1 คนสงสัย
อวัยวะเพศชายสั้นลงหลังหายจากการติดเชื้อโควิด 19
ไม่ระบุชื่อ
 •  2 ปีที่แล้ว
meter: middle
4 ความเห็น

โควิด 2019

Joke Air เลือกให้ข้อความนี้◑ มีเนื้อหาที่เป็นจริงบางส่วน

เหตุผล

ปัจจุบันหลักฐานอาจยังไม่ชัดว่าเป็นเพราะโควิดหรือไม่ หลังมีบางรายอ้างว่าสั้นลง หรือแข็งน้อยลง หรือเซ็กส์เสื่อม หลังหายจากโควิด

ที่มา

https://siamrath.co.th/n/368217
https://www.komchadluek.net/covid-19/523263
https://www.bangkokbiznews.com/news/1016340
Thanathun. เลือกให้ข้อความนี้❌ มีเนื้อหาที่หลอกลวง

เหตุผล

ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่าจากการศึกษาในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของการติดเชื้

ที่มา

https://www.antifakenewscenter.com/activ⋯วข้อ-คนรุ่นใหม่-กับการต่อต้าน-fake-news/
  • มี 2 ความเห็น เจ้าของลบไปแล้ว.
  • เพิ่มความเห็นใหม่

    กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

    คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    รร.วิสุทธิกษัตรี สมุทรปราการ แจ้งปิดเรียน หลังพบ นร.ไปพื้นที่เสี่ยง จริงหรือ
    ผู้อำนวยการโรงเรียนวิสุทธิกษัตรีสมุทรปราการ ออกประกาศด่วน ปิดสถานศึกษาชั่วคราวระหว่างวันที่ 15-16 กรกฎาคม 2563 เหตุจากมีนักเรียนไปสถานที่สุ่มเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 13 ก.ค.2563 ที่ผ่านมา และได้มาโรงเรียนตามปกติเมื่อวานนี้ (14 ก.ค.2563) ซึ่งก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    สธ.ชวนผู้หายป่วยและผู้ใกล้ชิดร่วมเป็นอาสาสมัคร "ฮีโร่โควิด 19" ในการศึกษาวิจัยภูมิคุ้มกัน จริงหรือคะ
    นายแพทย์คณวัฒน์ จันทรลาวัณย์ คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวโครงการ “ฮีโร่โควิด 19” โดยหน่วยไวรัสวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาวิจัยภูมิคุ้มกันในผู้ที่หายจากโรคโควิด 19 โดยได้รับการสนับสนุนด้านข้อมูลจาก กรมควบคุมโรคและกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ (สวรส.) จำนวน 3 ล้านบาท เพื่อศึกษาการสร้างภูมิคุ้มกัน, ป้องกันการติดเชื้อได้หรือไม่ ระยะเวลาที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อหายป่วย และภูมิคุ้มกันสามารถอยู่ในร่างกายได้นานเพียงใด โดยคุณสมบัติอาสาสมัครจะต้องเป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี เป็นผู้ติดเชื้อโควิด 19 และหายดีแล้ว และกลุ่มผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เคยติดเชื้อมาแล้ว จะมีการเจาะเลือดเพื่อนำไปศึกษา 3 ครั้ง คือระยะ 3 เดือน ,6 เดือนและ 9 เดือน ซึ่งจะไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดของผู้ที่เข้าร่วมวิจัย จริงหรือคะ
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    โควิด-19 ภูมิต้านทานหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca 1 เข็ม ยง ภู่วรวรรณ ทางศูนย์ได้ศึกษาภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีน AstraZeneca ในคนไทย หลังเข็มแรกเป็นระยะเวลา 1 เดือน จำนวน 61 คน เป็นการรายงานเบื้องต้น ภูมิต้านทานที่ตรวจพบ มีการตอบสนอง ตรวจวัดภูมิต้านทานได้ถึงร้อยละ 96.7 เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจวัดภูมิต้านทานในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ เป็นระยะเวลา 4- 8 สัปดาห์ตรวจพบได้ร้อยละ 92.4 ดังแสดงในรูป