1 คนสงสัย
กินหมูดิบทำให้หูดับจริงหรือไม่?
ข่าวนี้เป็นจริง แต่ ไม่ได้เกิดขึ้นในทันที
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส โดยเชื้อนี้จะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในเลือดของหมูที่กำลังป่วย สามารถติดต่อได้ 2 ทาง คือ 1. เกิดจากการบริโภคเนื้อและเลือดหมูที่ปรุงแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ 2. การสัมผัสกับหมูที่ติดเชื้อทั้งเนื้อหมู เครื่องใน และเลือดหมูที่เป็นโรค จากทางบาดแผล รอยขีดข่วนตามร่างกายหรือทางเยื่อบุตา หรือสัมผัสเลือดของหมูที่กำลังป่วย
Est NA
 •  2 ปีที่แล้ว
meter: mostly-true--middle
2 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)
Thanathun. เลือกให้ข้อความนี้◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน

เหตุผล

กินหมู…ไม่ได้ทำให้หูดับ แต่หากกินหมูดิบ หรือ กึ่งสุกกึ่งดิบ คุณเสี่ยงกับ โรคไข้หูดับ อันตรายถึงชีวิตได้ โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเ

ที่มา

https://www.praram9.com/streptococcussuis/
  • มี 1 ความเห็น เจ้าของลบไปแล้ว.
  • เพิ่มความเห็นใหม่

    กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

    คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือไม่ กินหมูกระทะเสี่ยงเป็นมะเร็ง
    เตือนประชาชนกินอาหารปิ้ง ย่าง หรืออาหารประเภท รมควันไหม้เกรียม รวมทั้ง “หมูกระทะ”เป็นประจำ หากสะสมนาน เสี่ยงได้รับสารอันตราย ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ได้แก่ มะเร็งตับ และท่อน้ำดี (ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/181163/ ) โดยพบสารก่อมะเร็งในหมูกระทะ ที่ปนเปื้อนมากถึง 3 ชนิด ได้แก่ สารไนโตรซามีน (Nitrosamines) สารกลุ่มพัยโรลัยเซต (Pyrolysates) และสารในกลุ่มของพีเอเอช (PAHs) โดยการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็งจะพบได้ในส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหาร พบในควันที่เกิดจากการปิ้งย่างของอาหารและควันที่เกิดจากการเผาไหม้ของเตาถ่าน (ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ ) จากการสัมภาษณ์ อ.ดร.นิจฉรา ทูลธรรม อาจารย์ประจำคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลว่า “การกินหมูกระทะ” บ่อยครั้ง ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับสารอันตรายจากการรับประทานหมูกระทะมากถึง 3 ชนิด ได้แก่ สารไนโตรซามีน (nitrosamines) ที่พบใน ปลาทะเลย่าง ทำให้เสี่ยงสารก่อมะเร็ง ทั้งมะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร สารพัยโรลัยเซต (Pyrolysates) พบมากใน ส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้งย่าง สารกลุ่มนี้บางชนิดมีฤทธิ์ร้ายแรงทางพันธุกรรม สารพีเอเอช(PAHs) สารนี้จะพบในบริเวณที่ไหม้เกรียมของอาหารที่ปรุงด้วยการปิ้ง ย่าง หรือรมควันของเนื้อสัตว์ที่มีไขมัน หากกินเข้าไปเป็นประจำจะมีโอกาสเสี่ยงต่อ การเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับและท่อน้ำดี อ.ดร.นิจฉรา ทูลธรรม ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “ข้อปฏิบัติในการเลือกกินหมูกระทะให้ปลอดภัย” หากกินหมูกระทะตามร้านอาหาร เช่น ร้านหมูกระทะบุฟเฟต์ ควรเลือกร้านที่ใช้ภาชนะการปิ้ง ย่าง เช่น เตาไฟฟ้า หรือเตาไร้ควัน ซึ่งสามารถควบคุมระดับความร้อนได้มากกว่าการใช้เตาถ่าน หรือ เลือกร้านที่ได้รับป้ายอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ดังนั้น การรับประทานหมูกระทะ ควรรับประทานไม่เกิน 1-2 ครั้งต่อเดือน และควรออกกำลังกายอย่าง สม่ำเสมอเพื่อสุขภาพที่ดี (ข้อมูลเมื่อ 16 กรกฎาคม 2567)
    ญาณาธิป ชะศรี
     •  4 เดือนที่แล้ว
    meter: false