ข้อความดั้งเดิม

ดูข้อความอื่นๆ 1 ความเห็น >
โครงการตรวจสอบข้อเท็จจริงแห่งศูนย์สื่อมวลชนศึกษาและวารสารศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งฮ่องกง (HKU Journalism) ชี้ว่าภาพประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียอัญเชิญ "พระบรมฉายาลักษณ์" ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่แชร์กันทางโลกโซเชียลของไทยเมื่อปลายเดือน ก.พ. เป็นภาพที่ถูกตัดต่อ

แท้จริงแล้ว รูปต้นฉบับเดิม คือ ภาพที่ผู้นำรัสเซียถือภาพถ่ายของบิดาขณะเข้าร่วมการเดินขบวนประจำปีที่ชื่อ "การเดินสวนสนามของกรมทหารที่ไม่มีวันตาย" หรือ Immortal Regiment march เมื่อ 9 พ.ค. 2015 เพื่อรำลึกถึงบุคคลในครอบครัวที่ได้ร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2

โครงการของมหาวิทยาลัยฮ่องกงที่ทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้สอนด้านข่าวและสารสนเทศในเอเชีย (Asian Network of News & Information Educators - ANNIE) เผยแพร่การตรวจสอบนี้ทางเว็บไซต์เมื่อ 4 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยระบุในรายงานว่าเมื่อ 27 ก.พ. มีผู้โพสต์ภาพที่ถูกตัดต่อทางบัญชีเฟซบุ๊กที่ชื่อ 关羽關羽 (กวนอูกวนอู) โดยบรรยายบนภาพว่า "รัสเซียยืนหยัดได้เพราะบุญคุณของในหลวงร. 9"

จนถึงช่วงเช้าตรู่ของ 3 เม.ย. ตามเวลาในไทย มีผู้เข้ามาแสดงความรู้สึกถึง 4,500 ราย ในจำนวนนั้นมีคนเข้ามา "หัวเราะ" ถึงเกือบ 500 บัญชี มีคนแชร์โพสต์นี้ไปเกือบ 500 คน และแสดงความเห็นกว่า 1,000 ครั้ง มีผู้ใช้หลายคนที่ดูเหมือนว่าเชื่อในโพสต์นี้ แต่ก็มีบางส่วนที่แสดงความเห็นเสียดสี

ความเห็นนี้

    Joke Air เลือกให้ข้อความนี้💬 มีความเห็นส่วนตัว

    เหตุผล

    .....

    ความเห็นต่าง

    การที่ ภาพปลอม, ข่าวปลอม, ข่าวลวง ที่มีเนื้อหาบางส่วนเป็นการเทิดทูนสถาบันฯ รวมอยู่ด้วย มักจะไม่ถูกตรวจสอบและหักล้าง โดยคนไทยหรือหน่วยงานในไทย ก็เป็นเรื่องที่พอเข้าใจได้ เพราะมีความเสี่ยงที่ผู้ตรวจสอบและหักล้างอาจจะถูกมองว่าไม่เคารพเทิดทูนสถาบันฯได้
    การที่ให้หน่วยงานอื่นในต่างประเทศตรวจสอบและหักล้างแทน ก็เป็นที่เข้าใจได้
    ในช่วงก่อนเลือกตั้งที่ผ่านมา พบเห็นข่าวปลอมอื่นอีกที่บิดเบือน โจมตี ให้ร้าย บางนักการเมืองหรือบางพรรค แต่ในขณะเดียวกันข่าวนั้นก็ได้เขียนยกย่องเทิดทูนสถาบันด้วย ก็เป็นการยากที่จะแตะต้องข่าวปลอมประเภทนี้
    1 ปีที่แล้ว
    0
    0