ระดับภูมิต้านทานที่ตรวจวัดได้ มีค่าตัวกลางเรขาคณิตเท่ากับ 40.61 u/ml เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ มีค่าเท่ากับ 60.86 u/ml ดังแสดงในรูป พบว่าระดับภูมิต้านทานที่พบเพศหญิงจะให้ระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่าเพศชาย อายุที่น้อยกว่า 60 ปีจะมีระดับภูมิต้านทานที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขณะนี้กำลังรอวิเคราะห์ข้อมูลที่มีจำนวนมากขึ้นกว่านี้ และจะมีการตรวจเลือดหาภูมิต้านทานก่อนฉีดเข็มที่ 2 อีก 1 ครั้ง และหลังเข็ม 2 แล้ว 1 เดือนภูมิต้านทานน่าจะมีระดับสูงมาก และอยู่นาน จากข้อมูลดังกล่าวพอสรุปได้ว่าแม้จะฉีดวัคซีน AstraZeneca เพียงเข็มเดียว ระดับภูมิต้านทานที่ตรวจวัดได้ก็เป็นที่น่าพอใจ มีอยู่ 1 ราย ที่ฉีดวัคซีน Sinovac เข็มแรกแล้วเกิดอาการแพ้ เลยฉีดเข็มที่ 2 ใน 3 อาทิตย์ต่อมา ด้วยวัคซีน AstraZeneca และตรวจเลือดเมื่อ 1 เดือนหลังฉีดวัคซีน AZ พบระดับภูมิต้านทานสูงมากสูงถึง 241 u/ml อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาการฉีดวัคซีนเปลี่ยนชนิดกัน ในกรณี ที่เกิดเหตุการฉีดวัคซีนต่างชนิดกัน ขอความกรุณาติดต่อผมขอตรวจภูมิต้านทานด้วย เพื่อเก็บเป็นข้อมูลและรวมถึงอาการข้างเคียงที่อยากทราบมาก และการเปลี่ยนชนิดของวัคซีนเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง การปูพรมฉีดเข็มเดียวไปก่อนให้ได้ประชากรมากที่สุด ด้วยวัคซีน AstraZeneca จะได้ประโยชน์สูงสุดแล้วตามด้วยกระตุ้นอีก 10 ถึง 12 สัปดาห์ต่อมา หรือนานกว่านั้น หมายความว่าในช่วง 3 เดือนแรก น่าจะปูพรมการฉีดวัคซีนไปเลย ถ้าฉีดได้เดือนละ 10 ล้านคน ก็สามารถปูพรมไปได้ถึง 30 ล้านคนทีเดียว แล้วหลังจากนั้นก็ตามกระตุ้นรวมทั้งฉีดรายใหม่เพิ่มขึ้นด้วย ก็จะได้เป้าหมายอย่างรวดเร็ว และถ้ามีวัคซีนชนิดอื่นมาเสริมด้วยแล้ว จะทำให้การให้วัคซีนกับประชาชนหมู่มากประสบผลสำเร็จเร็วยิ่งขึ้น #หมอยง
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    เริ่มมีคุณหมอหลายท่านแสดงความเห็นว่า วัคซีนหลักปัจจุบันที่รัฐบาลจัดให้ประชาชนจะมีความปลอดภัยมากกว่าวัคซีนไฟเซอร์ และ โมเดอนน่า ในระยะยาว ลองอ่านบทความของคุณหมอท่านหนึ่งครับ พวกบินไปฉีด Pfizer หรือ Moderna หรือกำลังจะไป ต้องอ่าน mRNA สามารถสร้าง PROTEIN เพี้ยนที่คุมไม่ได้นะครับ คนไทยโชคดีได้ SINOVAC ปลอดภัย และ ASTRAZENECA ปลอดภัยมาก สำหรับคนมีอายุและโรคประจำตัว ********** ...ความน่ากลัวของวัคซีนที่ใช้ mRNA - Pfizer & Moderna...ตั้งใจอ่านนิดหนึ่งจะเข้าใจครับ... mRNA vaccine ฉบับอ่านง่าย (for dummies) ที่มาของบทความนี้ก็คือ พอเขียนเรื่องประวัติศาสตร์ได้แล้ว ก็เลยอยากรู้ว่าจะเขียนแนวอื่นได้ไหม เผอิญท่านรองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ Phichet Banyati เคยชวนว่าให้เขียนเรื่อง mRNA vaccine สิ เลยน่าจะลองดู จะเห็นว่าปัจจุบันวัคซีนโควิดมีการผลิตหลายรูปแบบมาก ไม่ว่าจะใช้เชื้อตาย (Sinovac), ชิ้นส่วนของไวรัส (Aztra) แต่อันที่เป็นที่ฮือฮามากที่สุดก็น่าจะเป็น mRNA เทคนิค แล้วจริงๆ มันคืออะไรเหรอ ?!?! นักเรียนสายวิทย์คงทราบมาตั้งแต่สมัยเรียนชีววิทยา ม.ปลายแล้ว (ถ้าจำได้) ว่าส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของร่างกายก็คือโปรตีน ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหนทางกายวิภาคหรือสรีรวิทยาของร่างกายก็ต้องมีโปรตีนเกี่ยวข้องด้วยทั้งสิ้น คราวนี้โปรตีนสร้างจากอะไร มันก็มีสูตรของมัน คือ "DNA สร้าง RNA สร้าง โปรตีน" (ดูภาพด้านล่าง ) อันนี้คือแบบแผนที่แน่นอน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงชั่วนิรันดร์ สำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนะครับ สรุปก็คือโปรตีนที่เราต้องการจะถูกสร้างมาจาก RNA ต้นแบบ ซึ่งมี 3 ชนิด แต่ที่สำคัญมากก็คือ mRNA หลักการของ mRNA วัคซีนก็คือ ใส่ mRNA ที่สร้างโปรตีนของไวรัสโควิด (ซึ่งอันนี้เราสามารถรู้ได้อยู่แล้วจากการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัส เหมือนเราทำขนมแหละครับ mRNA คือสูตรขนม เราก็สร้างโปรตีนคือตัวขนมออกมาได้) เข้าไปในร่างกาย เมื่อเซลล์ของร่างกายรับ mRNA นี้เข้ามาก็จะสร้างโปรตีนที่รูปร่างหน้าตาเหมือนตัวไวรัสออกมา (คิดง่ายๆ mRNA คือสูตรขนม เซลล์ของร่างกายมีวัตถุดิบเช่นแป้ง น้ำตาล ฯลฯ อยู่แล้ว เมื่อเซลล์ของร่างกายมีสูตรขนมก็ใช้วัตถุดิบผลิตเป็นขนมขึ้นมา) แต่เท่านี้ยังไม่จบ เมื่อร่างกายสร้างไวรัสจำลองออกมาแล้ว ไวรัสจำลองเหล่านี้ก็จะไปกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้สร้างสารทางภูมิคุ้มกันออกมา (ซึ่งมันเป็นเรื่องปกติเพราะสิ่งเหล่านี้ไม่เคยมีอยู่ในร่างกายมาก่อน เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมพวกนี้เกิดขึ้นมาร่างกายก็ย่อมสร้างภูมิคุ้มกันมาต่อต้าน ซึ่งเป็นกลไกในการปกป้องร่างกายตามธรรมชาติ) และภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นนี้ก็จะปกป้องเราเมื่อมีการติดเชื้อโควิดไวรัสจริงเข้ามา (ก็แน่ล่ะ เพราะอาศัยสูตรขนมเดียวกัน คือลอก mRNA มานิ) ฟังดูตามหลักการแล้วก็น่าจะดีเนอะ แต่คราวนี้ปัญหามันอยู่ที่ว่า 1. ไม่เคยมีวัคซีนที่ผลิตโดยเทคนิคนี้ขึ้นมาก่อนในโลก ดังนั้นก็เหมือนขนมที่ไม่เคยมีใครผลิตมาก่อน ใช้วัตถุดิบแปลกใหม่ที่เพิ่งคิดค้นขึ้น เรากินแล้วจะมีปัญหาอะไรไหม ? 2. ปกติการสร้างโปรตีนของร่างกาย มันจะมีระบบควบคุมต่างๆเพื่อไม่ให้การสร้างโปรตีนผิดเพี้ยนไป (เหมือนคอยควบคุมไม่ให้ขนมผิดสูตร) แต่คราวนี้ mRNA ตัวนี้ไม่ใช่ของร่างกาย แต่เป็นของที่ฉีดเข้ามา (จาก Pfizer, Moderna คงคุ้นชื่อเนอะ) ระบบควบคุมคุณภาพเหล่านี้จะไปจับความผิดพลาดได้ไหม (เหมือนคุณมีโปรแกรมแอนตี้ไวรัสในคอม แต่ถ้าไวรัสแปลกๆเข้ามา มันอาจจะตามไม่ทันถ้าไม่อัพเดท หรือถ้าเปรียบเทียบกับทำขนม แทนที่จะหยิบน้ำตาลมาใส่ ดันไปหยิบเกลือโดยไม่รู้ตัวเพราะมันเป็นเกล็ดขาวๆ เหมือนกันก็จะได้ขนมรสชาติแปลกประหลาดออกมา) 3. มันมีโรคทางระบบประสาทหลายโรค ที่ปัจจุบันยอมรับแล้วว่าเกิดจากโปรตีนที่ผิดเพี้ยนในร่างกาย (เรียกว่า misfolded protein) เช่น อัลไซเมอร์, พาร์คินสัน, ALS (ใครดูหนังเรื่อง the theory of everything หรือรู้จักอัจฉริยะฟิสิกส์ Stephen Hawking ก็โรคนั้นแหละครับที่เขาเป็น) ดังนั้นถ้าจากเหตุผลในข้อ 2 แล้วมีโปรตีนผิดเพี้ยนต่างๆเกิดขึ้นมาในอนาคต เราจะเป็นโรคเหล่านี้ไหม ? ก็ไม่มีใครบอกได้ เหตุผลที่เอาเทคนิคนี้มาใช้ผลิตวัคซีนโควิดเพราะว่าวิธีนี้สามารถสร้างวัคซีนขึ้นมาในปริมาณมากโดยใช้เวลาไม่นาน เหมาะกับภาวะเร่งด่วนแบบที่เราเจอวิกฤตในปัจจุบัน แต่ด้วยเหตุผลทางด้านบนจึงมีนักวิทยาศาสตร์หลายคนตั้งข้อกังขาและไม่สบายใจเกี่ยวกับ mRNA วัคซีนที่ใช้กันเยอะในเมืองนอกตอนนี้ อย่างไรก็ตามมันเป็นแค่ทฤษฎีนะครับ คงต้องรอเก็บข้อมูลในอนาคตต่อไป เพิ่มเติม : ด้านล่างสำหรับเด็กสายวิทย์นะครับ ไม่ใช่สายวิทย์ผ่านไปได้เลย เพราะใช้ศัพท์ฟุ่มเฟือยเยอะ ประเด็นที่น่ากังวลของ mRNA vaccine คือ 1. ไม่เคยมี mRNA vaccine ใช้มาก่อนเลยในโลกนี้ 2. จะเอาวัคซีนเข้าร่างกาย RNA ต้อง stable มาก และต้องให้เซลล์มัน uptake เข้าไป และสร้างไวรัสจำลองขึ้นมา ร่างกายถึงสร้าง immunity จะคุม stability ยังไงให้มั่นใจ 3. วิธีการใส่ mRNA เข้าไปในร่างกาย ถ้าจะให้เข้าเซลล์ได้มีประสิทธิภาพจริงก็ไม่สามารถฉีดไปแบบฉีดยาธรรมดา มันต้องใช้ Gene gun หรือ electroporation ซึ่งเขาก็ปรับปรุงโดยใช้ nanoparticle มาหุ้ม แล้วทำให้เข้าเซลล์ง่ายขึ้นโดยใช้การฉีดแบบวัคซีนธรรมดาได้ แต่ยังไม่รู้ว่า nanoparticle เหล่านี้จะมีผลข้างเคียงใดๆในระยะสั้นหรือระยะยาว ไหม {ตอนนี้ Moderna vaccine เจอบวมแดงที่แขนมากหลังฉีดหลายราย เป็นพวก hypersensitivity type 4 (หรืออาจจะ type 3 ในบางคนแบบ Arthus reaction) อาจถึงขนาดเป็นตุ่มน้ำพอง ไม่ทราบว่าจะจาก nanoparticle พวกนี้ไหม } 4. มีโอกาสที่ mRNA มันจะสร้างโปรตีนอื่นที่ผิดเพี้ยนขึ้นมา ถ้าดันเป็น misfolded protein คนไข้มีสิทธิ์เป็น Alzheimer's หรือโรค neurodegenerative disease อื่นๆได้ แค่ฉีดให้มันเข้าไปในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วเซลล์รับมันเข้าไปข้างใน และสร้างโปรตีนไวรัสจำลองออกมานี้ก็ยากแล้ว และยังไม่รู้เลยว่าพอมันอยู่ในเซลล์แล้วจะพลาดไปสร้างโปรตีนอะไรประหลาดๆออกมาไหม มันเหมือนเรารับ foreign genetic material อันนึงเข้าไปในร่างกายและไม่รู้จะควบคุมได้แค่ไหน... Pfizer ดันไปทะลึ่งยุ่งกับตัดเปลี่ยน DNA จะเป็นซอมบี้เต็มไปหมด Cr: นพ.พิเชษฐ์ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    โควิดเป็นแล้วกลับมาเป็นอีกได้หรือไม่
    จากกรณีข่าวของวันที่ 9เมย ที่แพทย์ตรวจพบหญิงสาวจากจังหวัดชัยภูมิ ติดเชื้อโควิดรักษาตัวหายแล้วครบ 14 วัน เมื่อเดินทางกลับภูมิลำเนา มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว แพทย์ตรวจซ้ำพบเจอเชื้อโควิด 19 แต่ไม่มีไข้ และกรณีของคนเกาหลี เจ้าหน้าที่เกาหลีใต้ในวันศุกร์ (10 เม.ย.) รายงานว่า มีคนไข้ที่คิดว่าหายดีจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) กลับมีผลตรวจออกมาเป็นบวกอีกรอบ 91 คน
    naydoitall
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว อยู่อย่างไรท่ามกลางโควิด
    นอกจากผู้สูงอายุแล้ว ผู้ที่ป่วยมีโรคประจำตัวเหล่านี้ ก็สามารถเสี่ยงติดโควิดและได้รับอันตรายจากเชื้อได้เหมือนกัน รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระบุว่า สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวดังต่อไปนี้ อาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 โรคปอด โรคหัวใจ โรคตับ โรคไต อาจจะรวมถึง เบาหวาน และโรคอันตรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย (โรค SLE) วิธีลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 สำหรับผู้มีโรคประจำตัว ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ แม้ว่าจะไม่สามารถลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโควิด-19 ได้ 100% แต่ก็สามารถลดความเสี่ยง และลดอันตราย รวมถึงความรุนแรงหากติดเชื้อได้ (ดีกว่าไม่ฉีดเลย) ลดการพบปะผู้คนในสถานที่ที่มีคนรวมกันอย่างหนาแน่น ล้างมือบ่อยๆ ใช้เจลล้างมือ หรือแอลกอฮอล์ กินร้อน ช้อนตัวเอง ใช้อุปกรณ์กินอาหารแบบแยกกินคนเดียว สอบถามแพทย์ประจำตัวถึงการลดระยะเวลาในการนัดพบติดตามอาการให้น้อยลง หรือเปลี่ยนวิธีเป็นปรึกษาผ่านวิดีโอคอลแทนการเดินทางไปโรงพยาบาล
