1 คนสงสัย
นอนดิ้นรักษาหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้
admin
 •  5 ปีที่แล้ว
meter: false
1 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)
admin เลือกให้ข้อความนี้❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง

เหตุผล

คนนอนดิ้นคงได้เฮกันใหญ่ กับข่าวแชร์ที่ว่า “การนอนดิ้นรักษาหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้” แต่ก่อนที่คนนอนไม่ดิ้นจะกระโดดขึ้นเตียงแล้วรีบดิ้นกัน ตาม

ที่มา

https://www.amarintv.com/program-update-did-you-know/suremom-4/77310/

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    ในอินเทอร์เน็ตมีส่งต่อกันว่า ใช้เกลือใส่กระสอบผ้าประคบร้อน แก้อาการปวดอักเสบ จริงหรือคะ
    มีโพสท์แชร์กันว่าถ้าเป็นโรคปวดอักเสบจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถใช้เกลือใส่กระสอบผ้าประคบร้อนสามารถรักษาอาการได้ จริงหรือเปล่าคะ
    anonymous
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ถั่วเขียวต้มขิง แก้โรคคนแก่ ปวดหลัง ปวดเข่า ท้องอืด ล้างของเสียในตับ ช่วงนี้อากาศชื้น จะเป็นไข้หวัด ไม่สบายตัวได้ง่าย แนะนำให้ทาน ถั่วเขียวต้มน้ำขิง" ได้ทั้งโปรตีนและฟอสฟอรัสจากถั่ว และ ความอบอุ่นของร่างกายจากสรรพคุณของขิง ในถั่วเขียวมีฟอสฟอรัสสูง ป้องกันกระดูกทรุดตัวและไม่ปวดหลัง รวมทั้งกระดูกข้อต่อต่างๆ กระดูกสันหลัง ซี่โครง หัวเข่า ให้เป็นปกติ เพราะถ้ากระดูกสันหลังทรุด ก็จะมาทับเส้นประสาท ทำให้ขาชา ปวดขา ปวดหลัง เดินไม่สะดวก ถ้าหมอนรองกระดูกเข่าทรุดก็จะเข่าเสื่อมต้องผ่าออกใส่ของเทียมเข้าไปแทน บำรุงได้ด้วยกินอาหารที่มีฟอสฟอรัส เช่น ถั่วเขียว ถั่วงอก หรือกินวุ้นเส้นที่ทำมาจากถั่วเขียว 100% เช่น กินผัดถั่วงอกประจำตัวจะสูง ถั่วงอกก็มีฟอสฟอรัสอยู่ด้วยทำให้ตัวสูง เมื่อตัวสูงความจำก็จะดีไปด้วย โรคคนสูงอายุคือ "โรคที่ขาดฟอสฟอรัส" จะปวดหลัง หมอนรองกระดูกทรุด เหงือกร่น มาจากการขาดฟอสฟอรัสทั้งสิ้น นอนทับแขน ทับไหล่ ตื่นขึ้นมาเจ็บ ให้กินถั่วเขียวต้ม เวลาเดินแล้วปวดหลัง ก็เพราะขาดฟอสฟอรัส การกินถั่วเขียวยังช่วยบำรุงตับอีกด้วย เวลาต้มถั่วเขียว ให้ใส่ขิงไปด้วยเพิ่มพลังหยาง ขับลม และทำให้ไม่มีอาการท้องอืด แนะนำเมนู 1.ถั่วเขียว 500 กรัม 2.น้ำตาล 350 กรัม (จะใส่น้อยหน่อยก็ได้ เพราะไม่ได้เพิ่มสรรพคุณ แค่ช่วยให้กินง่ายขึ้น แนะนำให้ใช้น้ำตาลมะพร้าว หรือ ใส่ลูกหล่อฮั๊งก้วย จะอร่อยอีกแบบ เพราะเป็นน้ำตาลที่ไม่กระตุ้นเบาหวานด้วย) 3.ขิงแก่หั่นแว่น 40 กรัม 4.น้ำสะอาด วิธีทำ แช่ถั่วเขียวในน้ำ 3 ชั่วโมง แล้วนำต้มจนสุกเปื่อย จึงใส่น้ำตาลตามลงไป (น้ำตาลต้องใส่หลังจากถั่วสุก) ใส่ขิงตามลงไป เคี่ยวต่ออีก 7-8 นาที ปิดไฟ ตักใส่ถ้วยพร้อมเสริฟ รับประทานร้อนๆ จะชื่นใจ มีประโยชน์มากๆ
    ไม่ระบุชื่อ
