สติในการรับและส่งข่าวสารก่อนการเลือกตั้ง
นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์
ผมได้ไปร่วมเสวนา รู้ทันสื่อการเมือง " นโยบายขอเสียงผู้สูงอายุ" ก่อนเลือกตั้งปี ๒๕๖๖ เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเลือกตั้งสำคัญ ถึงหนึ่งในสี่ของเสียงทั้งหมด แทบทุกพรรคการเมืองจึงทุ่มเทให้กับนโยบายผู้สูงอายุ ด้วยคำมั่นสัญญาต่างๆมากมาย ขณะเดียวกัน ก็พยายามลดความสำคัญของคู่แข่ง ไปถึงการใส่ร้ายด้วยวิธีการต่างๆ การรับและการส่งข่าวสารซึ่งมีส่วนในการตัดสินใจในช่วงนี้ จึงต้องใช้ "สติ"เหนืออารมณ์รักชอบเกลียดชัง
สติ มักจะถูกมองเป็นเพียงเรื่องของความตั้งใจ แต่ในจิตวิทยาสติ สติเป็นจิตที่มีคุณภาพในการทำงานให้อยู่กับปัจจุบันและเป็นทักษะที่ฝึกได้ ช่วยทำให้ไม่ถูกครอบงำด้วยอารมณ์ มีวิจารณญาณและการตัดสินใจที่ดีขึ้น
ในการเสวนาได้ลองฝึกง่ายๆ ด้วยการทำสมาธิ ๓ นาที (หายใจเข้าออกยาว ๕ ลมหายใจ แล้วรับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูกข้างที่ชัดกว่า ช่วยให้หยุดความคิดและจัดการกับความคิดใต้จิตสำนึก ด้วยการรู้ตัวไม่คิดตาม กลับมารู้ลมหายใจใหม่ทุกครั้ง) ช่วยทำให้หยุดความคิดได้ต่อเนื่อง จนจิตสงบ จากนั้นก็ทำสมาธิลืมตา ๑ นาที เพื่อช่วยให้มีสติได้ง่าย ด้วยการรู้ลมหายใจบางส่วนไปพร้อมกับรู้ในกิจที่ทำ เช่น การหยิบจับ ยืน เดิน สุดท้ายก็ฝึกการมีสติในการรับข่าวสาร โดยรู้ลมหายใจบางส่วนในขณะที่เราฟังและอ่านข่าวสาร ช่วยให้เรารับข้อมูลอย่างมีสติใคร่ครวญ
เสวนาสมาชิกได้ลองรู้ลมหายใจ ใคร่ครวญข้อความหาเสียงต่างๆ ก็พบว่า เราจะไม่หลงไปกับคำสัญญา แต่จะตั้งคำถามมากขึ้น เช่น เงินนั้นจะมาจากไหน มีวิธีการอื่นใดไหมในการเพิ่มรายได้ผู้สูงอายุ เช่น กฎหมายจ้างงานผู้สูงอายุอย่างยืดหยุ่น การจ่ายค่าตอบแทนให้สมาชิกครอบครัว ที่สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโดยไม่เป็นภาระกับระบบการบริการ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังทำให้มองนโยบายในการแก้ปัญหาได้กว้างขึ้น เช่น การสร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ ให้สวัสดิการสำคัญอื่นๆ พัฒนาการศึกษาและสาธารณสุข เพื่อคุณภาพประชากร
ที่สำคัญคือ สติในการฟังและอ่านข่าวสารที่กล่าวหาฝ่ายอื่น ซึ่งจะสร้างความเกลียดชังและอาจนำไปสู่ความรุนแรงได้ โดยเฉพาะหลังการเลือกตั้ง อันจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง จนเป็นสังคมที่มีวุฒิภาวะในการยอมรับความแตกต่างว่าป็นต้นทุนมากกว่าเป็นอุปสรรค
สำหรับสติในการส่งข่าวสาร ใช้หลัก ๒ ไม่ ๑ เตือน คือ นอกจากจะไม่ผลิตข่าวสารขาดสติแล้ว ยังต้องไม่ส่งข่าวสารขาดสติที่ได้รับมาด้วย โดยเฉพาะในวงสื่อสังคมต่างๆ เพราะจะทำให้เกิดการแพร่กระจายข่าวสารที่ขาดสติไปเรื่อยๆ จนส่งผลกระทบในวงกว้าง ควบคู่ไปกับสติในการเตือนด้วยเหตุผลกับข้อความขาดสติที่เราได้รับ ก็จะช่วยให้ชาวสื่อสังคมมีความเข้าใจและมีความยับยั้งชั่งใจมากขึ้น
นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์
ผมได้ไปร่วมเสวนา รู้ทันสื่อการเมือง " นโยบายขอเสียงผู้สูงอายุ" ก่อนเลือกตั้งปี ๒๕๖๖ เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเลือกตั้งสำคัญ ถึงหนึ่งในสี่ของเสียงทั้งหมด แทบทุกพรรคการเมืองจึงทุ่มเทให้กับนโยบายผู้สูงอายุ ด้วยคำมั่นสัญญาต่างๆมากมาย ขณะเดียวกัน ก็พยายามลดความสำคัญของคู่แข่ง ไปถึงการใส่ร้ายด้วยวิธีการต่างๆ การรับและการส่งข่าวสารซึ่งมีส่วนในการตัดสินใจในช่วงนี้ จึงต้องใช้ "สติ"เหนืออารมณ์รักชอบเกลียดชัง
สติ มักจะถูกมองเป็นเพียงเรื่องของความตั้งใจ แต่ในจิตวิทยาสติ สติเป็นจิตที่มีคุณภาพในการทำงานให้อยู่กับปัจจุบันและเป็นทักษะที่ฝึกได้ ช่วยทำให้ไม่ถูกครอบงำด้วยอารมณ์ มีวิจารณญาณและการตัดสินใจที่ดีขึ้น
ในการเสวนาได้ลองฝึกง่ายๆ ด้วยการทำสมาธิ ๓ นาที (หายใจเข้าออกยาว ๕ ลมหายใจ แล้วรับรู้ลมหายใจที่ปลายจมูกข้างที่ชัดกว่า ช่วยให้หยุดความคิดและจัดการกับความคิดใต้จิตสำนึก ด้วยการรู้ตัวไม่คิดตาม กลับมารู้ลมหายใจใหม่ทุกครั้ง) ช่วยทำให้หยุดความคิดได้ต่อเนื่อง จนจิตสงบ จากนั้นก็ทำสมาธิลืมตา ๑ นาที เพื่อช่วยให้มีสติได้ง่าย ด้วยการรู้ลมหายใจบางส่วนไปพร้อมกับรู้ในกิจที่ทำ เช่น การหยิบจับ ยืน เดิน สุดท้ายก็ฝึกการมีสติในการรับข่าวสาร โดยรู้ลมหายใจบางส่วนในขณะที่เราฟังและอ่านข่าวสาร ช่วยให้เรารับข้อมูลอย่างมีสติใคร่ครวญ
เสวนาสมาชิกได้ลองรู้ลมหายใจ ใคร่ครวญข้อความหาเสียงต่างๆ ก็พบว่า เราจะไม่หลงไปกับคำสัญญา แต่จะตั้งคำถามมากขึ้น เช่น เงินนั้นจะมาจากไหน มีวิธีการอื่นใดไหมในการเพิ่มรายได้ผู้สูงอายุ เช่น กฎหมายจ้างงานผู้สูงอายุอย่างยืดหยุ่น การจ่ายค่าตอบแทนให้สมาชิกครอบครัว ที่สามารถฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโดยไม่เป็นภาระกับระบบการบริการ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังทำให้มองนโยบายในการแก้ปัญหาได้กว้างขึ้น เช่น การสร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ ให้สวัสดิการสำคัญอื่นๆ พัฒนาการศึกษาและสาธารณสุข เพื่อคุณภาพประชากร
ที่สำคัญคือ สติในการฟังและอ่านข่าวสารที่กล่าวหาฝ่ายอื่น ซึ่งจะสร้างความเกลียดชังและอาจนำไปสู่ความรุนแรงได้ โดยเฉพาะหลังการเลือกตั้ง อันจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง จนเป็นสังคมที่มีวุฒิภาวะในการยอมรับความแตกต่างว่าป็นต้นทุนมากกว่าเป็นอุปสรรค
สำหรับสติในการส่งข่าวสาร ใช้หลัก ๒ ไม่ ๑ เตือน คือ นอกจากจะไม่ผลิตข่าวสารขาดสติแล้ว ยังต้องไม่ส่งข่าวสารขาดสติที่ได้รับมาด้วย โดยเฉพาะในวงสื่อสังคมต่างๆ เพราะจะทำให้เกิดการแพร่กระจายข่าวสารที่ขาดสติไปเรื่อยๆ จนส่งผลกระทบในวงกว้าง ควบคู่ไปกับสติในการเตือนด้วยเหตุผลกับข้อความขาดสติที่เราได้รับ ก็จะช่วยให้ชาวสื่อสังคมมีความเข้าใจและมีความยับยั้งชั่งใจมากขึ้น