    anonymous
     •  4 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ข่าวปลอม หมักผมด้วย "กระเทียม" รักษาผมร่วง
    เรื่องจริงของกระเทียม แม้จะใช้หมักผมเพื่อรักษาผมร่วงไม่ได้ แต่มีประโยชน์อื่นที่ไม่ควรมองข้าม ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูล เรื่อง หมักผมด้วยกระเทียม เพื่อรักษาผมร่วง ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ โดยการแชร์สูตรหมักผมด้วยกระเทียม ระบุสรรพคุณว่าช่วยรักษาผมร่วง ทำให้ผมแข็งแรง ได้ตรวจสอบข้อมูลแล้วว่าไม่เป็นความจริง เนื่องจากยังไม่มีเอกสารทางวิชาการหรืองานวิจัยที่น่าเชื่อถือ สำหรับนำมายืนยันว่ากระเทียมสามารถรักษาผมร่วงได้จริง โรคผมร่วง หรือผมบางเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเกิดจากกรรมพันธุ์ผมบาง เส้นผมเปราะแล้วหัก ผมไม่ขึ้น อาจเกิดจากโรคประจำตัว การได้รับยาหรือสารเคมีบางประเภท การได้รับเคมีบำบัด การฉายรังสี ก็สามารถทำให้ผมร่วงได้ และกระเทียมนั้นมีสรรพคุณตามข้อมูลสมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน คือ แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด รักษาอาการกลากเกลื้อน จึงไม่เกี่ยวข้องกับการรักษาผมร่วง   ข้อมูลจากกรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคผิวหนัง เปิดเผยว่า โดยปกติแล้วเส้นผมของคนเรามีประมาณ 80,000 ถึง 1,200,000 เส้น งอกยาวขึ้นวันละประมาณ 0.35 มิลลิเมตรและมีอายุนาน 2 ถึง 6 ปี โดยปกติคนเราจะมีผมร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่ไม่เกินวันละ 30 ถึง 50 เส้น สาเหตุของภาวะผมร่วง ได้แก่ 1. ผมร่วงจากกรรรมพันธุ์ สามารถพบได้ทั้งชายและหญิง มักพบในเพศชายมากกว่า เห็นเป็นเส้นขนอ่อน ๆ ทำให้ผมบริเวณนั้นดูบางลง ส่วนมากจะเป็นบริเวณกลางศีรษะและหน้าผาก 2. ผมผลัด เกิดผมร่วงเนื่องจากผมหยุดเจริญชั่วคราวจากการเจ็บป่วยหรือความเครียดหรือขาดสารอาหาร เช่น เหล็กหรือวิตามินดี ทำให้วงจรชีวิตเส้นผมที่กำลังเจริญมีการหยุดเจริญและหลุดร่วงมากกว่าปกติ 3. ผมร่วงเป็นหย่อม เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด จะมีอาการผมร่วงเฉพาะที่ บริเวณผมที่ร่วงจะมีลักษณะกลมหรือรี ขอบเขตชัดเจน ตรงกลางไม่มีเส้นผมหนังศีรษะในบริเวณนั้น ไม่แดง ไม่เจ็บ ไม่คัน ไม่เป็นสะเก็ด หรือเป็นขุย 4. ผมร่วงจากการถอน พบได้บ่อยในผู้ใหญ่และเด็กที่มีความเครียดจากสาเหตุต่าง ๆ ผู้ป่วยจะดึงผมตัวเองจนผมแหว่ง หนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงจะไม่มีผื่นคัน หรือเป็นขุย และจะพบเส้นผม ที่เป็นตอสั้น ๆ 5. ผมร่วงจากเชื้อรา โรคเชื้อราที่ศีรษะ กลากที่ศีรษะ อาจพบได้บ่อยในเด็ก เกิดจากการติดเชื้อราโรคนี้ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เป็นผื่นแดงคัน และเป็นขุย หรือก้อนอักเสบคล้ายฝี อาจจะมีโรคเชื้อรา (กลาก) ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้  6. ผมร่วงจากการทำผม การม้วนผม ย้อมสีผม  ดัดผม เป่าผมหรือวิธีอื่น ๆ อาจทำให้มีอาการผมร่วงได้จากการที่มีหนังศีรษะอักเสบ หรือเส้นผมเปราะหัก 7. ผมร่วงจากโรคอื่น ๆ ผู้ป่วยที่มีโรคบางอย่าง เช่น  โรคเอสแอลอี ก็อาจมีอาการผมร่วง ผมบาง ร่วมกับอาการไข้เรื้อรัง ปวดตามข้อ มีผื่นปีกผีเสื้อขึ้นที่หน้า โรคผมร่วงบางอย่างอาจมีการอักเสบที่บริเวณสเต็มเซลล์ทำให้เกิดผมร่วงแบบเป็นแผลเป็นซึ่งแผลเป็นจะไม่หาย
    std48423
