ข้อความดั้งเดิม

ดูข้อความอื่นๆ 1 ความเห็น >
นศ.หนุ่มวัย 19 เป็นลมหมดสติกะทันหัน พอผลการวินิฉัยของคุณหมอออกมา ทุกคนตกใจจนเข่าแทบทรุด

เว็บไซต์ต่างประเทศ ได้รายงานว่าในช่วงเช้าของวันหนึ่ง มีนักศึกษาหนุ่มหลายคนพาเพื่อนอายุ 19 ปี ที่เป็นลมหมดสติกะทันหัน มาที่โรงพยาบาล พวกเขาตะโกนเรียกหมอว่า “คุณหมอครับ ช่วยเขาที เขาเป็นลมหมดสติกะทันหันครับ”

หลังจากถามอาการของคนไข้จากเพื่อน ๆอที่พามาส่งก็พบว่า คนไข้มีอาการขาซ้ายปวดและบวมในตอนตื่นนอน เพื่อน ๆที่นอนในห้องเดียวกันต่างคิดว่า เป็นเพราะเขาเหนื่อยและนอนหลับไม่ดี จึงมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น หลังจากทุกคนแต่งตัวเสร็จ และกำลังจะไปกินอาหารเช้าก็พบว่าเขายังไม่ได้ลุกจากที่นอน และได้ยินเขาบอกว่าเขาปวดขาซ้ายมาก ๆ ให้ทุกคนช่วยส่งเขาไปโรงพยาบาลหน่อย และในระหว่างทางไปโรงพยาบาล เขาก็เป็นลมหมดสติไปทันที หมอตรวจพบว่าเขาเป็นโรคหลอดเลือดดำอุดตันอโรคหลอดเลือดดำอุดตัน เกิดจากลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดดำ อาการนี้พบมากในบริเวณขาซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหรือบวมของขาข้างนั้น ๆ ตั้งแต่น่องจนมาถึงต้นขาได้

เพื่อน ๆ ของเขาฟังแล้วรู้สึกตกใจ จึงรีบถามหมอว่า เหตุใดเขาถึงได้เป็นโรคนี้

หมออธิบายว่า สาเหตุก็เพราะว่า เขานั่งนานเกินไป การนั่งนาน ๆ นั้นจะทำให้กล้ามเนื้อไม่ได้ขยับติดต่อกันเป็นเวลานานและเลือดไม่สามารถไหลเวียนออกจากขาขึ้นมาสู่หัวใจได้ ทำให้เส้นเลือดดำในขาและเท้าเกิดการอุดตัน

นักศึกษาคนนี้ชื่อ เซียว เขาติดเล่นเกม นั่งเล่นแทบไม่ขยับไปไหน ทุกคืนต้องเล่นยันตีสองตีสาม ถึงจะยอมไปนอน ส่วนสาเหตุที่เขาเป็นลมหมดสติ หมออธิบายว่า การที่เขานั่งเล่นเกมนาน ๆ ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดดำอุดตัน และมีอาการหายใจไม่ออก สุดท้ายก็เป็นลมหมดสติไป

พอหมออธิบายเสร็จ เพื่อนคนหนึ่งที่พามาส่งก็ต้องตกกะใจว่า “ผมเองก็ติดเล่นเกมเช่นกัน หลังจากนี้ไปคงไม่กล้านั่งเล่นนาน ๆ แบบนี้อีกแล้วล่ะ

ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน เป็นภาวะที่เป็นอันตราย มันสามารถหลุดไปยังบริเวณปอด ทำให้เกิดภาวะ ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต อาการของลิ่มเลือดอุดตันในปอด คืออาการหายใจไม่สะดวกเฉียบพลัน แน่นหน้าอกและเจ็บหน้าอกเป็นต้น การนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ เช่นการเดินทางบนเครื่องบิน หรือบนรถ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ

หมออธิบายต่อว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด มี 90% เกิดจากภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน และมีผู้ป่วย 80% เป็นโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด โดยจะเริ่มจากไม่มีอาการอะไรเลย โดยประมาณ 25% ของโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด พบว่ามีการเสียชีวิตเฉียบพลันก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัย

ลิ่มเลือดอุดตันในปอด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวังให้มากที่สุด เกิดจากลิ่มเลือดกระจายไปอุดตันที่เส้นเลือดในปอดซึ่งส่วนมากมาจากเส้นเลือดดำที่ขา ภาวะนี้อันตรายถึงชีวิต ถ้าไม่ได้รับการรักษา

โชคดีที่เพื่อน ๆ ส่งตัว เซียว มาโรงพยาบาลทันเวลา หลังจากได้รับการรักษาเขาก็เริ่มฟื้นตัว พอรู้อาการของตัวเองเข้า เขาถึงกับต้องตะลึงจนพูดซ้ำ ๆ ว่า “แม่เจ้า เกือบไปแล้ว หลังจากนี้ไปผมคงไม่กล้านั่งนาน ๆ อีก และก็ไม่กล้าเล่นเกมดึกอีกแล้ว”

หมอแนะนำว่า ไม่ว่าจะทำงานหรือเรียน ควรหาเวลาพักผ่อน และออกกำลังกายด้วย จะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง แต่สำหรับคนที่ต้องนั่งนาน ๆ ควรลุกขึ้นยืนและเดินทุก ๆ 2 ชั่วโมง ดื่มน้ำมาก ๆ ไม่ควรนั่งนานเกินไปและไม่ควรให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะจะทำให้เลือดอุดตันได้

นอกจากนี้แล้วการนั่งนาน ๆ อาจจะส่งผลทำให้เกิดโรคพวกนี้ได้ :

1. การนั่งนานเกินไปจะทำให้เจ็บสะโพก โดยมีอาการตึงและขยับไม่ค่อยได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อหดและตึงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การเคลื่อนไหวสะโพกลำบากนี่เองที่เป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้ผู้สูงอายุ ล้มได้ง่าย

2. เมื่อร่างกายอยู่นิ่งเป็นเวลานาน ๆ เลือดและออกซิเจนจะไหลเวียนผ่านสมองน้อยลง ส่งผลให้สมองทำงานช้าลง คนที่นั่งนาน ๆ จึงรู้สึกสมองตื้อ เฉื่อยชา เหนื่อยล้านอนไม่หลับ ความจำเสื่อม

3. การนั่งนานเกินไปทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่นท้องผูก จุกแน่น แสบร้อนหน้าอก ท้องอืดหรืออาจทำให้น้ำ หนักตัวเพิ่มขึ้นได้

4. การนั่งจะสร้างแรงกดที่กระดูกสันหลัง มากกว่าการยืน และสุขภาพแผ่นหลังจะยิ่งแย่ หากคุณนั่งหลังค่อมหน้าคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ

5. การนั่งนาน ๆ อาจเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ เต้านม และเยื่อบุโพรงมดลูก แม้กระบวนการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด ซึ่งอาจเกิดจากตับอ่อนผลิตอินซูลินมากเกินไป และไปกระตุ้นให้เซลล์เจริญเติบโต แต่ข้อเท็จจริง ก็คือ การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ จะกระตุ้นสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ให้คอยกำจัดอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิดเซลล์มะเร็ง

ขอบคุณ:‭http://www.liekr.com/post_159433.htmlา

ความเห็นนี้

    ffera2 เลือกให้ข้อความนี้◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน

    เหตุผล

    ที่มา

    http://www.liekr.com/post_159433.html
    3 ปีที่แล้ว
    0
    0