ข้อความดั้งเดิม

ไปดูหน้ารวมข้อความ >
การพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์นี้ คาดว่ามีโอกาสจะพบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษจากการรับประทานกลอยเพิ่มขึ้น เนื่องจากในช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่กลอยกำลังออกดอกและมีหัว ซึ่งทำให้กลอยมีพิษสูงกว่าฤดูอื่นๆ “กลอย” มีลักษณะทั่วไปเป็นไม้เถา มีหัวใหม่เกิดขึ้นทุกปีจากส่วนลำต้นใต้ดิน ในหัวกลอยมีแป้งและมีสารพิษที่ชื่อว่าไดออสคอรีน (Dioscorine) มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ผู้ที่ได้รับพิษจากกลอยจะมีอาการ คันที่ปาก ลิ้น คอ คลื่นไส้ อาเจียน และทำให้เกิดอาการ มึนเมา วิงเวียน ใจสั่น ตาพร่า อึดอัด โดยข้อมูลจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สังกัด สวทช. พบว่าการขจัดพิษจากหัวกลอยในสมัยก่อนทำได้โดยการฝานหัวกลอยเป็นชิ้นบางๆแล้วนำมาแช่น้ำไหล เช่น ในลำธาร ซึ่งต้องใช้เวลาชะล้างสารพิษนานไม่ต่ำกว่า 7 วัน หรืออีกวิธีหนึ่งคือการนำไปแช่ในน้ำเกลือเข้มข้น โดยเกลือจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารไดออสคอรีนในแผ่นกลอยได้เร็วขึ้น แต่ต้องถ่ายน้ำทิ้งหลายๆ ครั้ง และใช้เวลาแช่ไม่ต่ำกว่า 3 วัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีวิธียืนยันว่าการกำจัดพิษข้างต้นจะสามารถกำจัดพิษได้ 100% กรมควบคุมโรค จึงขอแนะนำประชาชนให้ระมัดระวังการรับประทานกลอย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน หากนำมารับประทาน ควรเลือกซื้อกลอยจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและมีการขจัดพิษแล้ว หากไม่แน่ใจควรปรุงกลอยโดยผ่านกรรมวิธีการขจัดพิษที่เหมาะสมก่อนทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กรับประทานกลอย จริงหรือ

ความเห็นนี้

    Ad.tar เลือกให้ข้อความนี้✅ มีเนื้อหาที่เป็นจริงทั้งหมด

    เหตุผล

    กรมควบคุมโรค พยากรณ์โรคฯ ฉบับที่ 276 "เตือนประชาชนช่วงฤดูฝนนี้ ขอให้ระมัดระวังการรับประทานกลอย ควรเลือกซื้อกลอยจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและมีกา

    ที่มา

    https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=14517&deptcode=
    4 ปีที่แล้ว
    0
    0