     •  9 เดือนที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    ชายชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิดเมื่อวันที่ 8 พย. 63 จริงหรือ
    มีการแชร์เนื้อหากำหนดการงานสวดอภิธรรมศพ โดยระบุว่าเป็นผู้ชาย ชาวจังหวัดสุพรรณบุรี เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 8 พย. 63 จริงหรือ
    anonymous
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false
  • 1 คนสงสัย
    From นายแพทย์สุธี ทุวิรัตน์ 25 ก.ค. 2564 สรุปประสบการณ์ในการดูแลรักษาครอบครัวที่ติดโควิดทั้งบ้าน 10 คน แบบ home isolation ครอบครัวนี้สมาชิก 10 คน ประกอบด้วย อากงและอาม่า อายุ ประมาณ 70 ปี อากงและอาม่า มีลูกชาย 1 คน ลูกสาว 2 คน ลูกชายเป็นพี่ชายคนโต แต่งงานมีลูกมีเมียแล้ว มีลูกอ่อน 2 คน เป็นฝาแฝด อายุ 2 ขวบ ลูกสาวคนโตก็แต่งงานแล้ว มีลูก 2 คน เริ่มเป็นวัยรุ่นแล้ว ทั้งหมด 10 ชีวิต อาศัยอยู่รวมกันอย่างค่อนข้างจะแออัดในห้องแถวย่านตลาดน้อย ครอบครัวนี้เกิดโชคร้าย ติดเชื้อโควิดโดยไม่รู้ตัวว่าติดได้อย่างไร ติดจากใคร โดยมีไทม์ไลน์ดังนี้ วันที่ 12/7/64 อากงเริ่มมีอาการไอ วันที่ 15/7/64 ลูกสาวคนโตเริ่มมีอาการไอ วันที่ 17/7/64 ลูกสะใภ้ กับอาม่า เริ่มมีไข้ ไอ วันที่ 18/7/64 หลาน 2 คนที่เป็นวัยรุ่น เริ่มมีไข้ต่ำๆ, ลูกสาว อาการมากขึ้น เริ่มมีอาการเจ็บคอ ทั้งบ้านก็ยังไม่เฉลียวใจว่าติดเชื้อโควิดกันทั้งบ้านแล้ว วันที่ 19/7/64 ลูกสะใภ้ มีไข้สูง ไปตรวจที่ รพ.กรุงเทพคริสเตียน พยาบาลแนะนำให้แยกกักตัวเอง เพราะสงสัยจะเป็นโควิด ลูกชายและลูกสะใภ้แยกตัวไปนอนที่คอนโด วันที่ 21/7/64 ลูกสะใภ้รู้ผล และรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม, ลูกชายไปหาซื้อชุดตรวจมาได้ 4 ชุด ตรวจเสียไป 2 ชุด ผลตรวจ อาม่าเป็นบวก ลูกสาวเป็นลบ วันที่ 21/7/64 ผลการตรวจ rapid test ของอาม่าเป็นบวก ลูกชายพาอาม่าไปตรวจที่โรงพยาบาล แจ้งกับทางโรงพยาบาลว่าผลตรวจ rapid test เป็นบวก แต่โรงพยาบาลไม่ตรวจให้, ครอบครัวนี้เริ่มสติแตก พยายามดิ้นรนโทรติดต่อหาที่ตรวจแต่หาไม่ได้เลย มีที่พอจะรับตรวจ ก็อยู่ไกล และจำกัดจำนวนตรวจ ต้องไปวัดดวงรอว่าจะได้รับการตรวจ ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่ครอบครัวนี้จะไปตรวจได้ เพราะทุกคนเริ่มป่วยและมีอาการแล้ว รวมทั้งเป็นคนแก่และเด็ก สุดท้ายมีเพื่อนของลูกชายช่วยนัดจองคิวตรวจอากงและอาม่าได้ 2 คน ได้คิวตรวจที่แลบเอกชนในวันที่ 23/7/64 วันที่ 21/7/64 ลูกชายไปต้องไปนอนค้างคืนที่โรงพยาบาลจุฬา เพื่อแย่งจองคิวตรวจที่จำกัดวันละ 50 คน วันที่ 22/7/64 ลูกชายได้รับการตรวจที่ รพ.จุฬา ผลเป็นบวก ได้รับการรักษาที่ รพ.จุฬา วันที่ 22/7/64 หลานอายุ 2 ขวบ 2 คนเริ่มมีไข้ ประมาณ37.5ให้ทานยาลดไข้ และเช็ดตัว ไข้ลง วันที่ 23/7/64 เด็ก 2 คนเริ่มมีไข้สูง 38.8 และ 38.6 เช็ดตัวไข้ไม่ลง นอนซึม วันที่ 24/7/64 เด็ก 2 คนอาการดีขึ้น ไข้ประมาณ 37.5 เริ่มทานขนมได้ วันที่ 25/7/64 ลูกสาว 2 คน และหลาน 2 คนที่เป็นวัยรุ่น จองคิวตรวจได้ที่ หน่วยตรวจเชิงรุกของกทม.ที่เขตดุสิต และไปรับการตรวจแล้ว ได้รับการแจ้งว่าต้องรอผล 2 วัน จะแจ้งทาง sms ตั้งแต่วันที่ 21/7/64 ที่รู้ว่ามีคนในครอบครัวนี้ติดโควิด ครอบครัวนี้พยายามหาทางที่จะติดต่อแจ้งไปหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น 1330 1668 1669 สาธารณสุข แต่ก็ถูกปฏิเสธไม่ยอมรับแจ้ง โดยอ้างว่าเป็นกฎที่จะรับแจ้งขึ้นทะเบียนเป็นผู้ติดเชื้อโควิดได้ ต้องมีผลการตรวจแบบ RT PCR เท่านั้น แม้ว่าครอบครัวนี้จะพยายามชี้แจงว่าเป็นผู้ติดเชื้อ เพราะมีคนในครอบครัวติดเชื้อและรักษาตัวในรพ.