1 คนสงสัย
เว็บไซต์ใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
เว็บไซต์ใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
std47640
 •  2 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น
ช่วยระบุหมวดหมู่ของข้อความนี้ให้หน่อย
เลือกให้น้อยที่สุด (ถ้าเป็นไปได้)

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    พบสาวถูกพักงานหลังกินยาลดน้ำหนักจนป่วยจิตเวช
    กรณีหญิงสาวชาวจังหวัดแพร่ เสียชีวิตจากอาการไตวาย หลังกินยาลดความอ้วนยี่ห้อหนึ่งซึ่งสั่งซื้อมาจากเพจเฟซบุ๊ก นี่เป็นผลข้างเคียงจากยาลดความอ้วนที่เกิดกับอวัยวะภายในร่างกาย แต่จากการตรวจสอบของแพทย์ยังพบว่า ยาลดความอ้วนมีส่วนผสมของสารกดประสาทที่เป็นอันตรายด้วย ซึ่งกรณีนี้ได้เกิดขึ้นกับหญิงสาววัยทำงานคนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการกินยาลดความอ้วนจนมีอาการทางจิตเวชจนถูกบริษัทสั่งพักงาน พี่สาวของพนักงานออฟฟิศหญิง วัย 24 ปี คนหนึ่ง เปิดเผยกับทีมข่าวพีพีทีวีว่า เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา น้องสาวของเธอซึ่งเป็นกังวลเรื่องน้ำหนัก 68 กิโลกรัมของตัวเธอเอง จึงตัดสินใจสั่งซื้อยาลดน้ำหนักสูตร 1 จากเพจเฟซบุ๊กบริษัทยาลดน้ำหนักแห่งหนึ่ง มาทดลองกิน จำนวน 4 แผง ราคา 1,400 บาท ตอนนั้นยังไม่มีอาการข้างเคียง น้ำหนักลงช้า 2 เดือนน้ำหนักลดไปเพียง 1 กิโลกรัม จึงสั่งยามากินอีกชุดเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่เปลี่ยนสูตรเป็นสูตรที่ 2 โดยตัวแทนจำหน่ายอ้างว่า จะทำให้น้ำหนักลดเร็วกว่ายาชุดแรกที่กินไป พี่สาวของหญิงสาวที่กินยาลดน้ำหนักคนนี้ เล่าต่อว่า หลังเริ่มกินยาชุดที่สองไปได้ไม่นาน น้องสาวก็เริ่มมีอาการหวาดระแวงผู้คน กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ไม่อยากอาหาร ส่งผลถึงภาวะทางอารมณ์ไม่คงที่จนบริษัทต้องสั่งพักงาน เมื่อรู้ว่าน้องสาวเป็นอย่างนี้จึงรีบพาพบแพทย์เพื่อรักษา ซึ่งแพทย์วินิจฉัยในเบื้องต้นว่า สาเหตุที่น้องสาวของเธอมีอาการทางจิตเวชน่าจะมาจากการกินยาลดน้ำหนัก ส่วนชนิดของยาพี่สาวของผู้เสียหาย เปิดเผยว่า ยามีทั้งหมด 4 ชนิด รับประทาน 2 ครั้งต่อวัน จากการสอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกร พบว่า มียา 2 ชนิดที่กินก่อนอาหารเช้า เป็น ยากดประสาท (แคปซูนสีน้ำเงินขาว) และยาระบาย (เม็ดเล็กสีเหลือง) ส่วนยาที่กินก่อนนอนเป็นยานอนหลับ (เม็ดสีเหลือง) และวิตามิน (เม็ดสีแดง) ขณะที่ นพ.สุขุม กาญจพิมาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ยาลดน้ำหนักส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์กดประสาท ซึ่งเป็นฤทธิ์จากสารประเภทไซบูทรามีนหรือเฟตามีน ทำให้รู้สึกไม่อยากอาหาร ซึ่งจุดนี้อาจส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการทางจิตได้ที่ผ่านมา ครอบครัวของหญิงสาวผู้เสียหายคนนี้ได้ทวงถามความรับผิดชอบจากตัวแทนจำหน่ายยา แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ขณะที่เพจเฟซบุ๊กที่จำหน่ายยาลดน้ำหนักแห่งนี้ก็ยังอัปเดตเนื้อหาในเพจเพื่อขายสินค้าตลอดเวลาจึงปรึกษากับทนายความและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. เพื่อเตรียมดำเนินการฟ้องร้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
    std47882
     •  2 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    จริงหรือไม่กินเม็ดชาไข่มุกทําให้เป็นมะเร็ง...!!
    จากกระแสบนโลกออนไลน์ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการกินเม็ด ชานมไข่มุกที่ส่งมาจากประเทศไต้หวัน จะทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งเพราะ มีสาร ที่เป็นอันตรายต่อตับ ไต ระบบเลือด และระบบประสาท ซึ่งเป็น สาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งต่างๆ จากข้อความดังกล่าวที่มีการแชร์บน โลกออนไลน์นั้น ได้มีการตรวจสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา (อย.) และได้ชี้แจงข้อสรุปว่าข้อมูลดังกล่าวไม่เป็นความจริง จากการที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประเทศไต้หวัน ได้มีการตรวจ สอบสิ่งที่พบจริงในเม็ดไข่มุกคือสารอะซิโตฟีโนน ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ ชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอมอ่อนๆ คล้ายอัลมอนด์ มักถูกใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมน้ำหอมและอุตสาหกรรมยา ในเม็ดไข่มุกบางยี่ห้ออาจพบ สารเหล่านี้ในปริมาณน้อยมากแต่ไม่ใช่สารก่อมะเร็งดังที่ข่าวลือกล่าวอ้าง (อ้างอิงข้อมูลจากเว็ปไซต์ https://shorturl.asia/i74FQ ) และข้อมูลจากงานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดไข่มุกเสริมใยอาหารพร้อมบริโภค ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่าในเม็ดไข่มุก หลายยี่ห้อมีส่วนผสมของแป้งมันสำปะหลังเป็นหลัก ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเป็นสาร อาหารหลักชนิดหนึ่งที่ร่างกายเราต้องการและสวนผสมอื่นประกอบด้วย ผงเห็ดนางฟ้า เมือกกระเจี๊ยบเขียว อินูลิน แป้งดัดแปร คอนยัค คาราจีแนน น้ำตาล น้ำ เพียงเท่านั้น เป็นส่วนประกอบที่สามารถบริโภคได้ปกติทั่วไป (อ้างอิงข้อมูลโดยเว็บไซต์ https://shorturl.asia/mR2zQ ) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการกินเม็ดชาไข่มุกนั้นไม่สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ดังที่แชร์ กันเพราะไม่มีสารประกอบใดๆที่เป็นอัตรายหรือก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้ แต่ถึงแม้ว่า การกินเม็ดไข่มุกไม่ได้ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็ง แต่ถ้าหากเราบริโภคไข่มุกในปริมาณที่ มากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ แทนได้เช่นกัน
    ประมุขตรัย ผิงอัน
     •  10 เดือนที่แล้ว
    meter: false