     •  5 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    เล่าแบ่งปันประสบการณ์ดีดีที่ทำให้อาการเจ็บป่วยที่ดีขึ้น สวัสดีค่ะ เพื่อนๆ ที่รู้จักและยังไม่รู้จักกัน ดิฉันสุณีรัตน์ (ปู) อยากขอเล่าอาการป่วยที่เป็น คือ หมอนรองกระดูกเคลื่อน ปลิ้นทับเส้นประสาท ทำให้รู้สึกเจ็บหลังมาก ขาชาทั้งสองข้าง เป็นมาตั้งแต่ปี 2566 เริ่มเป็นตอนแรกเดินไม่ได้เลย 1 วัน ต้องนอนอยู่บนเตียง พี่สาวพาหาคุณหมอที่ รพ.แห่งหนึ่ง หมอให้ยามาทาน อาการปวดหลังทุเลาลง เริ่มเดินได้แต่เดินช่วงสั้นๆ ต้องพักเป็นระยะ เวลาเดินจะตัวเอียงมากยืดตัวตรงไม่ได้รู้สึกหลังตึงปวด และต้องใช้ผ้ารัดเอวผยุงหลังตลอดเวลาที่เดิน อาการปวดหลังก็ยังคงมีมาตลอด ดิฉันไปพบหมอตามนัดทุกครั้ง อาการปวดหลังก็ยังคงเดิมและต้องรับประทานยาต่อเนื่อง จนมีกัลยาณมิตรท่านหนึ่งส่งข้อมูลให้ทางไลน์ ว่า ที่ รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย มีคุณหมอท่านหนึ่งเก่งมากรักษาโรคนี้ด้วยวิธีการที่ท่านศึกษาค้นคว้าเอง ไม่ต้องทำการผ่าตัดด้วย ถ้าสนใจให้ลองโทรไปทำบัตรนัดตรวจดู ดิฉันจึงคุยกับพี่สาวว่าอยากไปรักษา และได้โทรไปทำบัตรและนัดตรวจที่รพ.จุฬาฯ ที่คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟูนอกเวลา ได้คิวนัดตรวจวันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม 2567 ถึงวันนัด พี่สาวและน้องสาวไปเป็นเพื่อน พบคุณหมอท่านชื่อ ศ.พญ.อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา ท่านตรวจแล้วก็บอกว่าไม่ต้องผ่าตัด ท่านจะใช้เข็มยาวแทงไปที่หมอนรองกระดูกที่มีปัญหา แล้วเขี่ยหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมา และเขี่ยหินปูนที่เกาะอยู่ออก หลังจากทำกระดูกไขสันหลังก็จะฟื้นฟูสภาพดีขึ้น วิธีการรักษานี้ท่านบอกว่าคิดขึ้นเองและทำมาเป็น 10 ปีแล้ว และจะทำให้ดิฉันวันนี้เลย ตอนแรกก็รู้สึกกลัวมาก แต่พอเข้าห้องไปทำจริง คุณหมอเก่งมากท่านดูผ่านอัลตร้าซาวด์แล้วก็แทงเข็มเข้าไปใช้เวลาทำไม่ถึง 10 นาทีเสร็จแล้ว หลังทำดิฉันลุกจากเตียงเดินออกมาจากห้องบอกพี่สาวว่าทำเสร็จแล้ว ตอนนั้นรู้สึกหลังหายตึงเลยค่ะ กลับมาบ้านก็ปฏิบัติตามคำแนะนำของอาจารย์หมอ คือดื่มน้ำเยอะๆ และเดินบ่อยๆ รู้สึกว่าอาการปวดหายไป ไม่ต้องทานยาแก้ปวด และเวลาเดินก็ยืดตัวได้เกือบตรงเป็นปกติ ไม่ต้องใช้ผ้ารัดเอวผยุงหลังเลย อาการโดยรวมดีขึ้นมาก เมื่อไปพบอาจารย์หมอตามนัดครั้งที่ 2 คือวันที่ 4 เมษายน 2567 อาจารย์หมอตรวจดูแล้วบอกว่า อาการดีขึ้นมากเลย วันนี้ไม่ต้องทำอะไร สรุปของดิฉันคือทำครั้งเดียวพอและให้กลับไปปฏิบัติตัวตามคำแนะนำต่อไป และนัดตรวจครั้งต่อไป เป็นปีหน้าเลย คือวันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน 2568 รู้สึกดีใจมากเลยค่ะ ที่เดินได้ดีเกือบปกติแล้วไม่ปวดหลัง ไม่ต้องกินยาแก้ปวดแล้ว ขอกราบขอบพระคุณศ.พญ.อารีรัตน์ สุพุทธิธาดา เป็นอย่างสูงที่ทำให้อาการเจ็บป่วยหายไป สามารถเดินได้ดี โดยไม่ต้องผ่าตัดเลยค่ะ จึงอยากขอแบ่งปันการไปรักษาครั้งนี้ให้เพื่อนๆ และคนที่มีอาการป่วยแบบเดียวกันได้รู้ค่ะ ถ้าสนใจโทรไปนัดล่วงหน้าที่คลินิกนอกเวลาของ รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทยค่ะ สุณีรัตน์ (ปู)
