1 คนสงสัย
สอท.ทลายรัง ทําของปลอมเครื่องสําอาง ขาย “ว่อนเน็ต”
ตำรวจ บช.สอท.ร่วมกับ อย.ทลายแหล่งผลิตเครื่องสำอางเถื่อนที่ จ.สงขลา พร้อมของกลางลอตใหญ่ อ้างสรรพคุณ “เปลี่ยนผิวดำตามกรรมพันธุ์ สู่ผิวขาวสดใสภายใน 7 วัน” ขายว่อนทางออนไลน์ ขณะที่ อย.เตือนชาวบ้านอย่าซื้อมาใช้ เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนังและส่งผลให้ไตอักเสบ

ตำรวจบุกทลายเครื่องสำอางเถื่อน เปิดเผยเมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 25 ส.ค. ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผบช.สอท. และ ภญ.สุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาการรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมกันแถลงผลการจับกุมผู้ลักลอบผลิต และจำหน่ายเครื่องสำอางโดยไม่ได้รับอนุญาต ตรวจยึดผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบ สารเคมี และเครื่องมือที่ใช้ในการผลิตมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท

พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง กล่าวว่า สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตรวจสอบพบการโฆษณาเกินจริงของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง “ดีเอ็น ออร่า ไวท์ บอดี้ โลชั่น” เลขที่ ใบรับจดแจ้ง 11-1-6300052215 ทางสื่อออนไลน์และอีมาร์เกตเพลสเป็นจำนวนมากด้วยข้อความ เช่น “เปลี่ยนผิวดํากรรมพันธุ์ สู่ผิวขาวใสใน 7 วัน” เป็นข้อความที่แสดงสรรพคุณเกินขอบข่ายความเป็นเครื่องสำอาง และไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ตรวจสอบพบว่า เครื่องสำอางดังกล่าวยกเลิกเลขที่ใบรับจดแจ้งแล้ว เมื่อวันที่ 15 ก.พ.2564

พล.ต.ท.กรไชยกล่าวอีกว่า ชุดสืบสวนทราบแหล่งลักลอบผลิตเครื่องสำอางรายใหญ่ยี่ห้อดังกล่าว นำหมายค้นเข้าบ้านพักใน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา อยู่กลางสวนยางพาราใช้เป็นสถานที่ลักลอบผลิตเครื่องสำอางประเภทครีมจำนวนหลายยี่ห้อ เช่น ยี่ห้อดีเอ็น (DN) ยี่ห้อใหม่ (MAI) ยี่ห้อเคที (KT) ตรวจยึดของกลางผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป 460 ชิ้น ยาคีโตโคนาโซล 240 กล่อง บรรจุภัณฑ์เปล่ากว่า 10,000 ชิ้น เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ครีมรอบรรจุ และฉลากสติกเกอร์ รวมมูลค่าของกลางกว่า 300,000 บาท และนําตัวอย่างของกลางส่งตรวจหาสารต้องห้ามที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย ฝากความห่วงใยถึงประชาชน ควรตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทุกครั้งก่อนที่จะทําการสั่งซื้อจากสื่อออนไลน์ กรณีเป็นสินค้า อุปโภค บริโภค ควรตรวจดูเลขที่จดแจ้ง เลข อย. หรือฉลากสินค้าว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ เว็บไซต์ ผู้จำหน่ายมีความน่าเชื่อถือเพียงใด และแจ้งเตือนกลุ่มผู้ขายสินค้าไม่ซื่อสัตย์ สินค้าไม่ปลอดภัยในการใช้ หรือโฆษณาชวนเชื่อสรรพคุณเกินจริงผ่านสื่อออนไลน์ อาจเข้าข่ายการกระทําผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี หรือปรับสูงสุด 100,000 บาท

ด้าน ภญ.สุภัทรา บุญเสริม กล่าวว่า ครีมเถื่อนที่ยึดในครั้งนี้ ขายตามร้านค้า ออนไลน์ ตลาดนัดรถขายเร่หรือตามแพลตฟอร์ม มักโฆษณาอวดอ้างเกินความเป็นจริงว่าสามารถรักษาสิว รอยแผลเป็นฝ้า และกระ ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใสเห็นผลใน 7 วัน ที่ผ่านมา อย.เคยตรวจพบสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางประเภทนี้ เช่น สารปรอทไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ สเตียรอยด์ หากใช้เป็นเวลานานอาจทําให้ผิวหน้าดำผิวบางลง แพ้แสงแดดหรือแสงไฟได้ง่าย ผิวแตกลายถาวร เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังและส่งผลให้ไตอักเสบ หากพบการลักลอบผลิตนำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาที่สายด่วน อย.1556
std46631
 •  1 ปีที่แล้ว
0 ความเห็น

