ข้อความดั้งเดิม

ไปดูหน้ารวมข้อความ >
ผู้เขียนขอเล่าเรื่อง "สดๆ ร้อนที่ได้ฟังมาเมื่อวาน" ให้คน 14 ล้านคน ที่ลงคะแนนเลือกพรรคก้าวไกล ลองเอาไปทบทวนพิจารณาดูนะ ....

... หญิงสาวที่เป็นด้อมส้มคนหนึ่งกำลังนอนรอ ให้หมอผ่าฟันคุดของเธออยู่ในคลีนิคของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

อาจารย์หมอก็ดันพูดเรื่องโหวตไม่โหวต อยู่นั่นแหละ
เลยเตรียมของไม่เสร็จซะที

หญิงสาวก็เลยบอกอาจารย์หมอไปว่า

"ให้โอกาสเขาหน่อย ไม่ดีหรือคะอาจารย์ โหวตให้เสร็จๆไปเหอะ ประเทศจะได้เดินหน้าต่อได้
จริงมั้ยคะ?"

ความเป็นจริงก็คือ หญิงสาวนอนรอนานแล้ว จนชักจะรำคาญแล้วต่างหาก

อาจารย์หมอหยุดเตรียมอุปกรณ์ทันที..แล้วบอกพยาบาลให้ไปตามแพทย์ฝึกหัดมาผ่าแทน

หญิงสาวถึงกับร้องจ๊าก แล้วรีบโวยวายทันที

"ก็ไหนอาจารย์หมอบอกว่า เคสของหนูมันเคสยากไงคะ แล้วทำไมจะให้หมอฝึหัด ที่ไม่มีประสบการณ์มาผ่าฟันคุดของหนูล่ะคะ?"

อาจารย์หมอตอบด้วยใบหน้านิ่งไร้ความรู้สึกว่า

(*)"เอาเหอะน่าคุณผู้หญิง รีบผ่าๆ ไปเหอะ ถึงเขาไม่มีประสบการณ์ก็ไม่เป็นไรหรอก ยังไงเขาก็มีความตั้งใจดี อยากผ่าให้นะ...
ให้โอกาสเค้าหน่อย...ไม่ดีหรือครับ"

พอได้ยินเช่นนี้ หญิงสาวถึง
กับ กรี้ดดดด ออกมาทันที

"จะบ้าเหรอคะหมอ! มีความตั้งใจดีแต่ฝีมือยังไม่ได้
มันไม่พอนะคะ นี่ฟันหนูทั้งซี่ ปากหนูทั้งปากนะคะ...
ผ่าผิดผ่าถูก มันแก้กลับคืนได้ที่ไหนกันคะ!"

อาจารย์หมอพูดเสียงนิ่งๆ ตอบกลับว่า

(*)"แค่ปากปากเดียวคุณยังไม่กล้าลองของใหม่เลย
และไม่พร้อมให้หมอขาดประสบการณ์ มา ทดลองผ่า... แล้วทำไม ทีกับประเทศชาติ เคสซับซ้อนกว่ามาก
...พวกคุณพร้อมให้ลองกันจัง..มุ่งมั่นดี..แต่ฝีมือไม่มี เนี่ยนะ!"

โดนตอกหน้าเช่นนี้ หญิงสาวถึงกับหน้าจ๋อย พูดเสียงอ่อยว่า

"เครๆ ค่ะ... อาจารย์หมอผ่าเองเถอะค่ะ ได้โปรด หนูรอก็ได้ค่ะ"

......

(*)(*)อนาคตบ้านเมืองเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ไม่ใช่เรื่องให้ มือใหม่ที่สร้างภาพเก่ง..มาทำการ "ทดลองทางประวัติศาสตร์" แบบปู้ยี่ปู้ยำยังไงก็ได้

ชวินทร์ ลีนะบรรจง และ
สุวินัย ภรณวลัย

ความเห็นนี้

    Joke_Air เลือกให้ข้อความนี้💬 มีความเห็นส่วนตัว

    เหตุผล

    เนื้อหา … ของข้อความนี้มีความเห็นส่วนตัว คือ หมอมองว่าพรรคนี้บริหารประเทศได้ไม่ดีแน่ อย่าเลือก แต่คนที่เลือกไม่ได้คิดเช่นนั้น

    ความเห็นต่าง

    1. ตามเนื้อเรื่องจะเห็นว่าแพทย์วางตัวไม่เป็นกลาง เลือกข้างทางการเมือง และเมื่อเจอกับคนไข้ที่ไม่เป็นกลางแบบตรงกันข้าม จึงมีปะทะคารมกัน

    2. น่าจะเป็นเทคนิคการพูด เพื่อให้อีกฝ่ายเงียบ และคิดไม่ออก ไม่สามารถโต้แย้งได้ในทันที แต่จริงๆแล้วก็ยังคงเห็นต่างได้อยู่ดี (เช่น หมอเชื่อว่าพรรคนี้ไม่เก่ง แต่คนที่เลือกพรรค ไม่ได้เชื่อเช่นนั้น)

