ข้อความดั้งเดิม

ดูข้อความอื่นๆ 1 ความเห็น >
#มีความจำเป็นต้องอ่านเพื่อรู้เท่าทันไม่หลงเป็นเหยื่อทำลายประเทศชาติตัวเอง

#สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เคยใช้ภาษีประชาชน

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ลงทุนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
# ซึ่งต้องชำระภาษีอากรเช่นเดียวกับบริษัททั่วไป มีข้อมูลเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ดังต่อไปนี้

บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) - ทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ - ถือหุ้นร้อยละ 98.54 จำนวน 49,272,239 หุ้น (ออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2551)

บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SET:SCC) - ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 1,200 ล้านบาท ราคาตลาดหุ้นละ 474 บาท
สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ - ถือหุ้นร้อยละ 30 จำนวน 360 ล้านหุ้น
บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด - ถือหุ้นร้อยละ 1.6 จำนวน 19.22 ล้านหุ้น

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SET:SCB) - ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 33,944.38877 ล้านบาท ราคาตลาดหุ้นละ 144 บาท

สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ - ถือหุ้นร้อยละ 21.3 จำนวน 722.941958 ล้านหุ้น
บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด - ถือหุ้นร้อยละ 2.43 จำนวน 82.3678 ล้านหุ้น

กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม ดิจิทัล (SET:DIF) - ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 58,080 ล้านบาท ราคาตลาดหุ้นละ 12.2 บาท
บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด - ถือหุ้นร้อยละ 0.86 จำนวน 50 ล้านหุ้น

บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) (SET:JMART) - ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 524.463106 ล้านบาท ราคาตลาดหุ้นละ 9 บาท

บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด - ถือหุ้นร้อยละ 0.61 จำนวน 3.1827 ล้านหุ้น

บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) (SET:PTG) - ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 1,670 ล้านบาท ราคาตลาดหุ้นละ 16.3 บาท
บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด - ถือหุ้นร้อยละ 0.5 จำนวน 8.3521 ล้านหุ้น

และยังมีการลงทุนในบริษัทดังต่อไปนี้

-สยามพิวรรธน์
-ดอยคำ
-บริษัท สยามสินธร จำกัด
-บริษัท นวุติ จำกัด
-บริษัท เอเพ็กซ์เซล่า จำกัด
-บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด
-เครือโรงแรมเคมปินสกี้ (จากประเทศเยอรมนี ซึ่งสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์)
-บริษัท หินอ่อน จำกัด
-บริษัท ฮอนด้าออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด
-บริษัท องค์การเภสัชกรรม - เมอร์ริเออร์ชีววัตถุ จำกัด
-บริษัท ปตท.จำหน่ายก๊าซธรรมชาติ จำกัด
-บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด
-บริษัท นันทวัน จำกัด (ไทยโอบายาชิ)
-บริษัท พรีมัส (ประเทศไทย) จำกัด
-มหาวิทยาลัยเอเชียน

บริษัทในเครือ
สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ดำเนินการจัดตั้งบริษัทในเครือขึ้น 2 แห่ง เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการสินทรัพย์ต่างๆ โดยชำระภาษีอากรเช่นเดียวกับบริษัททั่วไป ดังต่อไปนี้

บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด - ทำหน้าที่บริหารการลงทุนในหุ้นอื่นๆ

บริษัท วังสินทรัพย์ จำกัด - ทำหน้าที่ดูแลการลงทุนอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่

ผลการดำเนินงาน
ภายหลังการมีสถานะเป็นนิติบุคคลในปี พ.ศ. 2491 สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มีการบริหารงานเช่นเดียวกับองค์กรทั่วไป

จนกระทั่งเมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 ซึ่งบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ถือหุ้นอยู่ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก

จึงมีการปรับปรุงการบริหารงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และกิจการต่างๆ ที่ลงทุน เริ่มฟื้นตัวได้ในปี พ.ศ. 2546จึงทำให้สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มีรายได้ในปีนั้นที่ประมาณ 3,800 ล้านบาท

จากการแถลงข่าวประจำปี พ.ศ. 2548 ของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ โดยจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานฯ แจ้งว่าในปี พ.ศ. 2547 สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มีรายได้ประมาณ 5 พันล้านบาท

โดยประมาณร้อยละ 90 เป็นรายได้จากเงินปันผลของหุ้นที่ลงทุนใน บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ และ บมจ.เทเวศประกันภัย ที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 8 หรือประมาณ 400 ล้านบาท เป็นรายได้จากค่าเช่าที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์

👉 https://bit.ly/2CBG1oO

Cr. Tharnn Noiplook

ความเห็นนี้

    ffera เลือกให้ข้อความนี้◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน

    เหตุผล

    งบประมาณในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงมีอยู่ ส่วนบริษัทเหล่านี้หากมีสถานะเป็นบริษัทเอกชนก็อาจถือได้ว่าบริษัทเหล่านี้ไม่ได

    ที่มา

    https://prachatai.com/journal/2020/03/86761
    https://www.ilaw.or.th/node/5807
    3 ปีที่แล้ว
    0
    0