    ไม่ระบุชื่อ
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    คำแนะนำของ พญ.อิสรีย์ ประดิษฐ์กุล
    มาตรวจสุขภาพ เจอหมอ (พญ อิสรีย์ ประดิษฐ์กุล) ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยพบมาในชีวิต อธิบายละเอียดทุกตัวเลขครึ่งขั่วโมง และได้ความรู้ใหม่คือ 1. ห้ามออกกำลังกายด้วยการขึ้นลงบันไดเด็ดขาด ทำให้เข่าพัง 2. ห้ามเล่นฮูลาฮูป เพราะจะทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อน 3. ถ้าออกกำลังด้วยการเดินสายพาน ห้ามใข้โหมดขึ้นเขา 4. ควรให้ร่างกายสัมผัสแดดอ่อนๆ ทุกวัน 5. คนอายุ 50+ ต้องออกกำลังแบบ cardio และ ยกเวท (ดัมเบล ห้ามบาร์เบล) เบาๆ เพื่อออกกำลังหลังให้แข็งแรง 6. ใครที่เป็นไขมันพอกตับต้องออกกำลังเท่านั้น ไขมันถึงจะหลุด 7. ลด LDL ด้วยการลดอาหารทอด มัน ทะเล อาหารแปรรูป(ไส้กรอก) 8. กะทิกินได้เป็น HDL (หมอคำนวณให้เห็นว่า ถ้า HDL สูงพอจะไป cover LDL ได้) 9. ส่องกล้องหามะเร็งลำไส้ไม่จำเป็นถ้าตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทุกปี และถ้าไม่มีอาการท้องผูกปวดท้องต่อเนื่อง
    Mrs.Doubt
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ▪︎เราต้องเดินทุกวัน ตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงเข้านอน และวันหนึ่งๆ เราต้องเดินลงน้ำหนักบนขาทั้ง 2 ข้างของเราหลายชั่วโมง ●ข้อมูลจาก American Podiatric Medical Association รายงานว่า โดยเฉลี่ยมนุษย์เดินวันละ 8,000-10,000 ก้าว ซึ่งเท่ากับว่าตลอดชีวิตเราจะต้องเดินประมาณ 207,000 กิโลเมตร หรือเป็นระยะทางเท่ากับเส้นรอบวงของโลกถึง 4 รอบ ● การเดินของมนุษย์มีกลไกที่ซับซ้อนมาก ☆ไม่ใช่เพียงแค่การก้าวเท้าไปข้างหน้า ☆ แต่ต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อหลายมัด ☆ศีรษะ ข้อกระดูกสันหลัง ข้อไหล่ ข้อสะโพก ข้อเข่า และข้อเท้า เพื่อให้ร่างกายทรงตัวอยู่ได้ ●ยิ่งเดินมาก ยิ่งทำให้ข้อเสื่อม จริงหรือ(?) ▪︎ใครว่ายิ่งเดินมาก ยิ่งทำให้ข้อเสื่อม ต้องบอกเลยว่า ความเชื่อนี้เชยไปแล้วค่ะ ● จากงานวิจัยทางการแพทย์สมัยใหม่พบว่า 🔺️การเดินหรือวิ่งอย่างถูกต้อง และต่อเนื่องจะช่วยป้องกันข้อเสื่อม 🔺️ส่วนการไม่เดินไม่วิ่ง หรือขาดการออกกำลังกายกลับเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อเสื่อม ● เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น 🔺️คำตอบคือ การเดินหรือวิ่งก่อให้เกิดแรงกดที่กระดูกอ่อนผิวข้อ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายฟองน้ำคอยรับแรงกระแทกในข้อ แรงกดและปล่อยอย่างเป็นจังหวะจากการเดินและวิ่ง จะเป็นการเพิ่มการหมุนเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงภายในข้อ ▪︎น้ำหล่อเลี้ยงภายในข้อมีความสำคัญ เพราะสารอาหารของเซลล์กระดูกอ่อนไม่มีเลือดมาเลี้ยง ▪︎จึงได้รับสารอาหารและออกซิเจนจากน้ำหล่อเลี้ยงข้อเท่านั้น ▪︎ การเคลื่อนไหวข้อที่ทำให้เกิดแรงกดที่กระดูกอ่อนอย่างเหมาะสม และสม่ำเสมอ ▪︎จึงเป็นการให้สารอาหารแก่กระดูกอ่อน กระตุ้นการสร้างและซ่อมส่วนที่สึกหรอ ช่วยลดความเสี่ยงข้อเสื่อมได้ 🔺️วันนี้หมอมีเคล็ด (ไม่) ลับของการเดิน ที่จะช่วยลดความเสื่อม และป้องกันการบาดเจ็บของข้อเข่า และกระดูกสันหลังมาฝากค่ะ (one).ปรับท่าเดินให้ถูกต้อง เพราะท่าเดินที่ถูกต้องจะช่วยให้บุคลิกดีขึ้นและดูสง่างาม โดย ● ตามองตรง ไม่ก้มศีรษะ เพราะการก้มศีรษะจะไปเพิ่มการลงน้ำหนักที่กระดูกสันหลังบริเวณคอและหลัง ทำให้มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และหลังตามมาได้ ●ไม่เกร็งระหว่างเดิน ผ่อนคลายตั้งแต่มือ ข้อนิ้วมือ อาจจะงอข้อศอกเล็กน้อย และก้าวเท้าให้เหมาะสม ไม่ยาว ไม่สั้นจนเกินไป จะลดอาการปวดเกร็งของเข่า และกล้ามเนื้อต้นขาได้ ● ขณะที่เดินให้ลงน้ำหนักที่ส้นเท้าก่อน ตามมาด้วยเหยียบเท้าให้เต็มฝ่าเท้า ส่วนเท้าอีกข้างให้ยกส้นเท้าขึ้นก่อนเช่นกัน จะเป็นการช่วยบริหารกล้ามเนื้อหน้าแข้ง (two)เลือกรองเท้าให้เหมาะสม ▪︎โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้องเดินไกลๆ ควรเลือกรองเท้าหุ้มส้นที่สวมสบาย โดยควรลองสวมรองเท้าเดินก่อนที่จะเดินทางไกล (three)หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสวมรองเท้าที่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่งเพราะเมื่อสวมส้นสูงจะทำให้หลังงอ และมีการโน้มตัวไปด้านหน้า ร่างกายจึงพยายามรักษาสมดุลด้วยการต้าน หรือเกร็งไม่ให้ลำตัวและแผ่นหลังเอนไปข้างหน้ามากเกินไป ส่งผลให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง ● หากมีพฤติกรรมนี้เป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้กระดูกเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาทได้ (four).แขม่วพุงหรือแขม่วท้องเวลาเดิน เป็นการฝึกบริหารกล้ามเนื้อหลังมัดลึก ทำได้ดังนี้คือ ● ขั้นที่ 1 หายใจเข้าและออกให้สุด จำความรู้สึกไว้ว่าการหายใจเข้าและออกแบบลึกสุดๆ คิดเป็นการหายใจแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ● ขั้นที่ 2 หายใจเข้าประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ แขม่วท้องค้างไว้ นับ 1-10 แล้วหายใจออก คลายหน้าท้อง โดยขณะเกร็งหรือแขม่ว ให้ผ่อนคลายในระดับที่สามารถพูดคุยโต้ตอบกับผู้อื่นได้ ●การแขม่วพุงยังมีประโยชน์อีกมากมาย เช่น เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ลดแรงกระทำ และช่วยกระจายแรงกระทำต่อกระดูกสันหลัง เพิ่มความมั่นคงให้กระดูกสันหลัง ป้องกันการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุบริเวณหลังส่วนล่าง ทำให้ประสิทธิภาพการหายใจดีขึ้น กระชับหน้าท้อง ทำให้หน้าท้องแบนราบ บุคลิกภาพดี (five)ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ● คนที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัม จะมีแรงกดต่อข้อเข่าเพิ่มขึ้น 40 กิโลกรัม หรือ 4 เท่าของน้ำหนักตัวทุกๆ ย่างก้าวที่เดิน ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงการเกิดอาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อม ●โดยน้ำหนักตัวที่เหมาะสมสำหรับชาวไทย คือ ค่าดัชนีมวลกาย ระหว่าง 19-25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (six)ไม่ควรหิ้วหรือถือของหนัก โดยเฉพาะของที่มีน้ำหนักมากกว่า 20 กิโลกรัม เพราะถึงแม้ว่าน้ำหนักตัวจะไม่มาก แต่ดันหิ้วของหนักมาก โดยเฉพาะกระเป๋าถือของผู้หญิง ก็จะเพิ่มแรงกดต่อกระดูกเช่นกัน (seven)หมั่นบริหารกล้ามเนื้อต้นขา ด้วยการเหยียดเข่าให้ตรงและเกร็งค้างไว้ครั้งละ 5 วินาที ประมาณวันละ 10-20 ครั้ง หรืออาจเข้ายิมเล่นเวต เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า และด้านหลัง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีสะโพกกว้าง ซึ่งมีแนวโน้มเกิดปัญหาปวดเข่าได้ง่าย การออกกำลังกายด้วยวิธีดังกล่าว จะสร้างกล้ามเนื้อให้ช่วยรั้งกระดูกสะบ้าเข้าด้านใน เพื่อลดปัญหาปวดเข่าในระยะยาว (eight)หลีกเลี่ยงการขึ้น-ลงบันไดบ่อยเกินไป เช่น เดินขึ้น-ลง บ้าน 3 ชั้น มากกว่าวันละ 5 ครั้ง ควรวางแผนการหยิบของใช้ให้ดีเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินขึ้น-ลง (nine)หลีกเลี่ยงการยืนพักขาลงน้ำหนักไปที่ขาข้างเดียว ●การยืนที่ถูกต้อง ควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน โดยยืนแยกขาให้กว้างเท่าช่วงสะโพก จึงจะเกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย (one)(zero)เป็นคนช่างสังเกต ▪︎โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการเจ็บปวดหลังการเดิน ▪︎ ควรสังเกตว่าเรามีอาการเจ็บตรงไหน เพื่อตรวจสอบว่า ตรงไหนที่เราอาจจะมีปัญหา จะได้รีบแก้ไข ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามจนแก้ไขไม่ได้ 🔺️การเดินเป็นการออกกำลังกายที่ง่าย ทำได้ทุกเวลา โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ●แนะนำให้เดินอย่างน้อยวันละ 10,000 ก้าว หรือเดินอย่างน้อยวันละ 30 นาที สะสมให้ได้สัปดาห์ละ 150 นาที ⭐ขอให้คุณผู้อ่านเดินอย่างมีความสุข สุขภาพแข็งแรงกันทุกๆ ท่านเลยนะคะ 🔺️พันเอกหญิง รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงสุมาภา ชัยอำนวย (คุณหมอยุ้ย)
    ไม่ระบุชื่อ
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ผลิตภัณฑ์ Flexadel ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับกระดูก และข้อ จริงหรือ
    Flexadel สามารถใช้รักษาโรคเกี่ยวกับกระดูก และข้อได้ เช่น ข้อเสื่อม, ข้อเข่าเสื่อม, ออสตีโอคอนโดรสิส, กระดูกพรุน และหมอนรองกระดูกอักเสบ ได้
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false