    2.1 แพทย์ที่พูด มองว่า การบริหารประเทศเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่า ทำไมถึงกล้าเสี่ยง ทีกับร่างกายตัวเอง ไม่กล้าเสี่ยง แต่คนทั่วไป น่าจะมองว่า การรักษาที่มีความเสี่ยง อาจเป็นอันตรายต่อตัวเองได้โดยตรง จึงไม่กล้าเลือกคนใหม่ ๆ ต่างจาก การบริหารประเทศ ที่ไม่ได้ส่งผลต่อร่างกาย จึงกล้าเลือกคนใหม่ ๆ เมื่อเห็นว่าคนเดิม ๆ นั้นไม่น่าเลือกอีกต่อไป
    อีกทั้งอาจจะมองว่า ที่ผ่านมา ไทยเราก็รอด ผ่านมาได้ทุกรัฐบาล ไม่ได้ถึงกับล่มจมแต่อย่างใด
    อีกเหตุผลคือ นักการเมืองทำงานกันเป็นทีมใหญ่หรือเป็นพรรค รัฐบาลมีทั้งคนเก่าและคนใหม่ ต่างจากการเลือกใช้บริการแพทย์ เลือกแพทย์เพียงคนเดียว (หรือแพทย์เพียงไม่กี่คนในบางกรณี)
    นักการเมืองต่างก็มีครั้งแรกของตัวเอง เช่น การชนะเลือกตั้งครั้งแรก การได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมัยแรก นักการเมืองหน้าเก่าต่างก็เคยเป็นนักการเมืองหน้าใหม่กันมาก่อน นักการเมืองหน้าใหม่กับนักการเมืองหน้าเก่ามีการทำงานร่วมกัน

    2.2 แพทย์ไม่เลือกพรรคนี้ เพราะมองว่าไม่มีความสามารถ ไม่มีประสบการณ์ แต่คนที่เลือกพรรคนี้ ไม่ได้คิดเช่นนั้น มองว่ามีความรู้ความสามารถ รวมถึงมีประสบการณ์ทางการเมืองบ้างแล้ว (พรรคและ ส.ส. ไม่ได้ใหม่ขนาดนั้น) หรือคิดว่า คนมีประสบการณ์ คนเดิม ๆ (รัฐบาลชุดต่าง ๆ ที่ผ่านมา) ทำไม่ดี ก็อยากจะเลือกคนอื่น ๆ แทน (ซึ่งตัวเลือกในการเลือกตั้งก็มีจำกัด)

    3. มองว่าเป็นการเปรียบเทียบที่ต่างบริบทกัน หรือการเปรียบเทียบผิดบริบท
    บริบทของ การเลือกรับการรักษา กับ การเลือกตั้ง มีความแตกต่างกัน วิธีการตัดสินใจจึงอาจจะไม่เหมือนกัน และไม่จำเป็นต้องเหมือนกันเสมอไป
    อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่กล้ายืนกรานแบบเธอ ว่าไม่เอาหมอใหม่ อาจจะมีบางคนยอมเปลี่ยนหมอตามที่หมอบอกในตอนแรกก็อาจเป็นไปได้ (กระผมเข้าใจว่าปกติแล้วการลงมือรักษาโดยแพทย์ฝึกหัดหรือฝึกงานก็จะมีการควบคุมดูแล ช่วยเหลือ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คงไม่ได้ปล่อยให้ลงมือเองตามลำพัง)
    รวมถึงถ้าหากหญิงคนนั้นคล้อยตามประโยคนั้นที่หมอพูด เลิกสนับสนุนพรรคนั้น ก็ไม่ได้แปลว่าจะต้องย้ายข้างมาอยู่ข้างเดียวกันกับหมอ ไม่ได้แปลว่าจะต้องหันไปสนับสนุนพรรคเดียวกันกับที่หมอชอบ

    ตรรกะของหมอ สมมุติว่าถ้าหมอไม่ได้แอนตี้พรรคนั้นโดยเฉพาะ และหมอมีตรรกะแบบนั้นจริง ๆ ตรรกะแบบนั้นที่ว่าก็คือ
    1. พรรคที่ยังไม่เคยเป็นรัฐบาล ก็จะยังไม่มีประสบการณ์และยังไม่มีความสามารถ
    2. พรรคที่ไม่มีประสบการณ์และไม่มีความสามารถ ก็จะเป็นพรรคที่บริหารประเทศได้ไม่ดี
    3. อย่าเลือกพรรคที่บริหารประเทศได้ไม่ดี
    ซึ่งหากทุกคนพร้อมใจกันใช้ตรรกะนี้ พรรคนั้น และพรรคใหม่ๆต่างๆ ก็จะไม่มีคนเลือก เราก็จะมีแต่นักการเมืองคนเดิมและพรรคเดิมไปเรื่อย ๆ จนกว่านักการเมืองคนเดิมนั้นจะวางมือไป
    20 วันที่แล้ว
    0
    0

เจ้าของความเห็นลบความเห็นนี้