให้โอกาสเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองโต้แย้งตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 140 ถึง มาตรา 141/1 ก่อน จะขออนุมัติศาลออกหมายจับทันทีนั้นไม่ได้

❗️“เนื่องจากคดีประเภทนี้เป็นความผิดเล็กน้อย และหากเป็นกรณีที่ตำรวจพบการกระทำความผิดผ่าน กล้องวงจรปิด ซึ่งไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า เบื้องต้นตำรวจย่อมมีข้อมูลเพียงอย่างเดียวคือ หมายเลขทะเบียนรถ ที่กระทำผิดกฎหมายจราจร กรณีไม่แน่ชัดว่าผู้มีรายชื่อถือกรรมสิทธิ์รถหรือผู้มีรายชื่อเป็นผู้ครอบครองรถนั้นเป็นผู้ขับขี่ฝ่าฝืนหรือกระทำผิด พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ในข้อหาที่กล้องวงจรปิดหรือ กล้อง CCTV บันทึกไว้ได้หรือไม่ กฎหมายจราจรจึงกำหนด ขั้นตอนให้โอกาสแก่บุคคลผู้มีรายชื่อเป็นเจ้าของรถหรือมีรายชื่อเป็นผู้ครอบครองได้โต้แย้งข้อหาที่กล้องบันทึกไว้ก่อนที่จะส่งเรื่องไปให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี ตำรวจยังไม่สามารถกล่าวโทษหรือกล่าวหาอันนำไปสู่การออกหมายเรียกหรือออกหมายจับผู้มีรายชื่อเป็นเจ้าของรถหรือผู้มีรายชื่อเป็นผู้ครอบครอง ได้ทันทีแต่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 140 ถึง มาตรา 141/1”❗️

🖋กรณีต้องการขอหมายจับต้องเข้า “กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน” และพนักงานสอบสวนต้องรวบรวมพยานหลักฐาน และออกหมายเรียกเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองให้มาพบอย่างน้อย 2 ครั้ง

🖋ซึ่งการส่งหมายเรียกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ป.วิ.อาญา และต้องมั่นใจว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองได้รับหมายเรียกแล้ว “จงใจไม่ยอมไปพบพนักงานสอบสวน” ตามที่กำหนด และพยานหลักฐานต้องเพียงพอเชื่อได้ว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองเป็นผู้ขับขี่รถในวันเกิดเหตุ และจงใจไม่ยอมไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกถึง 2 ครั้ง นอกจากนี้คดีต้องไม่ขาดอายุความ “ศาลจึงจะพิจารณาอนุมัติหมายจับ” เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองตามที่ร้องขอ

❗️“กรณีหาอาจอนุมัติหมายจับตามใจเจ้าพนักงานตำรวจไม่ เพราะศาลเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาแก่สังคม”❗️

🖋ถึงแม้ศาลอนุมัติหมายจับให้แต่ตำรวจก็ต้องติดตามตัวเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองมาแจ้งข้อหาให้ได้ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันเกิดเหตุ และแม้จะพบตัวเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถตามหมายจับ ก็ไม่อาจควบคุมตัวหรือควบคุมขังเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองได้เพราะเป็นเพียงคดีความผิดเล็กน้อย หรือ ลหุโทษ คงได้แต่ เพียงสอบถามชื่อนามสกุล และ แจ้งข้อหาให้ทราบแล้วต้องปล่อยตัวไปเท่านั้น

🖋จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการขออนุมัติศาลออกหมายจับในคดีความผิดตามใบสั่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกฎหมายมองว่าเป็นเพียงคดีความผิดที่มีโทษเพียงเล็กน้อยและเป็นคดีลหุโทษ จึงกำหนดเงื่อนไขไว้ค่อนข้างเคร่งครัด

🖋นอกจากนี้แม้ศาลอนุมัติหมายจับแล้วในคดีความผิดลหุโทษหรือความผิดตามใบสั่งตำรวจจะต้องทำสำนวนสอบสวน และส่งเรื่องให้พนักงานอัยการ พิจารณา และต้องฟ้องเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองต่อศาลภายใน 1 ปี มิฉะนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความ ก็ไม่สามารถดำเนินคดีกับเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองได้อีกเช่นกัน

🖋จากขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดเพื่อควบคุมการใช้อำนาจของตำรวจ ประกอบกับการออกหมายจับหรือไม่เป็นดุลพินิจโดยแท้ของศาล ที่กฎหมายให้อำนาจศาลถ่วงดุลการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ และพนักงานสอบสวนอีกส่วนหนึ่ง และระยะเวลาการดำเนินคดีที่สั้น ประกอบกับตำรวจหรือพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจควบคุมตัวผู้กระทำผิดในคดีลหุโทษหรือคดีความผิดตามใบสั่ง

❗️ผู้ใช้รถใช้ถนนหรือเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถ จึงไม่ควรกังวลกับข่าวที่แพร่ออกทางสื่อสารมวลชนดังกล่าวมากจนเกินไป เพราะการอนุมัติหมายจับเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถในคดีความผิดตามใบสั่ง #เป็นดุลพินิจของศาล_หาใช่เป็นดุลพินิจของตำรวจไม่❗️

ที่มา : ขั้นตอนการขออนุมัติหมายจับในคดีความผิดตามใบสั่ง By ท่านติ
ภาพประกอบ : internet

ความเห็นนี้

    Joke Air เลือกให้ข้อความนี้💬 มีความเห็นส่วนตัว

    เหตุผล

    .

    ความเห็นต่าง

    ปัจจุบันยังมีการแชร์ข้อความนี้อยู่ ซึ่งการออกหมายเรียก หมายจับ อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ขึ้นกับหลายๆปัจจัย

    นอกจากนี้ ข่าวปัจจุบันระบุ มีการเพิ่มกฎหมายใหม่ ทำให้การต่อทะเบียนรถยนต์ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2566 เป็นต้นไป ถ้ายังมีค่าปรับค้างอยู่ในระบบ ต้องจ่ายค่าปรับด้วยในการต่อทะเบียนจึงจะได้รับป้ายวงกลม(ปัจจุบันเป็นทรงสี่เหลี่ยม)
    (ผมมองว่า อาจจะทำให้ความสำคัญของการออกหมายเรียกและหมายจับ ลดลงไปบ้าง เพราะมีมาตรการบีบบังคับเพิ่มขึ้นแล้ว โดยขนส่งสามารถรับชำระแทน หรือเคลียร์ค่าปรับให้ครบก่อนจึงจะได้รับป้ายวงกลม(สี่เหลี่ยม))
    https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1052757
    2 ปีที่แล้ว
    0
    0