สนามแล้ว และคนที่เหลือในครอบครัวหาที่ตรวจโควิดไม่ได้ ขนาดเอาผลการตรวจของภรรยาลูกชายคนโตและบอกว่าเป็นครอบครัวเดียวกัน ก็ไม่ยอมรับแจ้ง และไล่ให้ต้องไปตรวจด้วย RT PCR มาก่อนเท่านั้น เมื่อรู้ว่าติดโควิดทั้งครอบครัว ก็ดิ้นรนหาซื้อชุดตรวจ และหาซื้อยาฟ้าทะลายโจร กระชาย ทั้งยาไทยและยาจีน ทุกตัวที่โฆษณาว่ารักษาโควิดได้ มากินกันทั้งครอบครัว น้องผมที่เป็นลูกเขยของบ้านนี้ ติดต่อขอความช่วยเหลือจากผมในคืนวันที่ 21/7 ผมได้โทรไปสอบถามอาการของคนในครอบครัวนี้พบว่า อาม่า และน้องสะใภ้ผม เริ่มมีอาการไอมากและหอบเหนื่อย พูดได้ไม่เยอะ พูดไปไอไป เชื้อน่าจะเริ่มลงปอดแล้ว ผมประเมินดูแล้วมั่นใจว่าหาเตียงในโรงพยาบาลไม่ได้แน่ๆ ครอบครัวนี้น่าจะเป็นผู้ติดเชื้อโควิดสีเหลือง และมี 2 คนที่น่าจะกำลังเป็นสีแดง โอกาสที่จะรอดของครอบครัวนี้คือ รักษาตัวที่บ้าน ผมตัดสินใจที่จะไม่เสียเวลาไปในการติดต่อหาเตียงตามโรงพยาบาลต่างๆ การหายาฟาวิพิราเวียมาให้เร็วที่สุด คือทางรอดเดียวของครอบครัวนี้ เพื่อป้องกันไวรัสลงปอด และลดการแพร่เชื้อไวรัส แม้ว่าจะติดเชื้อกันทั้งบ้านแล้ว แต่การอยู่กันอย่างแออัด 10 คนในห้องแถวเล็กๆ จะมีไวรัสออกมากับลมหายใจตลอดเวลา และทุกคนก็หายใจเอาไวรัสของคนในครอบครัวอีก 9 คนตลอดเวลา น่าจะทำให้อาการของโรคกำเริบมากขึ้นทุกคน วันที่ 22/7 ผมและน้องชายพยายามติดต่อหาซื้อยาฟาวิพิราเวีย จากเพื่อนที่อยู่โรงพยาบาลเอกชน แต่ไม่สามารถหาซื้อได้เลย ทุกโรงพยาบาลยืนยันว่าการจะจ่ายยา ต้องสั่งโดยหมอ infectious และต้องมีใบตรวจด้วย RT PCR ของแต่ละคนเท่านั้น ผมและน้องชายพยายามติดต่อหาที่ตรวจ RT PCR และ RAT แต่ก็ไม่มีโรงพยาบาลไหนรับตรวจ ขนาดน้องชายผมเป็น FT โรงพยาบาลเอกชน บอกว่าเป็นญาติและนามสกุลเดียวกัน ก็ยังไม่รับตรวจ และไม่จ่ายยาฟาวิพิราเวียให้ ผมเลยต้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆศิริราช ต้องขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือและให้กำลังใจ และช่วยหายาฟาวิพิราเวีย ได้ 3 ชุด เมื่อได้ยามาแล้ว ผมให้อากง และอาม่า กับลูกสาวที่เริ่มมีอาการหายใจเหนื่อยหอบได้ทานยาก่อน เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงและเริ่มมีอาการหนักแล้ว วันที่ 23/7 หลังจากได้ยาฟาวิพิราเวียไป 2 โดส อาม่าและลูกสาวที่อาการหนักที่สุด อาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คุยได้มากขึ้นไอน้อยลง และต้องขอบคุณเพื่อนๆ ที่ช่วยหายาฟาวิพิราเวียร์ มาให้อีก 3 ชุด และส่ง pulse oximeter มาให้ วัดออกซิเจน อาม่าและลูกสาว ได้ประมาณ 94 ส่วนคนอื่นได้ 96 ยกเว้นเด็ก 2 ขวบ 2 คน วัดได้ 93 แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะนิ้วเด็กหรือเปล่าเลยวัดได้ต่ำกว่าความเป็นจริง แต่อาการเด็กก็เริ่มมีไข้สูงและเริ่มซึมแล้ว แนะนำให้ทานยาลดไข้พาราเซต และเช็ดตัวบ่อยๆ และวางแผนว่าถ้าวันที่ 24/7 อาการแย่ลง จะแบ่งยาฟาวิพิราเวียของลูกสาวคนที่ไม่มีอาการ มาให้เด็กทั้ง 2 คน แต่โชคดีที่ เมื่อวานนี้ไข้เริ่มลด และเด็กอาการดีขึ้น วันที่ 25/7 ทุกคนในครอบครัวอาการดีขึ้นแล้ว แต่จมูกยังไม่ได้กลิ่น วัดออกซิเจน ได้ 98 ทุกคน สรุป 1. ยาฟาวิพิราเวีย จำเป็นมากสำหรับการรักษาตัวเองที่บ้าน และต้องรีบให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้อาการหนัก 