ข้อความดั้งเดิม

ไปดูหน้ารวมข้อความ >
ประกาศความปลอดภัย:
เรียนประชาชน โปรดทราบ: *ประกาศด้านความปลอดภัยขั้นสูง: *โปรดทราบว่ามีกลุ่มคนซึ่งปลอมตัวเป็นพนักงานของกระทรวงมหาดไทยออกไปตามบ้าน พวกเขามีเอกสารและหัวจดหมายจากโฮมออฟฟิศ และอ้างว่าจำเป็นต้องตรวจสอบว่าทุกคนมีบัตรประจำตัวที่ถูกต้องสำหรับการสำรวจสำมะโนประชากรที่กำลังจะมาถึง พวกเขาขโมยบ้าน มีทุกที่และดูมีสไตล์ จะมีคนมาที่บ้านของคุณแล้วพูดว่า *ฉันต้องการถ่ายรูป/ลายนิ้วมือของคุณตามแผนการบางอย่าง* พวกเขามีแล็ปท็อป เครื่องไบโอเมตริกซ์ และรายการทุกอย่าง พวกเขาแสดงเมนูและถามข้อมูลทั้งหมดนี้ โปรดทราบว่ารัฐบาลไม่มีมาตรการดังกล่าว โปรดทราบว่าทั้งหมดนี้เป็นเรื่องปลอม อย่าให้ข้อมูลใดๆ แก่พวกเขา ทุกคนต้องระมัดระวังและ*ตระหนัก*! ส่งสิ่งนี้ไปยังกลุ่มชุมชนทั้งหมดของคุณ กรุณาแจ้งให้ครอบครัวและเพื่อนของคุณทราบ

ความเห็นนี้

    Joke Air เลือกให้ข้อความนี้◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน

    เหตุผล

    เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้จริง เพียงแต่ข้อความนี้มาจากข่าวต่างประเทศ เมื่อแปลตรงตัวก็ทำให้บางประโยคดูแปลก

    ที่มา

    บทความแปลจากภาษาต่างประเทศจึงมีสำนวนภาษาแปลก หรือบางประโยคดูแปลก

    ใจความสำคัญคือมิจฉาชีพหลอกเป็นหน่วยงานภาครัฐ หลอกว่าทำสำมะโนประชากร หลอกขอข้อมูลส่วนตัว อ้างว่าจำเป็นต้องบอก จำเป็นต้องให้ดู

    อาจมีกลวิธีต่าง ๆ เช่น หลอกเข้าไปในบ้านเพื่อปล้น หรือลักทรัพย์สิน, หลอกขอดูมือถือหรือหลอกโหลดแอป อ้างเป็นแบบสำรวจ แต่ที่จริงกดโหลดและติดตั้งแอปปลอม ดูดเงิน

    อาจมีเครื่องมือขั้นสูงเพื่อบันทึกข้อมูล ที่อาจจะใช้เพื่อขโมยตัวตน แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปใช้แอบอ้าง ทำธุรกรรมการเงิน หรืออื่น ๆ

    การสำรวจสำมะโนประชากร หากไม่ได้มาสำรวจในช่วงวัน-เดือน ที่ภาครัฐ(ของจริง)ประกาศ แต่มาเดือนอื่นหรือปีอื่น ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ช่วยให้สังเกตได้ว่าน่าจะเป็นของปลอม เป็นมิจฉาชีพ (บทความในลิงก์นี้มาจาก แอลเอ. สหรัฐฯ ที่มีเวอร์ชั่นแปลเป็นไทย แต่สำหรับของไทยก็เช่นกัน) https://census.lacity.gov/thai/scamalerts.html

    ปกติแล้ว มักจะสำรวจในปี ค.ศ. ลงท้ายด้วยศูนย์ หรือปี พ.ศ. ลงท้ายด้วยสาม แต่ว่าในปี 2020/2563 นั้นมีสถานการณ์โควิด การสำรวจของไทยนั้นก็ได้เลื่อนมาเป็นปี 2025/2568 https://www.nso.go.th/nsoweb/main/summano/aE

    ล่าสุดพบที่มาอย่างหนึ่งของข้อความในทำนองนี้ คือ ในประเทศแอฟริกาใต้ ค.ศ.2017 เคยมีคำเตือนในทำนองว่า มีมิจฉาชีพแอบอ้างและใช้เอกสารปลอมหรือประกาศปลอม แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ มาสำรวจข้อมูล เกี่ยวกับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ในช่วงก่อนที่จะมีประกาศการจัดการเลือกตั้ง แต่ความจริงแล้วมาปล้นหรือลักทรัพย์ https://timesofindia.indiatimes.com/time⋯s-looting-homes/articleshow/68592280.cms
    5 เดือนที่แล้ว
    0
    0

เจ้าของความเห็นลบความเห็นนี้