ความสวยความงามอย. เพิกถอนภาคใต้ผู้บริโภคเฝ้าระวัง

ยังไม่มีใครตอบ

เพิ่มความเห็นใหม่

กรุณา  เข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก ก่อน

คุณอาจจะสนใจข้อความเหล่านี้ที่คล้ายคลึงกัน

  • 1 คนสงสัย
    บุกทลายเครื่องสำอางเถื่อน ผงะครีมปลอม กวนเอง ส่งขายต่างจังหวัด นาน 4 ปี
    ปคบ.ร่วม อย.บุกทลายโรงงานผลิตครีมเถื่อน ย่านพระราม 2 ยึดของกลางครีมสมุนไพร และครีมบำรุงผิว กวนเองหลายยี่ห้อ พบผสมสารอันตราย ทำมา 4 ปี ส่งขายให้กับยี่ปั๊ว เน้นพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ บุกทลายเครื่องสำอางเถื่อน ผงะครีมปลอม กวนเอง ส่งขายต่างจังหวัด นาน 4 ปี เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.สำเริง อำพรรทอง พ.ต.อ.ศารุติ แขวงโสภา พ.ต.อ.ศรีศักดิ์ คัมภีรญาณ พ.ต.อ.ชนันนัทธ์ สารถวัลย์แพศย์ รอง ผบก.ปคบ. พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ ผกก.4 บก.ปคบ. พร้อม นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา นำหมายค้นเข้าค้นบ้านเลขที่ 2708 พระราม 2 ซอย 47 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ หลังรับแจ้งว่าเป็นแหล่งผลิตเครื่องสำอางเถื่อน และจำหน่ายเครื่องสำอางโดยไม่ได้รับอนุญาต ที่เกิดเหตุเป็นบ้านปูน 2 ชั้น ชั้นล่าง 1 ห้อง ชั้นบน 2 ห้อง ถูกแบ่งเป็นห้องกวนครีม พบสารสเตียรอยด์ ยาแก้อักเสบ ครีมเบส สีไม่ทราบชนิด หัวน้ำหอม และเครื่องกวนครีมพร้อมนำมาผสม ส่วนอีกห้องเป็นห้องสำหรับบรรจุครีม มีกระปุกครีมจำนวนมาก มีพนักงานกำลังกวนครีม 4 คน และเจ้าของบ้าน ทราบชื่อ น.ส.พาณี ปิตโต อายุ 52 ปี เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตรวจยึดของกลางทั้งหมดที่เป็นครีมสมุนไพร และครีมบำรุงผิวหลายยี่ห้อ ที่ไม่ได้ขออนุญาตในการผลิตจาก อย. จัดเป็นเครื่องสำอางปลอม หนึ่งในนั้นคือครีมตลับสีขาวฝาน้ำเงิน ที่ อย. เคยตรวจพบสารไฮโดรควิโนน และกรดเรทิโนอิก และสั่งห้ามขายไปแล้วด้วย จากการสอบสวน น.ส.พาณี ให้การว่า เคยทำงานเป็นเซลล์ขายเครื่องสำอาง เห็นว่าครีมลักษณะดังกล่าวขายดีติดตลาด จึงออกมาผสมครีมขายเอง และเช่าบ้านหลังดังกล่าว เพื่อใช้สำหรับกวนครีมเองมานาน 4 ปีแล้ว โดยซื้อครีมเบส มาผสมกับสี และหัวน้ำหอม เพื่อแต่งกลิ่น สี และผสมสารอันตราย เช่น สารปรอท หรือไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอเข้าไป แต่ช่วงหลังสาร 2 ตัวนี้หายาก จึงปรับสูตรไปใส่สารสเตียรอยด์ ก่อนจะนำไปติดฉลากยี่ห้อหรือสวมยี่ห้อที่เคยโด่งดังในตลาด ส่งขายให้กับยี่ปั๊ว 4 เจ้า โดยเน้นขายในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ เบื้องต้นแจ้งข้อหา ผลิตเครื่องสำอางที่สงสัยว่ามีวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสม ผลิตเครื่องสำอางไม่จดแจ้ง ผลิตเครื่องสำอางที่ใช้ฉลากไม่ถูกต้อง และจะขยายผลตรวจสอบเส้นทางการเงิน จับกุมยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ที่รับครีมเหล่านี้ไปขายต่อด้วย ด้าน ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า ครีมของกลางที่พบนี้ ล้วนแล้วแต่มีลักษณะที่เข้าข่าย มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ปรอท สารไฮโดรควิโนน กรดเรติโนอิก ที่ อย. สั่งห้ามใช้ และแจ้งเตือนประชาชนหลายครั้ง เคยจับมาแล้วเมื่อปี 52 และประกาศห้ามใช้ เพราะมีสารอันตรายต่อร่างกาย แม้จะเห็นผลเร็ว แต่เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง จากผิวที่ดูขาวจะกลายเป็นดำคล้ำ มีภาวะผิวบาง เกิดฝ้าถาวร หากเป็นสิวก็เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งหากเป็นรอยแผลถาวร ก็จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงขอเตือนประชาชนอย่าซื้อครีมลักษณะนี้มาใช้ แต่ให้ซื้อครีมยี่ห้อที่มีความน่าเชื่อถือ และได้รับการจดแจ้งถูกต้องจากทาง อย.
    std47982
     •  1 ปีที่แล้ว
    meter: false