2. สำคัญที่สุดในการดูแลรักษาทางไกลคือ การให้กำลังใจ เพราะคนไข้จะวิตกกังวลมาก กลัวตาย กลัวไปทุกเรื่อง ผมโทรไปถามอาการและชวนพูดคุยบ่อยมาก ทุก 2-3 ชั่วโมง 3. ควรจะต้องมียาลดไข้ ยาแก้ไอ และฟ้าทะลายโจร ติดบ้านไว้ 4. ตอนนี้โควิดมันแพร่กระจายไปทั่วแล้ว แม้แต่อยู่แต่ในบ้านยังติดโควิดได้ ครอบครัวนี้อากงอาม่าและลูกสาว 2 คนอยู่แต่ในบ้าน มีแต่ลูกชายและลูกสะใภ้ที่ทำงานนอกบ้าน แต่อากงติดเชื้อเป็นคนแรกเลย ยังไม่รู้ว่าติดได้อย่างไร ยิ่งทำให้สงสัยว่าน่าจะติดจาก airborne 5. ให้ทานน้ำเยอะๆ ผมสั่งให้กินน้ำอย่างน้อยวันละ 3 ลิตร และทุกครั้งที่โทรไปจะกระตุ้นให้กินน้ำเยอะๆ เพื่อช่วยเรื่อง hydration 6. ผมให้คนไข้ทุกคน วัดไข้ จับชีพจร และนับการหายใจทุก 1 ชั่วโมง บันทึกไว้ วัตถุประสงค์เพื่อให้คนไข้ได้รู้จักสังเกตุอาการตนเอง ต่อมาเมื่อมี pulse oximeter ผมก็เปลี่ยนมาให้ทุกคนบันทึก ออกซิเจนและชีพจร ของตนเอง ทุก 1 ชั่วโมง เพื่อที่เราจะได้ให้คนไข้ได้รู้การเปลี่ยนแปลงของตนเอง และช่วยให้ผมที่เป็นหมอสามารถที่จะมาประเมินทบทวนอาการของคนไข้ย้อนหลังได้ 7. ในกรณีเลวร้ายสุดๆ คือยาฟาวิพิราเวียไม่ได้ผล และคนไข้เริ่มมีอาการปอดอักเสบชัดเจน ผมจะไม่พยายามไปหาออกซิเจนมาให้ เพราะรู้ว่าไม่ได้ผล มีแต่จะทำให้คนไข้ทรมานมากขึ้น เพราะคนไข้ที่ปอดอักเสบรุนแรง ต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ หรืออย่างน้อยก็ต้องเป็น high flow oxygen แต่ผมจะทดลองให้การรักษา ด้วยวิธีการที่ยังไม่เคยมีใครทดลองมาก่อน แต่อาจจะได้ผลสามารถยื้อชีวิตผู้ป่วยได้ ซึ่งถ้าเพื่อนๆมีญาติหรือคนในครอบครัวที่เริ่มมีปอดอักเสบและไม่สามารถหาเตียงในไอซียูได้ หลังไมค์มาคุยกันนะครับ ยินดีแชร์ให้ฟังครับ แล้วเพื่อนๆให้คนไข้ตัดสินใจเองว่าจะทดลองรักษาตัวตามสูตรของผมหรือไม่ 8. ตอนนี้การติดเชื้อแพร่ระบาดเข้าไปในครัวเรือนแล้ว เมื่อพบผู้ติดเชื้อ 1 คน สมาชิกในครอบครัวจะติดเชื้อไปแล้วทุกคน ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข ต้องยกเลิกกฎที่บังคับให้ต้องมีผลตรวจ RT PCR ทุกคนถึงจะรับลงทะเบียนเข้าระบบ ควรจะใช้แค่ผลการตรวจ rapid test และกระทรวงสาธารณสุข ต้องมีหน้าทีจัดหาชุดตรวจ ATK ส่งไปให้คนในครอบครัวผู้ป่วยทุกคน เพื่อที่จะรีบตรวจและคัดกรองผู้ติดเชื้อ ไม่ใช่ผลักภาระให้ผู้ป่วยทุกคน ไม่ว่าเด็กหรือคนแก่ต้องไปดิ้นรน หาที่จองคิวตรวจด้วยตัวเอง และก็เอาเชื้อไปแพร่ให้คนรอบข้าง แบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ 9. ครอบครัวนี้น่าจะเริ่มติดเชื้อวันที่ 12/7/64 จนกระทั่งวันนี้ (25/7/64) ก็ยังไม่สามารถที่จะเข้าถึงการตรวจด้วย RT PCR และไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นผู้ติดเชื้อโควิด 10. ช่วยกันเรียกร้องกดดันให้กระทรวงสาธารณสุข ยกเลิกระเบียบคำสั่งที่การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ติดเชื้อต้องมีผลการตรวจยืนยันด้วย RT PCR เท่านั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันที่การระบาดอย่างหนัก ควรจะยืนยันด้วยผลการตรวจ ATK ก็น่าจะเพียงพอแล้ว และต้องเป็นหน้าที่ของสธ. สปสช. ที่ต้องจัดหาและจัดส่งชุดตรวจ ATK ไปให้ครอบครัวของผู้ติดเชื้อ เพื่อที่จะคัดกรองหาผู้ติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ 11. ถ้าคิดว่าโพสนี้เป็นประโยชน์ สามารถแชร์ต่อไปได้ครับ นายแพทย์สุธี ทุวิรัตน์ 25 ก.ค. 2564
    ไม่ระบุชื่อ
     •  3 ปีที่แล้ว
    meter: false